มิจฉาชีพ รู้เลขบัตรประชาชน ทำยังไง

เตือนภัย!! มิจฉาชีพ ทำทีเป็นหมอดู...

Posted by สำนักงานตำรวจแห่งชาติ on Tuesday, August 24, 2021

หลายครั้งที่เราเผลอให้ข้อมูลส่วนบุคคลไปกับมิจฉาชีพ ที่เอาสิทธิประโยชน์สารพัดมาหลอกเรา กว่าจะรู้ตัวก็กลับตัวไม่ทันเสียแล้ว แต่ถ้าเรายังพอชั่งใจได้ ความกังวลกลับเข้ามาแทนที่แล้วจะคลายกังวลอย่างไร วันนี้ depa มี 3 วิธีง่าย ๆ มาแนะนำกัน

1 เราต้องไม่ตระหนกและรีบนึกถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้กรอกไปเพื่อเร่งดำเนินการแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่ได้กรอกไป เช่น ชื่อ-นามสกุล | เบอร์โทรศัพท์ | เลขบัตรประชาชน | เลขบัญชี ATM บัตรเครดิต/เดบิต

2 ติดต่อธนาคาร เพื่อแจ้งให้เฝ้าระวัง หรือ ระงับการดำเนินธุรกรรมที่อาจจะเกิดขึ้นกับบัญชีของเรา

ติดต่อเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เพื่อแจ้งว่าหากมีใครมาขอแจ้งเปลื่ยนชื่อ-เปลี่ยนเบอร์ หรือ แม้แต่เพื่อซื้อสินค้า อาจเป็นมิจฉาชีพไม่ใช่เรา

3 Email+Password | Username+Password ที่เราใช้เป็นประจำ รีบเปลี่ยนรหัสผ่านทันที

หรือ ถ้ายังไงก็ยังไม่คลายกังวล อาจจะไปลงบันทึกประจำวันไว้ก่อนเพื่อแสดงเจตจำนงค์ว่าเราไม่ได้ตั้งใจที่จะปองร้ายใคร ถึงแม้ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นแต่ก็สบายใจไว้ก่อน

แต่ทางที่ดี กันไว้ดีกว่าแก้ แนะนำให้ตั้งรหัสผ่าน 2 ชั้น ในแต่ละบริการ หรือ ระบบที่เราใช้งาน และ เก็บข้อมูลส่วนตัวให้เป็นเรื่องของเราผู้เดียว

การหลอกลวงเพื่อโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว หรือที่เรียกกันว่า ฟิชชิ่ง (Phishing) ในปัจจุบันมีเทคนิคและรูปแบบในการหลอกลวงที่แนบเนียนมากขึ้น ทั้งเว็บไซต์ปลอมหลอกให้ลงทะเบียน, SMS ปลอมยืนยันข้อมูลส่วนตัว เป็นต้น ซึ่งหากไม่สังเกตให้ดี พอรู้ตัวอีกทีเราก็อาจจะส่งข้อมูลของเราให้กับมิจฉาชีพไปหมดแล้วก็เป็นได้ คำถามต่อไปที่จะผุดขึ้นในใจของเราก็คือ “แล้วเราจะมีความเสี่ยงอะไรบ้าง?” และ “แล้วเราต้องแก้ไขอย่างไร?” วันนี้ Stories & Tips สรุปประเด็นสำคัญมาเล่าให้ฟัง ไปดูกันเลย

มิจฉาชีพ รู้เลขบัตรประชาชน ทำยังไง

ผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

1. เงินหายไปจากบัญชี
เมื่อเราถูกฟิชชิ่งข้อมูล ชื่อผู้ใช้ (Username) , รหัสผ่าน (Password) หรือ รหัส OTP มิจฉาชีพจะนำไปทำธุรกรรมทางออนไลน์ โอนเงินออกจากบัญชีของเราไปยังบัญชีของมิจฉาชีพได้
 

2.ถูกนำข้อมูลบัตรไปลงทะเบียนซื้อของออนไลน์
เมื่อเราถูกฟิชชิ่งข้อมูลบัตรเครดิต/เดบิต ทั้งหมายเลขหน้าบัตร วันที่บัตรหมดอายุ (Exp.) และเลข CVV หลังบัตร มิจฉาชีพจะนำบัตรเราไปลงทะเบียนซื้อของออนไลน์ ทำให้เหยื่อเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัวได้
 

3. สร้างบัญชีปลอม ไปทำธุรกรรมอื่น ๆ
เมื่อเราถูกฟิชชิ่งข้อมูลส่วนบุคคลไป มิจฉาชีพอาจนำข้อมูลเราไปสร้างบัญชีปลอม ทำธุรกรรมหรือสมัครสินเชื่อต่าง ๆ โดยที่เหยื่อไม่รู้ตัวได้

 

มิจฉาชีพ รู้เลขบัตรประชาชน ทำยังไง

ข้อควรปฏิบัติเมื่อรู้ตัวว่าให้ข้อมูลกับมิจฉาชีพไปแล้ว

1. เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ ทั้งหมด

หากมีการใช้ชื่อผู้ใช้ (User) หรือ รหัสผ่าน (Password) เดียวกันในระบบอื่น ๆ ก็ควรเปลี่ยน รหัสผ่าน (Password) ให้ครบทุกระบบ เพื่อป้องกันความเสี่ยง โดยมีเทคนิคการตั้งรหัสผ่านใหม่ง่ายๆ 2 ข้อดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ ชื่อภาษาอังกฤษ, เลขบัตรประชาชน, วัน/เดือน/ปี เกิด, เลขเรียง และ เลขซ้ำกันเกิน 3 ตัว (เลขตอง) เป็นส่วนประกอบในการตั้งรหัส

  • ตั้งรหัสผ่านใหม่ให้แตกต่างกันในแต่ละระบบ


2. ระงับการใช้บัตรเดบิต/บัตรเครดิต (กรณีให้ข้อมูลบัตรไป)  

โดยสามารถอายัดบัตรชั่วคราวได้ผ่านแอป SCB EASY    


3. ติดต่อ SCB Call Center โทร. 02-777-7777 

ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอคำแนะนำ และขอความช่วยเหลือ รวมถึงขอให้ตรวจสอบความเสียหายให้กับผู้ประสบปัญหาอาชญากรรมทางการเงิน   


4. รวบรวมหลักฐานแจ้งความที่สถานีตำรวจ

ให้รวบรวมหลักฐานแจ้งความที่สถานีตำรวจ ตามคำแนะนำของ Call Center โดยเร็วที่สุด เพื่อระงับความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยมีเทคนิคการแจ้งความดังต่อไปนี้

สตช.เผยวิธีการหากถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลบัตรประชาชนไปใช้ ต้องทำอย่างไร พร้อมเตือนคนโกงหากปลอมแปลงเอกสารมีโทษหนักคุก 3 ปี ปรับ 6 หมื่น

วันนี้ (26 มี.ค. 65)  พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กล่าวว่า ขอเตือนภัยกรณีมีสื่อสังคมออนไลน์นำเสนอเกี่ยวกับการนำข้อมูลบัตรประชาชนหรือข้อมูลส่วนตัวไปซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีความห่วงใยต่อภัยทางสื่อสังคมออนไลน์ที่หลอกลวงสร้างความเสียหายให้กับประชาชน โดยสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย

ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จึงได้กำชับและสั่งการให้ทุกหน่วยในสังกัดที่เกี่ยวข้องทำการสืบสวนสอบสวน จับกุม ปราบปรามภัยทางสื่อสังคมออนไลน์ทุกรูปแบบตามกฎหมายอย่างจริงจัง มีผลการปฎิบัติเป็นรูปธรรม รวมถึงสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงภัยดังกล่าวและแนวทางในการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย

ดังเช่น กรณีที่สื่อสังคมออนไลน์มีการนำเสนอเกี่ยวกับการนำข้อมูลบัตรประชาชน หรือข้อมูลส่วนตัวไปใช้ สำหรับซื้อขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งอาจจะถูกมิจฉาชีพปลอมลายมือชื่อลงในสำเนาบัตรประชาชนแล้วนำไปใช้ในการกระทำความผิด หรือหลอกลวงผู้อื่น หากมีการแก้ไขข้อความในช่องชื่อ นามสกุล วันออกบัตร หรือวันหมดอายุ ลงในสำเนาบัตรประชาชน ไม่ว่าจะนำไปถ่ายสำเนาใหม่อีกครั้ง ถือเป็นการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

 แม้จะเป็นเพียงการแก้ไขข้อความลงในสำเนาบัตรประชาชนก็ตาม การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐาน ปลอมบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการและฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 268 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 265 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รวมถึงการกระทำดังกล่าวหากมีการกระทำผิดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ยังเข้าข่ายความผิด นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้ออมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(1) มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือความผิดตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

รองโฆษก ตร. กล่าวอีกว่า ขอแนะนำแนวทางในการป้องกันและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.หากถูกมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลบัตรประชาชน บัตรเครดิตหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ให้แจ้งไปยังธนาคาร เพื่อทำการอายัดบัตรและปฎิเสธการชำระเงินค่าบริการทางออนไลน์ และทำการตรวจสอบรายการเดินบัญชี รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

2.สามารถเดินทางไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนในทุกพื้นที่ใกล้บ้าน เพื่อทำการสืบสวนสอบสวนพิสูจน์ทราบถึงตัวผู้กระทำความผิดและนำตัวมาดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

3.ควรหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมที่ไม่น่าเชื่อถือผ่านทางออนไลน์ที่ต้องแจ้งข้อมูลบัตรประชาชน หรือ บัตรเครดิตด้านหน้าบัตร และรหัส 3 ตัวที่อยู่ด้านหลังบัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องระวังการหลอกลวงให้กรอกข้อมูลบัตร ข้อมูลส่วนบุคคลผ่านลิงค์ที่ไม่น่าเชื่อถือ หลีกเลี่ยงการกดลิงค์ที่มีการส่งมาทางอีเมล SMS หรือ สื่อสังคมออนไลน์ หากต้องการเข้าไปที่เว็บไซต์ใด ขอให้พิมพ์ชื่อเว็บด้วยตัวเองเพื่อป้องกันเข้าไปสู่เว็บไซต์ปลอมที่มีความแนบเนียนมาก