การฟังคำสั่งในการปฏิบัติงาน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

      google youtube โรงเรียนพระแสงวิทยา สพม.11

หลักการฟัง

การฟังคำสั่งในการปฏิบัติงาน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

 ที่มา    :  การศึกษานอกโรงเรียน, กรม. ( ๒๕๔๖ ). ชุดวิชาภาษาไทย ระดับประถมศึกษา.  กรุงเทพ ฯ :  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จุดมุ่งหมายของการฟัง

การฟัง การดูมีหลักและจุดมุ่งหมายหลายอย่างดังนี้

๑.  การฟังเพื่อความรู้

การฟังเพื่อความรู้ ต้องฟังโดยตั้งใจ มีสมาธิจึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายในการฟัง ต้องแยกให้ได้ว่า  ตอนใดเป็นความรู้สึกนึกคิด ตอนใดเป็นข้อเท็จจริง หรือ ตอนใดเป็นความคิดเห็นของผู้พูด ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ สิ่งใดที่เป็นความรู้ใหม่ ๆ ต้องจดบันทึกความสำคัญไว้ด้วย

๒.  การฟังคำสั่งเพื่อนำไปปฏิบัติได้

ต้องฟังด้วยความตั้งใจ และฟังให้เข้าใจแยกข้อความว่า ใครสั่ง สั่งทำอะไร ทำอย่างไร

ถ้าฟังคำสั่งไม่เข้าใจ ให้ขอร้องผู้พูดให้พูดซ้ำจนเข้าใจ ควรจดบันทึกคำสั่งไว้เพื่อกันลืม และจะได้นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

๓.  การฟังเพื่อความเพลิดเพลิน

ผู้ฟังจะเกิดอารมณ์และความรู้สึกเพลิดเพลินเมื่อได้ฟังน้ำเสียง อาจเป็นเสียงมนุษย์ เสียงดนตรี เสียงธรรมชาติ หรือการได้ฟังเรื่องราวที่พอใจ นอกจากจะเกิดความเพลิดเพลินแล้ว ยังก่อให้เกิดความรู้ ความรู้สึกข้อคิดต่าง ๆ ที่อาจนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

๔.  การฟังเพื่อพิจารณาคุณค่าของสิ่งที่ฟัง

ต้องเลือกเฟ้นเรื่องที่ดีมีประโยชน์แก่ตนเองให้มากที่สุด โดยมีหลักสำคัญ  คือ เรื่องนั้นเป็น
เรื่องเกี่ยวกับอะไร ฟังแล้วมีคติสอนใจอะไรบ้าง ฟังแล้วได้อารมณ์ความรู้สึกอย่างไรบ้าง ฟังแล้ว
ได้ประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้อย่างไร และสามารถนำสำนวนภาษาไปใช้พูดใช้เขียนได้อย่างไร

๕.  หลักการฟังคำถาม

ต้องตั้งใจฟังคำถามและจับใจความว่าผู้ถามต้องการถามเรื่องอะไร ถามว่าอย่างไร

ให้เรียงลำดับเรื่องที่ฟังว่าถามคำถามใดก่อน-หลังถ้าฟังคำถามไม่เข้าใจควรขอร้องผู้ถามให้ถามซ้ำ ควรจดบันทึกคำถามไว้เพื่อกันลืม และตอบคำถามให้ตรงประเด็นและเรื่องราวที่ถาม

๖.  หลักการฟังเพื่อจับใจความสำคัญ

ผู้ฟังต้องตั้งใจฟังอย่างมีสมาธิ ฟังเรื่องให้เข้าใจ  และตั้งคำถามถามตนเองว่าเรื่องนั้น

เป็นเรื่องอะไร ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร  อย่างไร ให้พิจารณาว่าตอนใดเป็นใจความสำคัญ

ตอนใดเป็นส่วนขยาย ให้วิเคราะห์แยกแยะว่าอะไรเป็นข้อเท็จจริง อะไรเป็นข้อคิดเห็น อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล เพื่อประโยชน์ในการตีความและประเมินค่าของเรื่องที่ฟัง และให้บันทึกข้อความที่สำคัญไว้  โดยใช้ภาษาของตนเองอย่างสั้น ๆ ง่าย ๆ เพื่อเป็นการสรุปความ

การฟัง

TAGS : การฟัง ความหมาย วิธีการ มารยาทการฟัง

 

