การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ป. 5

  • การอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิชา สังคมศึกษา ป.5 โดย ครูพิมพร ชาวน่าน

การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ป. 5

การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ป. 5

  • หน้าหลัก
  • กลุ่มสาระ
    • ภาษาไทย (1,499)
    • คณิตศาสตร์ (1,524)
    • สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (651)
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (975)
    • ภาษาอังกฤษ (1,493)
    • การงานอาชีพ (200)
    • ภาษาจีน (186)
    • ศิลปะ (626)
    • สุขศึกษาพลศึกษา (192)
    • บูรณาการ (IS) (223)
    • การเคลื่อนไหว (อนุบาล) (602)
    • เสริมประสบการณ์ (อนุบาล) (719)
    • ศิลปะสร้างสรรค์ (อนุบาล) (433)
    • กิจกรรมกลางแจ้ง (อนุบาล) (182)
    • เกมการศึกษา (อนุบาล) (447)
    • สอนเสริมเตรียมความพร้อม RT (0)
    • สอนเสริมเตรียมความพร้อม NT (82)
    • สอนเสริมเตรียมความพร้อม O-NET (517)
  • ตารางเรียนวันนี้
  • ครูประจำวิชา
  • เข้าสู่ระบบ

การอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิชา สังคมศึกษา ป.5 โดย ครูพิมพร ชาวน่าน

สาระสำคัญ

                วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทยเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษที่สืบต่อมาถึงคนไทยในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ และความเจริญรุ่งเรืองของคนไทยได้เป็นอย่างดี ดังนั้นคนไทยทุกคนจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

มาตรฐานการเรียนรู้

                มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี  มีค่านิยมที่ดีงามและธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข

ตัวชี้วัด

            .5/3 เห็นคุณค่าวัฒนธรรมไทยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตในสังคมไทย
            ป.5/4 มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน

จุดประสงค์การเรียนรู้

            1. อธิบายลักษณะของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในสังคมไทยได้

            2. ยกตัวอย่างวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในสังคมไทยที่สำคัญได้

            3. บอกคุณค่าของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในสังคมไทยได้

การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

1. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน

2. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย

3. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม

4. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

5. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ 

6. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

7. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

8. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่องประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่างๆ

วิดีโอ YouTube