ใบงาน วิชา ประวัติศาสตร์ ม.3 พร้อม เฉลย

พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สูงสุดของสังคม ฐานะของพระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาแตกต่างกันอย่างไร

สมัยสุโขทัยพระมหากษัตริย์มีฐานะเป็นพ่อขุน ต่อมามีฐานะเป็นธรรมราชา ในสมัยพระยาลิไทตามคติที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา และสมัยอยุธยาได้รับคติและอิทธิพลจากลัทธิเทวราชาจากกัมพูชา ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราช สมัยรัตนโกสินทร์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราชาอยู่แต่ทรงประพฤติพระองค์ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ทรงเป็นธรรมราชาด้วย

Show
  • เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีฐานันดรสูงศักดิ์ ได้แก่ บรรดาเจ้านายหรือพระญาติเกี่ยวดองใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นที่มีการสืบสายเลือด โดยได้รับเกียรติยศและอภิสิทธิ์มาตั้งแต่เกิด เจ้านายแต่ละองค์จะมีอำนาจมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งหน้าที่การงาน กำลังคนในความควบคุมและความโปรดปรานของพระมหากษัตริย์
  • ความเป็นขุนนางจะเกิดขึ้นได้เมื่อ  พระมหากษัตริย์พระราชทานบรรดาศักดิ์ ตำแหน่ง ราชทินนามและศักดินาให้ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีหรือถอดออก ขุนนางไทยไม่สืบสายโลหิต แต่ลูกหลานก็มักได้รับราชการเป็นขุนนางเหมือนบรรพบุรุษ
  • ขุนนางมีอภิสิทธิ์เหนือไพร่ คือ
    • ขุนนางได้อยู่ใกล้ชิดกับศูนย์อำนาจและได้รบส่วนแบ่งแห่งอำนาจนั้น
    • ขุนนางไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานเหมือนไพร่
    • ได้รับสิทธิในการครอบครองไพร่ ซึ่งจะได้ประโยชน์จากไพร่ในรูปของแรงงานหรือสิ่งของทำให้ฐานะเศรษฐกิจดี
    • เมื่อต้องคดี  สามารถให้ทหารแก้ต่างคดีได้โดยตัวเองไม่ต้องมา
  • จงบอกความแตกต่างระหว่างไพร่หลวง ไพร่สมและไพร่ส่วย ไพร่มี 3 ประเภท ไพร่หลวงเป็นคนหรือข้าของรัฐโดยตรง เป็นผู้รับราชการในสังกัดของรัฐบาลและราชการในพระมหากษัตริย์  ไพร่สมเป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนางไม่ได้สังกัดกรมกองของทางราชการ เมื่อมูลนายตายก็จะโอนเป็นไพร่หลวง หรือเป็นไพร่สมของมูลนายคนใหม่  ส่วนไพร่ส่วยคือ ไพร่ที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน เนื่องจากส่งสิ่งของที่ทางราชการต้องการแทนการเกณฑ์แรงงาน
  • สถานภาพและบทบาทของไพร่ มีดังนี้
    • ไพร่เป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของสังคมทั้งชายและหญิง มีศักดินาระหว่าง 10-25 ไร่ต้องสังกัดมูลนาย มิฉะนั้นไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฏหมาย  ไพร่มีหน้าที่รับราชการ หรือเข้าเดือนทำงานให้ทางราชการทุกปี การเกณฑ์แรงงานนี้จะอยู่อยู่จนกระทั่งอายุถึง 60 ปี
    • ฐานะของไพร่มีมาตั้งแต่เกิด  แต่จะแยกขึ้นสังกัดมูลนาย หรือกรมกองเมื่ออายุ 9 ปี ตั้งแต่สมัยธนบุรีเป็นต้นมา ไพร่จะต้องถูกสักหมายหมู่ คือ สักเลก เมื่อส่วนสูงถึงกำหนด
    • ไพร่เป็นกำลังผลิตในทางเศรษฐกิจ เป็นแรงงานให้แก่ราชการ  เป็นกำลังรบในยามสงคราม และยังเป็นฐานอำนาจทางการเมืองของมูลนาย เพราะมูลนายที่มีไพร่พลขึ้นสังกัด มาก จะทำให้มีกำลังผลิต กำลังแรงงานและกำลังรบมากขึ้นด้วย
  • ไพร่สามารถเลื่อนฐานะทางสังคมได้โดย
    • ออกบวช และศึกษาพระธรรมจนจบเปรียญแล้วลาสึกมารับราชการ
    • ออกรบถ้าได้รับชัยชนะกลับมากก็อาจได้รับการแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นขุนนางต่อไป
  • ทาสที่มากที่สุดในสังคมไทย คือ ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่มีหนี้สินผูกพัน จะเป็นอิสระได้ต่อเมื่อนำเงินมาไถ่ตนเอง
  • จงสรุปสถานภาพและบทบาทของทาส ได้แก่
    • กฏหมายระบุให้บิดามารดามีสิทธิ๋ขายบุตร สามีมีสิทธิขายภรรยาไปเป็นทาส นาเงินมีสิทธิ์ขายทาสในครอบครอง การซื้อขายต้องมีสารกรมธรรม์ ซึ่งมีตำหนิรุปพรรณของทาสไว้ด้วย ค่าตัวของทาสจะเพิ่มขึ้นตามอายุจนถึงจุดหนึ่งจะลดลงตามลำดัีบ
    • ทาสเป็นสมบัติของนายเงินที่ยกขายให้ใครก็ได้ มีสิืทธิลงโทษทาส แต่ไม่ให้ถึงตาย ส่วนไพร่หลวงที่ขายตัวเป็นทาสนั้นต้องรับภาระที่จะต้องเข้าเดือนต่อไป ทาสอื่นๆ นั้นก็ต้องถูกเกณฑ์แรงงานหรือเสียส่วยตอบแทน คือ ปีละ 8 วัน หรือเสียเงิน 6 สลึง ทาสทั้งหลายนั้นยกเว้น ทาสเชลย สามารถไถ่ถอนตัวเองได้
  • เหตุใดจึงกล่าวว่า พระสงฆ์และชาวจีนเป็นชนชั้นพิเศษในสังคมไทย  ได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงานในระบบไพร่ตราบเท่าที่ยังบวชอยู่  เนื่องจากพระสงฆ์เป็นธรรมทายาทและเป็นผู้ได้รับการศึกษาสูงจึงได้รับการยอมรับนับถือจากคนในสังคมอย่างสูง   ส่วนชาวจีนมีบทบาทต่อสังคมไทย โดยเฉพาะด้านการค้าขาย ทำให้มีอิสระเดินทางไปทำการค้าได้ทั่วประเทศ เป็นแรงงานรับจ้างมีโอกาสดีกว่าไพร่ไทย สามารถสร้างตัวจนกลายเป็นผู้มีฐานะทางสังคมได้ ต่อมาคนจีนเหล่านี้ได้อาศัยทุนไปสร้างฐานะเป็นเจ้าภาษีนายอากรและนายทุนในสังคมไทย

