ข้อสอบ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ม.3 พร้อม เฉลย

ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของลักษณะทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  1. มีความแห้งแล้ง ไม่สามารถปลูกไม้ผลได้
  2. มีอากาศค่อนข้างเย็นทางตอนเหนือ จึงมีการปลูกพืชเศรษฐกิจเมืองหนาว
  3. ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีค่อนข้างมาก แต่ดินส่วนใหญ่ไม่ค่อยอุ้มน้ำ การเพาะปลูกพืชจึงแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
  4. อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้มีฝนตกชุกในช่วงปลายปี สามารถเพาะปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำมากได้ผลผลิตดี
  • การศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟที่มีพลังในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรดำเนินการในประเทศใดบ้าง
    1. อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์                        
    2. กัมพูชา อินโดนีเซีย
    3. ฟิลิปปินส์ ไทย                                    
    4. ไทย กัมพูชา
  • การปะทุระเบิดของภูเขาไฟก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของอุทกภาคได้อย่างไร
    1. เถ้าถ่านที่ปกคลุมท้องฟ้าทำให้แสงแดดและความร้อนไม่สามารถส่องลงมาถึงผิวน้ำได้
    2. หินหนืดที่ไหลลงสู่ทะเลส่งผลให้ลักษณะชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลง
    3. แรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดคลื่นใหญ่ซึ่งมีผลต่อแนวปะการัง
    4. แก๊สและควันที่พวยพุ่งจากการปะทุระเบิดทำให้สัตว์น้ำสูญพันธุ์
  • การป้องกันและแก้ไขพื้นที่จากอุทกภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้วิธีการใด
    1. การปลูกหญ้าแฝกริมตลิ่งเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำ
    2. การกำหนดพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำหรือแก้มลิง
    3. การขุดลอกคูคลองทุกสาย เพื่อให้ระบายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
    4. การช่วยกันสร้างพนังกั้นน้ำและติดตั้งเครื่องสูบน้ำออกจากพื้นที่ของตน
  • สาเหตุสำคัญของการกัดเซาะชายฝั่งในปัจจุบันคืออะไร
    1. ภาวะโลกร้อน                                     
    2. ปรากฏการณ์เรือนกระจก
    3. การเกิดพายุหมุนเขตร้อน                  
    4. ปรากฏการณ์อุณหภูมิผกผัน
  • เพราะเหตุใดเมื่อพายุสงบแล้วจึงควรรอเวลาอีกอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ก่อนการเดินทางหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดจากพายุ
    1. มักมีลมแรงและฝนตกหนักอีกเมื่อศูนย์กลางพายุพัดผ่าน
    2. วางแผนการเดินทางเพื่อความปลอดภัยจากซากปรักหักพัง
    3. ความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
    4. ระดับน้ำลดลงและความเร็วลมคงที่สามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัย
  • เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศคืออะไร
    1. การปฏิวัติการเกษตร                          
    2. การปฏิวัติอุตสาหกรรม
    3. การปฏิวัติวิทยาศาสตร์                        
    4. การปฏิวัติการเมืองการปกครอง
  • ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาไทยในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรแร่และพลังงาน
    1. การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
    2. ความเชี่ยวชาญในการเจียระไนเพชรพลอยของช่างไทย
    3. การทำเหมืองแร่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่จากชาติตะวันตก
    4. ความสำคัญของพลังงานจากน้ำมันและแก๊สธรรมชาติต่อภาคเศรษฐกิจของไทย
  • การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชนใดถูกต้องเหมาะสมที่สุด
    1. กลุ่มรักษ์ไม้จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธเฝ้าระวังการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน
    2. สมาคมคนรักสัตว์ป่านำสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์มาผสมพันธุ์ด้วยนวัตกรรมของตนเอง
    3. องค์กรพิทักษ์ป่าแห่งชาติต่อต้านการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐด้านป่าไม้และสัตว์ป่า
    4. มูลนิธิสิ่งแวดล้อมของเรารับบริจาคเงินและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ข้อใดไม่ แสดงปัจจัยที่มีต่อลักษณะภูมิอากาศ
    1. จังหวัดภูเก็ตตั้งอยู่ที่ละติจูด 8 องศาเหนือ
    2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแม่น้ำโขงไหลผ่าน
    3. เชียงใหม่อยู่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 303 เมตร
    4. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกได้รับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
  • หากต้องการศึกษาทะเลสาบน้ำเค็มท่านควรไปที่ทะเลสาบใด
    1. มิชิแกนสหรัฐอเมริกา
    2. ไบคาลสหพันธรัฐรัสเซีย
    3. บัลคาชสาธารณรัฐคาซัคสถาน
    4. แคสเปียนสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
  • หลุมอุกกาบาตบนพื้นโลกเกี่ยวข้องกับกระบวนการใด         
    1. การกร่อนของแผ่นดิน                      
    2. การปรับระดับแผ่นดิน         
    3. การแปรสัณฐานเปลือกโลก            
    4. การกระทำจากภายนอกโลก
  • แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วนใดของประเทศไทยที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด         
    1. 1 : 10,000                                          
    2. 1 : 50,000         
    3. 1 : 100,000                                        
    4. 1 : 250,000
  • ข้อใด ไม่ใช่ เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ         
    1. บารอมิเตอร์                                        
    2. แพลนิมิเตอร์         
    3. ไซโครมิเตอร์                                      
    4. เทอร์โมมิเตอร์
  • หากเวลาที่ประเทศกคือ 9.00 น. ประเทศซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออก 15 องศาจะเป็นเวลาใด         
    1. 7.00 น.                                                                
    2. 8.00 น.         
    3. 10.00 น.                                              
    4. 11.00 น.
  • โครงการพัฒนาป่าชุมชนในประเทศไทยเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับอนุสัญญาฉบับใด
    1. อนุสัญญาไซเตส
    2. อนุสัญญาเวียนนา
    3. อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ
    4. อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
  • เกษตรอินทรีย์ไม่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
    1. การทำฟาร์มทางนิเวศวิทยา
    2. การใช้หลักการการเกษตรแบบองค์รวม
    3. การใช้พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ดัดแปรพันธุกรรม
    4. การนำของใช้แล้วไปแปรสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
  • บุคคลใดมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ให้ผลยั่งยืนยาวนาน
    1. นายโดมตรวจวัดคุณภาพอากาศเป็นประจำ
    2. นายแดงใช้สารดีดีทีแทนซีเอฟซีในการกำจัดแมลง
    3. นายดำปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะตลิ่งพัง
    4. นายดอนใช้หนังสือพิมพ์ที่อ่านแล้วห่อขยะเปียกก่อนนำไปทิ้งในถังขยะสีเหลือง
  • ข้อใดไม่ใช่ ข้อมูลทุติยภูมิ         
    1. แผนที่                                                  
    2. ผลงานวิจัย         
    3. ภาพจากดาวเทียม                              
    4. ภาพถ่ายทางอากาศ
  • ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นิยมใช้รูปถ่ายทางอากาศแนวดิ่งมาจัดทำแผนที่คืออะไร
    1. ความชัดเจน                                          
    2. ความสวยงาม
    3. มาตราส่วนคงที่                                    
    4. สีและรูปร่างต่างๆ
  • การสำรวจข้อมูลของภูมิสารสนเทศศาสตร์ชนิดใดแตกต่างจากข้ออื่น
    1. ภาพจากดาวเทียม                                                
    2. การรับรู้จากระยะไกล
    3. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์              
    4. ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก
  • ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
    1. ข้อมูลเป็นเชิงตัวเลขและการเปลี่ยนแปลงทางสถิติ
    2. วิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลเพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น
    3. บุคลากรเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตาและการคำนวณทางสถิติ
    4. ส่วนเครื่อง คือ เครื่องรับระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกและภาพจากดาวเทียม
  • ข้อมูลที่ใช้ในการพยากรณ์อากาศของพื้นที่หนึ่งๆ มาจากหลักการทำงานของดาวเทียมในข้อใด
    1. ดาวเทียมคงที่
    2. ดาวเทียมพลังงานธรรมชาติ
    3. ดาวเทียมพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
    4. ดาวเทียมโคจรรอบโลกในแนวเหนือ-ใต้
  • ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกเกิดจากกิจการด้านใด
    1. การทหาร                                              
    2. การสำรวจทิศทาง
    3. การป้องกันภัยพิบัติ                            
    4. การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
  • ระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่เท่ากันของพื้นที่ในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้จะเกิดขึ้นในวันใด
    1. วันวสันตวิษุวัต วันศารทวิษุวัต    
    2. วันศารทวิษุวัต วันครีษมายัน
    3. วันเหมายัน วันวสันตวิษุวัต
    4. วันครีษมายัน วันเหมายัน
  • ถ้านักเรียนต้องการชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนควรเดินทางไปยังประเทศใด ณ ช่วงเดือนใด
    1. ประเทศอาร์เจตินา เดือนมิถุนายน
    2. ประเทศแคนาดา เดือนมิถุนายน
    3. ประเทศชิลี เดือนกรกฎาคม
    4. ประเทศจีน เดือนกรกฎาคม
  • การเกิดแผ่นดินไหวสอดคล้องกับบริเวณที่เป็นแนวรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกอย่างไร
    1. จุดศูนย์กลางมีแรงสั่นไหวมาก
    2. การเคลื่อนตัวในรูปแบบต่างๆ
    3. หินหนืดที่พุขึ้นกลายเป็นเทือกเขา
    4. ความสั่นไหวก่อให้เกิดระลอกคลื่น
  • วัฏจักรทางอุทกวิทยาเกิดขึ้นโดยมีปัจจัยใดเป็นสำคัญ
    1. การกลั่น                                                
    2. ความชื้น
    3. ความร้อน                                              
    4. การโน้มถ่วง
  • ข้อใดกล่าวถึงแหล่งที่มาของกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นที่ไหลเวียนในมหาสมุทรของโลกได้ถูกต้อง
    1. เขตศูนย์สูตร เขตขั้วโลก
    2. เขตเทือกเขา เขตศูนย์สูตร
    3. เขตขั้วโลก เขตที่ราบลุ่มน้ำขนาดใหญ่
    4. เขตที่ราบลุ่มน้ำขนาดใหญ่ เขตเทือกเขา
  • ลักษณะภูมิประเทศในข้อใดเหมาะสมต่อการเป็นเมืองท่าขนส่งสินค้าทางทะเลมากที่สุด
    1. ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ          
    2. ที่ราบรอบทะเลสาบรูปแอก
    3. พื้นที่ชายฝั่งที่คลื่นลมสงบ                
    4. ชายฝั่งของฟีออร์ด
  • หากนักเรียนต้องการศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการทำสวนผลไม้เมืองร้อน นักเรียนควรไปยังภาคใด
    1. ภาคเหนือ                                              
    2. ภาคกลาง
    3. ภาคตะวันตก                                        
    4. ภาคตะวันออก
  • ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของลักษณะทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    1. มีความแห้งแล้ง ไม่สามารถปลูกไม้ผลได้
    2. มีอากาศค่อนข้างเย็นทางตอนเหนือ จึงมีการปลูกพืชเศรษฐกิจเมืองหนาว
    3. ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีค่อนข้างมาก แต่ดินส่วนใหญ่ไม่ค่อยอุ้มน้ำ การเพาะปลูกพืชจึงแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
    4. อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้มีฝนตกชุกในช่วงปลายปี สามารถเพาะปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำมากได้ผลผลิตดี
  • การศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟที่มีพลังในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรดำเนินการในประเทศใดบ้าง
    1. อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์                        
    2. กัมพูชา อินโดนีเซีย
    3. ฟิลิปปินส์ ไทย                                    
    4. ไทย กัมพูชา
  • การปะทุระเบิดของภูเขาไฟก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของอุทกภาคได้อย่างไร
    1. เถ้าถ่านที่ปกคลุมท้องฟ้าทำให้แสงแดดและความร้อนไม่สามารถส่องลงมาถึงผิวน้ำได้
    2. หินหนืดที่ไหลลงสู่ทะเลส่งผลให้ลักษณะชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลง
    3. แรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดคลื่นใหญ่ซึ่งมีผลต่อแนวปะการัง
    4. แก๊สและควันที่พวยพุ่งจากการปะทุระเบิดทำให้สัตว์น้ำสูญพันธุ์
  • การป้องกันและแก้ไขพื้นที่จากอุทกภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้วิธีการใด
    1. การปลูกหญ้าแฝกริมตลิ่งเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำ
    2. การกำหนดพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำหรือแก้มลิง
    3. การขุดลอกคูคลองทุกสาย เพื่อให้ระบายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
    4. การช่วยกันสร้างพนังกั้นน้ำและติดตั้งเครื่องสูบน้ำออกจากพื้นที่ของตน
  • สาเหตุสำคัญของการกัดเซาะชายฝั่งในปัจจุบันคืออะไร
    1. ภาวะโลกร้อน                                      
    2. ปรากฏการณ์เรือนกระจก
    3. การเกิดพายุหมุนเขตร้อน                  
    4. ปรากฏการณ์อุณหภูมิผกผัน
  • เพราะเหตุใดเมื่อพายุสงบแล้วจึงควรรอเวลาอีกอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ก่อนการเดินทางหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดจากพายุ
    1. มักมีลมแรงและฝนตกหนักอีกเมื่อศูนย์กลางพายุพัดผ่าน
    2. วางแผนการเดินทางเพื่อความปลอดภัยจากซากปรักหักพัง
    3. ความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
    4. ระดับน้ำลดลงและความเร็วลมคงที่สามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัย
  • เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศคืออะไร
    1. การปฏิวัติการเกษตร                          
    2. การปฏิวัติอุตสาหกรรม
    3. การปฏิวัติวิทยาศาสตร์                        
    4. การปฏิวัติการเมืองการปกครอง
  • ข้อใดแสดงถึงภูมิปัญญาไทยในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรแร่และพลังงาน
    1. การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
    2. ความเชี่ยวชาญในการเจียระไนเพชรพลอยของช่างไทย
    3. การทำเหมืองแร่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่จากชาติตะวันตก
    4. ความสำคัญของพลังงานจากน้ำมันและแก๊สธรรมชาติต่อภาคเศรษฐกิจของไทย
  • การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชนใดถูกต้องเหมาะสมที่สุด
    1. กลุ่มรักษ์ไม้จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธเฝ้าระวังการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน
    2. สมาคมคนรักสัตว์ป่านำสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์มาผสมพันธุ์ด้วยนวัตกรรมของตนเอง
    3. องค์กรพิทักษ์ป่าแห่งชาติต่อต้านการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐด้านป่าไม้และสัตว์ป่า
    4. มูลนิธิสิ่งแวดล้อมของเรารับบริจาคเงินและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ข้อใดเป็นลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของแม่น้ำ         
    1. ที่ราบลอนลาด                                    
    2. ทะเลสาบรูปแอก         
    3. เนินตะกอนรูปพัด                              
    4. ดินดอนสามเหลี่ยม
  • ในแผนที่อากาศสมัยใหม่บริเวณที่มีสัญลักษณ์ L ปรากฏอยู่จะมีลักษณะอากาศอย่างไร
    1. เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ
    2. เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง
    3. เป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ
    4. เป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูง
  • ป่าชายเลนมีประโยชน์อย่างไร
    1. เป็นแหล่งอาหาร
    2. เป็นแหล่งรายได้
    3. ช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่ง
    4. ก่อให้เกิดความหลากหลายของพืชและสัตว์
  • ข้อใดทำให้ระบบนิเวศของโลกขาดสมดุล         
    1. ภาวะโลกร้อน                                    
    2. การตัดไม้ทำลายป่า         
    3. การเกิดแก๊สเรือนกระจก                  
    4. การใช้ดินซ้ำซากและบ่อยครั้ง
  • ท่านจะแนะนำกรมทรัพยากรน้ำให้แก้ไขวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรน้ำอย่างไร
    1. สร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ
    2. จัดสร้างท่อส่งน้ำชลประทานเพิ่มเติม
    3. บำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะ
    4. ฟื้นฟูการใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับแหล่งน้ำ
  • การควบคุมป้องกันมลพิษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 ครอบคลุมมลพิษในด้านใด         
    1. มลพิษทางน้ำ  
    2. ลพิษทางดิน         
    3. มลพิษทางเสียง    
    4. มลพิษทางอากาศ
  • การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินสิ่งแวดล้อมมีผลดีอย่างไร
    1. ประชาชนสามารถโต้แย้งผลการประเมินได้
    2. ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการ
    3. ประชาชนได้รับทราบผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการ
    4. ประชาชนได้รับทราบมาตรการแก้ไขหรือลดผลกระทบอันอาจจะเกิดขึ้น
  • ใครใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการสร้างสรรค์วัฒนธรรม
    1. ชาวรัสเซียจับปลาสเตอร์เจียนเพื่อนำไข่มาทำคาเวียร์
    2. ชาวเบดูอินในคาบสมุทรอาหรับเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน
    3. ชาวสแกนดิเนเวียนำไม้สนมาแปรรูปเป็นวัสดุก่อสร้าง
    4. ชาวอินเดียนพื้นเมืองในประเทศเปรูเพาะปลูกธัญพืชแบบยังชีพ
  • รัฐสามารถดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
    1. จัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม
    2. ออกกฎหมายสิ่งแวดล้อม
    3. ผลิตนักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
    4. จัดประชุมสัมมนาระดับชาติด้านสิ่งแวดล้อม
  • ในฐานะพลเมืองไทยคนหนึ่งท่านจะปฏิบัติตนเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างไรจึงจะเหมาะสม
    1. ฝึกให้มีนิสัยประหยัด
    2. ถ่ายสารอันตรายใส่ภาชนะใหม่ที่ปิดมิดชิด
    3. ช่วยกันปลูกและดูแลรักษาต้นไม้สาธารณะ
    4. ทิ้งแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วลงในถังขยะสำหรับมูลฝอยทั่วไป
  • ข้อใดเป็นหินที่แปรมาจากหินชั้น
    1. หินสบู่                                                    
    2. หินปูน
    3. หินอ่อน                                                
    4. หินดินดาน
  • ถ้าต้องการศึกษาทะเลทรายเขตอบอุ่น ควรไปที่ใด
    1. ทะเลทรายธาร์และทะเลทรายดาชต์-อี-คาร์วีในทวีปเอเชีย
    2. ทะเลทรายสะฮาราและทะเลทรายกาลาฮารีในทวีปแอฟริกา
    3. ทะเลทรายกิบสันและทะเลทรายซิมป์สันในทวีปออสเตรเลีย
    4. ทะเลทรายโมฮาวีและทะเลทรายเกรตซอลต์เลกในทวีปอเมริกาเหนือ
  • หากต้องการทราบพิกัดภูมิศาสตร์ของโรงเรียนของท่าน ควรใช้เครื่องมือใด         
    1. จีพีเอส                                                  
    2. อาร์เอส         
    3. จีไอเอส                                                
    4. แผนที่ประเทศไทย
  • ข้อใดไม่ใช่ วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม         
    1. การเกิดแผ่นดินไหว                          
    2. ความตื้นเขินของแหล่งน้ำ         
    3. ความจำกัดของจำนวนที่ดิน            
    4. การประกาศเขตป่าเสื่อมโทรม
  • การประชุมครั้งที่ 7 ของกลุ่มประเทศภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่ประเทศโมร็อกโกเมื่อ พ.ศ. 2544 ได้เสนอประเด็นการแก้ปัญหาใดซึ่งมีผลมาถึงปัจจุบัน         
    1. ฝนกรด                                                
    2. ภาวะโลกร้อน         
    3. ปรากฏการณ์เอลนีโญ                      
    4. ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • การที่ประเทศไทยกำหนดให้เลิกใช้สารซีเอฟชีในการผลิตสินค้า เป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงใด         
    1. พิธีสารเกียวโต                                    
    2. อนุสัญญาไซเตส         
    3. อนุสัญญาบาเซิล                                
    4. พิธีสารมอนทรีออล
  • ผู้ที่บุกรุกหรือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิชอบด้วยกฎหมาย มีความผิดตามกฎหมายใด
    1. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518
    2. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
    3. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
    4. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
  • ข้อใดไม่ใช่ หลักการพื้นฐานที่จะทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