การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคมีความสําคัญอย่างไร

พฤติกรรมของผู้บริโภค ถือเป็นหัวใจหลักในการสร้างความแตกต่าง และเพื่อออกแบบกลยุทธ์ทางธุรกิจ อย่างเช่น การตลาดที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ 

การศึกษา พฤติกรรมผู้บริโภค ในปัจจุบัน สามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการเก็บข้อมูลที่แม่นยำขึ้นจากเทคโนโลยียุค 4.0 ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลจากการใช้สื่อ Social หรือการซื้อสินค้าออนไลน์  

อ่านเพิ่มเติม : พฤติกรรมผู้โภค หมายถึงอะไร อยากสร้างยอดขายให้ได้กำไร จำเป็นต้องรู้

ข้อดีของการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค

การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค หรือพฤติกรรมของลูกค้า เป็นสิ่งจำเป็นตั้งแต่เริ่มคิดจะประกอบธุรกิจเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นแนวทางของการเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคก่อนจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการประกอบกิจการให้ประสบความสำเร็จ 

ข้อดีของการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค มีดังต่อไปนี้

1. พฤติกรรมของผู้บริโภค ช่วยให้เข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ จนนำไปถึงกระบวนการซื้อสินค้าและบริการไปบริโภค

2. พฤติกรรมการซื้อสินค้าจากผู้บริโภคช่วยวางแผนกลยุทธ์เพื่อปรับเปลี่ยน หรือตอบสนองต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และความสามารถของธุรกิจที่ประกอบการอยู่

3. การศึกษาและการทำความเข้าใจของผู้บริโภค ส่งผลโดยตรงในการกระตุ้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น ตลอดจนการพัฒนาองค์ธุรกิจและกลยุทธ์ในการดำเนินกิจการอยู่เสมอ 

4. การศึกษา หรือสรุปพฤติกรรมผู้บริโภค ช่วยให้สามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดได้มากขึ้น ส่งผลต่อยอดขายที่มากขึ้นด้วย เนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป็นจำนวนมากได้จากการทำความเข้าใจ และศึกษาพฤติกรรมการบริโภค

5.การพัฒนา ปรับปรุงกลยุทธ์ต่าง ๆ รวมถึงการตั้งวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคจะช่วยเพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นได้ 

แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

การศึกษาทำความเข้าใจพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค คือพื้นฐานของแนวคิดการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ที่นับว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ในด้านของการพัฒนา และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เรียกได้ว่าเป็น Key Success ของหลายๆ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการเข้าใจและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด

แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค 

1.แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นทฤษฏีที่ศึกษาถึงเหตุจูงใจที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยศึกษาและทำความเข้าใจถึงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความต้องการหรือการตอบสนอง 

2.การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค สามารถวิเคราะห์ได้จาก

-วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ; ในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค สิ่งสำคัญเริ่มต้น คือ การหาว่ากลุ่มเป้าหมาย หรือ ตลาดเป้าหมาย (target market) ของเราเป็นใคร โดยสามารถแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกได้ตามลักษณะต่าง ๆ เช่น เพศ, ช่วงอายุ, อาชีพ, รายได้, ถิ่นที่อยู่, การศึกษา, ความเชื่อ ฯลฯ

ปัจจุบันการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายสามารถทำได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับโซเชี่ยลมีเดียในการจำแนกกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้ เช่น ข้อมูลการใช้โซเชี่ยลมีเดีย แฟนเพจที่ติดตาม  

-ผู้บริโภคซื้ออะไร ; ศึกษา ทำความเข้าใจว่า ผู้บริโภคต้องการซื้ออะไร? ซึ่งหมายถึงคุณสมบัติหรือองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ เช่น รูปลักษณ์ คุณสมบัติ บริการเสริม ฯลฯ

-ทำไมจึงซื้อ ; เป็นการศึกษาถึงวัตถุประสงค์ในการซื้อสินค้าและบริการ เช่น ซื้อเพราะความจำเป็น ซื้อเพราะมีคุณค่าทางจิตใจ  หรือเป็นเพราะปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรมที่ส่งผลให้เกิดการบริโภค  

-ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ ; วิเคราะห์ถึงบทบาทของบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ เช่น ผู้ซื้อเป็นองค์กร หรือบริษัท ซึ่งมีองค์ประกอบในการตัดสินใจซื้อ คือ ผู้ริเริ่ม ผู้มีอิทธิผล ผู้ตัดสินใจซื้อ ฯลฯ

-ผู้บริโภคซื้อเมื่อใด

-ผู้บริโภคซื้อที่ไหน

-ผู้บริโภคซื้ออย่างไร ; กระบวนการซื้อประกอบด้วย (1) การรับรู้ปัญหา (2) การค้นหาข้อมูล (3) การประเมินผลทางเลือก(4) การตัดสินใจซื้อ(5) ความรู้สึกภายหลังการซื้อ 

พฤติกรรมผู้บริโภค ถือเป็นศาสตร์ที่มีมานาน ผู้ประกอบการและนักการตลาดทราบดีว่า หัวใจของการเพิ่มยอดขายและรายได้ให้แก่กิจการ มาจากการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคนั่นเอง  ด้วยความที่พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ฉะนั้นการหมั่นศึกษาพฤติการของผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้ผู้ประกอบการอย่างเรา ๆ นั้นเข้าใจลูกค้ามากขึ้น แถมยังส่งผลดีต่อธุรกิจอีกด้วย

พฤติกรรมผู้บริโภคจะทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Target market) ได้ลึกมากขึ้น ยิ่งคุณรู้จักลูกค้าของคุณมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้คุณสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ที่ใช้เวลาและเงินของคุณได้อย่างดีที่สุดได้ง่ายยิ่งขึ้น

  • แคมเปญการตลาด : ความประทับใจแรกพบเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การทำการตลาดจะง่ายมากขึ้น หากคุณรู้แน่ชัดว่า กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของคุณกำลังมองหาอะไร? โดยข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคจะชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่คุณต้องทำ เพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มคนที่ใช่ ซึ่งก็คือ ผู้ที่ต้องการสินค้า หรือบริการของคุณนั่นเอง รวมไปถึง การทำความเข้าใจว่าลูกค้าของคุณเป็นใคร, พวกเขาซื้อสินค้าจากที่ไหน, พวกเขาทำการซื้ออย่างไร และซื้อเพราะอะไร?
  • การรักษาลูกค้า : คุณต้องไม่โฟกัสแค่เรื่องการสร้างลูกค้าใหม่เท่านั้น แต่ยังต้องดูแลลูกค้าเดิมที่มีอยู่แล้วด้วย ดังนั้น เมื่อคุณได้ลูกค้ามาแล้ว คุณต้อง พยายามรักษาพวกเขาไว้ โดยลูกค้าที่ซื้อซ้ำมักจะทำให้สินค้าของคุณ กลายเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของพวกเขาและก็จะกลายเป็นผู้สนับสนุนแบรนด์ ที่จะแนะนำ หรือบอกต่อกับครอบครัวและเพื่อน ๆ 

    การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคมีความสําคัญอย่างไร
  • ความแตกต่างของลูกค้า : ลูกค้าแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน แม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดเพียงกลุ่มเดียว แต่ว่า แต่ละคนต่างก็มีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นควรเจาะลึก ฐานผู้บริโภคของคุณ เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงและกำหนดเป้าหมาย จากกลุ่ม ประชากรได้มากขึ้น 
  • การวิเคราะห์คู่แข่ง : การวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าของคุณเองไม่ได้  ครอบคลุมภาพรวมทั้งหมดได้ การรู้ว่าทำไมคนถึงซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณนั้น มีประโยชน์ เช่นเดียวกับการทำความเข้าใจว่าทำไมคนอื่นถึงไม่ซื้อ โดยการพิจารณาประสิทธิภาพของคู่แข่งเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงเหตุผลที่ผู้บริโภค บางคนเลือกคู่แข่งมากกว่าคุณ ซึ่งการพิจารณาถึงสิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ จะทำให้คุณได้เปรียบในการแข่งขัน
  • แนวโน้มของตลาด : การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในช่วงเวลาหนึ่งสามารถช่วยให้คุณระบุจุดสูงสุด และจุดต่ำสุดในธุรกิจได้ โดยบริษัทของคุณจะตัดสินใจได้ดีขึ้นเกี่ยวกับอุปทาน หรือความต้องการขาย (Supply) เมื่อคุณจับตาดูเทรนด์ของตลาด เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่า อุปสงค์หรือความต้องการซื้อ (Demand) จะไปในทิศทางไหน
  • การจัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ (Product Portfolio Management : PPM) : การทำความเข้าใจลูกค้าของคุณจะทำให้คุณเข้าใจถึงข้อมูลเชิงลึกของประสิทธิภาพ ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยให้คุณเก็บข้อมูลนี้ไว้ให้ดี ในขณะที่ดำเนินการจัดการ กลุ่มผลิตภัณฑ์ซึ่งจะทำให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนอุปทาน เพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ ได้หากลูกค้าของคุณมีความรู้สึกชื่นชอบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตัวใดตัวหนึ่งของคุณเป็นอย่างมาก การจัดสรรทรัพยากรให้กับผลิตภัณฑ์นั้นมากขึ้นก็อาจคุ้มค่า และ ลดเวลา กับเงินที่ใช้ไปกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้และหากตลาดไม่มีการตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ตัวใด ตัวหนึ่งอีกต่อไป ก็อาจถึงเวลาสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่

