พุทธะ ใน ข้อ ใด หมาย ถึง พระพุทธเจ้า

พุทธะ ใน ข้อ ใด หมาย ถึง พระพุทธเจ้า

ความหมายของคำว่าพุทธะ

ก่อนที่นักศึกษาจะทราบถึงวิถีสู่ความเป็นพุทธะเรามารู้จักคำว่า พุทธะŽ เสียก่อนว่า มีความหมาย ว่าอย่างไรบ้าง ซึ่งคำว่าพุทธะนั้น มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกมากมายในหลายพระสูตร แต่จะขอนำเสนอเพียง บางส่วนที่ครอบคลุมเนื้อหาเท่านั้น


พุทธะ1) หมายถึง ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้ว

พุทธะ2) หมายถึง ขจัดซึ่งภัยของสัตว์ทั้งหลายโดยทำสัตว์ทั้งหลายให้เป็นไปในประโยชน์เกื้อกูล และถอยกลับจากสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล

พุทธะ3) หมายถึง ตรัสรู้สรรพธรรมโดยชอบ คือ ไม่วิปริต โดยพระองค์เอง คือ ด้วยพระองค์เอง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสธรรมเพื่อละวัฏทุกข์ทั้งสิ้น เห็นปานนี้ ที่เราได้รับอยู่ในบัดนี้ และที่มีความเกิดอย่างนี้ เป็นอย่างหนึ่ง และเพื่อดับไม่เกิดขึ้นอย่างสิ้นเชิง ตรัสธรรมที่ไม่ผิดตรงกันข้ามความจริง ความที่พระศาสดาสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะทรงแสดงธรรมไม่ผิดแผก พระองค์มีหมู่แห่งอริยบุคคล 8

พุทธะ4) หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว ท่านผู้รู้อริยสัจ 4 อย่างถ่องแท้ ซึ่งอาจจะมีการแบ่งได้หลายประเภท แต่หากแบ่งตามอรรถกถาที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกแล้ว ท่านแบ่งออกเป็น 3 ประเภท5) คือ

ประเภทที่ 1 พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ท่านผู้ตรัสรู้เองและสอนผู้อื่นให้รู้ตาม

ประเภทที่ 2 พระปัจเจกพุทธเจ้า คือ ท่านผู้ตรัสรู้เองจำเพาะผู้เดียว

ประเภทที่ 3 พระสาวกพุทธะ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุพุทธะ

ดังนั้น คำว่า พุทธะ หากกล่าวโดยรวมแล้วจึงหมายถึง ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หรือผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบานภายใน

ในบทเรียนที่จะกล่าวต่อไปนี้ ขอให้นักศึกษาทำความเข้าใจว่า เราจะกล่าวถึงการเข้าถึงพุทธะ อันเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าภายในไปตามลำดับ โดยยกตัวอย่างจากการเข้าถึงของพระอัญญาโกณฑัญญะในธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นสำคัญ เพราะท่านเป็นพระภิกษุรูปแรกที่ปฏิบัติตามคำสอนแล้วได้เข้าถึงและเป็นพยานในการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

-------------------------------------------------------------------


1) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, 2546 หน้า 795.
2) อรรถกถาภยเภรวสูตร, มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 17 หน้า 337.
3) อรรถกถาสุปปวาสาสูตร, ขุททกนิกาย อุทาน, มก. เล่ม 44 หน้า 212.
4) พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศ้พท์. กรุงเทพฯ : ด่านสุธาการพิมพ์ จำกัด พ.ศ. 2528 หน้า 189.
5) อรรถกถาเถรสูตร, ขุททกนิกาย อุทาน, มก. เล่ม 44 หน้า 94.

GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
กลุ่มวิชาเป้าหมายชีวิต

พจนานุกรมพุทธะ : พจนานุกรม ออนไลน์ แปลภาษา คือ อะไร แปลว่า หมายถึง

ค้นหาคำศัพท์ :

  • หน้าหลัก
  • ภาษาน่ารู้
  • พจนานุกรมทั้งหมด
  • เพิ่มคำศัพท์ใหม่

หน้าหลัก > พจนานุกรมทั้งหมด > แปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน > พุทธะ

พุทธะ

พุทธะ

  • พุทธ พุทธ พุทธะ

    [พุด พุดทะ] น. ผู้ตรัสรู้ ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้ว ใช้เฉพาะเป็นพระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญว่า พระพุทธเจ้า. (ป.).

    ดูคำอื่นๆในหมวดแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

    พุพุกพุกามพุงพุงจงพุงดอพุงทะลายพุงปลาพุงปลาช่อนพุงพวง

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

พุทธะ ใน ข้อ ใด หมาย ถึง พระพุทธเจ้า

พุทธะภาษาอังกฤษ

พุทธะภาษาไทย พุทธะความหมาย Dictionary พุทธะแปลว่า พุทธะคำแปล

พุทธะคืออะไร

พุทธะ

[n.] enlightened person (อ่านต่อ...)

