คณะน ต ศาสตร ม.ราม ป.ตร ป 60 139หน วยก ต

หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เป็นต้นไป เข้าศึกษาต่อโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก และรับไม่จำกัดจำนวน แบ่งประเภทได้ดังนี้

  • แบบไม่เทียบโอนหน่วยกิต รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี หมายความว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษา ม.6 สายสามัญ, กศน.ม.6, ปวช. สามารถสมัครเรียนได้
  • แบบเทียบโอนหน่วยกิต แบ่งย่อยได้ดังนี้ (1) จบการศึกษาจากสถาบันอื่น (2) โอนย้ายสถาบันการศึกษา (3) หมดสถานภาพ นศ. จาก ม.รามคำแหง (4) เทียบโอนหน่วยกิต 2 สถาบัน (5) ปริญญาใบที่สองจาก ม.รามคำแหง (6) เทียบโอนหน่วยกิตจาก พรีดีกรี *อ่านคำอธิบายแต่ละอย่างหมายถึงอะไร เทียบโอนได้กี่หน่วยกิต ดูรายละเอียด คลิกที่นี่
  • ช่องทางและวันที่รับสมัคร

ผู้สนใจสมัครเรียนหลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สามารถเลือกสมัครเป็นนักศึกษาช่องทางใดก็ได้ ดังนี้

  • สมัครด้วยตนเอง – 👌😎 แนะนำช่องทางนี้ เร็ว สะดวกที่สุด วันที่ 16 – 19 พฤศจิกายน 2566 (พฤหัสบดี-ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์) เวลา: 08.30-15.00 น. ส่วนกลาง: ณ อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก (รามฯ1) กรุงเทพฯ (ไม่เปิดจุดรับสมัครที่รามฯ2)
  • สมัครผ่านระบบออนไลน์ สมัครได้ที่เว็บไซต์:–> iregis2.ru.ac.th วันที่: 9 ตุลาคม – 19 พฤศจิกายน 2566 ขั้นตอนการสมัครออนไลน์: คลิก
  • สมัครผ่านไปรษณีย์ รายละเอียด: วิธีการสมัครผ่านไปรษณีย์คลิก วันที่: 9 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน 2566

*ผู้สมัครแบบเทียบโอนหน่วยกิตต้องสมัครด้วยตนเอง หรือ ทางระบบออนไลน์เท่านั้น

  • การคัดเลือกเข้าศึกษา

หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) รับสมัครนักศึกษาแบบไม่จำกัดจำนวน ไม่มีการสอบคัดเลือกเข้าศึกษา ไม่ต้องยื่นคะแนนสอบวิชาเฉพาะใดๆ ขอเพียงมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในระเบียบการรับสมัครอย่างครบถ้วนก็สมัครเรียนได้

  • ใบสมัคร และระเบียบการรับสมัคร

ใบสมัคร การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี(ภาคปกติ) และพรีดีกรี ในครั้งนี้ ไม่มีการจำหน่ายใบสมัคร ผู้สมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัยรับใบสมัครได้ที่จุดรับสมัคร, ผู้สมัครผ่านระบบออนไลน์ กรอกใบสมัครในระบบ ระเบียบการรับสมัครฯ การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี(ภาคปกติ) และพรีดีกรี ในครั้งนี้ ไม่มีการจำหน่ายระเบียบการรับสมัคร โดยผู้สมัครสามารถดาวน์โหลดระเบียบการรับสมัครฯ ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ประกอบด้วย คุณสมบัติผู้สมัคร, หลักฐานการสมัคร, อัตราค่าใช้จ่าย, สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร, เกณฑ์การเทียบโอนหน่วยกิต และข้อมูลสำคัญอื่น ๆ กดลิงก์ต่อไปนี้เพื่อดาวน์โหลด

  • ระเบียบการรับสมัครฯ ปริญญาตรี และพรีดีกรี พ.ศ. 2566 ส่วนกลาง | ส่วนภูมิภาค
  • สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร

หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) ส่วนกลาง เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ 9 คณะ มากกว่า 60 สาขาวิชา ดังนี้

  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะสื่อสารมวลชน
  • คณะมนุษยษศาสตร์
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) ส่วนภูมิภาค เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ 4 คณะ 4 สาขาวิชา ดังนี้

  • คณะนิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ
  • คณะรัฐศาสตร์ กลุ่มวิชาการบริหารรัฐกิจ
  • คณะสื่อสารมวลชน สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล

หมายเหตุ – ตรวจสอบรายชื่อสาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร ปี 2566 คลิกที่นี่

  • ค่าใช้จ่ายการสมัคร

การสมัครเป็นนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี (ภาคปกติ) สามารถแบ่งค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ค่าสมัครและลงทะเบียนเรียน และ 2. ค่าเทียบโอนหน่วยกิต

  • ค่าสมัครและลงทะเบียนเรียน – ต้องชำระทันทีในวันสมัคร ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ประกอบด้วย ค่าขึ้นทะเบียนเข้าเป็นนักศึกษา, ค่าธรรมเนียมแรกเข้าศึกษา, ค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษา, ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย, ค่าบริการสารสนเทศ, ค่าหน่วยกิต ส่วนกลาง ไม่เกิน 3,750 บาท ส่วนภูมิภาค ไม่เกิน 3,980 บาท
  • ค่าเทียบโอนหน่วยกิต(ถ้ามี) – ชำระได้ภายหลัง **หากสมัครแบบไม่เทียบโอนหน่วยกิตจะไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้** ค่าเทียบโอนหน่วยกิต คิดตามประเภทผู้สมัคร ดูรายละเอียดคลิก โดยมหาวิทยาลัย จะเรียกเก็บค่าเปิดฐานข้อมูลการเทียบโอนหน่วยกิต เป็นเงิน 100 บาทในวันที่สมัครก่อน โดยผู้สมัครไม่จำเป็นต้องชำระค่าเทียบโอนในวันสมัครก็ได้ ผู้สมัครสามารถชำระค่าเทียบโอนหน่วยกิตทั้งหมดได้โดยไม่มีค่าปรับภายใน 1 ปี นับจากวันที่สมัคร หากพ้นระยะเวลา 1 ปี จะมีค่าปรับกรณีชำระค่าเทียบโอนหน่วยกิตล่าช้า ภาคการศึกษาละ 300 บาท (ปีละ 600 บาท) โดยค่าเทียบโอนหน่วยกิตต้องชำระค่าเทียบโอนทั้งหมดภายในครั้งเดียว ไม่สามารถแบ่งชำระได้
  • เรียนอย่างไร ?

รูปแบบการเรียนระดับ ปริญญาตรี (ภาคปกติ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน นักศึกษาสามารถเลือกวิธีการหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมหาวิทยาลัยจะจัดรูปแบบการศึกษาแบบ Hybrid คือ อาจารย์จัดบรรยายในห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยเป็นหลัก บรรยายเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 7.20-17.20 น. และมีการบรรยายสรุปเสาร์-อาทิตย์เฉพาะนักศึกษาส่วนภูมิภาค สรุปรูปแบบการเรียนได้ดังนี้