ประกาศองค กรท ม ส ทธ เสนอช อผ สม คร ส.ว

การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี จะเกิดขึ้นในวันที่ 13 ก.ค. เวลา 09.30 น. ตามการเปิดเผยของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ว่าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหารือร่วมกับนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา แล้ว แต่ถ้าโหวตรอบแรกไม่ผ่าน ก็เตรียมแผนโหวตอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง ในวันที่ 19 ก.ค. และ 20 ก.ค.

แม้แกนนำพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ออกมาระบุว่า “มีสัญญาณบวก” “มีทิศทางที่ดี” และ “ยังมองเห็นโอกาสเป็นไปได้” ในการหาเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. ให้ลงมติเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรค ก.ก. เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 แต่ก็ไม่มีใครระบุจำนวน ส.ว. ออกมาอย่างชัดเจน

การให้อำนาจ “ส.ว. ชุดเฉพาะกาล” จำนวน 250 คน ร่วมกับ ส.ส. 500 คน ในการให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นไปตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 โดยมติ “เห็นชอบ” ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา หรือ 376 เสียงจาก 750 เสียง

ขณะนี้ 8 พรรคการเมืองที่ประกาศร่วมจัดตั้งรัฐบาล และสนับสนุนนายพิธาเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร มีเสียงในสภาล่างรวมกัน 312 เสียง นั่นเท่ากับว่าพรรค ก.ก. และพันธมิตรต้องหาเสียงจาก ส.ว. อีกอย่างน้อย 64 เสียง หรือ 65 เสียง หากหักเสียงของประธานรัฐสภาที่ต้อง “งดออกเสียง” เพื่อความเป็นกลางในการทำหน้าที่ ถึงจะส่งนายพิธาเข้าทำเนียบรัฐบาลได้สำเร็จ

บีบีซีไทยตรวจสอบข้อกฎหมาย ประมวลความเคลื่อนไหวล่าสุดจากคนในรัฐสภา และพูดคุยกับ “ส.ว. สายกฎหมาย” 2 คน เพื่อหาคำตอบว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ก่อน-หลัง 13 ก.ค.

ต่อไปนี้คือ 6 คำถาม-คำตอบ น่ารู้ก่อนถึงวันโหวตเลือกนายกฯ คนที่ 30

1. ส.ว. จะยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความคุณสมบัตินายพิธา ก่อนวันโหวตเลือกนายกฯ หรือไม่

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา กล่าวกับบีบีซีไทยว่า “ไม่มีความคืบหน้าในส่วนนี้ เพราะเป็นเรื่องของ ส.ส. ที่จะไปยื่น เดี๋ยวจะกลายเป็นปัญหาเยอะอีก ถ้า ส.ว. ลุกขึ้นมาทำเรื่องนี้”

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจยกเลิกภารกิจล่าชื่อ ส.ว. ส่งศาลตีความคุณสมบัติของนายพิธา นายเสรีชี้แจงว่า “ระยะเวลาที่มี ทำไม่ทันแล้ว” อีกทั้งอยากรอดูผลการไต่สวนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขยายเวลาตรวจสอบไปอีก 15 วันก่อน หาก ส.ว. ก็ยื่น กกต. ก็ยื่น ก็จะมีหลายกรณี ก็ยิ่งทำให้เกิดความล่าช้า

ประกาศองค กรท ม ส ทธ เสนอช อผ สม คร ส.ว

ที่มาของภาพ, ฺThai News Pix

คำบรรยายภาพ,

เสรี สุวรรณภานนท์ กับเพื่อน ส.ว.

ก่อนหน้านี้ นายเสรีซึ่งเป็นทนายความอาชีพมาก่อน เปิดเผยว่าเขาอยู่ระหว่างการพูดคุยกับ ส.ว. เพื่อเข้าชื่อกันยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภาให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายพิธาขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ จากกรณี “ถือหุ้นไอทีวี” โดยให้เหตุผลว่า ส.ว. ในฐานะผู้ร่วมให้ความเห็นชอบนายกฯ ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ มีสิทธิตรวจสอบได้ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการก่อนถึงวันโหวตเลือกนายกฯ

เขาระบุว่า การดำเนินการนี้อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ที่ให้ ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือ 25 คน จาก 250 คน เข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภา ขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้

อย่างไรก็ตาม ส.ว. ที่เป็นนักกฎหมายอีกอย่างน้อย 2 คน ให้ความเห็นกับบีบีซีไทยว่า การยื่นตีความคุณสมบัติของนายพิธาโดย ส.ว. ไม่น่าจะทำได้ เพราะเป็นเรื่องของสภาใครสภามัน การส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความคุณสมบัติของนายพิธา ต้องดำเนินการโดย ส.ส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา หรือ 50 คน จาก 500 คน เข้าชื่อร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร