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ LEXiTRON

ความหมายของ พุทธะ จากพจนานุกรมเล่มอื่นๆ

Tweets by andrewbiggs

หน่วยที่ 2 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

พระรัตนตรัย : ความหมายและคุณค่าของพุทธะ

พุทธะ ใน ข้อ ใด หมาย ถึง พระพุทธเจ้า

ความหมายของพุทธะ
พุทธะ หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว หรือผู้รู้อริยสัจจ์ 4 อย่างถ่องแท้ ตามอรรถกถาท่านแบ่งออกเป็น 3 คือ

1. พระพุทธเจ้า หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้เองและสอนให้ผู้อื่นให้รู้ตาม บางทีเรียกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. พระปัจเจกพุทธะ หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้เองจำเพราะผู้เดียว
3. พระอนุพุทธะ หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สาวกพุทธะ

บางแห่งจัดเป็น 4 คือ สัพพัญญูพุทธะ ปัจเจกพุทธะ จตุสัจจพุทธะ (พระอรหันต์) และสุตพุทธะ (ผู้เป็นพหูสูต)
ในที่นี้คำว่า พุทธะ หมายถึง พระพุทธเจ้า คือ ท่านผู้ตรัสรู้ธรรมเข้าถึงความจริงของธรรมชาติ แล้วนำธรรมนั้นมาประกาศให้ผู้อื่นได้รู้และประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะได้ประสบผลที่ดีงามตามอย่างพระองค์

พระพุทธเจ้า ทรงเป็นที่ระลึกให้มั่นใจว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้มีสติปัญญาความสามารถที่อาจฝึกปรือ
หรือพัฒนาให้บริบูรณ์ได้ สามารถหยั่งรู้สัจธรรม บรรลุความหลุดพ้นเป็นอิสระไร้ทุกข์ อยู่เหนือโลกธรรม และมีความดีสูงเลิศ
ที่แม้แต่เทพเจ้าและพรหมก็เคารพบูชา ดังมีพระบรมศาสดาเป็นองค์นำ มนุษย์ทั้งหลายที่หวังพึ่งเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ถ้ารู้จักฝึกอบรมตนให้ดีแล้ว ก็ไม่มีสิ่งใดที่เทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเหล่านั้นจะทำให้ได้ เหมือนดังที่กรรมดีและจิตปัญญาของมนุษย์เองจะสามารถทำได้

คุณค่าของพุทธะ
ในการไหว้พระสวดมนต์ เราสวดพุทธคุณ 3 ประการคือ พระปัญญาคุณ พระมหากรุณาคุณ และพระวิสุทธิคุณ เป็นการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เมื่อเรานับถือพระพุทธเจ้าเป็นพระศาสดา เราจะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระคุณของท่าน น้อมเอาพระคุณของท่านมาไว้ในตน พระคุณทั้ง 3 ประการนี้เราต้องปฏิบัติตามคือ (พระธรรมปิฎก. 2544 : 22-27)