การฟัง
ความหมายของการฟัง
การฟัง หมายถึง  การรับรู้ การเข้าใจ จับประเด็นและแปลความหมายจากเสียงที่เป็นคำพูด สัญญาณต่างๆ ที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้ถูกต้อง
ม.ล  ฐิติรัตน์  ลดาวัลย์ (๒๕๔๒:๓๒)  ได้ให้ความหมายของการฟังว่า “การฟังนั้นต่างจากการได้ยิน ซึ่งเป็นการรับรู้อย่างหนึ่งของร่างกาย โดยอาศัยโสตประสาทเป็นเครื่องรับรู้ แต่การฟังนั้นเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างตั้งใจของระบบประสาท ซึ่งจะต้องประกอบด้วย การได้ยิน การรับรู้หรือสัญชาตญาณ การจำได้ ละความเข้าใจ หมายความว่า ในการฟังนั้นต้องมีการรับสารและตีความหมายของสารที่ได้ยินนั้นด้วย การฟังจึงนับว่า เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผู้ฟังต้องใช้ทักษะ ไหวพริบ และความคิดเป็นสำคัญ ”
กระบวนการฟัง
          กระบวนการฟังประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน คือ๑.  เป็นกระบวนการแรกของการฟัง  โดยการได้ยินเสี่ยงที่เป็นคำพูดจากบุคคลโดยตรง หรือจากสื่อ หรือเสียงสัญญาณต่างๆ
๒.  รับรู้  เป็นกระบวนการขั้นที่สองต่อจาการได้ยิน การรับรู้จะเป็นการแปลความหมายของคำพูด หรือความหมายที่ได้รับ
๓.  เข้าใจ เป็นกระบวนการขั้นที่สาม  เมื่อประสาทสัมผัสได้ยิน และรับรู้ความหมายจากการฟังแล้วเกิดความเข้าใจ
๔.  พิจารณา  เป็นกระบวนการขั้นที่สี่ เมื่อเข้าใจสารที่ได้ฟังแล้ว  ก็นำมาพิจารณาแยกแยะว่า สารนั้นเป็นสารประเภทใด โดยการใช้วิจารณญาณว่าควรจะเชื่อได้หรือไม่ ข้อมูลที่ได้ฟังมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงได้
๕.  นำไปใช้  เป็นกระบวนการสุดท้ายของการฟัง เมื่อใช้วิจารณญาณวิเคราะห์แล้ว ก็สรุปนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
จุดมุ่งหมายของการฟัง
หน่วยศึกษานิเทศน์ กรมสามัญศึกษา (๒๕๒๕: ๗๑ -๗๓)ได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการฟังไว้ดังนี้ คือ
๑.  การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
๒.  การฟังเพื่อจับใจความโดยละเอียด
๓.  การฟังเพื่อหาเหตุผลมาโต้แย้งหรือคล้อยตาม
๔.  การฟังเพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง
๕.  การฟังเพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
          ๑.  การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ เป็นการฟังเพื่อจับประเด็นสาระสำคัญของสารที่ได้ยิน ว่ามีอะไรบ้าง การฟังเพื่อจับใจความสำคัญต้องใช้ความตั้งใจและสมาธิ คิดพิจารณาเรื่องที่ได้ฟังตลอดระยะเวลาของการฟัง เช่น การฟังคำวินิจฉัยโรค การฟังคำแนะนำของแพทย์ การฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เป็นต้น
๒.  การฟังเพื่อจับใจความรายละเอียด  เป็นการฟังเพื่อประมวลสาระสำคัญของรายละเอียดในส่วนใจความสำคัญว่ามีอะไรบ้าง เพื่อนำสาระส่วนรายละเอียดไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง การฟังเพื่อ       จับใจความโดยละเอียด ต้องอาศัยความเข้าใจและสมาธิ ความคิดคล้อยตามไปด้วยในขณะที่ฟัง เช่น การฟังการประชุมเพื่อแก้ไขข้อกำหนด หรือ การกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ การฟังสาธิตที่มีสิ่งประดิษฐ์ที่มีหลายขั้นตอน การฟังการปฏิบัติการผ่าตัดทางการแพทย์ เป็นต้น
๓.  การฟังเพื่อหาเหตุผลมาโต้แย้งหรือคล้อยตาม เป็นการฟังที่มีผู้มีความรู้ ในเรื่องที่ได้ฟังอย่างลึกซึ้งเป็นอย่างดี สามารถอธิบายถึงข้อดี ข้อเสีย ทั้งในด้านบวกและด้านลบ สามารถแนะนำข้อควรปฏิบัติได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เช่น การพิจารณาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดขั้นเงินเดือน การปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอน การกำหนดระเบียบข้อบังคับของเจ้าหน้าที่และพนักงานในองค์กร ฯลฯ