2. นัดประชุมรัฐสภา 13 ก.ค. แต่เลื่อนโหวตเลือกนายกฯ ได้หรือไม่

ประกาศองค กรท ม ส ทธ เสนอช อผ สม คร ส.ว

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang/BBC Thai

คำบรรยายภาพ,

การเลือกนายกฯ โดยใช้มติที่ประชุมร่วมรัฐสภา เป็นไปตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่จัดทำในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำถามนี้เกิดขึ้นหลังจากนายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ส.ว. ให้สัมภาษณ์ข่าวสดออนไลน์ โดยระบุตอนหนึ่งว่า “ไม่ทราบว่าวันที่ 13 ก.ค. ซึ่งนัดประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตเลือกนายกฯ จะมี ส.ว. ขอเลื่อนวาระนี้ออกไปหรือไม่ ซึ่งตามข้อบังคับการประชุม สมาชิกรัฐสภาสามารถเสนอเลื่อนได้” ยืนยันในส่วนของ ส.ว. ยังไม่มีสัญญาณใด ๆ

ขณะที่สมาชิกวุฒิสภาอีกคนหนึ่งที่ไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อ กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ไม่คิดว่าจะมีเพื่อน ส.ว. รายใดลุกขึ้นมาเสนอให้เลื่อนวาระโหวตเลือกนายกฯ แต่เชื่อว่าจะมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง

ส่วนข้อถกเถียงเรื่องคุณสมบัติของนายพิธา กรณีถือ “หุ้นไอทีวี” ส.ว. รายนี้ระบุว่า เป็นการร้องให้ตรวจสอบเฉพาะคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเป็น ส.ส. ไม่ใช่คุณสมบัติเป็นนายกรัฐมนตรี กรณีนี้เมื่อ กกต. ยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ และศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ชี้ขาด นายพิธาจึงยังมีคุณสมบัติครบถ้วน เป็นนายกฯ ได้ แต่ถ้าภายหลังศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าขาดคุณสมบัติเป็น ส.ส. ก็จะขาดคุณสมบัติเป็นรัฐมนตรีด้วย เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดคุณสมบัติไว้อย่างเดียวกัน

“เรื่องคุณสมบัติ ใช้เป็นเหตุอ้างให้ตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใด โหวตหรือไม่โหวตให้ได้ แต่จะใช้เป็นเหตุให้เลื่อนโหวตหรือหยุดโหวตเพื่อรอคำวินิจฉัยไม่ได้ เพราะกระบวนการต่าง ๆ ยังไม่เกิดขึ้น” สมาชิกวุฒิสภากล่าว

3. เสนอชื่อนายกฯ คนเดียวได้หรือไม่

ในขณะที่พรรค ก.ก. และพรรคเพื่อไทย (พท.) ออกแถลงการณ์ว่า “จะสนับสนุนให้นายพิธาเป็นนายกฯ อย่างสุดความสามารถ” สังคมยังไม่เห็นชื่อ แคนดิเดตชิงเก้าอี้นายกฯ จากฝั่งพรรคเสียงข้างน้อย

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ออกมาปฏิเสธกระแสข่าว รทสช. เตรียมส่งนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกฯ ของพรรค ลงแข่งกับนายพิธาว่าไม่เป็นความจริง

“คุณพีระพันธุ์กับผมก็ไม่เคยมีความคิด และไม่สนับสนุนการตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภาอย่างเด็ดขาด ถึงจะตั้งไปก็อยู่ไม่ได้” เลขาธิการพรรค รทสช. ระบุผ่านเฟซบุ๊กเมื่อ 6 ก.ค.

แม้การเสนอชื่อบุคคลให้สภาลงมติเลือกเป็นนายกฯ เพียงชื่อเดียวไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ ส.ว. สายกฎหมายเห็นว่า “จะเสนอชื่อเดียว หรือ 2 ชื่อ หรือ 3 ชื่อ ก็สามารถทำได้ทั้งนั้น เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามเอาไว้” เพียงแต่ต้องผ่านเงื่อนไขขั้นต่ำคือได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของสองสภา หรือ 376 จากสมาชิกทั้งหมด 750 เสียงขึ้นไป

ประกาศองค กรท ม ส ทธ เสนอช อผ สม คร ส.ว

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

4. หากมีผู้เสนอชื่อนายพิธาคนเดียว แล้วโหวตไม่ผ่าน จะเสนอให้โหวตชื่ออื่น แล้วให้ลงมติในวันนั้นเลยได้หรือไม่

นายวันมูหะมัดนอร์ระบุว่า “หากวันแรกไม่สามารถ ถือว่าการประชุมวันนั้นต้องจบ และนัดโหวตนายกฯ นัดครั้งต่อไป โดยต้องคำนึงความพร้อมของสมาชิกด้วย เพื่อให้ทุกคนเข้าร่วมประชุมครบถ้วน”