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

ใบงานที่ 4 พัฒนาการสังคมไทย

พัฒนาการสังคมไทยสมัยสุโขทัยถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สังคมไทยสมัยสุโขทัย มีดังนี้

  • สภาพสังคม สังคมแบบระบบครอบครัวและเครือญาติ เริ่มตั้งแต่คนไทยตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย โดยมีลักษณะการรวมกลุ่มเพื่อช่วยตนเองในหมู่ญาติและอยู่กันเหมือนครอบครัวใหญ่
  • ลักษณะสังคมและการปกครอง พ่อบ้านกับลูกบ้าน หรือพ่อขุนกับลูกขุน ขนาดของชุมชนก็เป็นเพียงหมู่บ้าน ต่อมาจีงพัฒนาจากบ้านมาเป็นเมืองและขยายเป็นแคว้นในที่สุด
  • สถานะของคนในสังคม  ไม่มีการแบ่งชนชั้นอย่างชัดเจน การแบ่งชนชั้นแบบศักดินายังไม่เด่นชัด แต่ในตอนปลายสุโขทัยเริ่มมีการแบ่งชนชั้นในสังคม คือ แบ่งเป็นชนชั้นสูงและล่าง หรือผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง เพราะได้รับอิทธิพลการปกครองตามระบบเทวสิทธิ์หรือสมบูรณาญาสิทธิราช ทำให้สังคมการปกครองแบบพ่อกับลูกเสื่อมคลาย กลายเป็นสังคมแบบนายกับบ่าวหรือเจ้ากับข้า