๔.  การฟังเพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง เป็นการฟังเพื่อความเพลิดเพลิน และความจรรโลงใจผู้ฟังไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิและความตั้งใจมากนักเพียงแต่ปล่อยอารมณ์ให้คล้อยตามเรื่องที่ฟังได้ เช่น การบรรยายความงามของธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร ภาพจิตรกรรม ภาพถ่าย บทร้อยกรองของกวี เป็นต้น
๕.  การฟังเพื่อส่งเสริมจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ เป็นการฟังเพื่อนำสารที่ได้ยินไปสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งที่ผู้ฟังได้วางแผนไว้อยู่แล้วอาจจะอยู่ในรูปของงานประพันธ์ บทร้อยกรอง ภาพจิตรกรรม การออกแบบเครื่องแต่งกายของตัวละครในประวัติศาสตร์และวรรณคดี การออกแบบก่อสร้าง ตกแต่งอาคารสถานที่ ปราสาทราชวัง หรืออื่นๆ เป็นต้น
ความสำคัญของการฟัง
๑.  การฟังทำให้ได้รับความรู้  การฟังมีความสำคัญในชีวิตประจำวันในทักษะทั้งสี่ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ทักษะในการฟังเป็นทักษะที่ใช้มากที่สุด  การฟังทำให้ผู้ฟังได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น เช่น การฟังการบรรยายในชั้นเรียน การฟังข่าวสารประจำวัน ทำให้ได้รับความรู้ทันเหตุการณ์ การฟังอาจจะฟังจากผู้ส่งสารโดยตรง หรือ ฟังผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ ซีดี-รอม ฯลฯ
๒.  การฟังทำให้เกิดความคิดกว้างไกล  การสร้างนิสัยการฟังที่ดี ทำให้เกิดความคิดไปในด้านต่างๆ สามารถแก้ปัญหา สร้างงาน วิเคราะห์ พิจารณาเรื่อต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุมีผล  เข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบข้าง และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบโลก เข้าใจปัญหาสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าได้กับทุกสถานการณ์ และช่วยทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติได้
๓. การฟังทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง  การฟังเรื่องราวต่างๆทำให้ได้รับความรู้มากมาย ผู้ฟังสามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งในครอบครัว การทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักแยกแยะสิ่งที่ควรกระทำและไม่ควรกระทำ รู้จักแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง ทำให้เกิดความมั่นใจในตนเอง  นอกจากนั้นยังนำความรู้ ความก้าวหน้าทางวิทยาการที่ได้รับฟังอยู่เป็นประจำมาใช้พัฒนางานในหน้าที่ได้อีกด้วย
๔.  การฟังทำให้เกิดความจรรโลงใจ  และซาบซึ้ง  การฟังบทร้อยกรอง สุนทรพจน์ คำสอนของนักปราชญ์ ผู้นำทางศาสนา การฟังบทเพลง ดนตรีที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจ ทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส มีชีวิตชีวา เป็นการรักษาสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ให้แข็งแรง มีอายุยืนยาว  นอกจากนั้นยังทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างได้รับความสุขด้วย