5. หากชื่อนายพิธาไม่ผ่านรอบแรก จะส่งชื่อเดิมกลับมาให้โหวตรอบ 2 ได้หรือไม่

ในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิ) ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย เป็นประธาน เมื่อ 5 ก.ค. มี ส.ว. บางส่วนเห็นว่า ชื่อนายพิธาน่าจะตกไปทันทีหากโหวตไม่ผ่านในรอบแรก โดยยกกรณีการให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระมาเป็นแนวปฏิบัติ

อย่างไรก็ตาม ส.ว. อีกส่วนเห็นแย้งว่า การให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งขององค์กรอิสระมีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน โดยต้องผ่านขั้นตอนจากคณะกรรมการสรรหา มาสู่คณะกรรมาธิการตรวจสอบประวัติและความประพฤติ และมาสู่ชั้นลงมติ ซึ่งบางตำแหน่งระบุไว้เลยว่าหากได้เสียงไม่เกินกึ่งหนึ่งของวุฒิสภา ชื่อก็ตกไป แล้วเสนอกลับมาใหม่ไม่ได้

“กรณีโหวตเลือกนายกฯ มันไม่ใช่การเลือกกรรมการองค์กรอิสระ มันไม่ได้ระบุอะไรไว้เลยในมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ มันเป็นการโหวตทางการเมือง จึงนำมาเปรียบเทียบไม่ได้ สมมติโหวตครั้งแรกไม่ผ่าน ก็เอาชื่อมาโหวตครั้งต่อไปได้” ส.ว. สายกฎหมายให้ความเห็น

เขาให้ความเห็นว่า ในเมื่อกรณีนี้ไม่มีแนวปฏิบัติมาก่อน ก็ต้องให้ประธานเป็นผู้วินิจฉัย หรือใช้ที่ประชุมรัฐสภาเป็นที่วินิจฉัย

ประกาศองค กรท ม ส ทธ เสนอช อผ สม คร ส.ว

ด้านนายวันมูหะมัดนอร์ตอบคำถามผู้สื่อข่าวกรณีเดียวกันนี้ว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นคนเดิมหรือคนใหม่ แต่เบื้องต้นต้องเป็นคนที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดคุณสมบัติครบถ้วน

ส่วนจะให้โหวตชื่อนายพิธาได้มากสุดกี่ครั้ง ว่าที่ประธานรัฐสภาบอกว่าไม่สามารถบอกได้ กฎหมายไม่ได้บังคับว่าหากโหวตชื่อนายพิธาไม่ผ่านในครั้งแรกจะไม่สามารถเสนอชื่อโหวตในครั้งที่ 2 ได้ ยืนยันสามารถเสนอชื่อนายพิธาซ้ำได้อีก เพียงแต่อาจจะมีการเสนอชื่อบุคคลอื่นมากกว่า 1 ชื่อก็ได้

สำหรับบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ คนที่ 30 ให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณา ต้องมีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 คือ ต้องมาจากพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ไม่น้อยกว่า 5% ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภา หรือมี ส.ส. มากกว่า 25 คนขึ้นไป

ถึงขณะนี้แคนดิเดตนายกฯ ในบัญชีของพรรคต่าง ๆ ที่ยังมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อต่อรัฐสภา มีทั้งสิ้น 9 คน จาก 6 พรรคการเมือง ได้แก่

  • พรรคก้าวไกล (ก.ก.) - นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
  • พรรคเพื่อไทย (พท.) - น.ส.แพทองธาร ชินวัตร, นายเศรษฐา ทวีสิน, นายชัยเกษม นิติสิริ
  • พรรคภูมิใจไทย (ภท.) - นายอนุทิน ชาญวีรกูล
  • พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) - พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
  • พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
  • พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) - นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

6. หากโหวตเลือกนายกฯ ไม่ผ่านรอบแรก จะเรียกประชุมร่วมสองสภาให้โหวตเลือกนายกฯ ได้อีกกี่ครั้ง

ว่าที่ประธานสภาหลีกเลี่ยงการพูดถึง “ตัวเลข” แบบชัด ๆ แต่ว่าที่รองประธานสภาจากพรรค พท. ให้สิทธิเบื้องต้น 3 ครั้ง 3 วัน

นายวันมูหะมัดนอร์กล่าวว่า จำนวนครั้งคงพูดไม่ได้ เพราะครั้งเดียวอาจผ่านก็ได้ถ้าได้ 376 เสียง แต่ถ้าไม่ครบต้องพิจารณาการประชุมรอบต่อไป และต้องวิเคราะห์ดูว่าคะแนนที่ได้มีเท่าไหร่ถึงจะครบ 376 เสียง และฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะขอเวลาการประชุมกี่ครั้ง

“โดยสรุปคือรัฐสภาต้องประชุมให้ได้นายกฯ ไม่ใช่นายพิธาคนเดียว หากนายพิธาได้ถือว่าได้ไป แต่ถ้าไม่ได้ต้องหาจนกว่าจะได้นายกฯ เพราะรัฐสภามีหน้าที่เลือกนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญเพื่อไปบริหารประเทศ เราจะขาดนายกฯ ไม่ได้” ว่าที่ประธานรัฐสภากล่าวเมื่อ 5 ก.ค.

ด้านนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ว่าที่รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสว่า ได้วางวันเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ 13 ก.ค. ถ้าไม่ได้ก็จะให้เลือกรอบที่ 2 วันที่ 19 ก.ค. และรอบที่ 3 วันที่ 20 ก.ค.

“คาด 3 วันนี้ก็น่าจะเพียงพอได้นายกรัฐมนตรีแล้ว ถ้าไม่ได้ก็จะคุยกันใหม่ โดยจะเปิดโอกาสให้ 3 ครั้งก่อน เพราะการเรียกประชุมบ่อย ๆ และใช้สมาชิก 750 คนก็ค่อนข้างลำบาก เวลา 3 วันก็เยอะแล้ว และอยากให้ได้ภายใน 3 วันนี้” ว่าที่รองประธานสภาจากพรรค พท. กล่าว

ประกาศองค กรท ม ส ทธ เสนอช อผ สม คร ส.ว

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

กลุ่ม “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” จัดกิจกรรมหน้ารัฐสภาเรียกร้องให้ ส.ว. เคารพเสียงประชาชน 14 ล้านเสียงที่โหวตเลือกก้าวไกล และสนับสนุนนายกฯ จากพรรคเสียงข้างมากของสภา เมื่อ 23 พ.ค.

วันโหวตเลือกนายกฯ รอบที่ 2, 3, 4... เป็นสิ่งที่วิปวุฒิสภาหยิบยกมาหารือร่วมกันเช่นกัน หลังมีสมาชิกบางส่วนตั้งคำถามว่า หากวันที่ 13 ก.ค. โหวตไม่ผ่าน จะนัดวันที่ 14 ก.ค. โหวตไม่ผ่าน ก็นัดวันที่ 15 ก.ค. เลยได้หรือไม่ ขณะที่ ส.ว. อีกรายเสนอให้เว้นวรรคไป 2 สัปดาห์ก่อนกลับมาโหวตเลือกนายกฯ กันใหม่

คำชี้แจงจากวิปวุฒิสภาคือ เมื่อมีระเบียบวาระเกิดขึ้นแล้ว การโหวตต้องจบในวันที่ 13 ก.ค. ซึ่งถ้าโหวตไม่ผ่าน ประธานรัฐสภาก็ต้องนัดประชุมใหม่ ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมiรัฐสภา พ.ศ. 2563 กำหนดให้ “นัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน แต่ถ้าประธานรัฐสภาเห็นสมควรจะนัดเร็วกว่านั้นก็ได้ ในกรณีเร่งด่วน แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่า 1 วัน”

เมื่อย้อนกลับมาดูปฏิทินการทำงานของสมาชิกรัฐสภา ทุกวันจันทร์-อังคาร จะมีการประชุมวุฒิสภา ส่วนวันพุธ-พฤหัสบดี เป็นการประชุมสภา หากต้องมีการประชุมร่วม ประธานของ 2 สภา หรือวิป 2 สภา ก็จะหารือและกำหนดวันร่วมกัน

“การนัดโหวตนายกฯ ครั้งที่ 2 ไม่จำเป็นต้องห่างไป 2 สัปดาห์ แต่เอาให้พอเหมาะพอสม ถ้านัดวันติดกันเกินไป แล้วเสนอคนเก่า ทุกอย่างยังเหมือนเดิม จะให้สมาชิกเปลี่ยนโหวตได้อย่างไร แต่สมมติเป็นคนเก่า แต่ถ้าเขาเอาสิ่งที่สมาชิกติดใจและใช้สิทธิอภิปรายในวันที่ 13 ก.ค. ไปปรับปรุง แม้เป็นคนเก่า แต่ถ้ามีข้อมูลใหม่ เงื่อนไขใหม่ อย่างนี้ก็พอที่จะพลิกโหวตได้” สมาชิกวุฒิสภากล่าวกับบีบีซีไทย

ประกาศองค กรท ม ส ทธ เสนอช อผ สม คร ส.ว

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang/BBC Thai

คำบรรยายภาพ,

ส.ว. ชุดเฉพาะกาล ที่มาจากกระบวนการคัดสรรของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และมีอำนาจร่วมโหวตเลือกนายกฯ 5 ปี