ระบบเศรษฐกิจแบบใดที่เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด

ระบบเศรษฐกิจแบบใดที่เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด

ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ             หมายถึง การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในทางเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจและพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น  การจำแนกระบบเศรษฐกิจ
การตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีหลายวิธี โดยจะเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้น โดยทั่วไปนิยมแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้
1.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ ตลอดจนเสรีภาพที่จะเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้ รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ หน่วยธุรกิจและครัวเรือน จะผลิตและบริโภคตามคำสั่งของรัฐ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจกระทำโดยรัฐบาล จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจทุกอย่างไว้ที่ส่วนกลาง ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ จุดเด่นของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ก็คือ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลในสังคม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและ บริโภคตามคำสั่งของรัฐ ผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาจะถูกนำส่งเข้าส่วนกลาง และรัฐจะเป็นผู้จัดสรรหรือแบ่งปัน สินค้าและบริการดังกล่าวให้ประชาชนแต่ละคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ประชาชนไม่มีเสรีภาพที่จะผลิตหรือบริโภคอะไรได้ตามใจเพราะจะถูกบังคับหรือสั่งการจากรัฐ สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงจูงใจ และการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะมีข่าวสารที่สมบูรณ์ในทุก ๆ เรื่อง
2. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสามารถและโอกาสของตนโดยอาศัยตลาดและราคาในการเลือก โดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยมาก
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้แก่
- ทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน
- เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยผ่านกลไกราคา และมีกำไรเป็นแรงจูงใจ            - มีการแข่งขันเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ
- รัฐไม่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ มีบทบาทเพียงการรักษาความสงบเรียบร้อย ความยุติธรรม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม              คือ ประชาชนสามารถใช้ความรู้ความสามารถ โอกาส ความคิดริเริ่ม ของตนในการผลิตและบริโภคเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนได้อย่างเต็มที่
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ จากความสามารถและโอกาสของบุคคลที่แตกต่างกัน ทำให้มีระดับรายได้แตกต่างกัน นำไปสู่ปัญหาการกระจายรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจน ส่วนการผลิตในระบบทุนนิยมเป็นที่มาของการแข่งขันกันผลิต นำไปสู่การทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจนกลายเป็นปัญหาของโลกในปัจจุบัน
ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ สิงคโปร์

3. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต วางแผนและควบคุมการผลิตบางประเภท โดยเฉพาะการผลิตที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน เช่น การสาธารณูปโภค ต่างๆ สถาบันการเงิน ป่าไม้ เอกชนถูกจำกัดเสรีภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ดำเนินการได้เพียงอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมขนาดย่อม ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความแตกต่างด้านฐานะระหว่างคนรวยและคนจน
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ได้แก่
- รัฐคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกรูปแบบ
- ไม่มีการแข่งขันเกิดขึ้น     -รัฐสั่งการผลิตคนเดียว
- มีการวางแผนจากส่วนกลาง
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คือ สร้างความเสมอภาคด้านฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลในสังคม ประชาชนได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลกลางโดยเท่าเทียมกันและสามารถกำหนดนโยบายเป้าหมายตามที่รัฐบาลกลางต้องการได้
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม  คือ ประชาชนขาดแรงจูงใจในการทำงาน เศรษฐกิจของประเทศอาจเผชิญวิกฤติหากรัฐกำหนดความต้องการผิดพลาดและการไม่มีระบบแข่งขันแบบทุนนิยมทำให้ไม่มีการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ
ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เช่น เกาหลี ลาว เวียดนาม

4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมระหว่างระบบทุนนิยมกับสังคมนิยม มีรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ แต่ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชน การกำหนดราคาขึ้นกับกลไกแห่งราคาของตลาด
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม ได้แก่
- เอกชนมีเสรีภาพ
- มีการแข่งขัน แต่รัฐอาจแทรกแซง การผลิตได้บ้าง
- รัฐดำเนินกิจการบางอย่างในรูปของรัฐวิสาหกิจ เช่น สาธารณูปโภค ( ไฟฟ้า ประปา )
- มีการวางแผนจากส่วนกลางและมีสวัสดิการจากรัฐ
ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน กัมพูชา พม่า เป็นต้น

ระบบเศรษฐกิจแบบใดที่เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด

http://mosszyeuei.blogspot.com/

ระบบเศรษฐกิจแบบใดที่เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด
 

ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม (Laissez-Faire or Capitalism)

ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่ภาคเอกชนใน การเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เศรษฐทรัพย์ต่างๆที่ตนหามาได้ มีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการเลือกอุปโภคบริโภคสินค้า และบริการต่างๆ แต่ทว่าเสรีภาพดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย กล่าวคือ การดำเนินการใดๆจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของบุคคลอื่น ใช้ระบบของการแข่งขันโดยมีราคาและระบบตลาดเป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรทรัพยากร โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะมีหน้าที่เพียงการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและการป้องกันประเทศ

