จงยกตัวอย่างนาโนเทคโนโลยีในธรรมชาติมา 3 ตัวอย่าง

          วัสดุนาโนชนิดอื่นๆ ที่สาม�รถเติมŧ�เพื่อสร้างเป็น��ʴؼ���дѺ���ได้�ա  ��อย่างเช่น ท่อ    นาโนคาร์บอน  �Ѥ�Թ�����������չ  แผ่นกราไฟต์ เส้นใยนาโนคาร์บอน หรือแม้กระทั่งดินสังเคราะห์ หรือเส้นใยธรรมชาติ ก็มีการศึกษามาว่าสามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งวัสดุต่างๆ เหล่านี้จะทำให้��ʴؼ���дѺ��⹷��เพิ่มขีดความสามารถของทางด้านการนำไฟฟ้า และการนำพาความร้อน �������ҧ��   �ա����ա�ù�����ѹ�ҡ��ص��ˡ���การผลิตพลาสติก หรือวัสดุที่สามารถกันน้ำหรือของเหลวได้ เป็นต้น

          �¡��ͧ෤�����������մչ���Сͺ仴��´�ҹ˹���ش����繡�Ш�������ͺ���� indium-tin oxide ��˹�ҷ���� anode �Ѵ�ҡ��鹨��繪�鹢ͧ��� organic ����á���Ӵ��� aromatic diamine �Ѵ���Ҩ��繪�鹢ͧ organic ��鹷�� 2 ����� metal chelate complex ��觨��繪�鹷�� ��˹�ҷ��Ŵ������ʧ�͡�� ���㹪���ش���¨��� cathode ���Өҡ magnesium ��� silver ��ػ���ͨͷ������������� 4 ��� (�����Ш���ҹ˹�Ҵ���) ����դ���˹������� 500 ���������ҹ��������仡��ҹ�鹡��� ����˹ҷ����ҹ������ͧ�� back-light �������ͧ����ҹ��ѧ�����������ҧ���͡��Ѻ��Ҩ� OLED �������ö���ͧ�ʧ����µ���ͧ

จงยกตัวอย่างนาโนเทคโนโลยีในธรรมชาติมา 3 ตัวอย่าง
จงยกตัวอย่างนาโนเทคโนโลยีในธรรมชาติมา 3 ตัวอย่าง
จงยกตัวอย่างนาโนเทคโนโลยีในธรรมชาติมา 3 ตัวอย่าง
       กับ 2 ดีกรีเจ๋งด้วยการคว้าใบประกาศนียบัตรระดับ ป.ตรี Cornell University ที่ สหรัฐฯ สาขาชีววิทยา ด้าน ประสาทวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมสัตว์, ป.โท ม.จุฬาฯ คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล วันนี้ แทนไท ประเสริฐกุล มาช่วยไขปริศนาด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายในมุมมองของ “นักเรียนวิทยาศาสตร์” เหรียญทองแดงในการแข่งขันชีวิโอลิมปิกปี 39 เกี่ยวกับ “แบคทีเรีย” ว่าแท้จริงมันมีประโยชน์บ้างไหม และเป็นอธรรมแบบที่ใครเข้าใจมันขนาดที่ทำผลิตภัณฑ์ฆ่าแบคทีเรียออกมากำจัดมากมายหรือไม่...?
       
       ในความหมายของนักวิทยาศาสตร์ “แบคทีเรีย” คืออะไร
       ปัจจุบันพอพูดถึง “แบคทีเรีย” คนมักจะนึกถึงเชื้อโรคร้ายและความสกปรกจนไม่อยากให้มาอยู่บนตัวเรา ซึ่งส่วนหนึ่งมันก็จริงนั่นแหละ เพราะกาฬโรค วัณโรค ท้องเสีย ขี้แตก ก็เกิดจากแบคทีเรียได้ทั้งนั้น แต่ถ้ามองแค่นี้ เราก็จะรู้จักแบคทีเรียเพียงเสี้ยวเดียว ซึ่งถ้าคนที่ศึกษาวิทยาศาตร์จะเข้าใจว่าจริงๆ แล้ว “แบคทีเรีย” มันสุดยอดมหาศาลกว่านั้นเยอะ
       