๕.  การฟังเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน  การฟังในครอบครัวมีความสำคัญในระดับแรก ที่ทำให้ครอบครัวมีความสุข ความอบอุ่นการฟังในสังคม ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา การฟังในระดับ ผู้นำระดับประเทศที่มีการติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ข้อปฏิบัติตามกฎ  ระเบียบ  เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการลดความขัดแย้งและข้อพิพาท ซึ่งได้แก่ การล่วงล้ำเขตแดน การทดลองอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่มนุษย์โลก นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดสนธิสัญญาความร่วมมือช่วยเหลือระหว่างประเทศทั่วโลกอีกด้วย
ประโยชน์ของการฟัง
๑.  การฟังช่วยให้การพูดสมบูรณ์  องค์ประกอบของการพูดที่สำคัญ ได้แก่ ผู้ส่งสาร ตัวสาร สื่อ และจะสมบูรณ์ไม่ได้ถ้าหากการพูดนั้นไม่มีผู้ฟัง การฟังที่ดีจะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล และเกิดการตอบสนองได้อย่างถูกต้อง
๒.  การฟังทำให้ได้รับความรู้  ความคิด ทัศนคติ การฟังทำให้ได้รับรู้เรื่องราวที่แปลกใหม่ของบุคคลที่เราสนทนารวมทั้งเรื่องราวต่างๆอีกมากมายที่ยังไม่เคยได้ยินมาก่อน และสามารถนำไปใช้ประยุกต์กับชีวิตประจำวัน การทำงาน และนำไปขยายผลต่อได้
๓.  การฟังทำให้ได้รับความเพลิดเพลิน  การเลือกฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์ทำให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมทั้งก่อให้เกิดความสนุกสนานอีกด้วย
๔.  การฟังช่วยให้เปลี่ยนทัศนคติ และช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น  การฟังมากทำให้ผู้ฟังมองโลกได้กว้างขึ้น ยอมรับความเป็นจริง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น นอกจากนั้นการฟังคำสั่งสอน คำพูดที่เป็นคติสอนใจ คำพูดที่ดีงาม คำพูดที่เป็นคติเตือนใจ จะช่วยปลอบประโลมใจ สร้างกำลังใจ และช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นด้วย
๕.  การฟังทำให้เกิดวิจารณญาณ  การฟังด้วยปัญญาทำให้สามารถรับรู้เรื่องราวได้อย่างละเอียดถูกต้องและลึกซึ้งรู้จักแยกเหตุแยกผลได้ สามารถตัดสินเรื่องที่ได้ฟังว่าเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้เพราะอะไร และถ้าหากควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อเพราะอะไร
๖.  การฟังทำให้เกิดปฏิภาณไหวพริบ  การฟังมากและฟังด้วยความตั้งใจ รู้จักสังเกตและวิเคราะห์ ทำให้สามารถอ่านความรู้สึกนึกคิด และรู้เท่าทันในการกระทำของผู้อื่น รู้จักการวิเคราะห์พฤติกรรม จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเกี่ยวกับเรื่องการตัดสินใจไม่ผิดพลาด
ลักษณะของการฟังที่ดี
๑.  ฟังอย่างตั้งใจและมีสมาธิ  การฟังที่ดีผู้ฟังต้องพุ่งความสนใจไปยังเรื่องที่กำลังฟังอยู่ โดยไม่ยอมให้สิ่งอื่นใดมารบกวนจิตใจและร่างกาย เพื่อจะทำให้การฟังได้รับประโยชน์มากที่สุด
๒.  ตั้งจุดมุ่งหมายในการฟัง  การฟังทุกครั้งผู้ฟังต้องตั้งจุดมุ่งหมายทุกครั้งว่าการฟังนั้น     เพื่ออะไร เช่น เพื่อจับใจความสำคัญ จับใจความโดยละเอียด ฟังเพื่อสรุปและหาเหตุผลมาโต้แย้งหรือคล้อยตาม ฟังเพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง หรือฟังเพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น  เพื่อจะได้นำเรื่องที่ฟังไปใช้ให้ตรงตามความต้องการ
๓.  วิเคราะห์จุดประสงค์ของผู้พูด การฟังที่ดีผู้ฟังจะต้องทราบจุดประสงค์ของผู้พูดว่า มีจุดประสงค์อะไร  เช่น เพื่อให้ความรู้ เพื่อชักชวน วิงวอน ขอร้อง ขอความร่วมมือ หรือ ชี้แจง เป็นต้น
