ครูในศตวรรษที่ 21 ควรมีสมรรถนะอย่างไร

ความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาสมรรถนะและความฉลาดรู้ของผู้เรียน

“ฐานสมรรถนะ” เป็นคำสำคัญ ที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ในแผนการดำเนินงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรม 4 ด้าน ได้แก่ การคิดนอกกรอบ และต่อยอดเป็น การคิดอย่าง มีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเองได้ การสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

สืบเนื่องจากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนไทยยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และผลการประเมิน PISA รอบปี 2018 จาก 79 ประเทศทั่วโลก พบว่า คะแนนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ของประเทศไทยมีแนวโน้มคงที่ เมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ แต่คะแนนการอ่านลดลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความฉลาดรู้  (Literacy) หรือสมรรถนะในการเชื่อมโยงความรู้ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ หรือปัญหา การหาคำตอบ แสดงเหตุผล หรือลงข้อสรุปได้อย่างมีวิจารณญาณ สามารถสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ของนักเรียนไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ประเทศไทย   จึงจำเป็นต้องยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยปรับเปลี่ยนการเรียนรู้จากเดิมที่เคยเน้นเนื้อหาวิชาเป็นการสอน เพื่อพัฒนาสมรรถนะ และความฉลาดรู้ของนักเรียน มากกว่าที่จะเน้นให้เกิดการพัฒนาความรู้แต่เพียงอย่างเดียว เพราะความฉลาดรู้ และสมรรถนะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไทยที่ต้องมีเพื่อเป็นทักษะพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 

แนวคิดสามเหลี่ยมการศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี สู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และพัฒนาความฉลาดรู้ของผู้เรียน

ครูในศตวรรษที่ 21 ควรมีสมรรถนะอย่างไร

การยกระดับคุณภาพการศึกษาดังกล่าวนั้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโลยี (สสวท.)  กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำร่องขับเคลื่อนมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับเปลี่ยนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ภายใต้การจัดการเรียนรู้ ฐานสมรรถนะ และพัฒนาความฉลาดรู้ของผู้เรียน โดยจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  ซึ่งกรอบการทำงานที่สำคัญประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร และสื่อการเรียนการสอน การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาแนวทางวัด และประเมินผลการเรียนรู้ 

ครูในศตวรรษที่ 21 ควรมีสมรรถนะอย่างไร

แผนภาพสามเหลี่ยมการศึกษา

กรอบงานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแนวทาง สสวท.

  • – หลักสูตร
  • – การจัดการเรียนการสอน
  • – การวัดและประเมินผล 

ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ  ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สสวท. อธิบายว่า “จากแนวคิดสามเหลี่ยมการศึกษาดังกล่าว พบว่า สิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเปลี่ยนแปลง คือ การพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ การพัฒนารูปแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ที่วัดการนำไปประยุกต์ใช้ การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหามากกว่า  วัดความจำ หรือที่เรียกว่าการวัดผลเชิงสมรรถนะนั่นเอง”

เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ทำให้คนในสังคมมีทักษะ และเจตคติที่ต่างไปจากเดิม ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้การเข้าถึงความรู้ทำได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การเรียนรู้จึงต้องปรับรูปแบบจากเดิมที่เคยเน้นถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ ไปสู่รูปแบบการมุ่งเน้นใช้ฐานความรู้ และระบบความคิดที่บูรณาการและเชื่อมโยงความรู้สู่ชีวิตประจำวัน เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการตั้งคำถาม ความรู้ ด้านคณิตศาสตร์ ระบบการคิดเหตุผล และการหาความสัมพันธ์ ความเข้าใจ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อหล่อหลอมผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดการสร้างรายได้ รวมถึงการเรียนรู้ด้านวิชาชีพ และทักษะชีวิต โดยครูยุคใหม่จะต้องเปลี่ยนบทบาทจากครูผู้สอน เป็นโค้ช หรือ ผู้สนับสนุนการเรียนรู้  ทำหน้าที่กระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำปรึกษา ชี้แนะวิธีการเรียนรู้ วิธีคิดที่สามารถบูรณาการความรู้ และเชื่อมโยงความรู้ สู่ชีวิตประจำวันให้แก่ผู้เรียน

