ความ หมาย และ องค์ประกอบ ของสมรรถภาพทางกาย

ความ หมาย และ องค์ประกอบ ของสมรรถภาพทางกาย

                    สมรรถภาพทางกาย เป็นความสามารถของระบบต่างๆในร่างกายประกอบด้วย ความสามารถเชิงสรีรวิทยาด้านต่างๆ ที่ช่วยป้องกันบุคคลจากโรคที่มีสาเหตุจากภาวะการขาดการออกกำลังกาย นับเป็นปัจจัยหรือตัวบ่งชี้สำคัญของการมีสุขภาพดี ความสามารถหรือสมรรถนะเหล่านี้ สามารถปรับปรุงพัฒนาและคงสภาพได้ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพมีองค์ประกอบ ดังนี้
1.องค์ประกอบของร่างกาย (Body Composition) ตามปกติแล้วในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วย กล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน และ ส่วนอื่นๆ แต่ในส่วนของสมรรถภาพทางกายนั้น หมายถึง สัดส่วนปริมาณไขมันในร่างกายกับมวลร่างกายที่ปราศจากไขมัน โดยการวัดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ไขมัน (% fat)
2.ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด (Cardiorespiratory Endurance) หมายถึง สมรรถนะเชิงปฏิบัติของระบบไหลเวียนเลือด (หัวใจ หลอดเลือด) และระบบหายใจในการลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์กล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายสามารถยืนหยัดที่จะทำงานหรือออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่เป็นระยะเวลายาวนานได้
3.ความอ่อนตัวหรือความยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง พิสัยของการเคลื่อนไหวสูงสุดเท่าที่จะทำได้ของข้อต่อหรือกลุ่มข้อต่อ
4.ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งหรือกลุ่มกล้ามเนื้อ ในการหดตัวซ้ำๆ เพื่อต้านแรงหรือความสามารถในการหดตัวครั้งเดียวได้เป็นระยะเวลายาวนาน
5.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength) หมายถึง ปริมาณสูงสุดของแรงที่กล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งหรือกลุ่มกล้ามเนื้อสามารถออกแรงต้านทานได้ ในช่วงการหดตัว 1 ครั้ง

สมรรถภาพทางกลไก ( Motor Fitness) หรือ สมรรถภาพเชิงทักษะปฏิบัติ(Skill – Related Physical Fitness)
           ความสามารถของร่างกายที่ช่วยให้บุคคลสามารถประกอบกิจกรรมทางกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นกีฬาได้ดี มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ดังนี้
1. ความคล่อง ( Agility) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและสามารถควบคุมได้
2. การทรงตัว ( Balance) หมายถึง ความสามารถในการรักษาดุลของร่างกายเอาไว้ได้ทั้งในขณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่
3. การประสานสัมพันธ์ ( Co-ordination) หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น กลมกลืน และ มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการทำงานประสารสอดคล้องระหว่างตา-มือ-เท้า
4. พลังกล้ามเนื้อ (Power) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งส่วนใดหรือหลายๆ ส่วนของร่างกายในการหดตัวเพื่อทำงานด้วยความเร็วสูง แรงหรืองานที่ได้เป็นผลรวมของความแข็งแรงและความเร็วที่ใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น การยืนอยู่กับที่ กระโดดไกล การทุ่มน้ำหนัก เป็นต้น
5. เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง ( Reaction time) หมายถึง ระยะเวลาที่ร่างกายใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น แสง เสียง สัมผัส
6. ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว

หลักการในการออกกำลังกาย
1. ปริมาณในการฝึก ( Volume)
2. ความหนักในการฝึก ( Intensity)
3.ความบ่อยครั้ง/ ความถี่ในการฝึก ( Frequency)
4. ระยะเวลาในการฝึก ( Duration)
5. ระยะเวลาในการพักฟื้นสภาพร่างกาย ( Recovery)
6. รูปแบบในการฝึก ( Pattern of Exercise)

ความ หมาย และ องค์ประกอบ ของสมรรถภาพทางกาย


ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library_2/health_related_physical_fitness/index.html