๔.  ไม่มีอคติต่อผู้พูดและเรื่องที่ฟัง  การฟังที่ดี ผู้ฟังต้องมีใจเป็นกลาง ไม่มีอคติต่อผู้พูด หรือ ต่อเรื่องที่ผู้พูดนำมาพูด ผู้ฟังควรนำเรื่องที่ได้ฟังมาพิจารณาละวิเคราะห์ด้วยความเป็นธรรม ด้วยเหตุด้วยผล เช่น การฟังแถลงนโยบายของพรรคการเมือง ของรัฐบาล การฟังการแถลงจุดยืนของพรรคฝ่ายค้าน ควรจะวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของนโยบายของพรรคมากว่าที่จะไม่ชอบผู้นำหรือสมาชิกร่วมพรรค การคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้ารับตำแหน่งที่สำคัญ ควรพิจารณาถึงความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมในด้านการปฏิบัติงานมากกว่าจะพิจารณาด้านพื้นฐานของครอบครัวว่าเป็นผู้ที่มีฐานะดีหรือด้อย
๕.  จับประเด็นสำคัญและสรุปความจากการฟัง  การฟังที่ดี เมื่อตั้งใจฟังตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนสิ้นสุด จะต้องจับประเด็นสำคัญของเรื่องและนำผลไปสรุปความคิดรวบยอด เช่น การฟังการประชุมเพื่อชี้แจง การฟังการอภิปราย การสัมมนา เพื่อปรึกษาหารือหรือข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ และผู้ฟังมีส่วนร่วมในการสื่อสารตลอดเวลา
ประเภทของการฟัง
๑. การฟังโยมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสาร เป็นการฟังการสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการฟังขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวัน  เช่น การทักทาย การปฏิสันถาร  การปรึกษาหารือ การสนทนา  หรือ เป็นการฟังการสื่อสารระหว่างกลุ่ม ซึ่งได้แก่การประชุม การอภิปราย การสัมมนา เพื่อปรึกษาหารือหรือข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ และผู้ฟังมีส่วนร่วมในการสื่อสารตลอดเวลา
๒.  การฟังโดยไม่มีส่วนร่วมในกระบวนสื่อสาร  เป็นการฟังที่ผู้ฟังไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสาร เช่น การฟังการกล่าวเปิดงาน การกล่าวรายงาน การกล่าวคำปราศรัย คำอวยพร สุนทรพจน์การกล่าวสดุดี การบรรยายสรุป เป็นต้น
๓.  การฟังโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เป็นการฟังโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การฟังการฟังรายการการกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การฟังและชมรายการจากวิทยุ โทรทัศน์ การฟังจากแถบบันทึกเสียง การฟังและชมจากวีดีทัศน์ การฟังจากซีดี-รอม การชมภาพยนตร์ การชมถ่ายทอดรายการผ่านสื่อสารดาวเทียม เป็นต้น
การสรุปสาระสำคัญจากเรื่องที่ฟัง
๑.  การสรุปการฟังระหว่างบุคคล  เป็นการฟังการสัมภาษณ์ การสนทนาผู้ฟังต้องตั้งใจฟังและจับประเด็นของเรื่องที่ผู้พูดส่งมาให้ว่า เรื่องนั้นเป็นเรื่องอะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับตัวผู้ฟัง ก่อนที่จะมีการตอบสนอง
๒.  การสรุปการฟังจากกลุ่ม  เป็นการสรุปการฟังจากกลุ่ม เช่น การประชุม การอภิปราย การสัมมนา มีระเบียบวาระและเนื้อหาที่สำคัญอะไรบ้าง ผลที่ได้ มติตกลงที่ประชุมเป็นอย่างไร      เป็นต้น  การสรุปการฟังจากกลุ่มอาจจะมีทั้งที่เป็นปัญหาการแก้ไขปัญหา การขอความร่วมมือ หรือการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม หรือประเทศชาติ
๓.  การสรุปการฟังจากที่ประชุม  การฟังจากที่ประชุมชนผู้พูดกับผู้ฟังมีการแยกส่วนกันอย่างเห็นได้ชัด ผู้พูดอาจพูดแบบคนเดียว  หรือเป็นคณะ อาจพูดตามหัวข้อที่ไดกำหนดไว้แล้ว มีการแบ่งลักษณะเนื้อหาออกไปคนละส่วน แต่อยู่ภายในขอบเขตของโครงเรื่องและตามกำหนดเวลา การสรุปการฟังจากที่ประชุมชน ได้แก่ การฟังปาฐกถา การปราศรัย การแสดงความคิดเห็น การทำประชาพิจารณ์ การพูดในโอกาสพิเศษต่างๆ ซึ่งผู้ฟังจะรู้จุดมุ่งหมายในการฟังในที่ประชุมชนในแต่ละที่อยู่แล้ว จึงสามารถสรุปเนื้อหาได้ง่าย เพราะมีกรอบอยู่แล้ว