ครูในศตวรรษที่ 21 ควรมีสมรรถนะอย่างไร

  แนวโน้มการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในอนาคต

 “การที่จะยกระดับการศึกษาได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยครูเป็นกำลังหลักที่สำคัญในการผลักดันให้ ก้าวไปข้างหน้า และบรรลุสัมฤทธิ์ผล สสวท. วางเป้าหมายการพัฒนาให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ได้อย่างเหมาะสม ภายใต้หลักสูตรฐานสมรรถนะ การวัด และประเมินผลการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นวัดสมรรถนะมากกว่าความรู้ความจำ ซึ่งปีงบประมาณที่ผ่านมา สสวท. ได้นำร่องการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ มาแล้วส่วนหนึ่ง ผ่านการอบรมหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการอบรมหลักสูตรเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม ศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิทยาการคำนวณ โดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏร่วมเป็นพี่เลี้ยง นอกจากนี้ สสวท. ยังได้ปรับรูปแบบการอบรมเป็นแบบออนไลน์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และในอนาคตจะขยายผลการพัฒนาครูผ่านแพลตฟอร์มที่เหมาะสมต่อไป” ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าว

รัฐบาลได้กำหนดนโยบายเร่งด่วน ในการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง สสวท. ดังนั้น เพื่อขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลดังกล่าว สสวท. และมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในทุกภูมิภาค จึงได้ร่วมกันทำงานเชิงบูรณาการ เป็นแกนนำในการพัฒนาครูทุกพื้นที่ของประเทศ ให้เป็นครูยุคใหม่  ในศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การออกแบบ และเทคโนโลยี และวิทยาการคำนวณ ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ตามแนวทางของโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษา และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่อง

ผู้อำนวยการ สสวท. ยังได้กล่าวถึงทิศทางการพัฒนาครูในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ว่า การพัฒนาครู  ในปี 2565 สสวท. จะปรับรูปแบบการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา เป็นแบบออนไลน์ ซึ่ง สสวท.   ได้พัฒนาระบบการอบรมครูมาเป็นระยะ ตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเน้นสร้าง  และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรระดับพื้นฐาน ระดับกลาง และระดับสูง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย ให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 พัฒนาครูให้เป็นวิทยากรแกนนำมาตรฐานสูง พัฒนาครูในโรงเรียนโครงการพระราชดำริ โรงเรียนวังไกลกังวล และโรงเรียนโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย รวมทั้งพัฒนาครู สควค. ที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ให้มีศักยภาพสูงต่อไป ภายใต้การ “สร้างเด็กฉลาดรู้ ครูคุณภาพสูง ยกระดับการศึกษาไทย แข่งขันได้ด้วยฐานสมรรถนะ”

ครูในศตวรรษที่ 21 ควรมีสมรรถนะอย่างไร

สินีนาฏ  จันทะภา ผู้ชำนาญฝ่ายยุทธศาสตร์ แผนและประกันคุณภาพ สสวท.  : ผู้เขียน

#ยกระดับคุณภาพการศึกษา การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สู่การศึกษาฐานสมรรถนะ ครูคุณภาพสูง ครูยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ฐานสมรรถนะ ระบบอบรมครู

สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 มีอะไรบ้าง

สมรรถนะครูในศตวรรษที่21 (SEAMEO INNOTECH, 2010) 1. การเตรียมแผนการสอนที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจของโรงเรียน 2. การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 3. การพัฒนา และใช้ทรัพยากรสาหรับการเรียนการสอน 4. การพัฒนาทักษะการจัดลาดับความคิดระดับสูง 5. การอานวยความสะดวกในการเรียนรู้ 6. การส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ 7. ส่งเสริมการ ...

ครูในศตวรรษที่ 21 ควรมีลักษณะอย่างไร

ครูในยุคศตวรรษ ที่ 21 ต้องสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การที่ครูทำหน้าที่เป็นผู้ ช่วยเหลือ สนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ ใช้เทคโนโลยีมาเป็นแรงกระตุ้น สรรหา เทคนิคการสอนแบบใหม่โดยสอดคล้องกับความจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่ทันสมัย มนุษย์ในยุค ใหม่ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลาครูจะต้องฝึกนิสัยให้ ...

ครูควรมีสมรรถนะอะไร

1.สมรรถนะหลัก (Core Competency)ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ คือ 1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 1.2 การบริการที่ดี 1.3 การพัฒนาตนเอง 1.4 การทางานเป็นทีม 1.5 จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู

ทักษะด้าน "content" เป็นสมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ด้านใด

Content: ผู้สอนต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี เพราะหากผู้สอนไม่เชี่ยวชาญในเรื่องที่สอนหรือถ่ายทอด ก็ไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้บรรลุเป้าหมาย