ความ หมาย และ องค์ประกอบ ของสมรรถภาพทางกาย

ความ หมาย และ องค์ประกอบ ของสมรรถภาพทางกาย

ความ หมาย และ องค์ประกอบ ของสมรรถภาพทางกาย
 

          สมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งสำคัญ  ในการช่วยเสริมสร้างให้บุคคลสามารถประกอบภารกิจและดำรงชีวิตอยู่อย่างประสิทธิภาพ  รวมทั้งทำให้บุคคลปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  และมีความแข็งแรง  ทนทาน  มีความคล่องแคล่วว่องไวที่จะประกอบภารกิจประจำวันให้ลุล่วงไปด้วยดี  นอกจากนี้  ยังก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านจิตใจและอารมณ์ควบคู่กันไปด้วย  ในเรื่องของสุขภาพส่วนบุคคลนั้น  ความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับสมรรถภาพทางกาย  หรืออาจจะกล่าวว่า  มีรากฐานจากการมีสุขภาพดี  ถ้ามีร่างกายอ่อนแอ  สุขภาพไม่สมบูรณ์  ความสามารถของร่างกายที่จะปรกอบภารกิจต่างๆ  ในชีวิตประจำวันก็ลดน้อยลงด้วย

ที่มาของภาพ : http://sat.thaileagueonline.com/uploads/e4e067cd78a360a9c9cf68f33846141f.JPG

          สมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเสริมสร้างให้บุคคลสามารถประกอบภารกิจและดำรงชีวิตอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ  รวมทั้งยังทำให้บุคคลปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและมีความแข็งแรงทนทาน  มีความแคล่วคล่องว่องไว  ที่จะประกอบภารกิจประจำวันให้ลุล่วงไปด้วยดี  นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านจิตใจและอารมณ์ควบคู่ไปด้วย  ในเรื่องของสุขภาพส่วนบุคคลนั้น  ความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับสมรรถภาพทางกาย หรืออาจจะกล่าวว่าสมรรถภาพทางกายมีรากฐานจากการมีสุขภาพดี  ถ้าร่างกายอ่อนแอ สุขภาพไม่สมบูรณ์  ความสามารถของร่างกายที่จะประกอบภารกิจต่างๆ  ในชีวิตประจำวันก็ย่อมลดน้อยลงด้วย

          อย่างไรก็ตาม  สมรรถภาพทางกายสามารถสร้างขึ้นได้ด้วยการทำให้ร่างกายได้ออกกำลังกายหรือมีการเคลื่อนไหวเท่านั้น  สมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้และหายไปได้  การที่เราจะรักษาให้ร่างกายมีสมรรถภาพคงอยู่เสมอนั้น  จำเป็นต้องมีการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้มีสมรรถภาพทางกายที่คงสภาพและเป็นการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายให้ดียิ่งๆ  ขึ้น  ไปอีกด้วย  นอกจากนี้แล้วยังเป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคภัยเบียดเบียน  โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากการขาดการออกกำลังกายได้อีกด้วย  เช่น
                    1. ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
                    2. เพิ่มพูนประสิทธิภาพของระบบต่างๆ  ในร่างกาย  เช่น  ระบบหมุนเวียนโลหิต  ระบบหายใจ  ระบบการย่อยอาหาร  ฯลฯ
                    3. ทำให้รูปร่างและสัดส่วนของร่างกายดีขึ้น
                    4. ช่วยควบคุมมิให้น้ำหนักเกินหรือควบคุมไขมันในร่างกาย
                    5. ช่วยลดความดันโลหิตสูง
                    6. ช่วยลดไขมันในเลือด
                    7. เพิ่มความคล่องตัว  เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

ประโยชน์ทั่วไป
                    1. ทำให้ทรวดทรงดี
                    2.  ร่างกายมีความต้านทานโรค
                    3.  ระบบต่างๆ  ทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                    4.  การตัดสินใจดีขึ้น
                    5.  มีทักษะดีขึ้น
ประโยชน์ทางร่างกาย
                   1.  กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง
                   2.  กล้ามเนื้อมีความทนทาน
                   3.  อัตราการเต้นของหัวใจจำนวนครั้งน้อยลง  แต่การสูบฉีดของหัวใจมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
                   4. การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายดีขึ้น
                   5. ความอ่อนตัวดีขึ้น
                   6. กล้ามเนื้อฉีกขาดได้ยาก
                   7. พลังกล้ามเนื้อสูงขึ้น
                   8. ความสัมพันธ์ในการใช้มือใช้เท้าดีขึ้น
                   9. การประกอบกิจกรรมในแง่  ทุ่ม  พุ่ง  ขว้าง  กระโดด  มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                   10. การทรงตัวดีขึ้น

 ประโยชน์ทางเกี่ยวกับประกอบอาชีพ
            เป็นที่ยอมรับกันว่าสมรรถภาพทางกายมีบทบาทและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่อการทำงานทุกอาชีพ  เนื่องจากการมีสมรรถภาพทางกายดีช่วยให้คนเราสามารถประกอบอาชีพได้เป็นระยะเวลานานและมีปริสิทธิภาพสูง  นอกจากนี้ยังช่วยให้คนเรามีความสามารถที่จะต่อสู้กับความยุ่งยากในชีวิตไม่เกิดความตึงเครียดทางอารมณ์  และสามารถปรับจิตใจและอารมณ์ให้เหมาะกับสภาพของแต่ละบุคคลได้  สมรรถภาพทางกายจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการประกอบอาชีพ

ประโยชน์ต่อด้านสังคม
            เราเคยได้ยินกันบ่อยๆ ว่า “เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า” เยาวชนที่มีสมรรถภาพทางกายดีในวันนี้จึงอาจเป็นผู้ใหญ่ที่มีสมรรถภาพทางกายดีวันหน้าด้วย  ถ้าหากเยาวชนทุกคนเห็นความสำคัญของสมรรถภาพทางกาย และพยายามเสริมสมรรถภพทางกายให้ดีอยู่เสมอจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่  ย่อมจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไปภายหน้า  อันจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมโดยส่วนรวม  หากเยาวชนทุกคนปฏิบัติตนเช่นว่าวันนี้ได้แล้วก็น่าจะกล่าวอย่างภาคภูมิใจได้อีกว่า  “ความมีสมรรถภาพทางกายดีหรือความแข็งแรงของเด็กวันนี้  ก็คือ  ความแข็งแรงของประเทศชาติในอนาคต”  (วันใหม่  ประพันธ์บัณฑิต:2548)

ประโยชน์ด้านการกีฬา
            ในการคัดเลือกนักกีฬาเพื่อทำการแข่งขันระดับนานาประเทศ  หรือ  ระดับโลก  ปัจจัยสำคัญที่จะต้องเน้นก็คือ   สมรรถภาพทางกายของนักเรียนมีความสมบูรณ์เพียงพอหรือไม่  คงไม่มีใครคัดเลือกนักกีฬาที่เก่ง แต่สมรรถภาพทางกายไม่ดีเพราะขาดการฝึกซ้อม  แต่ถ้าหากมีนักกีฬาที่ชนะเลิศและมีสถิติใกล้เคียงกัน  แน่นอนผู้ทำการคัดเลือกก็ต้องเลือกนักกีฬาที่มีสมรรถภาพทางกายดีกว่า  โดยทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายในแต่ละด้าน  (วันใหม่  ประพันธ์บัณฑิต  2549)

ความ หมาย และ องค์ประกอบ ของสมรรถภาพทางกาย
ความ หมาย และ องค์ประกอบ ของสมรรถภาพทางกาย
 

สมรรถภาพทางกาย หมายถึงอะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

(1) สมรรถภาพทางกายทั่วไป (General Physical Fitness) จ าแนกออกเป็น 7 ประเภท มีองค์ประกอบดังนี้ 1. ความเร็ว (Speed) 2. พลังกล้ามเนื้อ (Muscle Power) 3. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength) 4. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscle Endurance) 5. ความแคล่วคล่องว่องไว (Agility) 6. ความอ่อนตัว (Flexibility) 7. ความอดทนทั่วไป ( ...

อะไรคือความหมายของสมรรถภาพทางกาย

สมรรถภาพทางกาย หรือ ความฟิต หมายถึง ความสามารถของบุคคลในอันที่จะใช้ระบบต่าง ๆ กระทำกิจกรรมใด ๆ อันเกี่ยวกับการแสดงออก ซึ่งความสามารถทางด้านร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือได้หนักหน่วง เป็นเวลาติดต่อกันโดยไม่แสดงอาการเหน็ดเหนื่อยให้ปรากฏ และสามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ผู้ที่มีสมรรถภาพร่างกายที่ดี ...

ข้อใดเป็นองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ

2. องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับทักษะ (Skill-Related Physical Fitness) องค์ประกอบ ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งส าคัญ ส าหรับสมรรถภาพทางกายที่ส่งผลให้นักกีฬาประสบความส าเร็จ ได้แก่ 2.1 ความอดทนของระบบหลอดเลือดและหัวใจ 2.2 ความอดทนและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 2.3 ความอ่อนตัว 2.4 ส่วนประกอบของร่างกาย 2.5 ความคล่องแคล่ว 2.6 การ ...

ความหมายของสมรรถภาพทางกาย มีกี่ประเภท

โดยทั่วไปสมรรถภาพทางกายแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ 1. สมรรถภาพทางกายทั่วไป (General Physical fitness) 2. สมรรถภาพทางกายพิเศษ (Special Physical fitness)