ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหนของท้อง

ทารกในครรภ์จะมีร่างกายที่ประกอบด้วยแขน ขา นิ้วมือ เท้า นิ้วเท้า ที่สมบูรณ์ เริ่มมีการเคลื่อนไหวในท้อง และเริ่มพัฒนาเล็บมือเล็บเท้า หูชั้นนอก ฟัน อวัยวะเพศ ลำไส้ ตับ ระบบไหลเวียนโลหิตในลำดับถัดมา ช่วงนี้ทารกจะมีลำตัวยาวประมาณ 2.40 นิ้ว (61 มิลลิเมตร) และมีน้ำหนัก 14 กรัม หรืออาจมากน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับการดูแลทารกจากคุณแม่

ข้อควรระวังช่วงท้อง 3 เดือน

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวังการรับประทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ใช้สารเสพติด สูบบุหรี่ อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย อย่าง ชีส โยเกิร์ต เนื้อสัตว์ไม่ผ่านการปรุงสุก อาหารแปรรูป อาหารหมักดอง เพราะอาจทำลายระบบประสาทและสมองของทารกที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมี เช่น ยาย้อมผม น้ำยาปรับอากาศ น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ตะกั่ว เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้พัฒนาการทารกล่าช้า ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ คลอดก่อนกำหนด พิการแต่กำเนิด จนนำไปสู่การแท้งบุตรได้

การดูแลสุขภาพคุณแม่ตั้งท้อง 3 เดือน

การดูแลสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์สู่ทารกในครรภ์ สามารถปฏิบัติได้ตามวิธี ดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

ระหว่างการตั้งครรภ์คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ แอปเปิ้ลแดง กล้วย บลูเบอร์รี่ แครอท ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ขนมปังโฮลเกรน นมไขมันต่ำ ถั่ว เต้าหู้ ธัญพืช ไข่ และควรเพิ่มแคลอรีอย่างน้อย 100-300 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

นอกจากนี้คุณหมออาจแนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานอาหารเสริมที่ประกอบด้วยโฟเลตในปริมาณ 400 ไมโครกรัม เพื่อป้องกันทารกพิการแต่กำเนิด และกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ดีเอชเอ (DHA) อีพีเอ (EPA) เพื่อพัฒนาสมองทารกในครรภ์

อาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงคืออาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก เพราะอาจเสี่ยงให้เกิดโรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) และโรคลิสเทอเรีย (Listeriosis) เพราะอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่นำไปสู่ภาวะแท้งบุตร

การดื่มน้ำในปริมาณมากอาจช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนด อาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ นิ่วในไต ท้องผูก และริดสีดวงทวาร คุณแม่อาจสังเกตอาการขาดน้ำได้จากสีของปัสสาวะ หากมีสีเเหลืองเข้มอาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าร่างกายต้องการน้ำ แต่หากเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีใส อาจมีความหมายว่าร่างกายได้รับความชุ่มชื้นจากการดื่มน้ำอย่างเพียงพอ

การออกกำลังกายเป็นประจำช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น โยคะ แอโรบิก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์อาจทำให้คุณแม่ควบคุมอารมณ์จากฮอร์โมนที่เปลี่ยนได้เป็นอย่างดีและช่วยป้องกันการเพิ่มของน้ำหนัก ลดความเสี่ยงของอาการนอนไม่หลับ ลดปัญหาการปวดเมื่อย ทั้งยังอาจช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูเร็วหลังคลอด

จากการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับฮอร์โมนในร่างกายและอารมณ์แปรปรวน รวมถึงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และอาการแพ้ท้องในช่วงไตรมาสแรก ที่อาจส่งผลให้คุณแม่เหนื่อยง่าย อ่อนแรง คุณหมออาจแนะนำให้คุณแม่นอนพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8-9 ชั่วโมง เพื่อให้คุณแม่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงซึ่งจะช่วยให้ทารกมีพัฒนาการที่สมบูรณ์

  • ไม่สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน

เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการทารกผิดปกติ เช่น มีใบหน้าไม่สมบูรณ์ ระบบส่วนกลางเสื่อม บกพร่องด้านการเรียนรู้การเข้าใจ ทำลายปอดที่กำลังพัฒนา อัตราการเต้นของหัวใจทารกเปลี่ยนแปลง หรืออาจนำไปสู่การแท้งบุตรได้

สำหรับเด็กบางคนในช่วงหลังคลอดอาจทำให้พัฒนาการล่าช้า ไอคิวต่ำ ปากแหว่งเพดานโหว่ มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นและการได้ยิน รวมถึงกระทบต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่น ไต ตับ กระดูก และหัวใจทำงานผิดปกติ เป็นต้น

หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้มีแน้วโน้มเจ็บป่วยถึงขั้นรุนแรงและส่งผลให้ทารกได้รับผลกระทบร่วมด้วย เพราะการฉีดวัคซีนป้องกันโรคทุกชนิดอาจะช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ทารกติดโรคที่คุณแม่เป็น เนื่องจากระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่ที่ฉีดวัคซีนจะมีแอนติบอดีที่ส่งไปยังทารก ทำให้ทารกอาจห่างไกลจากการเจ็บป่วยในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด

 ซึ่งเสี่ยงเกิดขึ้นได้สูง และแม้จะมีความเสี่ยงน้อยลงในช่วงปลายเดือนที่ 3 คุณแม่ก็ควรสังเกตอาการต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ หากมีความผิดปกติต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์หรือขอความช่วยเหลือทางการแพทย์โดยด่วนที่สุด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์

เมื่อเริ่มตังครรภ์ มีเจ้าตัวเล็กเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย คุณแม่ทุกคนก็ต้องตื่นเต้นอยากเจอหน้าลูกและสงสัยว่า พัฒนาการทารกในครรภ์ ไปถึงไหนแล้วใช่ไหมคะ เราจึงนำพัฒนาการของลูกน้อยตลอดเก้าเดือนที่อยู่ในท้องของคุณแม่มาให้ชมกัน เบบี้กิ๊ฟขอแสดงความยินดีกับคุณแม่ทุกท่านด้วยนะคะ

ลูกน้อยตัวโตแค่ไหนแล้ว เราลองเทียบกับผลไม้ให้ดูค่ะ

ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหนของท้อง

พัฒนาการทารกในครรภ์ ที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้

พัฒนาการทารกในครรภ์ เดือนที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 1 คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ก็เข้าเดือนที่สองไปแล้ว เพราะว่าในเดือนแรกนี้จะเป็นช่วงที่ไข่กับอสุจิเข้าผสมกัน มีการแบ่งเซลล์แล้วก็ฝังตัวของเอ็มบริโอ ซึ่งในระยะนี้เจ้าหนูน้อยก็จะเล็กจิ๋วมาก ๆ เลยล่ะค่ะ มีขนาดไม่ถึงหนึ่งเซนติเมตรเท่านั้นเอง ส่วนการพัฒนาหลัก ๆ ก็จะเป็นการพัฒนาในส่วนของรก เพื่อเตรียมพร้อมรอรับสารอาหารจากคุณแม่

ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหนของท้อง

พัฒนาการทารกในครรภ์ เดือนที่ 2 

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 2 เดือนนี้แหละที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านจะเริ่มรู้ตัว มีอาการแพ้ท้อง แล้วก็ไปหาคุณหมอเพื่อการฝากครรภ์กันแล้ว ในช่วงเดือนนี้ลูกน้อยจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก ประมาณ 2-3 เซนติเมตร แต่ก็จะยังไม่ได้รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของรูปร่างอะไรมากมาย ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการพัฒนาของระบบประสาท เนื้อเยื่อเส้นใยประสาท แล้วก็ไขสันหลัง คุณแม่สามารถทำอัลตราซาวด์เพื่อฟังเสียงหัวใจของลูกน้อยเต้นได้แล้วนะคะ

ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหนของท้อง

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 3

ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักประมาณ 28 กรัม และมีความยาวประมาณ 7.6 ซ.ม. แล้วค่ะ เป็นช่วงที่ทารกกำลังพัฒนาต่อมรับรส เรียนรู้รสชาติจากอาหารที่คุณแม่ทาน อวัยวะภายในเริ่มทำงานแล้ว คุณแม่จะได้เห็นอวัยวะอย่างชัดเจน เช่น เล็บ ตา ปาก หู จมูก แขนขา และผมขึ้น นอกจากนี้อวัยวะเพศลูกน้อยก็จะเริ่มพัฒนาขึ้น แต่อาจจะเห็นได้ไม่ชัดเจนมาก ในเดือนนี้เสียงหัวใจเต้นของลูกน้อยจะชัดมาก คุณแม่สามารถใช้เครื่องเครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ แบบพกพาได้นะคะ เช่น แบรนด์ Jumper AngelSounds ที่มีวางขายอย่างแพร่หลายทั่วยุโรปและอเมริกา ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สามารถใช้เองได้ที่บ้านค่ะ

Upload Image...

ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหนของท้อง

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 4

เดือนที่ 4 น่าจะเป็นเดือนที่คุณแม่หลาย ๆ คนรอคอย เพราะคุณหมอจะสามารถอัลตร้าซาวด์เห็นเพศของลูกน้อยได้ชัดเจนและแม่นยำแล้ว ลูกน้อยจะมีความยาวของตัวได้มากถึง 18 เซนติเมตร และช่วงนี้ระบบประสาทต่าง ๆ ก็จะเริ่มทำงานแล้ว ลูกน้อยจะสามารถทำสีหน้าต่าง ๆ ได้ สามารถขยับแขนขาได้คล่องแคล่วกว่าเดิม แล้วบางทีคุณแม่ก็อาจจะเห็นเขาดูดนิ้วอยู่เวลาอัลตราซาวด์ด้วย เดือนนี้รู้เพศลูกแล้วคุณแม่สามารถเตรียมของใช้ให้ลูกได้นะคะ เตรียมอะไรบ้างเช็กได้เลยค่ะ Baby Checklist

Upload Image...

ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหนของท้อง

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 5 

เดือนนี้ลูกน้อยจะพัฒนาประสาทสัมผัสต่าง ๆ ได้ดีขึ้น อาจมีการตอบสนองต่อแสงหรือเสียงรอบตัว คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่านิทานหรือเปิดเพลงเบา ๆให้ลูกน้อยในครรภ์ฟังได้ และเดือนนี้ลูกน้อยจะเริ่มดิ้นแล้วนะคะ แต่ถ้าคุณแม่คนไหนยังไม่รู้สึกถึงการดิ้นก็อย่าเพิ่งเป็นกังวล เพราะบางทีคุณแม่อาจจะมีผนังหน้าท้องที่หนา ทำให้ยังไม่รู้สึกถึงการดิ้นของเจ้าตัวจิ๋ว ตอนนี้ลูกน้อยจะมีขนาดตัวยาวประมาณไม่เกิน 25 เซนติเมตร น้ำหนักก็จะเพิ่มขึ้นกว่าเดือนที่แล้วเท่าตัว หากคุณแม่มีอาหารปวดหลังหรือไม่สบายตัว ก็สามารถใช้เข็มขัดพยุงครรภ์ได้นะคะ เช่น แบรนด์ Ministry of mama, Mammy Village ที่สวมใส่สบาย ลดแรงกดบริเวณหน้าท้องและสะโพกได้ดี

ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหนของท้อง

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 6

ในเดือนนี้ลูกน้อยจะคุ้นเคยกับเสียงของคุณแม่แล้วค่ะ เพราะประสาททางการได้ยินของลูกพัฒนามากแล้วคุณแม่อย่าเสียงดังทะเลาะกับใครนะคะ เพราะลูกน้อยได้ยินค่ะ ยิ่งเวลาคุณแม่พูดคุยกับลูก ลูกก็จะมีการตอบสนอง มีการดิ้นหรือขยับไปมาด้วยค่ะ ช่วงเดือนนี้จะมีอาการนึงเรียกว่า “ทารกสะอึก” เกิดจากการที่ทารกเริ่มสามารถหายใจในน้ำคร่ำได้ เพราะว่าในช่วงเดือนนี้ลูกจะสามารถผลิตสารมาช่วยทำให้ปอดสามารถทำงานได้ดีขึ้น คุณแม่ก็จะรู้สึกเหมือนลูกน้อยกระตุกเป็นจังหวะอยู่ในท้องนั่นเอง ช่วงเดือนนี้อวัยวะเพศของลูกน้อยก็จะพัฒนาขึ้นมากกว่าเดิมด้วยนะคะ

ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหนของท้อง

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 7

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 7 ตอนนี้ไขมันใต้ชั้นผิวหนังของลูกน้อยจะหนาขึ้นทั่วทั้งตัว ซึ่งจะช่วยทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่น มาถึงเดือนนี้เราขอแนะนำให้คุณแม่ลองใช้ไฟฉายอันเล็ก ๆ ที่ไฟไม่แรงมาก ส่องไปที่ท้องดู ลูกจะสามารถเริ่มกระพริบตา ลืมตา แล้วก็ตอบสนองต่อแสงที่ทะลุผ่านหน้าท้องของคุณแม่ได้ค่ะ การใช้ไฟส่องก็เป็นการช่วยกระตุ้นประสาทส่วนรับภาพของลูกน้อยได้อย่างดีเลยทีเดียว ส่วนน้ำหนักตัวของลูกน้อยตอนนี้ก็ประมาณ 1 กิโลกรัมเป็นที่เรียบร้อยแล้วค่ะ

ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหนของท้อง

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 8

เดือนนี้ลูกน้อยจะดิ้นแรงขึ้นกว่าเดิมมาก คุณแม่อาจจะเห็นที่รอยปูด ๆ ที่ท้องได้ชัดเลย เพราะว่าความยาวทารกจะอยู่ที่ประมาณ 40 กว่า ๆ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม ทำให้ท้องของคุณแม่ดูแคบไปเลย ลูกน้อยเลยขอดิ้น ๆ หมุน ๆ เปลี่ยนท่าซะหน่อย และคุณแม่ควรนับด้วยนะคะว่าลูกดิ้นกี่ครั้งต่อวันในช่วงเดือนนี้สมองของลูกน้อยก็จะพัฒนาเร็วมาก ๆ มีรอยหยักแล้วก็ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ทำงานได้ไวมากขึ้นอีกด้วยค่ะ คุณแม่สามารถดื่มน้ำหัวปลี น้ำขิง หรือเครื่องดื่มเพื่อเตรียมน้ำนมให้ลูกน้อยได้นะคะ

ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหนของท้อง

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 9

สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 9 เดือนแห่งการรอคอยมาถึงแล้ว เดือนนี้ปอดของลูกน้อยก็จะพัฒนาได้เต็มที่ที่สุดแล้วค่ะ พร้อมจะออกมาดูโลกได้อย่างหายห่วง สังเกตได้จากว่าลูกน้อยจะกลับหัว โดยศีรษะจะมาอยู่บริเวณช่องคลอดเป็นที่เรียบร้อย ทารกที่คลอดช่วงนี้ก็จะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 42-50 เซนติเมตร น้ำหนัก 2,800-3,500 กรัม ส่วนถ้าลูกของคุณแม่ท่านไหนตัวใหญ่มาก ๆ ก็อาจจะหนักไปถึง 3,600-4,000 กรัมได้เลยนะคะ คุณแม่เตรียมเก็บกระเป๋าไปคลอดได้เลยค่ะ

บทความ : เตรียมให้พร้อมก่อนคลอด ของใช้ทารก ต้องมีอะไรบ้าง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ อ่านสปอยล์การเติบโตของลูกน้อยกันไปเรียบร้อย อย่างไรก็แล้วแต่คุณแม่ท้องอย่าลืมดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจ ออกกำลังกายเบา ๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของทั้งคุณแม่และลูกน้อยค่ะ 

หากอยากเตรียมของใช้ลูกน้อย BabyGift ยินดีให้คำแนะนำนะคะ เราคัดสรรผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ใส่ใจในความปลอดภัย มาตรฐานการผลิตจากหลากหลายประเทศ มาให้คุณพ่อคุณแม่เลือกซื้อได้อย่างครบวงจร สามารถแวะมาเลือกของใช้ทารกได้ที่ร้าน BabyGift 7 สาขา ใกล้บ้านคุณ หรือสอบถามผ่านช่องทาง Online ได้นะคะ

ตั้งครรภ์3เดือนท้องใหญ่ขนาดไหน

ส่วนหน้าท้องของคุณแม่อายุครรภ์ 3 เดือนจะยังไม่มีได้มีการขยายใหญ่จนเห็นได้ชัด หรือเรียกได้ว่าในช่วง 3 เดือนแรกนั้น หน้าท้องไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณแม่เป็นคนที่ออกกำลังกายบ่อย ๆ และมีกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่แข็งแรง กว่าที่จะเริ่มเห็นว่าท้องขยายก็อาจจะเริ่มเข้าสู่ช่วงอายุครรภ์ 4-5 เดือน ...

ท้อง3เดือนคลำเจอไหม

ขนาดของมดลูกและหน้าท้อง เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นหน้าท้องจะขยายออกมากขึ้น ช่วงหลังตั้งครรภ์ไป 3 เดือน อาจคลำพบก้อนแข็งนูนขึ้นมาเหนือหัวเหน่า นั่นคือ มดลูกที่โตจากอุ้งเชิงกรานจนไปถึงระดับสะดือ เดือนที่ 8 - 9 เป็นช่วงที่รู้สึกอึดอัดมาก เพราะยอดมดลูกโตขึ้นมาถึงระดับลิ้นปี่

ท้อง 3 เดือนจะเป็นยังไงบ้าง

เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ท้องของคุณแม่จะเริ่มขยายใหญ่จนเห็นชัดมากขึ้น และมีอาการแพ้ท้องหรืออ่อนเพลียน้อยลง เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเริ่มคงที่ แต่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝดอาจยังมีอาการแพ้ท้องให้เห็นอยู่บ้าง ส่วนความเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่อาจพบได้ในช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 3 ได้แก่

3เดือนตัวเท่าไหน

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 3 หรือช่วงสัปดาห์ที่ 10-14 ทารกในครรภ์จะเริ่มโตขึ้นมามีขนาดประมาณลูกเลมอนแล้วค่ะ หรือ ประมาณ 9 เซนติเมตร หนักราว 45 กรัม พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 10 : สัปดาห์นี้อวัยวะสำคัญทั้งหมดของลูกน้อยสร้างขึ้นครบและพร้อมจะเริ่มทำงานประสานกันทั้งระบบ ส่วนของมือแยกจนเห็นเป็นนิ้วชัดเจนขึ้น