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามที่ตนถนัด
กำไรและการมีระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นแรงจูงใจทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ เอกชนจะทำงานอย่างเต็มที่ เนื่องจากผลิตได้มากน้อยเท่าไรก็จะได้รับผล ตอบแทนหรือรายได้ไปเท่านั้น ภายใต้ระบบเศรษฐกิจระบบนี้จะมีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์หรือเทคนิคใหม่ๆ อยู่เสมอ ทำให้เกิดการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเนื่องจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลโดยพื้นฐาน ทำให้ความสามารถในการหารายได้ไม่เท่ากัน ผู้ที่มีความสามารถสูงกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่าในทางเศรษฐกิจ
ในหลายๆกรณี ราคาหรือกลไกตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น สินค้าและบริการที่มีลักษณะของการผูกขาดโดยธรรมชาติหรือสินค้าและบริการสาธารณะ ซึ่งได้แก่ บริการด้านสาธารณูปโภค (น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ฯลฯ) โครงสร้างพื้นฐาน (ถนน เขื่อน สะพาน ฯลฯ) จะเห็นได้ว่าสินค้าและบริการดังกล่าวส่วนใหญ่จะต้องใช้เงินลงทุนมาก เทคโนโลยีที่ทันสมัย เสี่ยงกับภาวะการขาดทุน เนื่องจากมีระยะการคืนทุนนาน ไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ทำให้เอกชนไม่ค่อยกล้าลงทุนที่จะผลิต ส่งผลให้รัฐบาลต้องเข้ามาดำเนินการแทน อันเนื่องจากสินค้าและบริการเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ประชาชนต้องการ จะเห็นได้ว่ากรณีดังกล่าวราคาไม่สามารถเข้ามาทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรได้
การใช้ระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่าง สิ้นเปลือง เช่น ในบางช่วงที่มีการแข่งขันกันสร้างศูนย์การค้าเพราะคิดว่าเป็นกิจการที่ให้ผลตอบแทนหรือกำไรดี ศูนย์การค้าเหล่านี้เมื่อสร้างขึ้นมามากเกินไปก็อาจไม่มีผู้ซื้อมากพอ ทำให้ประสบกับการขาดทุน กิจการต้องล้มเลิก เสียทุนที่ใช้ไปในกิจการนั้น เป็นการสูญเสียทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปอย่างเปล่าประโยชน์และไม่คุ้มค่า เป็นต้น

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ ตลอดจนเสรีภาพที่จะเลือกใช้ ปัจจัยการผลิตได้ รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ หน่วยธุรกิจและครัวเรือน จะผลิตและบริโภคตามคำสั่งของรัฐ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจกระทำโดยรัฐบาล กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจว่า ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ควรจะนำมาผลิตสินค้าและบริการอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร การตัดสินใจ มักจะทำอยู่ในรูปของการวางแผนแบบบังคับจากส่วนกลาง (central planning) โดยคำนึงถึงสวัสดิการ ของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยสรุประบบเศรษฐกิจแบบนี้จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจทุกอย่าง ไว้ที่ส่วนกลาง รัฐบาลจะเป็นผู้วางแผนแต่เพียงผู้เดียว เอกชนมีหน้าที่เพียงแต่ทำตามคำสั่งของทางการ เท่านั้น

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

จุดเด่นของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ก็คือ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลในสังคม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและ บริโภคตามคำสั่งของรัฐ ผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาจะถูกนำส่งเข้าส่วนกลาง และรัฐจะเป็นผู้จัดสรรหรือแบ่งปัน สินค้าและบริการดังกล่าวให้ประชาชนแต่ละคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบ

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
ประชาชนไม่มีเสรีภาพที่จะผลิตหรือบริโภคอะไรได้ตามใจ ถูกบังคับหรือสั่งการจากรัฐ
สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงจูงใจ เพราะไม่ว่าจะผลิตสินค้าได้ มากน้อยเพียงใด คุณภาพเป็นอย่างไร ผู้บริโภคก็ไม่มีทางเลือกจะต้องบริโภคตามการปันส่วนที่รัฐจัดให้
การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะมีข่าวสารสมบูรณ์ในทุกๆเรื่อง เช่น รัฐไม่รู้ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนทำให้ผลิต สินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการ ส่งผลให้มีสินค้าเหลือ (ไม่เป็นที่ต้องการ) จะเห็นได้ว่าลักษณะดังกล่าว ก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรของประเทศไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นต้น

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism)

