ข วหลอดไฟหน ารถยนต ม ตซ บ ช ซ เด ย

พอดีอยากได้หลอดไฟหน้า ที่สว่างๆ มากๆ ทีค่ะ เพราะ ขับมอไซ ตจว มันมืด ไฟปกติ จะมองไม่ค่อยเห็น มันอัตรายอะค่ะ

ขอแบบ สว่างๆ เปิดไฟสูง และไม่กระจาย ไปทางอื่น ประมาณเนี่ยอะค่ะ ทนๆ ด้วยค่ะ ใครช่วยแนะนำให้ทีนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

แจ้งบางสิ่งบางอย่างที่ผู้ขับรถต้องการให้รถคันอื่น หรือบุคคลอื่นทราบ เช่น ไฟเบรก, ไฟเลี้ยว, ไฟถอย, ไฟฉุกเฉิน ฯลฯ

  • ใส่เพื่อความสวยงาม

ชนิดของแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ที่ใช้

  1. แรงดันไฟฟ้า 12 โวลท์ (ใช้ในรถกะบะและรถเก๋ง สังเกตุจากแบตเตอรี่จะมีลูกเดียว)
  2. แรงดันไฟฟ้า 24 โวลท์ (ส่วนมากจะเป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่ สังเกตุจากแบตเตอรี่ที่ใช้จะมีสองลูก โดยต่ออนุกรมกัน)

หลอดไฟทั่วไปที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้แก่

  1. หลอดความร้อน (Incandescent Bulb) ซึ่งหลอดไฟชนิดนี้ เมื่อจ่ายกระแสไฟให้ไส้หลอด (Filament) ซึ่งทำจากลวดทังสเตน จะเกิดความร้อนขึ้น เมื่อไส้หลอดเกิดความร้อนก็จะทำให้เกิดแสงสว่างขึ้นมา (เช่นเดียวกับที่เราเห็นจากเตาไฟฟ้าแบบขดลวดนั่นแหละครับ) และโดยปกติแล้วภายในหลอดชนิดนี้จะเป็นสุญญากาศ (เพื่อป้องกันการเผาไหม้จนเกิดความร้อนสูงเกินควบคุม) หรืออาจจะบรรจุก๊าซเฉื่อยเช่น ก๊าซอาร์กอนไว้ภายในเพื่อช่วยลดคราบเขม่าที่เกิดจากโลหะทังสเตนมาจับผิวด้าน ใน
  2. หลอดฮาโลเจน (Halogen Bulb) คือหลอดที่ไฟถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการรักาความสว่างเอาไว้ได้ จนหมดอายุการใช้งานของหลอดไฟ หลอดแบบนี้จะบรรจุด้วยก๊าซฮาโลเจนเพื่อให้เกิดวงจรฮาโลเจน (Halogen Cycle) กล่าว คือ อนุภาคของทังสเตน (W) ที่เกิดขึ้นและเคลื่อนตัวไปใกล้หลอดแก้วจะไปรวมตัวกับก๊าซฮาโลเจน (X) และเคลื่อนตัวโดยความร้อนภายในหลอดไฟไปยังไส้หลอด เมื่ออนุภาคที่รวมตัวกันเคลื่อนตัวเข้าใกล้ใส้หลอดไฟอนุภาคของทังสเตนก็จะไป จับกับไส้หลอดหรือขาหลอดไฟ (Stem) ส่วนอนุภาคของก๊าซฮาโลเจนก็จะเคลื่อนตัวไปยังผิวของหลอดแก้วเพื่อรวมตัวกับ อนุภาคของทังสเตนต่อไป เป็นวงจรอย่างนี้เรื่อย ๆ การทำงานแบบนี้จะทำให้อนุภาคที่รวมตัวกันเกาะที่ผิวหลอดบ้าง แต่อนุภาคที่รวมตัวกันนี้เป็นสารกึ่งโปร่งแสงจึงส่งผลกระทบต่อความสว่างน้อย มาก การทำให้เกิดวงจรฮาโลเจนนี้จะต้องรักษาอุณหภูมิของหลอดแก้วให้คงที่ประมาณ 250 องศาเซลเซียสจึงจำเป็นต้องใช้แก้วชนิดพิเศษในการผลิตหลอดแบบนี้ นอกจากนั้น ความดันของก๊าซเฉื่อยภายในหลอดแก้วและไส้หลอดก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิด วงจรได้สมบูรณ์
  3. หลอด HID โดยรู้จักกันในนามของหลอด “ซีนอน” (Xenon) เนื่องจากภายในบรรจุเอาไว้ด้วยก๊าซซีนอน หลอดไฟชนิดนี้ถูกนำมาใช้ในรถยนต์ครั้งแรกในปี 1992 ในยุโรป หลอดชนิดนี้จะแตกต่างไปจากชนิดอื่นๆ ที่ใช้ใส้หลอดทำจากโลหะทังสเตนในการทำให้เกิดแสงสว่าง โดยหลอด HID จะทำให้เกิดแสงสว่างด้วยการผ่านกระแสไฟแรงสูง (หลอด HID จะต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการเพิ่มกระแสไฟ 12 โวลท์ ให้สูงขึ้นไปถึง 20,000-25,000 โวลท์) ไปยังขั้วของตัวนำที่ทำจากโลหะทังสเตนซึ่งจะทำให้เกิดการกระโดดของอิเลคตรอน ระหว่างขั้วของตัวนำ อาจจะเปรียบได้กับการกระโดดของไฟที่เขี้ยวหัวเทียนหรือการสปาร์คที่เกิดจาก การเชื่อมไฟฟ้านั่นเอง อิเล็คตรอนนี้จะทำปฏิกิริยากับก๊าซซีนอนที่ถูกบรรจุอยู่ภายในหลอดแก้วทำให้ เกิดแสงสว่างขึ้น โดยหลอด HID นี้จะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดฮาโลเจนธรรมดา 2-2.5 เท่า แต่ในขณะเดียวกันสามารถประหยัดพลังงานมากกว่าถึง 25% และยังให้สีของแสงที่เกิดขึ้นใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์จึงช่วยให้การมองเห็นดี ขึ้น และการที่ไม่ใช้ไส้หลอดจึงทำให้อายุการใช้งานของหลอดยาวขึ้นด้วยเช่นกัน