       ที่บอกว่า “แบคทีเรีย” สุดยอด มันสุดยอดยังไง...?
       เอาง่ายๆ แบคทีเรียไม่ได้อยู่ได้แต่ตามซอกฟัน หรือขอบโถส้วมนะครับ แม้แต่ลึกลงไปใต้ดินหลายกม. หรือสูงขึ้นไปเกือบถึงอวกาศ ที่ขั้วโลกอุณหภูมิติดลบ หรือปล่องน้ำร้อนใต้ทะเลอุณหภูมิทะลุจุดเดือด มันก็อยู่ได้ ขนาดในกากของเสียปรมณูมันยังอยู่ได้สบายเลย ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าชนิดเดียวอยู่ได้ทุกที่ แต่ละชนิดก็มีความสามารถสุดขั้วหลากหลายของมันไปคนละแบบ แต่โดยรวมๆ แล้วเนี่ยถือว่าเป็นเผ่าพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่สุดยอดมาก การคิดจะกำจัดแบคทีเรียให้หมดสิ้นไปจากโลก ผมว่าเป็นเรื่องสิ้นคิด เพราะแค่ขนาดบนผิวหนังเราเอง ในยามปกติ ไม่ได้ไปคลุกโคลนที่ไหน
                 ยังมีแบคทีเรียอาศัยอยู่ถึงประมาณ 50 ล้านตัว ต่อ 1 ตารางเซ็นต์ คอยกินเศษรังแค กินน้ำมันจากรูขุมขนเราไปเรื่อย เหมือนฝูงวัวในทุ่งหญ้า แล้วยิ่งถ้านับรวมพวกที่ว่ายอยู่ในน้ำตา น้ำลาย ในคอ ในจมูก ในไส้ ในท่อฉี่ เข้าไปด้วย จำนวนพวกมันยิ่งมีมากกว่าเซลที่เป็นเซลของเราเองถึง 10 เท่า คือว่ากันจริงๆ ตัวเราประกอบด้วยเซลแบคทีเรียมากกว่าเซลคนซะด้วยซ้ำ แล้วทั้งหมดนี้เราก็อยู่กับมันทุกวันๆ ตามปกติ ไม่ได้ทำให้เกิดโรคเกิดอะไรเลยแม้แต่น้อย หลายๆ ชนิดเป็นประโยชน์ด้วยอีกต่างหาก
       
       แบ่งตามภาษาชาวบ้าน “แบคทีเรีย” มี 2 พวกคือ “ฝั่งธรรมมะ”-“ฝั่งอธรรม” ถูกไหม
                  คือถ้าเอามนุษย์เป็นที่ตั้งตรงกลาง ก็จะว่าอย่างนั้นก็ได้ครับ บางพวกก็ทำให้เราเป็นโรค บางพวกก็เป็นประโยชน์ แต่เอาจริงๆ พวกที่เยอะที่สุดน่าจะเป็นพวกที่ดำรงชีวิตอยู่ของมันไปอย่างเงียบๆ โดยที่ไม่ได้มาเกี่ยวข้องอะไรกับคนโดยตรงเลยมากกว่า อย่างแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในเมฆเงี้ย ให้ผมแบ่งก็แบ่งไม่ถูกเหมือนกันว่าเป็นฝั่งธรรมะหรืออธรรม
       
       “แบคทีเรีย” มีประโยชน์ต่อมนุษย์ยังไง
                 ในระบบนิเวศน์มันคอยย่อยทำลายสารพิษแล้วก็ย่อยสลายรีไซเคิลวัตถุดิบเกือบทุกอย่างให้ครบวงจรตามธรรมชาติ ถ้าไม่มีแบคทีเรียคอยดูดแร่ธาตุลงดิน พืชต่างๆ อย่าหวังจะเติบโตได้ ดังนั้นคนชอบกินผักผลไม้ ควรกราบขอบคุณมันงามๆ ซักทีนึง นอกจากนี้แบคทีเรียบางชนิดสังเคราะห์น้ำมันได้ บางชนิดเว่อร์ถึงขนาดสังเคราะห์ทองได้ คิดดูสิ หรือกระทั่งคนเป็นเบาหวานก็ต้องขอบคุณ “แบคทีเรีย” ด้วยเหมือนกัน เพราะ Insulin และยาอีกหลายๆ อย่างทุกวันนี้เราก็ให้ “แบคทีเรีย” สังเคราะห์ให้ โดยการตัดต่อยีนคนใส่เข้าไปในมันอีกที
       
       “แลคโตบาซิลัส” ที่อยู่ในยาคูลห์ก็คือ “แบททีเรีย” ชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์
                ใช่...“แบคทีเรีย” ประเภทนี้จะช่วยให้การดูดซึมอาหารให้ดีขึ้น และตราบใดที่มันยึดครองพื้นที่อยู่ในไส้เรา แบคทีเรียอื่นๆ ที่เป็นเชื้อโรคก็แทรกเข้ามาหาที่ทำกินได้ยาก คือเจ้าถิ่นเค้าไม่อนุญาต ว่างั้นเถอะ
       
       “แบคทีเรีย” มีเพศไหม แล้วมันสืบพันธุ์กันยังไง
                  มี, ในแง่ที่ว่ามันสามารถผสมพันธุ์กับตัวอื่นๆ ได้ แต่เพศของแบคทีเรียพูดตรงๆ ว่าเป็นเรื่องซับซ้อน ผมเองก็ไม่เคยศึกษาเหมือนกัน ที่แน่ๆ มันคงไม่ได้แบ่งเป็นตัวผู้ตัวเมียมีอวัยวะต่องแต่งชัดเจนระบุได้ง่ายๆ เหมือนอย่างในคนเรา พูดถึงลักษณะภายนอก แบ็คทีเรียมีขนาดประมาณ 1 ในพันของช่องมิลลิเมตร และหน้าตาไม่ได้หลากหลายเท่าไหร่ ต่อให้วิถีชีวิตจะหลากหลายแค่ไหนก็ตาม
                  ถ้าเอามาส่องกล้องดูรูปร่างมันก็จะไม่พ้น เป็นแท่งรีๆ เม็ดกลมๆ หรือไม่ก็เป็นเกลียวแบบโปเต้ มีอยู่แค่ประมาณนี้แหละ... ต่อเรื่องสืบพันธุ์ ต่อให้มันไม่ไปผสมกับใคร แบคทีเรียตัวเดี่ยวๆ ก็สามารถสร้างลูกสร้างหลานโดยการแบ่งตัวเองแบบไม่อาศัยเพศได้ บางชนิดแค่ผ่านไป 10 นาทีก็สามารถแบ่งจาก 1 เป็น 2 อีก 10 นาทีก็ทวีคูณ 2 เป็น 4 ไปเรื่อยๆ ถ้าอาหารไม่จำกัด ปล่อยไว้แค่ไม่ถึงวันนี่ อาจจะขยายพันธุ์ได้จำนวนตัวมากกว่าประชากรคนทั้งโลกซะอีก
       
       “แบคทีเรีย” มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานหรือไม่
       
                โอ้ว… นานซะยิ่งกว่านานอีกครับ ประวัติศาสตร์ครึ่งแรกของชีวิตบนโลก จากประมาณ 4 พันถึง 2 พันล้านปีก่อนเนี่ย เคยเป็นโลกที่มีแต่แบคทีเรียล้วนๆ เทียบกับคนเราซึ่งเพิ่งถือกำเนิดมาได้ไม่กี่แสนปี มีอารยธรรมมาได้ไม่กี่หมื่นปี ดูตัวเลขแล้วอย่างกับเอาเงินเก็บนักเขียนไส้แห้งอย่างผมไปวางเทียบกับของนักการเมืองคอรัปชั่น
                 มิหนำซ้ำ แบคทีเรียยังเป็นพวกแรกที่รู้จักสังเคราะห์แสงเลี้ยงชีพแล้วก็ปล่อยอ็อกซิเจนออกมา สมัยก่อนบรรยากาศโลกแทบจะไม่มีอ็อกซิเจนเลย ก็ได้แบคทีเรียนี่แหละช่วยปล่อยๆๆ สร้างๆๆ ออกมา จนอ็อกซิเจนเต็มโลก ถ้าไม่มีมัน ทั้งสัตว์และพืชก็คงไม่สามารถมีวิวัฒนาการขึ้นมาได้ในภายหลัง แม้แต่ในทุกวันนี้ แบคทีเรียในทะเลก็ยังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอ็อกซิเจนตัวหลักอยู่ และแม้กระทั่งอวัยวะที่ใช้สังเคราะห์แสงในเซลพืชเอง หรือที่เรียกว่า คลอโรพลาสต์ จริงๆ เดิมก็มีต้นกำเนิดมาจากแบคทีเรียเหมือนกัน
       
       ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์คิดว่า “แบคทีเรีย” มีเสน่ห์เร้าใจตรงไหน
                ถ้าเรารู้ถึงประวัติศาสตร์สิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกทั้งหมดแล้ว “แบคทีเรีย” ถือว่าเป็นพระเอกเลยนะครับ ถ้าสมมติมีมนุษย์ต่างดาวเฝ้าดูโลกอย่างละเอียดมาโดยตลอด เขาคงจำต้องสรุปว่า ไม่ใช่มนุษย์หรอกที่ครองโลก แต่เป็น “แบคทีเรีย” ต่างหาก เรามันแค่มาขออาศัยอยู่ด้วย คือแบคทีเรียอยู่ได้ถ้าไม่มีเรา แต่เราอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีมัน ขนาดทุกนาทีที่เราหายใจหรือกินข้าวเข้าไปเนี่ย อวัยวะในเซลที่ทำหน้าที่เผาผลาญสกัดพลังงานให้เราก็คือ ไมโตคอนเดรีย ซึ่งเดิมก็คือวิวัฒนาการมาจากแบคทีเรียที่เข้ามาอยู่ร่วมกับเราอีกที ทุกวันนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่เราขาดไม่ได้ไปแล้ว
               ในแง่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงจำนวน การแพร่กระจาย ความหลากหลาย ความสามารถในการอยู่รอด ความสำคัญต่อระบบต่างๆ ในโลก ความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ แบคทีเรียก็ล้วนชนะเราหมด คือต่อให้มันไม่มีความรู้สึกนึกคิด เป็นแค่สิ่งมีชีวิตเซลเดียว แต่ตำแหน่งแช็มพ์ก็คงต้องยกให้มันไปอย่างสมศักดิ์ศรีแหละ เวลาได้ตระหนักถึงความจิ๊บจ๊อยของมนุษย์แบบนี้แล้วรู้สึกเจ็บแปลบอย่างมีความสุขดีพิลึก เหมือนตอนที่เราค้นพบว่าดวงอาทิตย์ไม่ได้หมุนรอบโลก อะไรประมาณนั้น แต่ถึงไงก็ตาม ผมก็ยังแอบเข้าข้างมนุษย์อยู่บ้างนะ เพราะทุกวันนี้ยังไม่มีแบคทีเรียที่ศึกษาคน มีแต่คนเป็นฝ่ายศึกษามัน คือเราน่ะสามารถรู้จักโลกมากขึ้นผ่านการศึกษามัน แต่มันน่ะ ต่อให้เก่งยังไง ก็ยังไม่สามารถรู้จักตัวเองด้วยซ้ำ เอ๊ะ หรือว่าจริงๆ แล้วตัวเราเอง ก็คือโคโลนีของแบคทีเรียที่กำลังศึกษาตนเองอยู่? 
       
       ที่โฆษณาเขาบอกเราว่ามารวมกันกำจัด “แบคทีเรีย” จริงๆ แล้วมันชั่วและเป็นผู้ร้ายจริงไหม…?
                จริงส่วนหนึ่งครับ ก็อย่างที่บอก “แบคทีเรีย” ที่ไม่ได้มาดี มาแบบเป็นปรสิต เข้ามาใช้ร่างกายของเราเพื่อเป็นเครื่องมือสืบพันธุ์ ก็มีอยู่ไม่น้อย ผลลัพธ์ก็ทำให้เราไม่สบาย สังเกตง่ายๆ พอไปหาหมอแล้วหมอให้กินยาปฏิชีวะแสดงว่าคุณไปติดเชื้อ “แบททีเรีย” มา ถ้าคุณไม่กินยาเข้าไปช่วยยับยั้งมันเนี่ย เผลอๆ ก็อาจจะลุกลามถึงขั้นซีเรียสได้
       