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะใกล้เคียงกับระบบเศรษฐกิจ แบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมรัฐจะเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรการผลิตพื้นฐาน ไว้เกือบทั้งหมด และเป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจ กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐาน กิจการหลักที่มี ความสำคัญต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ เช่น ธุรกิจธนาคาร อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ป่าไม้ น้ำมัน กิจการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการต่างๆ ฯลฯ รัฐจะเป็นผู้เข้ามาดำเนินการเอง อย่างไรก็ตาม รัฐยังให้เสรีภาพแก่ประชาชนบ้างพอสมควร เอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน เช่น สามารถทำธุรกิจค้าขายขนาดย่อมระหว่างท้องถิ่นใกล้เคียง สามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน เพื่อการยังชีพ โดยสรุป ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่อาศัยกลไกรัฐเป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ แต่ทว่ากลไกราคาพอจะมีบทบาทอยู่บ้างในระบบเศรษฐกิจนี้

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีส่วนช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทาง ฐานะและรายได้ของบุคคลเช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ นอกจากนั้น ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนมีเสรีภาพและมีกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินบ้างพอสมควร

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เนื่องจากปัจจัยการผลิตพื้นฐานอยู่ในการควบคุมของ รัฐบาลทำให้ขาดความคล่องตัว การผลิตถูกจำกัดเพราะต้องผลิตตามที่รัฐกำหนด โอกาสที่จะขยายการผลิตหรือพัฒนาคุณภาพการผลิตเป็นไปค่อนข้างลำบาก ทำให้การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ในลักษณะเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)

ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กับระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐบาลและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน ในส่วนที่เป็นแบบทุนนิยม คือ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบางอย่าง มีเสรีภาพในการเลือกผลิตหรือบริโภค ใช้ระบบของการแข่งขัน กลไกราคาเข้ามาทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร ส่วนที่เป็นแบบสังคมนิยม คือ รัฐบาลเข้ามาควบคุมหรือเข้ามาดำเนินกิจการที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น กิจการสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมหลัก และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องมีการลงทุนมากเพราะหาเอกชนลงทุนได้ยาก เนื่องจากเป็นกิจการที่ต้อง เสี่ยงกับการขาดทุนหรือไม่คุ้มกับการลงทุน แต่กิจการเหล่านี้จำเป็นต้องมีเพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีพ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา การขนส่ง และคมนาคม เหตุที่รัฐบาลเข้ามาดำเนินการในกิจการดังกล่าวก็เพื่อขจัดปัญหาในเรื่องการผูกขาดหรือเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นถ้าปล่อยให้เอกชนทำการแข่งขัน โดยสรุปแล้วระบบเศรษฐกิจแบบผสมจึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการใช้ทั้งระบบกลไกราคา หรือระบบตลาดควบคู่ไปกับระบบกลไกรัฐในการจัดสรรทรัพยากร

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

เป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความคล่องตัว กล่าวคือ มีการใช้กลไกรัฐร่วมกับกลไกราคาในการจัดสรรทรัพยากรของระบบ กิจการใดที่กลไกราคาสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐก็จะปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ (ใช้ระบบของการแข่งขัน) แต่ถ้ากิจการใดที่กลไกราคาไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพรัฐก็จะเข้ามาดำเนินการแทน จะเห็นได้ว่าระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสาน กล่าวคือ รวมข้อดีของทั้งระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมเข้าไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจดังกล่าวก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
การมีกำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอาจก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะ และรายได้เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
การที่รัฐสามารถเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยใช้กลไกรัฐอาจก่อให้เกิด
ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำให้เกิดการบิดเบือน การใช้ทรัพยากรของระบบ เศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ปัญหาเอกชนไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่เนื่องจากไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมือง และนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความผันผวนและแปรเปลี่ยนได้ง่าย อาจทำให้เศรษฐกิจเกิดการหยุดชะงัก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง

ระบบเศรษฐกิจแบบใดที่เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด


ความหมายและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจภายในของประเทศไทยเป็นแบบผสม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้ามามีส่วนในการดำเนินกิจกรรม ทางเศรษฐกิจของประเทศหลายประการ แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะเป็นของเอกชน ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลกนิยมใช้ในปัจจุบัน อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงประมาณ 7-8% ซึ่งถ้ามองในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ตัวเลขดังกล่าวมีผลในการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากการที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการพัฒนาการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และการพัฒนาการผลิตเพื่อส่งออก