๔.  การสรุปการฟังจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เนื่องจากการฟังจากสื่อประเภทนี้ผู้ฟังแต่ละคนจะมีทัศนคติ ประสบการณ์ ความคิดที่เป็นส่วนบุคคลแตกต่างกันออกไป การฟังจึงขึ้นอยู่กับความต้องการที่รับสารให้ตรงกับความต้องการของตนเองเป็นสำคัญ การสรุปการฟังจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีหลายประเภท เช่น ความรู้ทางวิชาการ ข่าว สารคดี บันเทิงคดี เป็นต้น
ข้อบกพร่องในการฟัง
๑.  ไม่มีความตั้งใจในการฟัง การฟังที่ไม่ตั้งใจจะทำให้การฟังนั้นไม่สัมฤทธิ์ผล เพราะจิตใจอาจวิตกกังวล หรือครุ่นคิดอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือสภาวะแวดล้อมในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการฟัง  เช่น อากาศหนาว ร้อนอบอ้าว หรือมีกลิ่นเหม็นอับชื้น มีเสียงดังรบกวน ผู้คนเดินผ่านไปมา เป็นต้น
๒.  เรื่องที่ฟังเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าจะเข้าใจ  การฟังเรื่องที่ยากซึ่งเป็นความรู้ทางด้านวิชาการเป็นส่วนใหญ่ อาจทำให้การฟังอาจเกิดปัญหาในด้านการแปลเรื่อง คำศัพท์ หรือทฤษฎีต่างๆที่ซับซ้อน
๓.  ไม่สามารถตับประเด็นของเรื่องที่ฟัง  การฟังถ้าผู้ฟังไม่ศึกษาถึงจุดประสงค์และกรอบแนวคิดในการพูดแต่ละครั้ง จะทำให้การฟังสับสน  เพราะไม่สามารถจับประเด็นและสาระสำคัญของเรื่องที่ฟังได้
๔.  ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  เมื่อการฟังดำเนินไปได้สักระยะผู้ฟังเห็นว่า การพูดครั้งนั้นไม่สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดของตนก็ตัดสินใจไม่ยอมรับฟังต่อไป
๕.  มีอคติต่อผู้พูด  เมื่อผู้ฟังได้เห็นหน้าผู้พูดแล้วเกิดอคติ จึงทำให้ไม่สนใจเรื่องที่ผู้พูดจะพูดต่อไป โดยไม่เปิดใจกว้าและยอมรับว่าแท้จริงแล้วเรื่อที่ผู้พูดพูดได้ดีและมีสาระสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
                   การแก้ไขข้อบกพร่องในการฟัง มีข้อปฏิบัติดังนี้
๑. ฝึกให้มีสมาธิ การฝึกฝนให้ตนเองมีสมาธิอาจทำได้งาย โดยเริ่มจาการฟังระยะเวลาสั้นๆ และพยายามจับสาระสำคัญให้ได้ ต่อไปก็ขยายเวลาออกไปจนในที่สุด ก็จะเป็นผู้ที่ฟังเรื่องต่างๆได้เป็นเวลามากขึ้น
๒.  ฝึกนิสัยให้เป็นผู้รักการฟัง  เริ่มจาการฟังการสนทนาระหว่างบุคคล และการฟังในกลุ่ม การฟังคำบรรยาย การฟังการอภิปราย การฟังปาฐกถา การฟังจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก็แล้วแต่จะชอบรายการประเภทใด แล้วพยายามจับสาระสำคัญให้ได้
๓.  ฝึกให้เป็นผู้ที่เข้าได้กับทุกสภาวะแวดล้อม  ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สถานที่ อากาศ บรรยากาศ และบริเวณที่มีเสียงดังรบกวน
๔.  ไม่มีอคติต่อผู้พูดและเรื่องที่ฟัง  ยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอในเรื่องต่างๆของผู้พูดทุกคน โดยคิดว่าความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นที่แสดงออกมาเป็นเรื่องที่ดี ควรรับไว้ศึกษา และคิดว่าได้ประโยชน์อีกแง่มุมหนึ่ง
๕.  ศึกษาเรื่องที่จะฟังล่วงหน้า  การที่จะฟังเรื่องใดๆก็ตามหากทราบล่วงหน้า ควรจะค้นคว้าอ่านจากหนังสือตำรา  วารสาร หรือการสนทนากับผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ก่อนจะทำให้การฟังเรื่องดังกล่าวเป็นไปด้วยความเข้าใจและลึกซึ้ง
๖.  ฝึกนิสัยให้เป็นผู้ที่รักการอ่าน  การอ่านมากจะทำให้ได้รับความรู้มาก เมื่อได้ยินเรื่องราวการพูดจากที่ใด หรือจากใครก็ตาม ก็สามารถเข้าใจเรื่องราวได้รวดเร็ว และทำให้เกิดความรู้สึกอยากจะฟัง