       ขณะเดียวกัน ถ้าเราอยู่ในสังคมปลอดเชื้อตลอด 24 ช.ม. มาตั้งแต่เด็กๆ ก็แย่ไปอีกแบบ
                คือ ร่างกายของเรามันเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตัวเองไงครับ มันจะบันทึกว่าเชื้อโรคอันไหนเคยเจอมาแล้ว และก็จะสร้างภูมิคุ้มกันเก็บไว้เผื่อเจอครั้งต่อไป ฉะนั้นเด็กพวกที่อยู่กลางดินกินกลางทราย โตมาเขาจะไม่ค่อยเจ็บป่วยเมื่อเทียบกับเด็กที่โตในเมือง เพราะร่างกายโชกโชนสั่งสมภูมิคุ้มกันมาเยอะ แต่นี่ก็พูดได้เฉพาะกรณีที่โชคดีไม่ได้ไปเจออะไรร้ายแรงมากนะ ถ้าไปเจอโรคแบบเป็นทีเดียวแล้วตายไปเลย อันนี้ภูมิคุ้มกันก็ไม่เป็นประโยชน์แล้วล่ะ
                ขณะเดียวกัน ข้อเสียอีกอย่างของการบ้าคลั่งเรื่องฆ่าเชื้อโรคมากเกินไป ก็คือมันจะเป็นการไปคัดเลือกให้พวก “แบคทีเรีย” อ่อนแอที่แพ้ยาตายไป และให้พวกที่แข็งแรงๆ ดื้อยา อยู่รอดมาได้ กลายเป็นยิ่งฆ่ามันมาก เราก็ยิ่งไปออกแบบ “แบคทีเรีย” รุ่นใหม่ให้ร้ายขึ้นกว่าเดิมโดยไม่ได้ตั้งใจ สังเกตได้จาก แบคทีเรียบางชนิดที่อาศัยอยู่ในโรงพยาบาล พวกนี้จะอึดที่สุดแล้ว ฆ่าไงก็ไม่ตาย เพราะมันผ่านการพิสูจน์มาทุกรูปแบบ
       
