อุบัติภัยแบ่งเป็น 4 ประเภทคืออะไร

อุบัติภัย (๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑)

อุบัติภัย

          อุบัติภัย (อ่านว่า อุ-บัด-ติ-พัย) เป็นคำที่ประกอบด้วยคำว่า อุบัติ หมายถึง เกิดขึ้น. กับ ภัย หมายถึง สิ่งที่ทำให้กลัว หรือ อันตราย. 

          อุบัติภัย หมายถึง ภัยหรืออันตรายที่เกิดจากอุบัติเหตุ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ไม่มีผู้ใดจงใจหรือทำให้เกิดขึ้น เช่น คนไทยเป็นคนใจบุญ สังเกตได้จากการบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติภัยต่าง ๆ อย่างเต็มที่. รัฐบาลควรมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอุบัติภัย. ถ้าเราไม่ประมาทและมีความรอบคอบก็จะลดอุบัติภัยได้.

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

คำนิยาม

         ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน คือ การกระทำหรือสภาพการทำงาน ซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน

         

อันตราย คือ สภาวการณ์ที่มีเหตุอันจะทำให้เกิดความสูญเสีย

         

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย

         

เหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุคือ เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดแล้วไม่มีผลของการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย

         

ประสบอันตราย คือ การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง

อุบัติเหตุจากการทำงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ คือ

         1. สาเหตุจากการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) เป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น

- การใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรกลต่าง ๆ โดยพลการหรือไม่ได้รับมอบหมาย

- การทำงานที่มีอัตราเร่งความเร็วของงานและเครื่องจักรเกินกำหนด

- การถอดอุปกรณ์ป้องกันออกจากเครื่องจักรโดยไม่มีเหตุอันสมควรสมควร

- การดูแลซ่อมบำรุงอุปกรณ์เครื่องจักรในขณะที่กำลังทำงาน

- การใช้เครื่องมืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ชำรุดและไม่ถูกวิธี

- ไม่ใส่ใจในคำแนะนำหรือคำเตือนความปลอดภัย

- ทำการเคลื่อนย้ายหรือยกวัสดุที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ด้วยท่าทางหรือวิธีการที่ไม่ปลอดภัย

- ไม่สวมใสอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

- การคึกคะนองหรือเล่นตลกขณะทำงาน

อุบัติภัยแบ่งเป็น 4 ประเภทคืออะไร


          2. สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) คือสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบตัวของผู้ปฏิบัติงานขณะทำงาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น

- เครื่องจักรไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย

- อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรที่ออกแบบไม่เหมาะสมกับการใช้งาน

- บริเวณพื้นที่ของการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม

- การจัดเก็บวัสดุสิ่งของอย่างไม่ถูกวิธี

- การจัดเก็บสารเคมีหรือสารไวไฟที่เป็นอันตรายไม่ถูกวิธี

- ไม่มีการจัดระเบียบและดูแลความสะดวกของสถานที่ทำงานให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ

- แสงสว่างไม่เพียงพอ

- ไม่มีระบบระบายและถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม

- ไม่มีระบบเตือนภัยที่เหมาะสม

อ้างอิงจาก

  1. มาตฐานการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน,
    สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)
  2. คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร (ปรับปรุง),พ.ศ.๒๕๖๓
    กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
  3. ความปลอดภัยในงานวิศวกรรม,พ.ศ.๒๕๖๓ (สืบค้นออนไลน์)

เข้าถึงได้จาก : http://chuonchoom.blogspot.com/2013/08/blog-post.html

  5.2  สาเหตุการเกิดอุบัติภัยในการทำงาน

สาเหตุการเกดิอุบัติภัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่

1.  สาเหตุนำของการเกิดอุบัติภัยจากการทำงาน

2.  สาเหตุโดยตรงของการเกิดอุบัติภัยจากการทำงาน

        5.2.1  สาเหตุนำของการเกิดอุบัติภัยจากการทำงาน

อุบัติภัยแบ่งเป็น 4 ประเภทคืออะไร

            1.  ความผิดพลาดของการจัดการ

1.  ไม่มีสอนหรืออบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย

2.  ไม่มีการบังคับให้ปฎิบัติตามกฎความปลอดภัย

3.   ไม่มีการวางแผนและเตรียมงานด้านความปลอดภัยไว้

4.  ไม่มีการแก้ไขอันตรายใดๆ

5.  ไม่มีการจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยให้

            2.  สภาวะทางด้านจิตใจของพนักงานไม่เหมาะสม

1.  ขาดความระมัดระวัง          

2.  มีทัศนคติไม่ถูกต้อง

3.  ขาดความตั้งอกตั้งใจ

4.  อารมณ์อ่อนไหวง่าย

5.  เกิดความรู้สึกหวาดกลัว

อุบัติภัยแบ่งเป็น 4 ประเภทคืออะไร

            3.  สภาวะทางด้านร่างกายของพนักงานไม่เหมาะสม

1.  อ่อนเพลียมาก

2.  หูหนวก

3.  สายตาไม่ดี

4.  มีร่างกายไม่เหมาะกับงานที่ทำ

5.  เป็นโรคหัวใจ

อุบัติภัยแบ่งเป็น 4 ประเภทคืออะไร

         5.2.2  สาเหตุโดยตรงของการเกิดอุบัติภัยจากการทำงาน

        1.  สภาพของงานที่ไม่ปลอดภัย

1.   แสงสว่างไม่เพียงพอ

2  . เสียงดังมากเกินไป

3.   การระบายอากาศที่ไม่เหมาะสม

4.   ความสกปรก

5.   บริเวณที่คับแคบ

6.  มีสารเคมี และเชื้อเพลิง   

7.   พื้นที่ลื่น เนื่องจากคราบน้ำมัน

8.   หลุมและสิ่งกีดขวางทางเดิน

9.   การสูญเสียเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุ

        2.  การปฎิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย

            หัวหน้างาน

1.  ไม่มีการสอนหรืออบรมพนักงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

2. ไม่มีการแนะนำให้พนักงานปฎิบัติตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน

3.  ไม่มีการวางแผนและเตรียมงานเกี่ยวกับความปลอดภัย

4.  ไม่แก้ไขจุดอันตราย

5.  ไม่จัดหาและแนะนำอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย

            พนักงาน

1  .ใช้เครื่องจักรกลโดยพลการ

2.  ซ่อมแซมเครื่องกลในขณะเครื่องกำลังทำงาน

3.  ใช้เครื่องกลด้วยอัตราเร็ว

4.  ยกหรือเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยท่าทางไม่เหมาะสม

5.  ไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน