คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทํางานอะไร

พอดีเห็นมีคนถามบ่อยๆ ว่าคณะวิทยาศาสตร์จบแล้วทำงานอะไร เรียนต่อได้มั้ย หรือเงินดีมั้ย
เลยเอาข้อความของปีที่แล้วที่เคยลงไว้ มาให้อ่านรายละเอียดกันอีกครั้งครับ
         ขอยกตัวอย่างแต่ละสาขานะครับ (ทั้งหมดอ้างอิงของจุฬาฯนะ)

กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่แบ่งเป็น6สาขา

(สาขาพฤกษศาสตร์ – กองสวนกรุงเทพมหานคร สวนหลวงร.๙ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
ธุรกิจผลิตพันธุ์พืช เมล็ดพันธุ์และสารเคมี แลปเอกชนตามโรงงานเพาะพันธ์พืช(12,000)

สาขาพันธุศาสตร์ –เหมือนสาขาBOT ขาดแคลนครับเหมาะสับหรับคนอยากเป็นนักวิจัย(เรียนชิวนะภาคนี้)

สาขาชีววิทยา – แลปครับทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อาหาร สุรา กระดาษ (12000+)

สัตววิทยา – กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง ในส่วนของงานอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ สถาบันที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สวนสัตว์ หน่วยวิจัยโรงพยาบาลต่างๆ พิพิธภัณฑ์สัตว์หรือพิพิธภัณฑ์ชีวภาพ ฟาร์ม หน่วยงานเลี้ยงสัตว์ทดลอง บริษัทนำเข้าส่งออกสัตว์

สาขาจุลชีววิทยา - เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมยาปฏิชีวนะ อุตสาหกรรมการเกษตร น้ำนม การแพทย์ เทคโนโลยีจุลชีพ ยอดนิยมพอๆกับไบโอเคมทำแลปเอกชน/หรือจะแย่งงานกับฟู๊ดก็ได้(12000-15000)


สาขาชีวเคมี - หน่วยงานทางการแพทย์ ทางการเกษตร หน่วยงานด้านอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม (ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน) และสามารถเข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอาหาร ยาและโรงงานผลิตสารเคมี ยอดนิยมครับสาขานี้ ต่อโทได้หลากหลาย(12000+)

ต่อไป

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม –ดีครับ เป็นนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมหรือนักวิชาการองค์กรอิสระ และ
เอ็นจีโอได้ เป็นที่ปรึกษา หรือผู้ตรวจสอบระบบมาตรฐานต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม
เป็นเจ้าหน้าที่ปลอดภัย ที่ดูแลความปลอดภัยของบุคคลในโรงงาน ทำมาตรฐานให้โรงแรม เป็นที่ต้องการพอสมควร(15000+)

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป -เหมือนๆ ของสาขาวิทย์สิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล - กรมประมง กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานแผนและนโยบายสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ นักวิชาการด้านการสำรวจสมุทรศาสตร์สิ่งแวดล้อม ถ้าเก่งอังกิด ดีครับทำปตท.สผ.ตำแหน่ง
MARINE ENGINEER เงินดีมาก

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ – อาจารย์/เรียนต่อ อาจทำงานออกแบบ ใช้แก้โจทย์ปัญหาในกิจการต่างๆ บริษัทประกันภัย ถ้าเก่งไปทำเจ้าหน้าที่วิเคราะห์วางแผนระบบงานธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย เงินเดือนจะเยอะมาก ภาครัฐก็กรมอุตุนิยมวิทยา

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ -เงินดี งานดีตามที่รู้ทั่วๆไป(15000+)

สาขาวิชาเคมี – ถ้าภาครัฐก็ กรมทรัพยากรธรณี กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมพัฒนาที่ดิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองทัพบก เรือ อากาศ และกองพิสูจน์หลักฐานกรม
ตำรวจ ถ้าทำเอกชนเงินดีงานดี เป็นที่ต้องการ แลปเอกชนทั่วไปสตาร์ทที่12000+(ทำปตท.19000+)

สาขาวิชาฟิสิกส์ - เอกชนพวกอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ผลิตแผ่นดิสก์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมโลหะ องค์กรเกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคม การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์และสารกึ่งตัวนำ(12,000+)  รัฐก็พวก กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กรมสรรพาวุธทหารบก กรมอุตุนิยมวิทยา กองนิติเวชกรมตำรวจ หน่วยงานทางการศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิต

สาขาวิชาธรณีวิทยา - กรมทรัพยากรธรณี กรมเชื้อเพลิง กรมชลประทาน กรมพลังงานทหาร กรม
ส่งเสริมและพัฒนาพลังงาน กรมโยธาธิการ กรมที่ดิน กรมศุลากร กรมทางหลวง สำนักงานเร่งรัดพัฒนา
ชนบท กรมอุทกศาสตร์ กรมตำรวจ การไฟฟ้า การปิโตรเลียม องค์การเหมืองแร่ในทะเล ถ้าเก่งอังกิด เกรดดี ทำปตท.สผ.เงินเดือนสตาร์ท40,000

สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ -เงินดี ขาดตลาด (15000+) (เกรดดี อังกิดได้ทำ SCG/TPC ก็ประมาณ24,000)

สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ - อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น บรรจุภัณฑ์กระดาษ หมึกพิมพ์Double A ประมาณ16,000+ เก่งอังกิด ไปเป็นช่างกล้องเรือสำราญเงินเดือน35000+(แต่อันหลังไม่จำเป็นต้องเรียนจบด้านนี้ก็ได้ แต่เพื่อนพี่อยากไปกัน)

สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร -หัวหน้างานฝ่ายผลิต ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
ฝ่ายจัดซื้อ ด้านความปลอดภัยของอาหาร เงินดี เป็นที่ต้องการมาก CP ก็(17000+)

สาขาเคมีวิศวกรรม -งานดี เงินดีเป็นที่ต้องการมากพวกโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ อุตสาหกรรมประเภท เคมี กระดาษ อาหาร(18000+) SCG/ไทยออยล์24,000+ เกรด3ขึ้นไปเก่งอังกิดทำSPRC 34000+ Dow Chemical 35000+ ทำเอสโซ่34,000+ปตท.สผ.43000+ เชฟรอน 53,000+  ชลัมเบอร์เจ4,000เหรียญ(แสนกว่าๆ)

ปล. บางส่วนนำมาจากหนังสือมองคณะวิทย์ และบางส่วนเป็นความคิดเห็นของพี่ที่ถามมาจากพี่บัณฑิต+เพื่อนๆคณะวิทยาศาสตร์  จุฬาฯ ผิดถูกยังไงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะ
ปล.2 เพื่อนภาคอื่นๆที่เข้ามาเห็นถ้าไม่ถูกตรงไหนแก้ไขและแนะนำน้องเพิ่มเติมได้

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทํางานอะไร

สำหรับน้องๆ ที่ชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นชีวิตจิตใจ ก็ต้องมีแอบเล็ง คณะวิทยาศาสตร์ 

เอาไว้บ้างใช่มั้ยครับ แต่ คณะวิทย์เนี่ย.. เขาเรียนอะไรกันนะ แบ่งเป็นกี่สาขา วันนี้พี่ออนดีมานด์จะพาไปดูข้อมูลกันในบทความนี้เลย 👉

UPDATE สำคัญ:

#TCAS66 รอบ 3 Admission จะสอบเข้าคณะวิทยาศาสตร์ ใช้คะแนน TGAT TPAT3 และ A-Level (คณิต1,วิทย์,ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ,อังกฤษ) *อ้างอิงจากเกณฑ์รับสมัครของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ซึ่งทั้ง TGAT และ  TPAT3 ถือเป็นข้อสอบแนวใหม่ในปีนี้ หากน้องๆ ยังไม่ได้เริ่มเตรียมตัว หรือ เตรียมตัวแล้วแต่ยังไม่มั่นใจ สามารถมาติวแบบเข้มข้นได้ที่งานติวครั้งยิ่งใหญ่ของออนดีมานด์ในวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม เลย!!

คณะวิทยาศาสตร์ เรียนอะไร ?

คณะวิทยาศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับเทคนิคในการสังเกตการตั้งสมมติฐาน และ การทดลอง

เรียน 4 ปี โดย ปี 1 จะเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป เช่น เลข (แคลคูลัส) ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ จิตวิทยา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เป็นต้น

ส่วนปีที่ 2 และ 3 จะได้เรียนเจาะลึกในหมวดวิชาเฉพาะตามสาขาที่ตัวเองเลือกมากขึ้น เช่น ถ้าเลือกเรียนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ก็จะได้เรียนการเขียนโปรแกรม การพัฒนาเว็บ

ปีสุดท้าย จะเป็นการฝึกงานในหน่วยงานภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานวิจัย สถาบันที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยก็อาจมีหลักสูตรที่ต่างกันบ้าง น้องๆ สามารถเข้าไปดูในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ตัวเองสนใจ หรือดูรีวิวจากรุ่นพี่ในช่องทางโซเชียลต่างๆ เพิ่มเติมได้เลยน้า

คณะวิทยาศาสตร์ มีกี่สาขา ?

เช่นเดียวกับการเรียนที่แตกต่างกัน สาขาที่แต่ละมหาวิทยาลัยเปิดรับก็แตกต่างกันอยู่บ้าง ขอยกตัวอย่างจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้น้องๆ ได้ดูกันนะครับ

  1. คณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Mathematics and Computer Science)
  2. เคมี (Chemistry)
  3. ชีววิทยา (Biology)
  4. ฟิสิกส์ (Physics)
  5. พฤกษศาสตร์ (Botany)
  6. เคมีเทคนิค (Chemical Technology)
  7. ธรณีวิทยา (Geology)
  8. วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Enviromental Science)
  9. วิทยาศาสตร์ทางทะเล (Marine Science)
  10. ชีวเคมี (Biochemistry)
  11. วัสดุศาสตร์ (Material Science)
  12. จุลชีววิทยา (Microbiology)
  13. วิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและ เทคโนโลยีทางการพิมพ์ (Photographic Science and Printing Technology)
  14. เทคโนโลยีทางอาหาร (Food Technology)

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทํางานอะไร

เรียนจบไปทำงานอะไร ?

เรียนจบคณะวิทย์ สามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น เป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์นักวิชาการ นักวิจัย หรือ นักวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษา/กระทรวงต่าง ๆ  หรือจะเปิดธุรกิจ เป็นผู้ประกอบการในด้านที่ตัวเองจบมาก็ได้

เตรียมตัวให้พร้อม

คอร์สเรียนสุดเข้มข้น เพื่อน้องที่อยากสอบติดคณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทํางานอะไร

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทํางานอะไร

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทํางานอะไร

Pack Biology TCAS for Dek66

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทํางานอะไร

Pack APPLIED Math Admissions TCAS For Dek 66

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทํางานอะไร

Pack เคมี TCAS For Dek 66

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทํางานอะไร

Physics V-Series TCAS For Dek 66

วทบ ทำงานอะไรได้บ้าง

สามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น เป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษา/กระทรวงต่าง ๆ ประกอบอาชีพในธุรกิจเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม โดยทำหน้าที่เป็นนักเคมี นักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์ นักวิเคราะห์ระบบ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอะไรบ้าง

แนะนำหลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สาขาวิชาคณิตศาสตร์.
สาขาวิชาเคมี.
สาขาวิชาชีววิทยา.
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์.
สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล วิชาเอกมัลติมีเดีย วิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม.
สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม.
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิชาเอกสาธารณสุขชุมชน.

คณะวิทยาศาสตร์ จบมาตกงานไหม

ต่อมาคือคณะวิทยาศาสตร์ จากการสำรวจพบว่า หางานทำยากหากไม่ได้เรียนต่อเฉพาะทาง ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงบางส่วน วิกฤติ: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ในบ้านเรามักถูกให้ความสำคัญน้อยเกินความเป็นจริงมาโดยตลอด ปลายปีที่แล้วกองทุนวิจัยของไทยก็ถูกตัดงบไปถึง 8,000 ล้านบาท ยิ่งเป็นสาขาที่หางานยากเช่นฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ยิ่งหางานทำยากมาก

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาไหนดี

10 สาขาวิชา คณะวิทยาศาสตร์ / เทคโนโลยี ที่น่าเรียนต่อ.
1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ... .
2. สาขาวิชาสถิติ ... .
3. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ... .
4. สาขาวิชาเคมี ... .
5. สาขาวิชาชีววิทยา ... .
6. สาขาวิชาฟิสิกส์ ... .
7. สาขาวิชาจุลชีววิทยา ... .
8. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล.