การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง

ภายใต้คลื่นที่นุ่มนวลของมหาสมุทรรอบๆ เกาะสมุย เป็นที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของระบบนิเวศทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นปลา กุ้ง และหอย ที่นี่คือแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิต ที่ตั้งของผืนป่าใต้น้ำที่สมบูรณ์และระบบนิเวศทางทะเลขนาดใหญ่ หรือที่เรียกกันว่าแนวปะการัง ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของปะการังที่สร้างรูปทรงและสีสันที่แปลกตา รวมถึงปะการังอีกหลากหลายชนิดที่อาศัยอยู่เป็นกลุ่มก้อนยังทำหน้าที่เป็นแหล่งหลบภัยชั้นดีของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ทั้งหมดนี้คือแผนงานที่โฟร์ซีซั่นส์ รีสอร์ท เกาะสมุยให้ความใส่ใจดูแลและร่วมปกป้องทรัพยากรทางทะเลผ่านโครงการอนุรักษ์ปะการัง (Coral Conservation Project)

โครงการนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2560 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่แขกผู้เข้าพักและร่วมสนับสนุนการฟื้นฟูแนวปะการังหน้าหาดที่อยู่ล้อมรอบรีสอร์ท “ด้วยการตระหนักถึงภัยคุกคามต่อแนวปะการังรอบเกาะสมุยที่เกิดจากภัยทางธรรมชาติและน้ำมือของมนุษย์จากกิจกรรมต่างๆ เรากำลังรับผิดชอบต่อการรักษาแนวปะการังให้คงอยู่ต่อไป” ทิพวิมล รัตนะวงวาล นักชีววิทยาประจำรีสอร์ทกล่าว

หนึ่งในโอกาสที่ทิพวิมลมองเห็น “คือการหาแนวทางปฏิบัติเพื่อสนับสนุนชาวประมงท้องถิ่น โดยขณะเดียวกันก็ร่วมกันปกป้องปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลไปด้วย โดยโครงการดังกล่าวได้ส่งเสริมความร่วมมือระดับชุมชนที่ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ท้องทะเลในชีวิตประจำวัน เนื่องจากแนวปะการังมีความอ่อนไหวต่อการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์”

นอกจากความร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และชุมชนท้องถิ่น ทางรีสอร์ทยังมอบประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับแขกผ่านกิจกรรมทัวร์ดำน้ำตื้นและกิจกรรมที่ให้คำแนะนำเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ในขณะที่แขกจะได้เพลิดเพลินกับความงามของปะการังภายใต้คำแนะนำของทิพวิมล “แขกที่รีสอร์ทจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับปะการังหลากหลายสายพันธุ์ เช่นปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ด ปะการังกาแล็กซี่ ปะการังพักกาด ปะการังโหดหิน กัลปังหา รวมถึงสิ่งมีชีวิตอีกหลากหลายชนิดที่เจริญเติบโตในอ่าวไทยและอยู่ในระยะที่สามารถว่ายน้ำได้จากรีสอร์ท” เธอกล่าวเสริม

นับตั้งแต่เปิดโครงการ ทีมงานประจำรีสอร์ทได้ปลูกปะการังไปแล้วมากกว่า 20,000 ชิ้นลงไปในแนวปะการังเดิม และได้สังเกตเห็นถึงการเจริญเติบโตของปะการังที่มีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการฟื้นฟูปะการังโดยใช้วิธีลาซารอส (Lazarus Method) ที่ได้รับการดัดแปลงโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทำให้อัตราการรอดชีวิตของปะการังที่ปลูกซ้ำ ในขณะนี้มีมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ “เรามีความยินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่าปะการังที่ได้ปลูกใหม่นั้นมีขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 2 เท่า และมีพันธุ์ปลาและลูกปูที่สามารถพบได้ตามแนวปะการังเป็นจำนวนมาก” ทิพวิมลยิ้ม

นอกจากการทำความสะอาดบริเวณชายหาดเป็นประจำในทุกๆ วันแล้ว ทางรีสอร์ทยังได้ร่วมมือกับธนาคารปูม้าบ้านใต้ ซึ่งเป็นชุมชนริมชายฝั่งในเกาะสมุย ในการร่วมกันฟื้นฟูอนุรักษ์และปล่อยแม่พันธุ์ปูม้าบริเวณชายหาดหน้ารีสอร์ททุกสัปดาห์ เพื่อช่วยให้ลูกปูได้พบกับที่หลบภัยภายในแนวปะการังของรีสอร์ท

“เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ และเรายังมีงานอีกมากมายที่ต้องทำให้สำเร็จลุล่วง” ฌอน โมเชอร์ ผู้จัดการทั่วไปกล่าว “การฟื้นฟูระบบนิเวศเป็นกระบวนการยาวนานและยากลำบาก และเรามีความภูมิใจที่ได้รับหน้าที่เป็นแนวหน้าของความพยายามเหล่านี้ให้เกิดขึ้นบนเกาะสมุย ที่ไม่ใช่เพียงแค่ส่งเสริมเพื่อการรักษาปะการังให้อยู่รอดเท่านั้น แต่ยังประสานความร่วมมือกับชุมชนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าเราทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกัน”


RELATED:

การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง

November 30, 2022, Koh Samui, Thailand

Four Seasons Resort Koh Samui Introduces Newly-Appointed General Manager Jasjit Assi

การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง

November 25, 2022, Maldives at Landaa Giraavaru, Republic of Maldives

Knowledge is Power: A Marine Biology Journey Starts with Trainee Marine Biologist Modules at Four Seasons Resort Maldives at Landaa Giraavaru, Immersing Youngsters in Ground-Breaking Conservation and Research

สิ่งที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้นในบริเวณทะเลและชายฝั่ง รวมถึงพื้นที่ชุ่มบริเวณชายฝั่ง คลอง คู ทะเลสาบ หรือ พื้นที่บริเวณปากแม่น้ำ รวมไปถึงสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆภายในทะเลด้วยอย่างเช่น หิน ทราย ปลา สัตว์ทะเล ปะการัง หญ้าทะเล ดอนหอย โขดหิน ป่าชายเลน ระบบนิเวศพรรณไม้ตามแนวป่าชายเลน ชายหาด และ เกาะ  ในส่วนที่เป็นของมนุษย์สร้างขึ้นบริเวณทะเล ได้แก่ ปะการังเทียม แนวลดแรงคลื่นเพื่อป้องกันการเซาะชายฝั่ง สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสวยงามของตัวมันเอง

ในพื้นที่ต่างๆเหล่านี้จะมีเขตอนุรักษ์อยู่ เนื่องจากจำเป็นที่ต้อง คุ้มครองและสงวนสภาพให้เป็นไปตามที่ควรจะเป็น  เพราะ ทรัพยากรเหล่านี้ล้วนมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของประเทศในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

  ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีค่าทางเศรษฐกิจและความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของมนุษยชาติอย่างมาก ผลประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตของไทยสร้างมูลค่าประมาณ ๐.๗๓ ล้านล้านบาทต่อปี การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยดำรงรักษาระบบนิเวศและสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้สูงสุดและยั่งยืน อย่างไรก็ดีแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันโดยภาครัฐ เช่น อุทยานแห่งชาติทางทะเล เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เขตรักษาพืชพันธุ์ เป็นต้น ได้สร้างความไม่พึงพอใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจและแสดงความคิดเห็น สำหรับแนวทางการประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นเครื่องมือใหม่สำหรับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่จะช่วยลดช่องว่างความไม่พึงพอใจด้วยการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและแสดงความคิดเห็นในกระบวนการทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกพื้นที่ การกำหนดขอบเขตพื้นที่ และการกำหนดมาตรการคุ้มครอง สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอาศัยความรู้ด้านการบริหารจัดการเชิงระบบนิเวศเป็นฐานในการทำมาตรการอนุรักษ์ ดังนั้นการประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการนำมาใช้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ดีกว่าแนวทางเดิม และลดปัญหาความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต