ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายพันธมิตรคือใคร

นายพลดักลาส แม็กอาร์เธอร์ ผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐฯ ในแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้และผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร ลงนามยอมรับการยอมจำนนในนามของฝ่ายสัมพันธมิตร การลงนามครั้งนี้ ถือเป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ

2 ก.ย. 2564 ครบรอบ 76 ปีของการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ ผมขอใช้โอกาสนี้เล่าถึงบทบาทของคนไทยในอังกฤษที่เข้าเป็นสมาชิกของหน่วยงานราชการลับของรัฐบาลอังกฤษภายใต้ชื่อ Special Operations Executive หรือ SOE ที่ทำงานด้านหาข่าว สอดแนม และจารกรรมฝ่ายอักษะในยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คนไทยกลุ่มนี้คือส่วนหนึ่งของขบวนการเสรีไทยสายอังกฤษที่ร่วมมือกับขบวนการเสรีไทยในประเทศไทยที่นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ นำข้อมูลเกี่ยวกับกองทัพญี่ปุ่นที่ยึดครองไทยขณะนั้น แจ้งต่อประเทศสัมพันธมิตร จนนำไปสู่การสิ้นสุดของสงครามในตะวันออกไกล และสงครามโลกครั้งที่สองในเวลาต่อมา

บทความนี้ให้ความสำคัญกับบทบาทของคนไทยกลุ่มนี้ โดยอ้างอิงข้อมูลส่วนใหญ่จากเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ และ SOE ที่ระบุถึงข้อมูลของบุคคลสำคัญของไทย ต่างจากที่คนไทยเข้าใจกัน เช่น ใช้ตำแหน่งของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช และ พระยามนูเวทย์วิมลนาทว่า อัครราชทูต (Minister) ไม่ใช่เอกอัครราชทูต (Ambassador)

คำบรรยายภาพ,

ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตร จากซ้ายไปขวา วินสตัน เชอร์ชิลล์ แฮร์รี ทรูแมน และ โจเซฟ สตาลิน จับมือกัน ที่การประชุมพอตส์ดัม ในเยอรมนี เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2488

ช่วงเริ่มต้นของสงครามมหาเอเชียบูรพา

ตั้งแต่ 02.00 น. ของ 8 ธ.ค. 2484 เรือรบญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ สงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร และบางปู แม้มีการต่อต้านอย่างดุเดือดจากชาวบ้านในท้องถิ่น และทหาร รวมถึงยุวชนทหาร รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตัดสินใจลงนามสงบศึกกับญี่ปุ่นและทำอนุสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการเมื่อ 21 ธ.ค. 2484 เพื่อร่วมมือกันทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจทำให้สยามเป็นส่วนหนึ่งของ "วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" และยังอนุญาตให้ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นฐานปฏิบัติการในการบุกพม่าและมลายู (ชื่อขณะนั้น) อีกด้วย ในที่สุด จอมพล ป. ก็ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเมื่อ 25 ม.ค. 2485

นับว่าโชคดีที่รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ได้ประกาศสงครามกลับต่อประเทศไทย และ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทยในกรุงวอชิงตันได้ประณามการประกาศสงครามและการร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลจอมพล ป. ซึ่งสหรัฐฯ เข้าใจดีว่าการประกาศสงครามนี้ขัดต่อเจตจำนงของคนไทยที่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการประกาศสงครามและไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่อนุญาตให้ญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นฐานปฏิบัติการในการบุกพม่าและมลายู

ทว่า ทัศนคติของอังกฤษขณะนั้นแตกต่างอย่างมากจากทัศนคติของสหรัฐฯ นักเรียนไทยในอังกฤษเองก็ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไทย จึงติดต่อพระยามนูเวทย์วิมลนาท (เปี๋ยน สุมาวงศ์) อัครราชทูตไทยในลอนดอนเพื่อขอจัดตั้งขบวนการใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่นและความเป็นไปได้ในการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในอนาคต แต่พระยามนูเวทย์วิมลนาทกลับยื่นการประกาศสงครามของรัฐบาลไทยแก่อังกฤษ และไม่สนับสนุนให้นักศึกษาไทยจัดตั้งขบวนการใต้ดิน

ด้วยเหตุนี้อังกฤษจึงประกาศสงครามกับไทย ระงับกองทุนของรัฐบาลไทยทั้งหมด นักเรียนไทยและคนไทยโดยทั่วไปกลายเป็นศัตรูต่างด้าว ส่วนเจ้าหน้าที่สถานทูตก็ตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับที่เข้มงวดยิ่งขึ้น

ในวอชิงตัน ม.ร.ว. เสนีย์ ได้รับการติดต่อจาก เสนาะ ตันบุญยืน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นักศึกษาจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งกรุงลอนดอน ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ม.ร.ว. เสนีย์มีความกังวลต่อสถานะของนักเรียนไทยในอังกฤษ หากพวกเขาปฏิเสธที่จะกลับไทย ก็จะต้องเผชิญกับความลำบากในอังกฤษ เนื่องจากไม่มีสิทธิ์ทำงานหรือได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นทหาร ในทางกลับกัน หากพวกเขายอมกลับประเทศ บรรดาผู้เปิดเผยตัวสนับสนุนขบวนการต่อต้าน ก็จะเสี่ยงถูกญี่ปุ่นลงโทษรุนแรง

ที่มาของภาพ, The National Archives

คำบรรยายภาพ,

โทรเลขจากเสนีย์ ปราโมช ถึง มณี สาณะเสน 19 ก.ย. 2485

ด้วยข้อกังวลนี้ ต้นเดือนมีนาคม 2485 ม.ร.ว. เสนีย์ จึงมีแนวคิดจะส่ง มณี สาณะเสน คนไทยที่ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศมานานจากกรุงวอชิงตันไปกรุงลอนดอนเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการช่วยเหลือในการก่อตั้งขบวนการเสรีไทยในอังกฤษ ก่อนไปอังกฤษ มณีได้พบเซอร์เจอรัลด์ แคมป์เบลล์ กงสุลอังกฤษในกรุงวอชิงตัน และอธิบายว่าเขาต้องการจัดตั้งขบวนการเสรีไทยในลอนดอน

"จะไม่เพียงแต่จะจัดระเบียบความช่วยเหลือทุกอย่างแก่ [สัมพันธมิตร - ผู้เขียน] ในช่วงปฏิบัติการทางทหารระยะปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังต้องเตรียมนายทหารชาวสยามที่ได้รับการฝึกฝนซึ่งจะสามารถให้ความช่วยเหลืออันมีค่าได้เมื่อการตอบโต้ของฝ่ายสัมพันธมิตรเกิดขึ้นจริงในภูมิภาค'"

เมื่อเซอร์เจอรัลด์ตอบรับแนวคิดนี้ ม.ร.ว. เสนีย์ จึงส่งมณีไปลอนดอนเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ที่จะเริ่มการเคลื่อนไหว

ที่มาของภาพ, The National Archives

คำบรรยายภาพ,

กลุ่มนักเรียนไทยที่โรงเรียน Eastern Warfare ประเทศอินเดีย

การก่อตั้งขบวนการเสรีไทยในอังกฤษ

ราวต้นเดือนมิถุนายน 2485 มณีมาถึงลอนดอน ขณะที่การเจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนเชลยศึกและผู้ถูกกักกันระหว่างอังกฤษและญี่ปุ่นกำลังดำเนินไป รัฐบาลจอมพล ป. ได้ประกาศเมื่อ 9 มิ.ย. ว่าชาวไทยทั้งหมดที่อยู่ในอังกฤษจะต้องเดินทางกลับประเทศไทยด้วยเรือแลกเปลี่ยนลำแรก

คำสั่งนี้ระบุบทลงโทษสำหรับการไม่เชื่อฟังว่า หากเป็นเจ้าหน้าหรือข้าราชการของสถานทูตจะถูกไล่ออกจากราชการทันที แต่บทลงโทษสำหรับนักเรียนไทยที่ไม่ปฏิบัติตามนั้นรุนแรงกว่ามาก พวกเขาจะเสียสัญชาติไทยและจะถูกห้ามไม่ให้เข้าประเทศตลอดไป ประกาศของรัฐบาลนี้สร้างการเย้ยหยันในหมู่นักเรียนไทย แม้มีนักเรียนและเจ้าหน้าที่สถานทูตบางคนปฏิบัติตามและกลับไทยเมื่อ 18 ก.ค. 2485 คณะแลกเปลี่ยนที่เดินทางกลับไทยประกอบด้วย พระมนูเวทย์วิมลนาท เจ้าหน้าที่สถานทูตอีก 2 คน พร้อมด้วยคนไทยอื่นอีก 23 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียน รวมถึงนักเรียนไทย 5 คนจากไอร์แลนด์ก็ออกจากลอนดอนเพื่อมาประเทศไทยเช่นกัน

แม้มีบทลงโทษที่รุนแรง แต่คนไทยกว่า 50 คน ตัดสินใจไม่กลับประเทศ ประกอบด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณีและผู้ติดตามพระองค์ ข้าราชการสถานทูตอีกหลายคนรวมถึงนักเรียนไทยอีกจำนวนหนึ่ง พวกเขารวมตัวกันก่อตั้งขบวนการเสรีไทยสายอังกฤษขึ้นด้วยการสนับสนุนจากมณี โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเสรีไทยที่เป็นทหาร 36 คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา และเสรีไทยที่ไม่ได้เป็นทหาร 17 คน

ที่มาของภาพ, The National Archives

คำบรรยายภาพ,

รายงานเกี่ยวกับจำนวนเสรีไทยที่เป็นทหารที่เข้ารับประจำการในกองร้อยที่ 253 เหล่าการโยธา

ด้วยความช่วยเหลือจาก ม.จ. ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ พระเชษฐาต่างพระมารดาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และผู้นำเสรีไทยสายอังกฤษ อาสาสมัครเสรีไทยทั้ง 36 คนได้เข้าประจําการกับกองทัพบกอังกฤษ เป็นทหารในกองร้อยที่ 253 เหล่าการโยธา (253 Company, Pioneer Corps) เสรีไทยกลุ่มนี้เดินทางถึงอินเดียเมื่อ 26 เม.ย. 2486 เพื่อฝึกเพิ่มเติม บางคนถูกส่งตัวไปปฏิบัติงานกับหน่วยสืบราชการลับ (Secret Intelligence Service - SIS) บางคนถูกส่งตัวไปทำงานให้กับหน่วยโฆษณาการในกระทรวงสารสนเทศ ส่วนอีก 23 คนซึ่งผ่านการฝึกอบรมในการกระโดดร่ม การอ่านแผนที่ และหลักสูตรกึ่งทหารได้รับเลือกเข้าร่วมกับหน่วยบริหารปฏิบัติการพิเศษ SOE, กองกำลังที่ 136 (Force 136) ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ พลเรือเอก ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบ็ตเทน ซึ่งเป็นแม่ทัพสูงสุดของกองกำลังสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Command - SEAC) ซึ่งอยู่ที่เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา กองกำลังที่ 136 นี้ ก็ได้ร่วมปฏิบัติการกับองค์กรปฏิบัติการลับอื่น เช่น หน่วยสืบราชการลับ SIS, กรมข่าวกรองแผนก 9 (Military Intelligence Section 9 - MI9), และสำนักบริการด้าน ยุทธศาสตร์ (Office of Strategic Services - OSS) ในการปฏิบัติการลับในตะวันออกไกล

ที่มาของภาพ, สถาบันปรีดี พนมยงค์

คำบรรยายภาพ,

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 กับ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน

ที่มาของภาพ, The National Archives

คำบรรยายภาพ,

รายชื่อของเสรีไทย 36 คน ที่เป็นทหาร, อันดับที่ 37 คือ ม.จ. ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ รัฐบาลอังกฤษรับเป็นทหารต่างหาก

ที่มาของภาพ, The National Archives

คำบรรยายภาพ,

รายชื่อของ 23 คนไทยที่ได้คัดเลือกเข้าร่วมกับหน่วยบริหารปฏิบัติการพิเศษ (Special Operations Executive, (SOE)), กองกำลังที่ 136 (Force 136)

"เพื่อชาติ เพื่อ humanity"

กุมภาพันธ์ 2486 นายพลเจียง ไคเช็ค ประกาศว่าจีนไม่ต้องการดินแดนของไทย และพร้อมที่จะยอมรับเอกราชของไทย การประกาศของนายพลเจียงนี้ก็ได้รับการรับรองจากสหรัฐอเมริกา

หลังทราบคำประกาศนี้ นายปรีดี ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และเป็นผู้นำขบวนการใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่นในประเทศไทยได้ตัดสินใจที่จะส่งผู้แทนเป็นการลับออกไปเมืองจุงกิง หรือ ฉงชิ่ง ใน ปัจจุบัน เพื่อขอคำยืนยันว่ารัฐบาลจีนและอเมริกายินดีที่จะปฏิบัติตามคำประกาศของเจียง ในขณะเดียวกันก็ต้องการหยั่งความคิดเห็นของรัฐบาลอังกฤษในเรื่องนี้ รวมถึงการเจรจากับอังกฤษให้ช่วยพาปรีดีออกจากประเทศไทยเพื่อจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นในอินเดีย และขอให้รัฐบาลอังกฤษยอมคืนเงินของไทยที่อังกฤษอายัดไว้

ปรีดีตัดสินใจเลือก จำกัด พลางกูร ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และอดีตข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เดินทางไปยังเมืองจุงกิง ปรีดีบอกทิ้งท้ายกับจํากัดในวันที่เข้าอำลาที่ทำเนียบท่าช้างเมื่อ 27 ก.พ. 2486 ว่า "เพื่อชาติ เพื่อ humanity (มนุษยชาติ) นะคุณ เคราะห์ดีที่สุด อีก 45 วันก็ได้พบกัน เคราะห์ไม่ดีนัก อย่างช้าอีก 2 ปีก็ได้พบกัน และเคราะห์ร้ายที่สุดก็ได้ชื่อว่า สละชีวิตเพื่อชาติไป"

ที่มาของภาพ, สถาบันปรีดี พนมยงค์

คำบรรยายภาพ,

จากซ้ายไปขวา ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช - นายจำกัด พลางกูร - นายไพศาล ตระกูลลี้

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่ภารกิจของจำกัดไม่ประสบความสำเร็จ อังกฤษยังไม่ยอมรับสถานะของขบวนการเสรีไทย ด้วยเหตุผลว่า

"จำกัดเดินทางออกมาโดยที่ไม่มีการวางแผนงานอย่างรอบคอบ รวมทั้งกระทรวงการต่างประเทศ (อังกฤษ) เห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะสนับสนุนขบวนการเสรึไทย (ในประเทศไทย) ในขณะนี้ นอกจากนี้ (ศักยภาพของ) กองทัพไทยจะเป็นตัวถ่วงมากกว่าที่จะช่วยเหลือและถ้าขบวนการเสรีไทย (ในประเทศไทย) จะปฏิบัติการอะไรในขณะนี้ ญี่ปุ่นก็จะทำการแก้แค้น"

ที่มาของภาพ, The National Archives

คำบรรยายภาพ,

คำชี้แจ้งจากรัฐบาลอังกฤษต่อการเดินทางมาที่จุงกิงของจำกัด พลางกูร

และนี่จึงทำให้อังกฤษไม่ดำเนินการใด ๆ เพื่อสนองตอบต่อภารกิจของจำกัด ต่อมาจำกัดเสียชีวิตเมื่อ 7 ต.ค. 2486 แต่ถึงกระนั้นก็ตามสิ่งหนึ่งที่จำกัด ได้ทำคือ เป็นคนแรกที่ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทราบว่าการประกาศสงครามที่ไทยทำต่ออังกฤษและสหรัฐอเมริกานั้นไม่ถูกแบบแผนตามรัฐธรรมนูญของไทย(เรื่องนี้มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ประเทศสัมพันธมิตรรับรองให้ไทยอ้างในการประกาศสันติภาพเมื่อ 16 ส.ค. 2488) และการเดินทางมาที่เมืองจุงกิงก็ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยเฉพาะอังกฤษตระหนักถึงความเป็นไปได้ที่ว่าอาจมีขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นเกิดขึ้นแล้วในไทย ซึ่งทำให้อังกฤษเริ่มหาหนทางที่จะติดต่อกับผู้นำขบวนการเสรีไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา

คนไทยกับปฏิบัติการของหน่วย SOE ของอังกฤษ

21 เม.ย. 2486 จำกัดเดินทางถึงจุงกิงพร้อมกับล่าม คือ ไพศาล ตระกูลลี้ ผู้แตกฉานภาษาจีน ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ เสรีไทยสายอังกฤษก็ได้ฝึกปฏิบัติการสู้รบแบบกองโจรระยะสุดท้ายที่โรงเรียน Eastern Warfare School (India) ณ เมืองปูณา (ปูเณ ในปัจจุบัน) ประเทศอินเดีย ประมาณต้นเดือนสิงหาคม 2486 ม.จ. ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลอังกฤษให้เดินทางไปพบจำกัดที่เมืองจุงกิง จากการพูดคุยก็ได้รับการยืนยันจากจํากัดว่ามีการก่อตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นในไทยจริง การยืนยันของจำกัดนี้รวมทั้งการข่าวที่ได้รับจากรายงานของ พันเอก ลินเซย์ ที.ไรด์ ผู้บังคับการหน่วยความช่วยเหลือของกองทัพบกอังกฤษ (British Army Aid Group - B.A.A.G.) [หน่วยนี้รับผิดชอบในด้านการให้ความช่วยเหลือแก่เชลยศึกและผู้ถูกคุมขังให้หลบหนีจากค่ายกักกันของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นและจัดอยู่ในหน่วยข่าวกรองแผนก 9 หรือ MI9] ทำให้ ม.จ. ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท มั่นใจถึงการมีอยู่จริงของขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย ต่อมา ม.จ. ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิทได้ส่งคนจากยูนนานให้ลักลอบเดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อที่จะส่งสาส์นลับจากกองทัพอังกฤษมาถึงปรีดีในการที่จะส่งเสรีไทยสายอังกฤษซึ่งกําลังฝึกอยู่ที่เมืองปูณาเข้าไปปฏิบัติงานในประเทศไทย

ที่มาของภาพ, The National Archives

คำบรรยายภาพ,

ใบประวัติรายงานตัวของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษ (SOE) ของป๋วย อึ๊งภากรณ์ 18 ส.ค. 2485

ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2486 อังกฤษส่งชุด "ปฏิบัติการ พริทชาร์ด" (Operation Pritchard) ประกอบด้วย ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประทาน เปรมกมล และ สำราญ วรรณพฤกษ์ เข้ามาโดยเรือดำน้ำ มีกำหนดขึ้นฝั่งบริเวณชายฝั่งตะกั่วป่า จ. พังงา พร้อมกับเครื่องรับส่งวิทยุ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถานีวิทยุสื่อสารเพื่อใช้ติดต่อระหว่างขบวนการเสรีไทยในประเทศไทยกับกองบัญชาการ SEAC แต่ปฏิบัติการนี้ล้มเหลว สาเหตุมาจากผู้ถือสาส์นที่ ม.จ. ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิทส่งมาจากยูนนาน เข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อมิถุนายน 2487 ช้าไปจากแผนที่กำหนดหลายเดือน

หลังจากความล้มเหลวของ "ปฏิบัติการพริทชาร์ด" แผนการเข้าประเทศไทยได้เริ่มขึ้นใหม่อีกครั้งในกลางเดือนมีนาคม 2487 โดยใช้ ชื่อรหัสการปฏิบัติการ "แอพพรีชีเอชั่น 1" ("Operation Appreciation 1") การปฏิบัติการครั้งนี้จะเป็นการกระโดดร่มแบบสุ่ม หรือ Blind Dropping ลงในพื้นที่ใกล้กับ จ. นครสวรรค์ซึ่งมีป๋วย ในฐานะหัวหน้าหน่วยอีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งประทาน และ เปรม บุรี ทำหน้าที่พนักงานวิทยุ เป้าหมายของการปฏิบัติยังเป็นเช่นเดียวกับ "ปฏิบัติการพริทชาร์ด" คือการติดต่อกับปรีดี และการสำรวจหาพื้นที่ที่เหมาะสม สำหรับการส่งเสบียงและหน่วยปฏิบัติการทางอากาศ (Dropzone - DZ)) สำหรับชุดปฏิบัติการชุดอื่นที่จะตามมาในอนาคต แต่โชคไม่ดีที่หน่วยของป๋วยกระโดดร่มลงผิดตำแหน่งโดยไปตกลงที่ อ. วังน้ำขาว จ. ชัยนาท ซึ่งอยู่ห่างจากพิกัดตามแผน "แอพพรีชีเอชั่น 1" ประมาณ 60 กิโลเมตร และต่อมาทีมของป๋วยก็ถูกชาวบ้านในบริเวณนั้นจับได้ หนึ่งเดือนต่อมา "ปฏิบัติการแอพพรีชีเอชั่น 2" ซึ่งประกอบด้วย สำราญ วรรณพฤกษ์ ธนา โปษยานนท์ และ รจิต บุรี ก็รับคำสั่งให้มาติดตามกลุ่มของป๋วยแต่ก็ถูกจับได้อีกเช่นกัน

ผู้ปฏิบัติการทั้งสองชุดถูกนำไปขังที่กองตำรวจสันติบาลในกรุงเทพฯ และต่อมาหน่วยสารวัตรทหารของญี่ปุ่น (Kempeitai) ประสงค์จะสอบปากคำผู้ที่ถูกจับจากการเข้ามาปฏิบัติการทั้งสองชุด แต่ก่อนที่จะมีการสอบปากคำได้มีการเจรจาตกลงกันว่าญี่ปุ่นจะสอบปากคำได้ต้องมีนายทหารไทยนั่งร่วมในการสอบปากคำด้วยและจะต้องอยู่ในความคุ้มครองจากตำรวจไทย ซึ่งผู้ปฏิบัติการทั้งสองชุดก็ไม่มีใครให้ความร่วมมือในการเปิดเผยความลับของปฏิบัติการ ต่อมาด้วยความช่วย เหลืออย่างลับ ๆ จากตำรวจสันติบาล มีความเป็นไปได้มากที่หลวงอดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ ขณะนั้นทราบเรื่องด้วย ทำให้ป๋วยสามารถแอบไปพบปรีดี และติดต่อกับฐานทัพอังกฤษที่อินเดียได้สำเร็จ ผลของการการปฏิบัติภารกิจนี้ทำให้แนวการสื่อสารระหว่างขบวนการเสรีไทยในไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างมั่นคง ป๋วย และทีมของเขาได้รับการเสนอชื่อเข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น Member of the Most Excellent Order of the British Empire (MBE)

ที่มาของภาพ, The National Archieves

คำบรรยายภาพ,

ข้อเสนอเข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น Member of the Most Excellent Order of the British Empire for ป๋วย อึ๊งภากรณ์ 5 ธันวาคม 2489

หลัง "ปฏิบัติการแอพพรีชีเอชั่น" ทั้งสองคณะแล้วการสื่อสารระหว่างกองบัญชาการ SEAC ที่อินเดียกับขบวนการเสรีไทยในประเทศก็สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้ต่อมามีคณะปฏิบัติการชุดอื่นเข้ามาอีกไม่ต่ำกว่าสิบชุด

ปฏิบัติการของขบวนการเสรีไทยได้ให้ข้อมูลอันล้ำค่าเกี่ยวกับตำแหน่งทางทหารของญี่ปุ่น และให้การช่วยเหลือทหารพันธมิตรที่ถูกจับเป็นเชลยได้จำนวนมาก เสรีไทยสายอังกฤษที่ได้อาสาเข้าปฏิบัติการร่วมกับหน่วยบริหารงานพิเศษ SOE ทำประเทศสัมพันธมิตรโดยเฉพาะอังกฤษ เห็นถึงความตั้งใจของชาวไทยในการต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้ไทยไม่ต้องตกเป็นประเทศแพ้สงครามตามญี่ปุ่นภายหลังจากการเซ็นสัญญาสื้นสุดสงครามเมื่อ 2 ก.ย. 2488

ในจำนวนคนไทย 23 คนที่ได้คัดเลือกเข้าร่วมกับหน่วยบริหารปฏิบัติการพิเศษ SOE มี 11 คนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น Member of the Most Excellent Order of the British Empire (MBE) และอีก 2 คนได้รับได้รับเหรียญกล้าหาญ (Military Cross - MC)) จากพระเจ้าจอร์จที่หก และมีรายชื่ออยู่ในราชกิจจานุเบกษา

ที่มาของภาพ, The National Archieves

คำบรรยายภาพ,

ประกาศราชกิจจานุเบกษารายชื่อของเสรีไทยสายอังกฤษ 11 คน ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น Member of the Most Excellent Order of the British Empire (MBE)

เผด็จ ขำเลิศสกุล เป็นนักวิจัยประวัติศาสตร์ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แห่งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหราชอาณาจักร

ข้อใดคือฝ่ายพันธมิตรทั้งหมด

น. เรียกกลุ่มประเทศอันประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน ที่รวมเป็นแกนร่วมรบกับกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ว่า ฝ่ายสัมพันธมิตร. อักษะ

ฝ่ายใดเป็นผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1

ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ การล่มสลายของของจักรวรรดิในทวีปยุโรปทั้งหมด(อันได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิออตโตมัน และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี)

อังกฤษ อยู่ในกลุ่มใดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หรือ ฝ่ายภาคี (อังกฤษ: Entente Powers / Allies; ฝรั่งเศส: Forces de l'Entente / Alliés; อิตาลี: Potenze Intesa / Alleati; รัสเซีย: Антанта Пауэрс, Antanta Pauers / Союзники, Soyuzniki; ญี่ปุ่น: 協商国, Kyoushoukoku / 連合国, Rengōkuni) เป็นประเทศที่ทำสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางระหว่าง ...

กลุ่ม "เสรีไทย" มีบทบาทและความสำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไร

เสรีไทย (อังกฤษ: Free Thai Movement) เป็นขบวนการใต้ดินที่ดำเนินการระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วง พ.ศ. 2484–2488 มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการรุกรานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น รักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทย ขบวนการเสรีไทยกำเนิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เมื่อกองทัพ ...