โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว

องค์การบริหารส่วนตำบล บ้านไร่ ใช้คุ้กกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้

โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว

โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ อบต.บ้านไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว
โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว

โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว
โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว


โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว

โครงการการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแโครงการการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

โครงการการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบ
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
***********************************************************************

1.  ชื่อโครงการ   โครงการการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

2.  หลักการและเหตุผล
ความสำคัญและประเด็นที่เกี่ยวข้อง ปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว    เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นเวลานาน ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาได้ขยายวงกว้าง และมีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและสตรีเป็นอย่างมาก จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ร้อยละ ๓๕ หรือมากกว่า ๑ ใน ๓ ของผู้หญิงทั่วโลก เคยถูกทำร้ายร่างกายและ/หรือถูก ล่วงละเมิดทางเพศ ในปี ๒๕๕๖ พบมีผู้หญิงและเด็กถูกทำร้ายถึงขั้นได้รับบาดเจ็บ ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล                      รวม ๓๑,๘๘๖ ราย หรือ ๘๗ คนต่อวัน โดยความรุนแรงเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เราคิดว่าปลอดภัยที่สุด นั่นคือบ้าน ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมีหลายรูปแบบทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางวาจา                    และทางเพศ เช่น การทำร้ายร่างกาย การบังคับจิตใจ การข่มขู่ การใช้วาจาด่าว่าให้เจ็บช้ำน้ำใจ การควบคุมกักขัง การข่มขืนกระทำชำเรา และการกระทำอนาจาร เป็นต้น ซึ่งผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย และมักเป็นบุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลในครอบครัว ส่วนผู้ถูกกระทำเป็นผู้หญิง ผู้สูงอายุ และเด็ก สังคมมองว่าเป็นปัญหาความรุนแรง                  ในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว แม้แต่ญาติพี่น้องและผู้ใกล้ชิดไม่กล้าเข้าไปช่วยเหลือ ทำให้ผู้หญิง  ตกอยู่ในภาวะยากลำบากและไม่กล้าบอกเล่าให้ใครฟัง เพราะคิดว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย หรือจำต้องยอมถูกกระทำเนื่องจากเป็นห่วงลูก และต้องพึ่งพิงทางเศรษฐกิจจากผู้ชาย สำหรับสาเหตุของการกระทำความรุนแรงเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ เหล้า สารเสพติด การพนัน ความหึงหวง การสะท้อนภาพความรุนแรงของสื่อต่างๆ และที่สำคัญคือ ค่านิยมดั้งเดิมของสังคมไทยที่เชื่อว่าผู้ชายเป็นผู้นำครอบครัว เป็นเจ้าชีวิตภรรยาและลูก มีสิทธิดุด่าทุบตีทำร้าย                     หรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ตามความต้องการ เป็นต้น ปัจจุบันปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวได้กลายเป็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนในสังคมจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันละแก้ไขปัญหา และไม่ใช่เรื่องส่วนตัวอีกต่อไปแล้ว รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การคุ้มครองแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการกระทำความรุนแรง       และลงโทษ เยียวยา ฟื้นฟู ผู้ถูกกระทำความรุนแรง รวมทั้งส่งเสริมให้สังคมรอบข้างได้มีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไข และเฝ้าระวังปัญหาร่วมกัน ความคิดริเริ่ม เนื่องจากการจัดโครงการในครั้งนี้ เป็นการจัดโครงการใหม่                ที่ป้องกันและลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งปัจจุบันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นภัยเงียบที่เป็นภัยต่อสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นในการจัดโครงการในครั้งนี้เราสามารถช่วยป้องกันและลดปัญหาดังกล่าวได้มากขึ้น และทำให้ครอบครัวได้รับรู้บทบาทของตนเองว่าควรปฏิบัติตนต่อคนในครอบครัวอย่างไรเพราะเรื่องในครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก ซึ่งหลายๆ ครั้งที่เกิดปัญหาคนนอกอาจจะมองเป็นแค่เรื่องภายในครอบครัว คนนอกไม่สามารถไปยุ่งเกี่ยวได้ ดังนั้นเราจึงต้องทำให้คนในชุมชนและสังคมมองมุมใหม่ว่าเรื่องภายในครอบครัว ก็จริงแต่เราสามารถให้ความช่วยเหลือและปรึกษาได้ โดยเราจะจัดตั้งเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว โดยเน้นให้ผู้นำชุมชน มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังในปัญหาดังกล่าวด้วย
-2-
อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537                   แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 ส่วนที่ 3 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล  มาตรา 66                      และมาตรา 67 ข้อ (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่  จึงได้จัดทำโครงการการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบให้แก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่                  ได้รู้ลักษณะของการกระทำความรุนแรงหรือวิธีการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบ
3.  วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงในแต่ละรูปแบบ
3.2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รู้ลักษณะของการกระทำความรุนแรงหรือวิธีการที่ใช้ในการแสดงออกถึงความรุนแรง
3.3 เพื่อให้เด็กและเยาวชน ได้รับรู้ถึงโทษทัณฑ์และความคุ้มครองทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐
3.4 เพื่อให้เด็กและเยาวชน ได้รู้วิธีการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบ

4. เป้าหมายของโครงการ

    4.1 เชิงปริมาณ  คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านไร่ ในพื้นที่ หมู่ที่ 1-6 ตำบลบ้านไร่  จำนวน  60  คน
    4.2 เชิงคุณภาพ  คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านไร่ ให้ความสำคัญในการป้องกัน                  และการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบ
5. ระยะเวลาดำเนินการ
               วันที่  14  กันยายน   พ.ศ. 2562
6. สถานที่ดำเนินการ
   ห้องประชุมอาคารเอนกประสงค์องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
7. ขั้นตอนการดำเนินการ
     7.1  ประชุมคณะสภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านไร่ เพื่อวางแผน คณะที่ปรึกษา หารือการดำเนินโครงการ
              7.2  ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมาย
              7.3  จัดกิจกรรม  มีดังนี้
7.3.๑. กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ
           7.3.๒. กิจกรรมทักษะในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบ
7.3.3  การให้ความรู้ถึงโทษทัณฑ์และความคุ้มครองทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐
7.3.4  การสร้างเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี
และบุคคลในครอบครัว เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังในปัญหา

-3-

8.  ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
เชิงปริมาณ
จำนวนคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านไร่ ในพื้นที่ หมู่ที่ 1-6 ตำบลบ้านไร่                จำนวน  60  คน

เชิงคุณภาพ
ผู้เข้าร่วมอบรมการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบ   มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงในแต่ละรูปแบบ  ลักษณะของการกระทำความรุนแรงหรือวิธีการที่ใช้ในการแสดงออก                     ถึงความรุนแรง  โทษทัณฑ์และความคุ้มครองทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำ                    ด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ และรู้วิธีการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบ
9. งบประมาณดำเนินการ
     งบประมาณดำเนินการจ่ายจากเงินจัดสรรบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดเพชรบูรณ์ บัญชีสภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน  10,๐๐0 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)                        โดยมีรายละเอียดกิจกรรม/ค่าใช้จ่าย  ดังนี้
     1. ค่าอาหาร จำนวน ๖๐ คนๆละ ๕๐ บาท จำนวน ๑ มื้อ       =   3,0๐๐ บาท
๒. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๖๐ คนๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๒ มื้อ   =   3,0๐๐ บาท
๓. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๒ คน ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท จำนวน ๔ ชั่วโมง =  ๒,๔00 บาท
๔. ค่าป้ายไวนิล  ขนาด 1.20 เมตร X 2.40 เมตร จำนวน 1 ป้าย     =    450 บาท
๕. ค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น กระดาษพลิปชาร์จ ปากกาเคมี ฯลฯ       =  1,15๐ บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  10,๐๐0 บาท
หมายเหตุ :  ขอถัวจ่ายได้ทุกรายการ

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
10.1  เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงในแต่ละรูปแบบ
10.2  เด็กและเยาวชนได้รู้ลักษณะของการกระทำความรุนแรงหรือวิธีการที่ใช้ในการแสดงออกถึงความรุนแรง
10.3 เด็กและเยาวชน ได้รับรู้ถึงโทษทัณฑ์และความคุ้มครองทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐
10.4  เด็กและเยาวชน ได้รู้วิธีการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบ
11. วิธีการประเมินผลโครงการ
ประเมินผลโดยใช้แบบสังเกต

12. ผู้รับผิดขอบโครงการ
           สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่  อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์

ข่าว ณ. วันที่ 20 ก.ย. 2562 เวลา 13.55 น. โดย คุณ ปาหนัน ท้าวเมือง

ผู้เข้าชม 8408 ท่าน

โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว
โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว
โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว
โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว
โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว
โครงการ แก่ ปัญหา ครอบครัว
แผนผังเว็บไซต์Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10