กิจกรรมโลจิสติกส์สามารถแบ่งออกเป็นกี่ระดับ

การบริหารจัดการโลจิสติกส์ซัพพลายเชน เป็นเรื่องสำคัญของการบริหารธุรกิจ เพราะว่า การบริหารจัดการที่ดี สร้างความได้เปรียบให้แก่ธุรกิจ แต่ถ้าจัดการได้ไม่เหมาะสม ก็จะสร้างปัญหาทั้งการให้บริการและต้นทุนอยากมาก

คำถามที่ผมได้รับบ่อยๆ คือว่า การจัดการโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง? แตกต่างจากซัพพลายเชนอย่างไร หรือเป็นการจัดการคลังสินค้า หรือ การจัดการขนส่ง?

10 กิจกรรมสำคัญ

  • กิจกรรมที่ 1 การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้า (Demand Forecasting and Management) 
  • กิจกรรมที่ 2 การให้บริการแก่ลูกค้า (Customer Service)
  • กิจกรรมที่ 3. การสื่อสารข้อมูล และการจัดการคำสั่งซื้อ (Logistics Communication and Sale Order Processing)
  • กิจกรรมที่ 4. การจัดซื้อและการจัดหา (Sourcing and Procurement)
  • กิจกรรมที่ 5. การขนถ่ายวัสดุ และการบรรจุหีบห่อ (Materials Handling and Packaging)
  • กิจกรรมที่ 6 การบริหารสินค้าคงคลัง
  • กิจกรรมที่ 7. การจัดการคลังสินค้า และการกระจายสินค้า (Warehouse and Distribution Management)
  • กิจกรรมที่ 8. การขนส่ง (Transportation Management)
  • กิจกรรมที่ 9. การโลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)
  • และ.. 10 ตัวชี้วัดผลงาน และตัวชี้วัดผลลัพธ์

กิจกรรมโลจิสติกส์สามารถแบ่งออกเป็นกี่ระดับ
กิจกรรมโลจิสติกส์สามารถแบ่งออกเป็นกี่ระดับ
9 กิจกรรมโลจิสติกส์

สอบถามอบรม

กิจกรรมที่ 1 การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้า (Demand Forecasting and Management) 

การพยากรณ์ความต้องการสินค้า เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจ การพยากรณ์น้อยเกินไป มีของไม่พอขาย เสียโอกาสการขาย แต่ถ้าพยากรณ์มากเกินไป จะทำให้สินค้าคงคลังเหลือมากเกิน เงินจม ต้นทุนสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น และอาจจะต้องทำลายสินค้า ทำให้ขาดทุนได้

การพยากรณ์ความต้องการสินค้า เป็นกระบวนการหลัก ของ การวางแผนการขายและปฏิบัติการ Sales & Operations Planning S&OP ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการและการตัดสินใจ เช่น การเตรียมสต็คสำหรับสินค้าออกใหม่ หรือ  การพยากรณ์จะใช้สูตรไหนดี

ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมธุรกิจมีความผันผวนสูง การพยากรณ์ความต้องการสินค้า ต้องการความรวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้นกว่าเดิม จึงต้องการ ซอฟท์แวร์การพยากรณ์ความต้องการสินค้า หรือ Demand Forecasting software เพื่อความเร็ว และแม่นยำในการทำงาน

กิจกรรมที่ 2 การให้บริการแก่ลูกค้า (Customer Service)

 การให้การบริการลูกค้า  เป็นงานที่มีความสำคัญและมีคุณค่าต่อลูกค้า ต่อองค์กร องค์กรควรมุ่งให้ความสำคัญต่อการบริการลูกค้าเพิ่มสูงขึ้น
ในมุมมองในเรื่องนี้ การให้บริการลูกค้าจะคลอบคลุม การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า และนำเข้าคำสั่งซื้อเข้าสู่ระบบ เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้า ถ้าการนำเข้าคำสั่งซื้อไม่ถูกต้อง ก็ทำให้การเคลื่อนย้ายไม่ถูกต้อง เช่น ทำให้ลูกค้าไม่ได้รับสินค้าที่ถูกต้อง หรือช้ากว่ากำหนด ก่อให้เกิดการคืนสินค้า และเสียโอกาสการขายได้

การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คือ การจัดการ เคลื่อนย้ายสินค้า (physical flow) และ การส่งรับข้อมูล (information flow) ภายในทั้งภายในและภายนอกองค์กร

เอกรัตน์ CPIM ESLog

กิจกรรมที่ 3. การสื่อสารข้อมูล และการจัดการคำสั่งซื้อ (Logistics Communication and Sale Order Processing)

การสื่อสารข้อมูล และการจัดการคำสั่งซื้อ คือ การสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะคำสั่งซื้อ ของลูกค้า ให้กับหน่วยงานภายใน ให้เข้าใจตรงกันทั้งหมด และการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นข้อมูลชุดเดียวกันและตรงกัน เพื่อให้ทุกหน่วยงานสื่อสารและเกิดความเข้าใจเหมือนกัน ทำให้ลดข้อผิดพลาด และตัดสินใจได้เร็วขึ้น

กิจกรรมที่ 4. การจัดซื้อและการจัดหา (Sourcing and Procurement)

การจัดซื้อและการจัดหา (Sourcing and Procurement) คลอบคลุมกิจกรรม ตั้งแต่ การเลือกแหล่งซื้อ การเจรจาต่อรอง การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ อุปกรณ์ โดยการจัดซื้อจัดหา ต้องมี กลยุทธ์และเป้าหมายที่สอดคล้องกับเป้าหมาย การบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดการประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการซัพพลายเชน

ในปัจจุบัน เป้าหมาย การบริหารและการเลือกซัพพลายเออร์ ไม่ได้เลือกจากราคาที่ต่ำสุด แต่เป็นการเลือกซัพพลายเออร์ ที่ส่งมอบคุณค่าสูงสุด และเป็น พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ขององค์กร


กิจกรรมที่ 5. การขนถ่ายวัสดุ และการบรรจุหีบห่อ (Materials Handling and Packaging)


การขนถ่ายวัสดุ และการบรรจุหีบห่อ
ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้า หรือเคลื่อนย้ายจากภายในสู่ภายนอก จะเน้นที่ความรวดเร็ว แม่นยำ และมีแนวโน้มจะเป็นระบบอัตโนมัติ เพื่อทดแทนแรงงาน ที่หายากและมีต้นทุนสูงขึ้น

การขนถ่ายวัสดุ และการบรรจุหีบห่อ ปัจจุบันจะมีการเชื่อมโยงกับ เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เช่น บาร์โค้ด, Warehouse Management System (WMS), RFID tag, IoT (Internet of Thing) และ เทคโนโลยีดิจิตอลการประมวลผลภาพหรือเสียง เป็นต้น

เทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ ได้นำมาใช้มากขึ้น เพื่อให้ลดเวลา ลดขั้นตอนการทำงาน และมีความแม่นยำในกระบวนการจัดการได้ดียิ่งขึ้น

กิจกรรมที่ 6 การบริหารสินค้าคงคลัง

สินค้าคงคลัง หรือสต็อค เป็นทรัพย์สินหมุนเวียน ที่มีมูลค่าในธุรกิจ และก็เป็นปัญหาของธุรกิจจำนวนมากที่ผมให้คำปรึกษา ปัญหาที่พบมากคือ สินค้าล้นคลัง เสื่อมสภาพ จำนวนมาก หลายต่อหลายแห่งต้องตัดจำหน่ายออก ทำให้ผลประกอบการขาดทุน

ในการทำงานจริง ปริมาณสินค้าที่เหมาะสม ของแต่ละธุรกิจจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่า องค์นั้นอยู่ตรงไหนในซัพพลายเชน เช่น ถ้าเป็นผู้ขายต้นน้ำส่วนใหญ่จะมีสต็อคสูงกว่าผู้จัดจำหน่ายปลายน้ำ หรือกำลังการต่อรองระหว่างคู่ค้า

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายการบริหารสินค้าคงคลัง การสร้างความสมดุล ระหว่าง ต้นทุนและการให้บริการ กลยุทธ์การจัดการสินค้าคงคลัง จะเกี่ยวข้องกับ ระดับการเก็บ Safety Stock และการจัดการ การสั่งซื้อเมื่อไหร่ (When to Order) และ สั่งจำนวนเท่าไหร่ (How Many to Order – Quantity)


กิจกรรมที่
7. การจัดการคลังสินค้า และการกระจายสินค้า (Warehouse and Distribution Management)

การเคลื่อนย้ายตัวสินค้าจากผู้ผลิต ไปยังผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม หรือ การกระจายสินค้า จะเกี่ยวข้องกับ การบริหารคลังสินค้า ตำแหน่งที่ตั้งของคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า และ การบริหารขนส่งภายในโครงข่ายการกระจายสินค้า

เป้าหมายของการบริหารคลังสินค้า และโครงข่ายการกระจายสินค้า คือ จะเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างไรให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่ถูกต้อง ตามเวลาที่ต้องการ และอยู่ในมาตราฐานคุณภาพสินค้า

กิจกรรมที่ 8. การขนส่ง (Transportation Management)

การขนส่งสินค้า เป็นกิจกรรมสุดท้ายในการส่งมอบสินค้า หลักสำคัญ คือ การส่งมอบสินค้า ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และดำเนินการด้านเอกสารครบถ้วน

ต้นทุนขนส่ง ควรมีการจัดการใช้รถขนส่งที่เหมาะสมกับสินค้า และปริมาณที่จะบรรทุก มีการวางแผนเส้นทางการขนส่งให้ส่งได้รวดเร็ว ต้นทุนต่ำที่สุด หากสามารถจัดการขนส่งเที่ยวกลับ (Back hauling) จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งได้อีกด้วย

ปัจจุบัน การขนส่งได้มีการนำ เทคโนโลยี Block Chain มาช่วยการจัดการ ซึ่งทำให้ลดปัญหาการคิดค่าขนส่งที่ผิดพลาดล่าช้า และปัญหาเอกสารต่างๆ ได้อย่างมาก


กิจกรรมที่ 9. การโลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)

 คือกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้า หรือ บรรจุภัณฑ์ ย้อนกลับจาก ลูกค้า หรือ ผู้บริโภค กลับไปสู่ผู้ผลิต

การย้อนกลับ สามารถเกิดได้จาก การปฎิเสธการรับสินค้า (Reject ) หรือ การนำกลับไปใช้ใหม่ (Reuse หรือ Recycle) ซึ่งในกรณีหลังนี้ จะเป็น บรรจุภัณฑ์
การปฎิเสธการรับสินค้า ถือว่าความสิ้นเปลืองมาก เพราะจะต้องทำกิจกรรมซ้ำกันในการส่งมอบ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจในเรื่องนี้ เป็นพิเศษ

และ.. 10 ตัวชี้วัดผลงาน และตัวชี้วัดผลลัพธ์

จาก 9 กิจกรรมข้างต้น องค์กรสามารถกำหนด ตัวชี้วัดผลงาน หรือ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ได้ใน 3 มุมมอง กล่าวคือ มุนต้นทุน มุมเวลา และ มุมความน่าเชื่อ

ตัวอย่างเช่น ตัวชี้วัดผลงานที่สำคัญ ตัวหนึ่งที่ผมจอขอให้ทุกองค์กรได้วัด กำหนดเป็น เป้าหมายในระดับองค์กร คือ การส่งมอบตรงเวลาและเต็มจำนวน Delivered In Full and On Time – DIFOT เพราะว่า ถ้าองค์กรสามารถทำให้ส่งมอบ ตรงเวลาและจำนวน ได้ตรงตามความคาดหวังของลูกค้า ในระดับต้นทุนที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้แข่งขันได้

แต่ว่า การจะทำให้ DIFOT ได้ตามเป้าหมาย ขึ้นอยู่กับ การบริหารจัดการ 9 กิจกรรม ที่มีความเชื่อมโยงกันภายในองค์กร และภายนอกองค์กร อย่างมีประสิทธิภาพครับ

ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้ หมายถึงว่า ท่านมีความสนในเรื่องนี้ ผมแนะนำให้คลิป กลยุทธ์การจัดการ 4R ที่จะเป็นประโยขน์มากครับ