มรรยาทในการฟัง
มรรยาทเป็นสิ่งที่พึงมีอยู่ในตัวบุคคลทุกระดับชั้น จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการศึกษา การอบรม และจิตสำนึก มรรยาทในการฟังโดยทั่วไปมีดังนี้
การฟังในที่สาธารณะ
๑.  ควรไปถึงสถานที่ก่อนเวลาเล็กน้อย เพื่อจะได้จัดหาที่นั่งให้เหมาะสม
๒.  แต่งกายให้สุภาพ เหมาะกับสถานที่และสภาพแวดล้อม
๓.  ขณะที่ฟังควรมีการสำรวมกิริยามรรยาท ท่านั่งควรสุภาพ ไม่ยกแขน หรือ เท้าพาดแขนไปที่นั่งด้านหน้าหรือด้านข้าง
๔.  ไม่ส่งเสียงดัง พูดคุยกับคนใกล้ชิด รบกวนสมาธิผู้ฟังคนอื่นๆ
๕.  ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูดไปในทางที่เสียหาย หากมีสิ่งใดไม่พอใจควรอยู่ในอาการสงบ
๖.  เมื่อมีการแนะนำผู้พูด ควรปรบมือให้เกียรติ หากระยะเวลาการพูด มีระยะเวลาที่ถูกใจ ควรปรบมือ ไม่ควรโห่ร้อง กระทืบเท้า หรือขว้างปาสิ่งของ
๗.  ไม่ควรลุกเข้าออกบ่อยๆในขณะที่การพูดกำลังดำเนินอยู่หากมีความจำเป็นควรทำความเคารพผู้พูดเพื่อเป็นการให้เกียรติถึงแม้ผู้พูดจะเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม
๘.  หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยที่ต้องการจะถาม ควรให้การพูดสิ้นสุดลงก่อน และเป็นช่วงระยะเวลาที่เปิดโอกาสให้ซักถาม ควรใช้คำถามที่สุภาพ และไม่ยาวเกินไป และเป็นการให้เกียรติผู้พูดและผู้ร่วมฟังคนอื่นๆที่อยู่ในนั้น
๙.  ไม่นำของขบเคี้ยวหรืออาหารที่มีกลิ่นรุนแรงเข้าไปรับประทาน เพราะจะสร้างความรำคาญให้กับผู้ฟังคนอื่นๆการฟังระหว่างบุคคล
๑.  ฟังด้วยความตั้งใจ
๒.  ขณะฟังควรมีกิสำรวมกิริยามรรยาท โดยเฉพาะผู้อาวุโส ควรมีการสบตาและยิ้ม หรือพยักหน้ารับ
๓.  ไม่ควรถามขัดจังหวะในขณะที่คู่สนทนากำลังเล่าเรื่อง หรือกำลังพูดเรื่องที่การบรรยายหรืออธิบายติดต่อกัน ควรเว้นระยะให้การบรรยายจบลงเสียก่อน
๔.  ขณะที่ฟังไม่ควรหันไปทำกิจกรรมอื่น หรือสนใจเรื่องอื่นๆเพราะจะทำให้การฟังไม่ต่อเนื่อง และผู้พูดอาจคิดว่าไม่ให้ความสนใจ
๕.  ไม่แสดงกิริยาเบื่อหน่าย หรือไม่พอใจ ควรให้เวลาในการฟังเรื่องราวต่างๆพอสมควร
๖.  ควรเปิดใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้อื่นไม่ควรแสดงความโกรธหรือกิริยาไม่พอใจ หากเรื่องที่ฟังไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของตน
วิธีฝึกทักษะการฟัง
ม.ล. ฐิติรัตน์ ลดาวัลย์ (๒๕๔๒:๓๒) ได้กล่าวถึงวิธีการฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะการฟัง สรุปได้ดังนี้ คือ
๑.  เตรียมตัวให้พร้อมที่จะฟัง โดยศึกษาหัวข้อเรื่องที่จะฟังล่วงหน้าเพื่อจะได้มีพื้นความรู้เบื้องต้นในเรื่องที่จะฟัง จะช่วยทำให้การฟังเรื่องนั้นเข้าใจมายิ่งขึ้น
๒.  ในขณะฟัง ฟังอย่างตั้งใจและพยายามจับใจความสำคัญและคิดวิเคราะห์ความหมายที่แท้จริงที่ผู้พูดต้องการสื่อสารให้ผู้ฟังทราบ
๓.  รู้จักสังเกตอวัจนภาษาหรือภาษาท่าทางของผู้พูดในขณะที่พูดจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องและเจตนาของผู้พูดมากยิ่งขึ้น
๔.  ในขณะฟังต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามขั้นตอนของการฟัง คือ ต้องทำความเข้าใจเรื่องที่ฟังให้ตรงกับผู้พูด และประมวลความคิดในขณะฟังด้วยการเลือกสรรข้อมูลให้ตรงกับข้อเท็จจริง รู้จักปฏิเสธข้อมูลที่คลาดเคลื่อน สามารถใช้วิจารณญาณตัดสินคุณค่า รู้จักเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้อ้างอิงได้ สามารถสรุปสาระและความคิดรวบยอดได้
๕.  พยายามหาประโยชน์จากเรื่องที่ฟัง และนำประโยชน์จากการฟังมาใช้ให้ได้นับเป็นหัวใจของการฟัง
๖.  พยายามจดบันทึกเรื่องที่ฟังทุกครั้งเพื่อเป็นการเตือนความจำ
๗.  เมื่อฟังจบแล้วพยายามตอบคำถามให้ได้ว่า  ใจความสำคัญและประเด็นหลักของเรื่องที่ฟังคืออะไร ประเด็นที่สำคัญรองๆลงไปมีอะไรบ้าง
๘.  ควรเป็นคนใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้พูด ก่อนตัดสินด้วยเหตุผลประกอบว่าเพราะเหตุใดผู้พูดจึงมีความคิดเช่นนั้น
๙.  ฝึกการฟังทุกเรื่องที่ผู้พูดพูด ไม่เลือกฟังข้อมูลเฉพาะที่เป็นข้อเท็จจริง ควรฟังสิ่งที่เป็นข้อคิดเห็นและส่วนที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยๆประกอบด้วย
๑๐. ขณะฟังต้องรักษามรรยาทการฟัง

