2024 ทำไม เม อโดนไฟฟ ากระแสสล บด ดจ งเป นแผลไหม cmu physics

ในร่างกายมนุษย์มีประจุไฟฟ้าที่เรียกว่าไออน (Ion) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานโดยการทำงานของเซลล์ในร่างกายเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของประจุไฟฟ้าของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ คือ แร่ธาตุ เช่น เกลือแร่ ที่สามารถแตกตัวเป็นไอออนอิสระเมื่อละลายในสารทำละลาย เช่น น้ำ พลาสมา และสามารถนำไฟฟ้าได้ ประจุไฟฟ้าไอออนบวกคือ โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม ประจุไฟฟ้าไอออนลบคือ คลอรีน คาร์บอเนต และ โปรตีน

ซึ่งแน่นอนที่ประจุแร่ธาตุเหล่านี้มีประโยชน์และช่วยการฟื้นฟูกล้ามเนื้อและเส้นประสาทได้

การใช้กระตุ้นไฟฟ้าบำบัดรักษาโรค เป็นการสร้างคลื่นที่มีความจำเพาะและมีค่าแม่นยำ เหมาะสำหรับการรักษาและสามารถกระตุ้นได้นาน โดยไม่มีผลแทรกซ้อน กระแสไฟฟ้าที่ใช้รักษาทางกายภาพบบำบัดจะเป็นคลื่นความถี่ต่ำทำให้มีความรู้สึกสบายระหว่างกระตุ้น สามารถรักษาปัญหากล้าเนื้อลีบ อ่อนแรง เพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดปวดและลดบวมกล้ามเนื้อได้ดี

การรักษาด้วย เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า Electrical Stimulation (ES) คืออะไร

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า

ตามปกติร่างกายของเราจะใช้โปรตีนในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยโปรตีนจะถูกสังเคราะห์เพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้นไฟฟ้า รวมทั้งประจุไอออน เมื่อถูกเหนี่ยวนำด้วยพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก จะไปเร่งขบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) และเร่งขบวนการลำเลียงสารอาหารเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเส้นประสาทซึ่งตามปกติจะสามารถถูกเร้าต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่าน โดยเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก จะสามารถเร้าเส้นประสาทที่อยู่ส่วนปลายด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าผ่านผิวหนัง ทำให้เกิดการตอบสนองการตื่นตัวของเส้นประสาทได้ โดยทั้งนี้ขึ้นกับ ชนิดของกระแสไฟฟ้า ความเข้มของกระแสไฟฟ้า ความถี่ของกระแสไฟฟ้า ตำแหน่งหรือบริเวณที่ติดขั้วไฟฟ้า และขนาดขั้วไฟฟ้า

ผลของการกระตุ้นไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นประสาททั้ง ในระยะสั้น และระยะยาวโดยพบว่า การกระตุ้นไฟฟ้ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อในระดับเซลล์และโครงสร้างเซลล์ รวมถึงหน้าที่ของกล้ามเนื้อนั้นอีกด้วย

8 ประเภทของ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าในทางกายภาพบำบัด

ประเภทของเครื่องกระตุ้นไฟฟ้ามีหลายประเภท ชนิดของกระแสไฟฟ้าที่นิยมใช้ในการรักษามีดังนี้

  1. การใช้กระแสไฟฟ้าบําบัดอาการปวด (Electrical stimulation for pain control)(ES)
  2. การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อการสมานแผล (Electrical stimulation for promote healing)
  3. การกระตุ้นไฟฟ้าร่วมกับการออกกําาลังกายเพื่อเรียนรู้หน้าที่ใหม่(Electrical stimulation for muscle re-education
  4. การกระตุ้นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทเลี้ยง (Innervated muscle) เพื่อเพิ่มแรงหดตัวความแข็งแรง เรียกว่า Neuromuscular electrical stimulation (NMES)
  5. การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมควบคุมการเคลื่อนไหว ท่าทาง และกิจกรรม (Functional electrical stimulation, FES) ทั้งในกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทและไม่มีเส้นประสาทมาเลี้ยง (Innervated and denervated muscle)
  6. การกระตุ้นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยง (Denervated muscle) เพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัว เรียกว่า Electrical muscle stimulation (EMS)
  7. TENS หรือ Trancutaneous electrical nerve stimulationใช้กระแสไฟฟ้าในการกระตุ้นเพื่อลดอาการปวด ซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน การใช้กระแสไฟฟ้าในการลดปวด นอกจากจะจะใช้กระแส TENS ซึ่งนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางและเป็นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าที่ผลิตขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถพบติดตัวไปใช้ได้ตลอดเวลา
  8. การใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อการนําาส่งยาและสารเคมี (Iontophoresis)

การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า การภาพบำบัด รักษาอาการใดได้บ้าง

การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าที่สรีรารักใช้ เป็นกระแสไฟฟ้าบำบัดเพื่อช่วยในการลดปวดโดยใช้กระแสไฟฟ้า ES ( Electrical stimulation for pain control ) และเลือกใช้รูปแบบกระแสตรงและหยุดเป็นช่วง (Interrupted direct current) ซึ่งช่วงกระแสไฟนี้ จะมีช่วงความถี่ต่ำที่สบายผิว และไม่ละคายเคือง เราจะเลือกใช้ให้เห็นผลถึงการคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นและกล้ามเนื้อชั้นลึก โดยผู้รักษาจะมีความรู้สึกสั่นสบายระหว่างการกระตุ้น และรู้สึกถึงการคลายในระดับกล้ามเนื้อชั้นลึกตรงจุดที่มีอาการปวดได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ

ในส่วนของกล้ามเนื้อมัดเล็กชั้นลึกตามแนวกระดูกต้นคอและกระดูกสันหลัง ทางสรีรารักเลือกใช้การกระตุ้นไฟฟ้าที่เรียกว่า ปากกาไฟฟ้า (point electrode) เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าชนิดเดียวกันแต่สามารถกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็กชั้นลึกได้เป็นอย่างดี เหมาะกับปัญหากลุ่มกล้ามเนื้อเกร็งเรื้อรัง เช่น ออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ ปวดบ่า ปวดสะบัก ปวดหลัง ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดสะโพกร้าวลงขา และอาการปวดทางระบบเส้นประสาทต่างๆ

ข้อดี จุดเด่น ของการรักษาด้วย การกระตุ้นไฟฟ้า Electrical stimulator

การกระตุ้นไฟฟ้ากายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อได้ดังนี้

  • ซ่อมแซมเนื้อเยื้อ
  • ลดปวด ลดบวม
  • ช่วยการเคลื่อนไหว หรือ เลียนแบบการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง
  • คลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นชั้นลึก
  • เพิ่มการไหลเวียนโลหิตในกล้ามเนื้อ
  • เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดดำ และน้ำเหลือง
  • เพิ่มความแข็งแรงในมัดกล้ามเนื้อที่มีภาวะอ่อนแรง
  • เพิ่มความเร็วในการนำกระแสประสาท
  • ลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  • กระตุ้นการซ่อมแซมแผลให้หายเร็วขึ้น

ข้อห้าม ข้อควรระวังในการกายภาพด้วย Electrical stimulator

ข้อห้าม

  • บริเวณทรวงอกในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker)
  • บริเวณที่มีเครื่องกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะ
  • บริเวณ Carotid Sinus
  • บริเวณที่เป็นโรคหลอดเลือดรอบนอก เช่น ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน(Venous thrombosis) และหลอดเลือดดำอักเสบ (Thrombophlebitis)
  • บริเวณที่เป็นเนื้องอก และโรคติดเชื้อ
  • บริเวณลำตัวของสตรีมีครรภ์
  • บริเวณที่มีแผลเลือดออก
  • บริเวณที่มีเหล็ก โลหะ ฝังอยู่ในกล้ามเนื้อ
  • ผู้ป่วยที่มีความดันสูงมาก หรือต่ำมาก

ข้อควรระวัง

  • บริเวณใกล้ทรวงอก
  • บริเวณข้างคอค่อนมาข้างหน้า(phrenic nerve)เพราะกระแสไฟฟ้าอาจไปรบกวนการหายใจ
  • ในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันสูง หรือต่ำ
  • บริเวณแขน/ขา ของสตรีมีครรภ์
  • บริเวณที่มีไขมันมาก
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้

กายภาพด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า ที่ไหนดี ที่สรีรารักดีอย่างไร

กายภาพด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า สรีรารักเราใช้ช่วยคลายปัญหา เรื่อง กล้ามเนื้อ ได้อย่างละเอียด เช่น หดเกร็ง หดสั้น หนาตัวเป็นลำ ก้อนกลมนิ่ม ก้อนกลมแข็ง ทั้งระดับกล้ามเนื้อชั้นตื้นและชั้นลึก รวมถึงปวดกล้ามเนื้อจากเส้นประสาทผิดปกติ ด้วยวิธีการเลือกใช้เครื่องมือกระตุ้นไฟฟ้าที่ทันสมัยและเลือกชนิดของกระแสไฟฟ้าที่เหมาะสม ใช้โดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญในเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าโดยเฉพาะและเชี่ยวชาญทั้งด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาเรื่อง กล้ามเนื้อได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

ข้อสรุป

การรักกษาโดยการกระตุ้นไฟฟ้า สามารถแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อได้อย่างละเอียดและตรงจุด ทำให้กล้ามเนื้อมัดเล็กมักใหญ่ตรงบริเวณมัดที่มีปัญหาคลายและเพิ่มความยืดหยุ่นได้ โดยกลไกการกระตุ้นของกระแสไฟฟ้า ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด น้ำ และธาตุอาหาร ของเซลล์กล้ามเนื้อ ทำให้ผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อ รู้สึกเบาสบายตัวทันทีหลังการรักษา ผู้รักษาต้องให้เวลาในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อต่อเนื่องในช่วงแรก ประมาณสัปดาห์และ 2 ครั้ง ติดต่อกันประมาณ 3-4 สัปดาห์ พบว่าผู้ที่มีปัญหาไม่มากก็สามารถคลายกล้ามเนื้อลงได้เกือบปกติ จนสามารถหยุดการรักษาและกลับไปลุยงานต่อได้อย่างสบายเลยค่ะ แต่หากต้องทำร่วมกับการออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามที่นักกายภาพบำบัดแนะนำ กล้ามเนื้อจะไม่กลับมาปวดซ้ำแน่นอนค่ะ น้องสรีคอนเฟิม

ใครกำลังจะเลือกทำกายภาพบําบัด มีปัญหาที่กล้ามเนื้อ ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง รักษาออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ บ่าไหล่ น้องสรีขอเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกดีๆที่พร้อมช่วยดูแลรักษาคุณอย่างตรงจุด โดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ เพื่อคืนอิสระให้ทุกความเคลื่อนไหว หากสนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ สรีรารัก คลินิกกายภาพบำบัด หรือเบอร์ 096-515-4692 หรือ Line : @sarirarak