ประเภทของพฤติกรรมผู้บริโภค

พฤติกรรมผู้บริโภคมีอยู่ 4 ประเภท โดยแต่ละบุคคลอาจแสดงพฤติกรรมเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งแบบหรือมากกว่านั้น ซึ่งคุณต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณาว่า ผู้บริโภคของคุณมีพฤติกรรมแบบใดมากที่สุด

พฤติกรรมการซื้อที่ซับซ้อน (Complex buying behavior)
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่ซับซ้อนเกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคทำการซื้อเฉพาะ (Unique Purchase) ซึ่งอาจเป็นกระบวนการซื้อสินค้าที่มีราคาแพง หรือสิ่งที่ผู้ซื้อไม่ค่อยคุ้นเคย ในกรณีนี้ ผู้บริโภคจะใช้เวลามากในการค้นคว้าหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อทำให้การตัดสินใจนั้นถูกต้อง

ขั้นตอนการวิจัยผู้บริโภคของพฤติกรรมการซื้อนี้ อาจรวมถึง การเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาด หรือปรึกษากับเพื่อน, ครอบครัว และผู้เชี่ยวชาญโดยผู้บริโภคใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาไอเดีย เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องการจากผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้องในการเริ่มมีความคิดเห็น และในที่สุดความคิดเห็นนี้จะกลายเป็นความชอบ สำหรับผลิตภัณฑ์ บางอย่างที่พวกเขาคิดว่าจะ ตอบสนองความคาดหวังของตนได้และทำการซื้อในที่สุด

พฤติกรรมการซื้อที่ ลดความซับซ้อน (Dissonance-reducing buying behavior)
พฤติกรรมการซื้อที่ลดความซับซ้อน คือ เมื่อผู้บริโภคพร้อมที่จะใช้เวลามากในการตัดสินใจซื้อ โดยการตัดสินใจนี้ อาจจะเป็นเรื่องท้าทายสำหรับพวกเขา เนื่องจากพวกเขาต้องมองหาข้อดี และความแตกต่างระหว่างแบรนด์ต่าง ๆ อย่างยากลำบาก ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติเมื่อมีการซื้อใน จำนวนมาก  

ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคที่ไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับรถยนต์มากนัก อาจใช้เวลานานในการตัดสินใจ เลือกซื้อ โดยพวกเขาอาจจะมีเกณฑ์บางอย่าง เช่น ที่นั่งแบบ 4 ประตู, ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  (Eco-friendly), ที่นั่งที่ให้ความสบาย และด้วยรถยนต์จำนวนมาก ที่มีคุณสมบัติตามที่พวกเขาต้องการ จึงทำให้การตัดสินใจครั้งนี้ อาจเกิดความเครียดขึ้นมาได้ โดยความกังวลหลัก ๆ สำหรับผู้บริโภคที่ต้องเจอกับพฤติกรรมการซื้อนี้ คือ ความกลัวในการ เลือก และรู้สึกเสียใจในภายหลัง

พฤติกรรมการซื้อที่เป็นนิสัย (Habitual buying behavior)
พฤติกรรมการซื้อที่เป็นนิสัย คือ เป็นพฤติกรรมการซื้อที่เกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้าที่มีความ เสี่ยงน้อยและไม่มีความแตกต่างระหว่าง แบรนด์ต่าง ๆ มากนัก ในกรณีนี้ผู้ซื้อมักจะคุ้นเคยกับ ผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว หรือใช้อยู่เป็นประจำ

พฤติกรรมนี้เป็นเรื่องปกติสำหรับการซื้อด้วยอารมณ์ หรือการซื้อที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า (Impulse buying) เนื่องจากลูกค้าเข้าใจตลาดอยู่แล้ว โดยพวกเขาจะพึ่งแบรนด์ที่มีความ คุ้นเคยเมื่อทำการซื้อของเหล่านี้ แต่ความภักดีต่อแบรนด์ไม่ได้สำคัญสำหรับพวกเขา เพราะพวกเขารู้จักแบรนด์มากมายที่สามารถตอบสนองความต้องการได้

พฤติกรรมการซื้อแบบแสวงหาความหลากหลาย (Variety-seeking buying behavior)
พฤติกรรมการซื้อแบบแสวงหาความหลากหลาย เกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคต้องการเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ โดยพวกเขามักจะใช้ผลิตภัณฑ์เดิมมาระยะหนึ่งแล้ว และต้องการลองสิ่งใหม่ ๆ

โดยการเลือกสิ่งที่ต่างออกไป ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะไม่พึงพอใจกับประสบการณ์ ที่ได้ รับจากผลิตภัณฑ์เดิมก่อนหน้านี้เสมอไป ซึ่งพฤติกรรมการซื้อแบบนี้ มักจะเห็นได้ในกลุ่มของ ผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงน้อย 

ปัจจัยของพฤติกรรมผู้บริโภค

ปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลต่อวิธีการ หรือเหตุผลในการเลือกซื้อ ตามความต้องการแบบเฉพาะ บุคคลของพวกเขา ซึ่งจะพบได้ในกระบวนการซื้อนั้น ๆ 

ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม
ปัจจัยทางวัฒนธรรมช่วยผู้คนในการสร้าง และเปลี่ยนความคิดเห็น กับความชอบ โดยมุมมองทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นจากค่านิยม และอุดมการณ์ของชุมชนลูกค้าของคุณ ซึ่งปัจจัยทางวัฒนธรรมเหล่านี้ รวมถึงวัฒนธรรมย่อย อย่างเช่น ศาสนา, ชาติพันธุ์, สัญชาติ หรือสมาคมภูมิศาสตร์

ชนชั้นทางสังคมมีบทบาทสำคัญในปัจจัยทางวัฒนธรรมเหล่านี้ เพราะหากชุมชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่สามารถซื้อสินค้าของคุณได้ หรือสินค้านั้น ไม่มีประโยชน์กับพวกเขาแล้ว คุณจะทำให้พวกเขา เสียเวลาไปเปล่า ๆ และหากไม่มีชุมชนกลุ่มไหนที่มองเห็นประโยชน์ในสินค้าของคุณ ก็อาจจะคุ้มค่า ในการกลับไปวางแผน หรือเริ่มต้นใหม่

ปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยส่วนบุคคลมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีโอกาสมาเป็นลูกค้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล ไม่ว่าจะเป็น อายุ, เพศ, อาชีพ, ระดับการศึกษา, รายได้ หรือไลฟ์สไตล์

อายุและเพศ จะช่วยให้คุณจำกัดขอบเขตในการคิดของพวกเขาได้ว่า กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ยกตัวอย่างเช่น หากคุณขายประกัน การวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค อาจแสดงให้เห็นว่า คนที่คุณควรขายให้นั้น เป็นวัยกลางคนจนถึงวัยสูงอายุ หรือถ้าหากคุณกำลังขายวิดีโอเกม การวิเคราะห์อาจแสดงให้เห็นถึง สิ่งที่กลุ่มวัยรุ่นชายและวัยหนุ่มสาวให้ความสนใจมาก

การรวบรวมข้อมูลในเรื่องของรายได้ เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาสินค้า หากคุณกำลังพยายามขายสินค้า หรือบริการที่แพงเกินไปสำหรับกลุ่มเป้าหมายของคุณ แสดงว่าคุณกำลังทำผิดพลาดครั้งใหญ่ ในทางกลับกัน คุณสามารถระบุได้ว่า การขึ้นราคาเป็นประโยชน์ต่อทั้ง 2 ฝ่ายหรือไม่ โดยการวิเคราะห์รายได้ของผู้บริโภคของคุณ จะแสดงให้เห็นว่า พวกเขายินดีจ่ายเท่าไหร่ โดยพิจารณาจากจำนวนเงินที่พวกเขาใช้จ่ายอยู่

อาชีพ และไลฟ์สไตล์เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่สำคัญที่ส่งผลต่อข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น หากคุณขายปากกามาร์คเกอร์ การทำการตลาดกับกลุ่มคุณครู ก็จะมีความ สำคัญเป็นพิเศษ หรือหากคุณกำลังขายเครื่องออกกำลังกาย คุณต้องการโฟกัสไปยังคนที่ ต้องการจะออกกำลังกาย

ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา
ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรม มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค และวิธีการที่พวกเขาพยายามในการตัดสินใจซื้อ โดยปัจจัยเหล่านี้ จะรวมถึงความเชื่อ, แรงจูงใจ และการรับรู้

โดยความเชื่อมีบทบาทอย่างมากต่อการที่สินค้าของคุณจะได้รับการตอบรับที่ดีหรือไม่ หากคน หนึ่งมีความหลงใหลในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิของสัตว์มาก ๆ และสินค้าของคุณทำด้วยขนสัตว์จริง แบรนด์ของคุณก็จะไม่ตรงกับความเชื่อของคนนั้น และเขาก็จะไม่มาเป็นลูกค้าของคุณ