การประยุกต์ใช้งาน โปรแกรม เม เบิ ล คอนโทรลเลอร์

การประยุกต์ใช้งาน โปรแกรม เม เบิ ล คอนโทรลเลอร์

  • หน้าแรก

  • >
  • สินค้าทั้งหมด

  • >
  • หมวดวิศวกรรม-งานช่างอุตสาหกรรม

  • >
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์-ไฟฟ้า

  • >
  • เทคนิคการประยุกต์ใช้งาน โปรแกร…

รหัสสินค้า SKU-04757

550.00 บาท

จำนวนชิ้น ราคาต่อชิ้น ส่วนลดต่อชิ้น
{{(typeof focus_pdata.price_list[idx+1] == 'undefined')?('≥ '+price_row.min_quantity):((price_row.min_quantity < (focus_pdata.price_list[idx+1].min_quantity - 1))?(price_row.min_quantity+' - '+(focus_pdata.price_list[idx+1].min_quantity - 1)):price_row.min_quantity)}} {{number_format(price_row.price,2)}} บาท {{number_format(((focus_pdata.price_old === null)?focus_pdata.price:focus_pdata.price_old) - price_row.price,2)}}  บาท

คงเหลือ 1 ชิ้น
จำนวน (ชิ้น)

-

+

ซื้อเลย

หยิบลงตะกร้า

ซื้อเลย

หยิบลงตะกร้า

คุณมีสินค้าชิ้นนี้ในตะกร้า 0 ชิ้น

บัตรประชาชน

บุ๊คแบงก์

คุ้มครองโดย LnwPay

หมวดหมู่ ช่างอิเล็กทรอนิกส์-ไฟฟ้า
สภาพ สินค้าใหม่
เพิ่มเติม
สภาพ สินค้ามือสอง
เกรด
สถานะสินค้า Pre-Order
สถานะสินค้า พร้อมส่ง
เข้าร่วมโปรโมชั่น

  • รายละเอียดสินค้า
  • วิธีการสั่งซื้อ
  • สินค้าที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดสินค้า

ข้อมูล

น้ำหนัก กรัม

บาร์โค้ด

ลงสินค้า

อัพเดทล่าสุด

รายละเอียดสินค้า

หนังสือมี : ประมาณ 200 กว่าหน้า

ขนาดเล่ม : 20.5 X 28.8  ซ.ม.  (ปกอ่อน)

หนังสือมีสภาพ : ปกหน้าปกหลังมีรอยถลอก และมีรอยขีดรอยข่วนนิดหน่อย นอกนั้นสภาพดี

เงื่อนไขอื่นๆ
Tags

วิธีการชำระเงิน

ชำระเงินผ่านธนาคาร

บมจ. ธนาคารกสิกรไทย สาขาพะเยา ออมทรัพย์ มาลัย คำทา 209-2-43383-0

พร้อมเพย์ สาขา- mobile มาลัย คำทา 0819801875

ชำระเงินด้วย Thai QR Payment

การประยุกต์ใช้งาน โปรแกรม เม เบิ ล คอนโทรลเลอร์

มาลัย คำทา

การประยุกต์ใช้งาน โปรแกรม เม เบิ ล คอนโทรลเลอร์
ร้านหนังสือ 224books

{{is_joined?'เป็นสมาชิกแล้ว':'Join เป็นสมาชิกร้าน'}}

17

สมัครสมาชิกร้านนี้ เพื่อรับสิทธิพิเศษ

การประยุกต์ใช้งาน โปรแกรม เม เบิ ล คอนโทรลเลอร์

ร้านหนังสือ 224books

สวัสดีคะ ร้านหนังสือออนไลน์ 224books ร้านนี้จำหน่ายแต่หนังสือเก่า หนังสือมือสอง สภาพมีตั้งแต่ 50% ไปถึง 80% สภาพตามอายุการใช้งานนะค่ะ ขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่กรุณาอุดหนุนมานะค่ะ

เบอร์โทร : 0819801875
อีเมล :

ส่งข้อความติดต่อร้าน

เกี่ยวกับร้านค้านี้

ปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ (PLC) หรือ ที่นิยมเรียกในปัจจุบันว่า โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ (PC) เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตทดแทนการสร้างฟังก์ชั่นควบคุมด้วยอุปกรณ์รีเลย์ดังรูปที่ 1 ซึ่งเราจะพบว่าในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตทำการพัฒนา PLC ออกมาขายในตลาดอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากโดยมีหลายขนาดแตกต่างกันเพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการซึ่งโดยทั่วไปปัจจัยที่ใช้ในการจำแนกขนาดของ PLC คือ จำนวนอุปกรณ์อินพุทและเอ้าท์พุทสูงสุดที่สามารถทำการเชื่อมต่อกับ PLC ได้ และหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บโปรแกรมที่ผู้ใช้สร้างขึ้นโดยที่ในปัจจุบันมีการพัฒนา PLC ขนาดเล็ก เช่น Nano PLC ,Micro PLC ที่สามารถเชื่อมต่ออินพุท / เอ้าท์พุท ได้ไม่เกิน 8 /6 ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถนำ PLC มาประยุกต์ใช้งานได้แม้จะเป็นการประยุกต์ใช้ในที่อยู่อาศัย

1         ประวัติความเป็นมาของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์

โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ หรือ PLC ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรก โดยกลุ่มวิศวกร Hydramatic division ของบริษัท General Motors  Corporations ในปี ค.ศ 1968  เนื่องจากมีความต้องการที่จะสร้างอุปกรณ์ควบคุมมาทดแทนการใช้รีเลย์ในการควบคุม สำหรับโรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งจะต้องสามารถรองรับการประกอบรถยนต์ รุ่นใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา

ลักษณะของอุปกรณ์ควบคุมที่สร้างขึ้นมา มีลักษณะดังนี้

1.   ใช้การเขียนโปรแกรมในการสร้างฟังก์ชั่นการทำงานแทนการใช้สายไฟฟ้าในการสร้างฟังก์ชั่น เพื่อควบคุมการทำงานของระบบ ดังนั้นจึงเหมาะกับงานที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือ แก้ไข    ฟังก์ชั่นการควบคุม อยู่ตลอดเวลา

2.   มีประสิทธิภาพในการควบคุม และมีขนาดเล็กกว่า เมื่อเทียบกับการใช้ รีเลย์ในการควบคุม

3.   การดูแลรักษา และ การซ่อมบำรุง ทำได้ง่าย และค่าใช้จ่ายต่ำ

4.   ราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้รีเลย์

ในระยะแรกได้มีการพัฒนานำเอาอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์เข้ามาใช้ในการสร้างโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ หลังจากนั้น ในปี ค.ศ 1970 จึงได้มีการพัฒนานำเอาไมโครโปรเซสเซอร์ มาใช้ในการประมวลผล  ทำให้โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์มีความสามารถและขอบเขตการใช้งานมากขึ้น เช่น การประมวลผลฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์สามารถที่จะทำการควบคุมอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นสัญญาณแอนะลอก(Analog Signal) และสามารถทำการสื่อสารกับระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้และจากการพัฒนาโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี ค.ศ 1975 ได้มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ และ ซอร์ฟแวร์ มาใช้กับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ทำให้ความสามารถในการทำงานเพิ่มสูงขึ้น เช่น มีหน่วยความจำเพิ่มขึ้น สามารถติดต่อกับอินพุทและเอ้าท์พุทแบบระยะไกล (Remote input/output) สามารถใช้หน่วยประมวลผลจำนวนหลายตัว (Multi-processor) ร่วมกันประมวลผลโปรแกรม สามารถทำการควบคุมโดยใช้โมดูลแบบพิเศษ (Intelligent module) และนอกจากนั้นในปัจจุบัน โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ยังสามารทำการติดต่อสื่อสารข้อมูลเป็นโครงข่ายผ่าน Ethernet Protocal, Profibus และ ASI-bus เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่า เราสามารถที่จะนำข้อมูลจากกระบวนการผลิตมาใช้ในการตัดสินใจ และสามารถที่จะควบคุมการผลิตตามแผนการที่กำหนดโดยผู้บริหารได้อย่างรวดเร็วผ่านการสื่อสารแบบต่างๆและนอกจากนั้นยังทำให้สามารถที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ และอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ผลิตมาจากบริษัทต่างๆกันได้

คุณลักษณะ

โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์

รีเลย์

ราคาค่าใช้จ่าย

(ต่อการทำงานที่มีการใช้รีเลย์มากกว่า 50 ตัวขึ้นไป)

 ต่ำกว่า

สูงกว่า

ขนาดเมื่อทำการติดตั้ง

 กระทัดรัด

มีขนาดใหญ่กว่า

ความเร็วในการปฏิบัติการ

 มีความเร็วสูงกว่า

ช้ากว่า

ความทนทานต่อการรบกวนของสัญญาณไฟฟ้า

 ดี

ดีมาก

การติดตั้ง

 ง่ายในการติดตั้งและโปรแกรม

ใช้เวลามากกว่าในการ ออกแบบและติดตั้ง

ความสามารถในการปฏิบัติการฟังก์ชันที่มีซับซ้อน

 สามารถกระทำได้

ไม่สามารถกระทำได้

ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงลำดับการควบคุม

 สามารถกระทำได้ง่าย

สามารถกระทำได้ แต่ค่อนข้างยุ่งยาก

การซ่อมบำรุง และตรวจสอบแก้ไข

 ไม่ต้องการการบำรุงรักษามาก และง่ายในการตรวจสอบแก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหาภายในระบบควบคุม

ต้องการการดูแลในส่วนของคอล์ย และหน้าสัมผัส และยากในการตรวจสอบและ    แก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหา

ตารางที่ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการใช้งาน PLC และระบบรีเลย์ในการควบคุม

2.       โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ( PLC )  และโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์  ( PC ) แตกต่างกันอย่างไร ?

คำนิยามของ "โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ตามมาตรฐานของ IEC 1131, PART 1

"ระบบปฏิบัติการทางด้านดิจิตอล ออกแบบมาให้ใช้งานในอุตสาหกรรม ซึ่งใช้หน่วยความจำที่สามารถโปรแกรมได้ในการเก็บคำสั่งที่ผู้ใช้กำหนดขึ้น (User Program) เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำหนดฟังก์ชั่นหรือเงื่อนไขในการทำงานเช่น การทำงานแบบลอจิกการทำงานแบบซีเควนซ์, การใช้งานไทม์เมอร์การใช้งานเคาน์เตอร์ และฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์  เพื่อควบคุมอุปกรณ์ดิจิตอลอินพุทและเอ้าท์พุท หรือแอนะลอก อินพุท และเอ้าท์พุท ของเครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตต่างๆ นอกจากนั้น ทั้งระบบ PLC และอุปกรณ์ภายนอกที่ใช้งาน จะต้องสามารถเชื่อมต่อหรือสื่อสารกับระบบควบคุมทางอุตสาหกรรม,  เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ และใช้งานร่วมกันได้ง่าย"

PLC : Programmable Logic Controller

PC   :  Programmable Controller

ในอดีต โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์  ( PLC ) จะเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร  หรือ กระบวนการผลิตต่างๆ ที่มีลักษณะการทำงานเป็นแบบลอจิก (Logic control system) หรือแบบซีเควนซ์ (Sequence control system) เท่านั้น ซึ่งเซนเซอร์ และอุปกรณ์ทำงาน (Actuator) ที่ควบคุมการทำงานภายในเครื่องจักร หรือกระบวนการผลิตต่างๆเหล่านั้น มีลักษณะของสัญญาณอินพุทและเอ้าท์พุท เป็นสัญญาณไบนารี่ (Binary Signal) เท่านั้น

แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ทำให้สามารถทำการวัดและควบคุมสัญญาณอินพุทและเอ้าท์พุทที่เป็นมีลักษณะแอนะลอก(Analog Signal) การควบคุมตำแหน่ง (Positioning control)  การควบคุมแบบ PID และ รวมถึงการติดต่อสื่อสารข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่าความหมายของชื่อเดิม คือ โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ไม่ครอบคลุม ความสามารถในการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมที่พัฒนาขึ้นมา จึงได้มีการกำหนดชื่อของอุปกรณ์ควบคุมนี้ว่า โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์  (programmable Ccontroller)  เพื่อให้ความหมายกว้างขึ้น และ ครอบคลุม ความสามารถในการทำงาน มากขึ้น  แต่อย่างไรก็ตามในเอกสารเล่มนี้ ก็ยังคงใช้  โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์  หรือ  PLC  แทนอุปกรณ์ควบคุมที่เราพัฒนาขึ้นมา เพราะเป็นที่คุ้นเคย และหลีกเลี่ยงความสับสนระหว่าง คำว่า PC : Personnel computer

รูปที่ 2 แสดงลักษณะของ โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์    idec FA-2

3              การจำแนกขนาดของโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์

เนื่องจากในปัจจุบันมีการนำโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ไปใช้งานอย่างกว้างขวาง ซึ่งในการนำเอาโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ไปใช้งานในแต่ละชนิดนั้น จะพิจารณาจากขนาดของงานที่จะนำไปควบคุมเป็นหลัก ดังนั้นจึงเป็นผลให้ผู้ผลิตโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ทำการผลิต PLC ออกมาหลากหลายระดับ ซึ่งในแต่ละระดับก็มีสมรรถภาพแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภท

โดยทั่วไป การแบ่งขนาดของโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์จะพิจารณาจากขนาดของหน่วยความจำโปรแกรม (Program memory) และจำนวนของอินพุท และเอ้าท์พุท (Input / Output channels) สูงสุดที่ระบบโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์นั้น สามารถที่จะรองรับได้ ซึ่งจากตารางที่ จะแสดงการจำแนก PLC ตามขนาดของหน่วยความจำโปรแกรม และจำนวนของอินพุท และเอ้าท์พุท

ขนาดของ PLC

จำนวน I/O สูงสุด

หน่วยความจำโปรแกรม

ขนาดเล็ก (Small size)

ไม่เกิน  128 / 128

4 Kbyte (2,000 Statements)

ขนาดกลาง (Medium size)

ไม่เกิน  1024 / 1024

16 Kbyte (8,000 Statements)

ขนาดใหญ่ (Large size)

ไม่เกิน  2048 / 2048

64 Kbyte (32,000 Statements)

ขนาดใหญ่มาก (Very large size)

ประมาณ  8192 / 8192

256 Kbyte (128,000 Statements)

ตารางที่ 2 แสดงการจำแนกขนาดของโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์

แต่อย่างไรก็ตามในการพิจารณาคุณสมบัติของโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ เพื่อนำไปใช้งานจะต้องพิจารณาองค์ประกอบ หรือคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น Processor, Cycle time, Language facilities, Function operations, Expansion capability, Communication port เป็นต้น

นอกจากนั้นเรายังสามารถ ที่จะแบ่ง โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ตามโครงสร้างออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. แบบ Compact

จะเป็นโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ที่มีขนาดเล็ก กะทัดรัด มีหน่วยอินพุท / เอ้าพุท และหน่วยสำหรับติดต่อสื่อสารข้อมูล ประกอบรวมกันอยู่ภายในโครงสร้างเดียวกัน ซึ่งโครงสร้างของ โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ที่มีลักษณะนี้ได้แก่ PLC Simatic S7-200 / Siemens LOGO ซึ่งเหมาะสำหรับงานที่มีการกำหนดจำนวนอินพุท / เอ้าท์พุท ที่แน่นอนและมีจำนวนไม่มาก เช่นใช้ในการควบคุมเครื่องจักร เป็นต้น

2. แบบ Modular

จะเป็นโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์  ที่มีลักษณะเป็นโมดูล   เชื่อมต่อกันอยู่บน Rack สามารถจะทำการถอด และเสียบโมดูลที่ต้องการใช้งาน Rack ได้ ภายใต้ข้อกำหนดของโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ นั้นๆ  โดยบน Rack จะมีบัสต่างๆ เช่น บัสข้อมูลบัสแอดเดรส บัสควบคุม และ บัสสำหรับจ่ายกำลังงานไฟฟ้าให้กับโมดูลต่างๆ ซึ่ง โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ในปัจจุบันนิยมที่จะมีโครงสร้างในลักษณะนี้ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในเรื่องของจำนวน อินพุท / เอ้าท์พุท และโมดูลฮาร์ดแวร์ที่ใช้ ซึ่งโครงสร้างของ โปรแกรมเมเบิลลอจิก-คอนโทรลเลอร์ที่มีลักษณะนี้ได้แก่ PLC Simatic S5 95U, S7 300, S7 400 เป็นต้น

4 การใช้งานโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ในงานอุตสาหกรรม

ในระยะแรกโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ เป็นอุปกรณ์ควบคุมที่มีราคาสูง  เมื่อเปรียบเทียบกับวงจรรีเลย์  จึงมีเพียงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เท่านั้นที่นำเอาโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์มาใช้งานจนกระทั่งได้มีการพัฒนาโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์อย่างต่อเนื่อง และมีหลายขนาดให้เลือกนำไปใช้  ทำให้สามารถเลือกใช้ PLC ให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการในราคาที่ไม่สูงมาก ในปัจจุบันจึงมีการนำเอาโปรแกรมเมเบิล - คอนโทรลเลอร์   เข้ามาใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมทุกขนาดอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างของโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ควบคุมการผลิต

• อุตสาหกรรมการหลอมโลหะ

• อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรและรถยนต์

• อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า

• อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์

• อุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมี

• อุตสาหกรรมยางและพลาสติก

• อุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ

• อุตสาหกรรมการทอผ้า

• อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

• อุตสาหกรรมขนส่ง

ซึ่งเราจะเห็นว่าในปัจจุบันโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในระบบ  ควบคุมการผลิตแบบอัตโนมัติในทุกภาคงานอุตสาหกรรม และนอกจากนั้นยังได้มีการนำเอาโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ มาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรต่างๆ เช่น เครื่องจักร CNCเป็นต้น