       สรุปแล้วนิยามในทางวิทยาศาสตร์แล้วเมื่อเทียบทั้งหมดโลกเรามี “แบคทีเรีย” ที่มีประโยชน์หรือมีโทษมากกว่ากันแน่
                คำถามที่ว่า “แบคทีเรีย สรุปดีหรือไม่ดี” ก็เปรียบได้กับการถามว่า “สัตว์เนี่ย สรุปแล้วดีหรือไม่ดี” มันเป็นคำถามที่ต้องถามต่อว่า อ้าว แล้วคุณหมายถึงสัตว์ชนิดไหนล่ะ ยุง หรือว่า กบ หรือ หมูป่า คำว่า “แบคทีเรีย” ก็เหมือนกับคำว่า “สัตว์” คือความหมายมันกว้างโคตร หรือถ้าจะตีความคำถามว่าโอเค มานั่งนับกันเลย แบ็คทีเรียชนิด A ดี ชนิด B เลว ชนิด C กลางๆ ชนิด D… ไปเรื่อยๆๆๆ... แล้วค่อยสรุปคะแนนว่าดีกับเป็นโทษอันไหนมีมากกว่ากัน ถ้าถามแบบนั้น คำตอบง่ายเลยครับ คือ “ไม่รู้” ทุกวันนี้ ผมเดาว่าเรารู้จักจำนวนชนิดของแบ็คทีเรียแค่ไม่ถึง 1% ของที่มีอยู่ในธรรมชาติได้มั้ง แค่คุณตักดินหลังบ้านขึ้นมาช้อนนึงเนี่ย ก็มีแบ็คทีเรียหลายพันชนิดแล้ว และกว่า 90% ในนั้นอาจจะเป็นชนิดใหม่ที่วิทยาศาสตร์ไม่เคยรู้จักมาก่อน คือพวกนี้มันเล็กซะจนตกสำรวจง่ายมาก เรารู้น้อยมากจริงๆ ว่าในโลกนี้มีแบ็คทีเรียอะไรอยู่บ้าง
                วกกลับมาที่เรื่องที่เราพูดกันก็คือ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่เขาสร้างออกมาเพื่อกำจัด “แบคทีเรีย” มากมาย เขาก็สร้างมาเพื่อมันก็ลดโอกาสเสี่ยงต่อการสัมผัสถูก “แบคทีเรีย” หรือสูดเอาเชื้อนู้นเชื้อนี้เข้าไปในร่างกาย ซึ่งฟังดูดีนะ แต่ในลำดับแรกเนี่ย ผมว่าท่ามกลางโฆษณาชวนเชื่อทั้งหลาย-แหล่ ก็ต้องไปดูก่อนว่าอันไหนเวิร์คจริงไม่จริง และในบรรดาอันที่เวิร์กจริงเนี่ย ก็วิจารณ์ได้ต่อว่าเป็นดาบสองคม เพราะฆ่าเชื้อร้ายก็ดี แต่ถ้าฆ่ามากไป เดี๋ยวก็ไปฆ่าพวกมีประโยชน์ไปด้วย ไม่ก็ไปกระตุ้นให้พวกเชื้อร้ายยิ่งดื้อยามากขึ้น ไม่ก็ทำให้ภูมิคุ้มกันตัวเราเองกลับยิ่งอ่อนแอ เพราะไม่เคยโดนเชื้ออะไรเลย และประเด็นลำดับสุดท้าย ไม่ว่าคุณจะกำจัดแบคทีเรียอะไรหรือไม่ก็แล้วแต่ อย่าลืมว่าในโลกไม่ได้มีแค่ “แบคทีเรีย” ที่เป็นเชื้อโรคอย่างเดียว ยังมีพวกที่ทั้งสำคัญและมหัศจรรย์ชวนให้ศึกษาทำความรู้จักอีกเยอะแยะมากมายสุดยอดมหาศาลบานตะไทล้านแปด
       
       “แบคทีเรีย” เชื้อร้ายที่หลายคนมองข้าม

นาโนเทคโนโลยีมี3สาขาอะไรบ้าง

ประเภทของนาโนเทคโนโลยี นาโนเทคโนโลยี มี 3 สาขาหลัก ประกอบด้วย นาโนเทคโนโลยีชีวภาพ (Nanobiotechnology) นาโนอิเล็กทรอนิกส์ (Nanoelectronics) และวัสดุนาโน (Nanomaterials)

จงยกตัวอย่าง นาโนวิศวกรรม มีอะไรบ้าง

วิศวกรรมนาโน (Nanoengineering) หรือวิศวกรรมวัสดุนาโน ศึกษาเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีในการนำความรู้ไปประยุกต์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณสมบัติวัสดุเดิมให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน เช่น โละหะ พลาสติก เซรามิก นาโนเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมระดับอะตอม ศึกษาและสังเคราะห์สสารในระดับนาโน (10-9) โดยพื้นฐานศาสตร์ที่สำคัญมาก คือ ...

ปัจจุบันมีการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้อะไรบ้าง

ปัจจุบันนี้มีการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ในอุตสาหกรรม ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล ไม่เพียงแต่ด้านการพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุ ยังรวมถึงการอนุรักษ์พลังงานงาน เช่น ใช้เป็นฉนวนกันความร้อน ความเย็น กักเก็บพลังงาน เพิ่มการสะท้อนแสง เป็นต้น ในประเทศสหรัฐอเมริกาพลังงาน 41% พลังงานถูกใช้ในอาคาร ที่อยู่อาศัย สำนักงาน โดยพลังงาน ...

นาโนเทคโนโลยีมีสมบัติเฉพาะตัวอย่างไร

ประโยชน์ของนาโนเทคโนโลยี พบทางออกที่จะได้ใช้พลังงานราคาถูกและสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีน้ำที่สะอาดเพียงพอสำหรับทุกคนในโลก ทำให้มนุษย์สุขภาพแข็งแรงและอายุยืนกว่าเดิม (มนุษย์อาจมีอายุเฉลี่ยถึง 200 ปี) สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างพอเพียงกับประชากรโลก