1. พระพุทธเจ้าทรงมีพระปัญญา
จึงตรัสรู้ธรรม สามารถสั่งสอนประกาศพระศาสนาและบริหารหมู่สงฆ์ได้สำเร็จ เราก็ต้องพยายามศึกษาให้รู้เข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลาย และดำเนินชีวิตทำกิจการต่าง ๆ ด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงนั้น อย่างน้อยในการเป็นอยู่ของเรา คือ ในการดำเนินชีวิตนั้นเราจะต้องใช้ปัญญา คนเราจะรับผิดชอบต่อตัวเอง และสร้างสรรค์จัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้อง จะต้องมีความรู้ มีความเข้าใจ และใช้ปัญญา ไม่ใช่อยู่แค่อารมณ์ หรือความรู้สึก เราจะต้องรู้จักปฏิบัติต่อชีวิตนี้ โดยเน้นที่การใช้ปัญญา การกระทำอะไรต่าง ๆ เราจะต้องพยายามทำด้วยปัญญา ด้วยความรู้ ด้วยความเข้าใจเหตุผล
อย่างน้อยก็ไม่ทำตามอารมณ์ ถ้ามีปัญหาทางสังคม เราจะต้องใช้ปัญญาก่อน
ในหน้าที่ต่อส่วนตน ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้เข้าใจเหตุผล ถามตนเองว่า ในเรื่องนี้ เรามีความรู้ความเข้าใจแจ่มชัดแค่ไหน เรารู้ข้อมูลเพียงพอไหม เราได้วิเคราะห์เรื่องนี้อย่างจะแจ้งหรือหรือ เข้าถึงหลัก กำหนดเป็นขั้นตอนมองเห็นเหตุปัจจัยหรือสาเหตุต่างๆของสิ่งเหล่านี้หรือไม่เช่นเมื่อทำเหตุอย่างนี้แล้วผลออกมาเช่นไรเป็นผลดีหรือผลเสียเป็นต้นนี่คือแง่ของปัญญาต้องมีการใช้ปัญญาอย่างจริงจังเป็นการทำความรับผิดชอบของตนเองให้สมบูรณ์2. พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณา ทรงมุ่งหมายจะให้ชาวโลกทั้งหลายได้ประโยชน์จากธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้ เพื่อให้มวลมนุษย์มีชีวิตที่ดีงามมีความสุข หลุดพ้นจากอำนาจบีบบังคับครอบงำของกิเลสและความทุกข์ จึงอุทิศพระชนม์ทั้งหมดของพระองค์บำเพ็ญพุทธกิจเทศนาสั่งสอนประชาชน โดยไม่คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อยยากลำบากใด ๆ
เราทั้งหลายจะต้องมีกรุณา ซึ่งรวมถึงเมตตาด้วย เมตตาคือ การมองผู้อื่นด้วยความรู้สึกรักใคร่ปรารถนาดีหรือเป็นมิตร คือตั้งจิตไว้ในทางที่มีความรักกัน ไม่ใช่ตั้งจิตด้วยโทสะ หรือความโกรธเกลียดชัง ถ้าเราตั้งจิตในทางโกรธเกลียดชังเมื่อไร เราจะมองคนด้วยความลำเอียง แล้วการมองของเราก็จะผิดพลาด และจะเกิดอคติฉะนั้นเมื่อมีเหตุการณ์อะไรขึ้นมาจะต้องตั้งจิตเมตตามองอย่างมิตรขึ้นมาให้ได้ก่อน
ส่วนกรุณาคือความมีใจพลอยหวั่นไหวไปกับความทุกข์ความเดือดร้อนหรือปัญหาของผู้อื่น อยากจะช่วยแก้ไข อยากจะช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ เริ่มตั้งแต่เห็นอกเห็นใจ จนกระทั่งขวนขวายที่จะช่วยเหลือ
ในการแก้ปัญหา เมื่อมีเมตตากรุณาแล้ว ก็จะทำให้หันหน้าเข้าหากัน พิจารณาปัญหาร่วมกัน พูดจากัน แล้วก็จะมีทางแก้ปัญหาได้ดีขึ้น
ฉะนั้นความมีปัญญาและกรุณาจะต้องคู่กัน และมีความสมดุล คือในแง่ส่วนตัวเราจะต้องใช้ปัญญา ส่วนในแง่ของผู้อื่นเราจะต้องใช้เมตตากรุณา เมื่อเรามีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น ก็จะทำให้เราใช้ปัญญาอย่างถูกต้องด้วย ปัญญานั้นจะได้ใช้อย่างไม่ลำเอียง

คําว่าพุทธะหมายความว่าอย่างไร

(พุด, พุดทะ-) น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็นพระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญว่า พระพุทธเจ้า. สัมพุทธ-, สัมพุทธะ

พุทธะหมายถึงอะไร มีกี่ประเภท

พุทธะ คือ ผู้ตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งได้แก่ปัญญานั่นเอง ที่ทำให้เป็นพุทธะโดยไม่มีใครแต่งตั้งให้เลย พุทธะ มีหลายประเภท ได้แก่ สัพพัญญูพุทธะ คือ พระสัมมาสัม พุทธเจ้าผู้ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยไม่มีใครเป็นผู้สอน แล้วทรงแสดงพระธรรม ให้สัตว์โลกได้รู้ตาม ปัจเจกพุทธะ คือ พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ธรรมเฉพาะตน ...

อนุพุทธ มีความสําคัญอย่างไร

อนุพุทธ.
อนุพุทธ แปลว่า ผู้ตรัสรู้ตาม คือ พระสาวกผู้ได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้า.
อนุพุทธ หมายถึง ผู้ได้ตรัสรู้ธรรมโดยอาศัยการสดับคำสอนจากพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติตามจนได้บรรลุ มิใช่ผู้ตรัสรู้ธรรมได้เองตามลำพังหากตรัสรู้ธรรมได้เองเรียกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า.

พระพุทธเจ้าทรงถือกําเนิดในวรรณะใด

พระโคตมพุทธเจ้า
ชาวเมือง
กบิลพัสดุ์, เนปาล
นามพระบิดา
พระเจ้าสุทโธทนะ
นามพระมารดา
พระนางสิริมหามายา
วรรณะเดิม
กษัตริย์
พระโคตมพุทธเจ้า - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › พระโคตมพุทธเจ้าnull