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

การฟังมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1. ฟังเพื่อความรู้ 2. ฟังเพื่อประเมินค่า 3. ฟังเพื่อความเพลิดเพลินและซาบซึ้ง 4. ฟังเพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิด สร้างสรรค์ ประเภทของการฟัง 1. การฟังการสื่อสารระหว่างบุคคล 2. การฟังกลุ่มย่อย 3. การฟังในที่ชุมชน 4. การฟังจากสื่อมวลชน

การฟังมีความสําคัญอย่างไร

ประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ 1. ช่วยให้ผู้พูดรู้สึกไว้วางใจและเปิดใจที่จะเล่า 2. ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังดีขึ้น ผู้พูดรู้สึกว่าเราใส่ใจ ให้เกียรติเขา รู้สึกดีต่อเรา 3. เราในฐานะผู้ฟัง เข้าใจผู้พูดและมีความเห็นอกเห็นใจเขามากขึ้น และมีอคติต่อผู้อื่นลดลง

ขั้นตอนการฟังมีอะไรบ้าง

๑. การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ ๒. การฟังเพื่อจับใจความโดยละเอียด ๓. การฟังเพื่อหาเหตุผลมาโต้แย้งหรือคล้อยตาม ๔. การฟังเพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง ๕. การฟังเพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ Page 4 ความสำคัญของการฟัง

การฟังสารธุรกิจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ประเภทของการฟังสารทางธุรกจิ 1. การฟังข่าวสารทางสื่อมวลชน 2. การฟังการสนทนาระหว่างบุคคล 3. การฟังคาส่ังหรือข้อแนะนาการปฏบิ ตั งิ าน