ระบบเศรษฐกิจของไทยจำเป็นต้องพึ่งพาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มีการแข่งขันกันผลิต มีการขาย และมี การจัดการตามระบบการค้าเสรี ปัจจุบันรายได้สูงสุดของประเทศมาจากสินค้าทางการเกษตรถึงร้อยละ 60 ของรายได้ จากการส่งออกทั้งหมด และจากการจ้างแรงงานในสาขาเกษตรถึงร้อยละ 70 ของแรงงานทั่วประเทศ รัฐบาลจึงให้ความ สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทางด้านการเกษตรเป็นพิเศษ และด้านอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง การพาณิชย์และ การท่องเที่ยว เป็นอันดับที่ลดหลั่นลงมา

ระดับการพัฒนาและปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

(1) เทคโนโลยี เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมที่สำคัญที่มีผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ประเทศผู้ที่มาทีหลังในการปฏิวัติอุตสาหกรรม (เช่น สหรัฐฯ กับจีน) สามารถเรียนรู้ความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มต้นกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมมาก่อน รวมทั้งประเทศผู้มาทีหลังไม่จำเป็นต้องเสียทรัพยากรในการแสวงหาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพราะสามารถนำเทคโนโลยีอันทันสมัยจากประเทศที่เริ่มต้นการพัฒนาอุตสาหกรรมมาใช้ได้ทันที โดยมีการปรับปรุงและคิดค้นเพิ่มเติมให้มีความทันสมัยมากขึ้น เมื่อเทียบกับในสมัยเริ่มต้นเมื่อกว่า 200 ปีมาแล้ว ในกรณีของสหรัฐฯ สามารถพัฒนาต่อยอด เครื่องปั่นด้ายเพื่อพัฒนาโรงงานทอผ้า โดยปรับปรุงให้เข้ากับสภาพที่สอดคล้องกับปัจจัยการผลิตของระบบเศรษฐกิจที่มีแรงงานขาดแคลน ซึ่งต้องเน้นเทคโนโลยีที่ประหยัดแรงงาน เพื่อช่วยทุ่นแรง ผลที่ตามมาก็คือ สหรัฐฯ สามารถปรับปรุงการผลิตเพื่อให้มีระบบการผลิตทีละมาก ๆ (mass production) สหรัฐฯ จึงเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมาโดยตลอด และสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมได้รวดเร็วกว่า

(2) การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐอเมริกาไปสู่ประเทศที่เกิดใหม่ เช่น จีน มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจีนเป็นอันมาก การเคลื่อนย้ายแหล่งผลิตของบรรษัทข้ามชาติ แม้จะมีผลต่อการสะสมทุนของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เช่น สหรัฐอเมริกา แต่ก็สร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแก่ประเทศผู้ได้รับลงทุนด้วยโครงสร้างการส่งออกและการผลิตของจีนได้แปรเปลี่ยนจากประเทศผู้เป็นผู้ส่งออกสินค้าขั้นปฐมมาเป็นประเทศผู้ส่งสินค้าอุตสาหกรรมรายใหญ่ของโลก การเติบโตของการส่งออกของจีน เป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมากในระยะ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยการที่เป็นประเทศขนาดใหญ่มีประชากรมากกว่า 1 พันล้านคน และมีแรงงานเหลือเฟือในชนบท ต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับต่ำ

(3) ปัจจัยทางสังคมมีผลสำคัญต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมและนำไปสู่การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ความรู้ของโลกตะวันตกมีพื้นฐานมาจากความคิดพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เสรีภาพ การแข่งขัน การบริโภคนิยม และเน้นความเอาจริงเอาจังในการทำงานหรือมีความรับผิดชอบในจริยธรรมของการทำงาน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น แม้ว่าในระยะหลังสหรัฐอเมริกาในฐานะที่เป็นผู้นำของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีความถดถอยลงและแม้จีนรวมทั้งประเทศอื่น ๆ ในเอเซียและแปซิฟิกจะมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้นตามลำดับแต่ไม่ได้หมายความว่า ประเทศเหล่านี้จะเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจได้โดยง่าย เพราะองค์ประกอบของปัจจัยทางสังคมดังกล่าวข้างต้น จะเทียบเท่าได้กับโลกตะวันตก และคงต้องใช้ระยะเวลาอีกนานถึงจะเทียบเท่าหรือเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้ แม้จีน (รวมทั้งอินเดีย)

(4) กติกาการค้าระหว่างประเทศ มีผลสำคัญต่อปัจจัยที่มีผลต่อดุลอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง และผู้นำในของโลกเสรีสนับสนุนให้มีกติกาการค้า ระหว่างประเทศโดยเสรี สนับสนุนภาคเอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจและส่งเสริมสนับสนุนให้มีการลงทุนโดยบรรษัทข้ามชาติโดยสหรัฐอเมริกามีบทบาทสำคัญในการผลักดันองค์การระหว่างประเทศ อันประกอบไปด้วย ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ (General Agreement on Tariff and Trade = GATT)