หลอดไฟในรถยนต์

1. หลอดไฟหน้า (มาตรฐาน 60/55 วัตต์ สำหรับรถญี่ปุ่นทั่วไป) 2. หลอดไฟหรี่ 3. หลอดไฟหน้าปัดท์ 4. หลอดไฟถอย ( 21 หรือ 23 วัตต์) 5. หลอดไฟเลี้ยว ด้านท้ายและด้านหน้า (21 หรือ 23 วัตต์) 6. หลอดไฟเลี้ยว ด้านข้าง (ประมาณ 5 วัตต์) 7. หลอดไฟเบรก-หรี่ (ประมาณ 21/5 หรือ 23/8 วัตต์) 8. หลอดไฟสปอร์ตไลท์ หรือไฟตัดหมอก (มาตรฐาน 55 วัตต์) 9. หลอดไฟส่องสว่างในเก๋ง (ประมาณ 10 วัตต์) 10. หลอดไฟส่องป้ายทะเบียน (ประมาณ 5 วัตต์)

มาตรฐานหลอดไฟรถยนต์

หลอดไฟฮาโลเจน (HALOGEN)

  1. H1 หลอดชนิดนี้จะใช้อยู่กับรถยุโรปเช่นพวกรถ BMW และพวกรถญี่ปุ่นรุ่นใหญ่ ๆ
  2. H3 โดยมากใช้ในไฟสปอร์ตไลท์ที่ติดเพิ่มเข้าไป
  3. H3C
  4. H4 เป็นหลอดไฟหน้าที่รถส่วนใหญ่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ชั้นบนของไส้หลอดจะมีฝาครอบกันไว้ด้านหนึ่ง (เจ้าฝาครอบตัวนี้ มีไว้สำหรับบังแสงไฟไม่ให้กระจายเต็มพื้นที่ในโคมไฟจึงทำให้แสงที่ผ่านโคมไฟ ออกมามีเพียงครึ่งเดียวกลายเป็นไฟต่ำนั่นเอง) ส่วนชั้นล่างมีเฉพาะขดลวดเท่านั้น(ไฟสูง) ไม่มีฝาครอบ ด้านนอกมีสามขาสำหรับไฟ สูง/ต่ำ และขั้วดิน (-)
  5. H7 จะมีใช้ในรถ MERCEDES-BENZ ตากลมหรือรถ BMW

ข้อควรระวังในการเปลี่ยนหลอดไฟ

  1. แรงดันไฟฟ้า (โวลท์) ต้องมีขนาดเท่าเดิม)
  2. ควรใช้ผ้าจับขณะถอด (ในกรณีที่เป็นหลอดไฟแบบเขี้ยว หรือ เสียบ)
  3. สำหรับหลอดไฟชนิด ฮาโลเจน อย่าจับตัวหลอดแก้วให้จับที่ขาแทน หากจับตัวหลอดแก้วควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ และระมัดระวังอย่าให้แตก เพราะภายในหลอดบรรจุแก๊ส อาจจะกระเด็นเข้าตาได้
  4. ขั้วที่เป็นสนิม ควรทำความสะอาดก่อนใส่
  5. หลังจากเปลี่ยนหลอดไฟแล้ว ถ้ามีฝาปิด อย่าขันแน่นเกินไป (จะทำให้ฝาแตก)
  6. ระวังขั้วที่ฐานใส่หลอดไฟ อย่าให้ลัดวงจร
  7. ในรถบางรุ่นจะมีสัญญาณเตือนเมื่อหลอดไฟเบรกขาด ไฟเตือนจะดับเมื่อเปลี่ยนหลอดไฟใหม่

คำเตือน

  1. ห้ามใช้รถในเวลากลางคืนขณะที่หลอดไฟหน้าไม่ติด
  2. ไม่ควรใช้รถถ้า หลอดไฟเบรก, หลอดไฟเลี้ยวไม่ติด
  3. ไม่ควรเปลี่ยนสีหลอดไฟเบรก, ไฟเลี้ยว เพราะทำให้สับสน และผิดกฎหมาย
  4. หลอดไฟหน้าควรได้รับการปรับแต่งให้ส่องสว่างในตำแหน่งที่ถูกต้อง

กฎหมายกำหนดเอาไว้ใน พรบ.รถยนต์ พศ.2522 ได้กล่าวถึงเรื่องของโคมไฟส่องสว่างหน้ารถจะต้อง

  • มีจำนวน 2 ดวงติด อยู่ข้างซ้ายขวาข้างละดวง
  • เป็นชนิดแสงพุ่งไกลใช้ไฟแสงขาว เท่านั้น
  • และต้องติดตั้งในระดับ สูงวัดจากพื้นถึงจุดกึ่งกลางของโคมไฟไม่น้อยกว่า 60 ซม. และไม่เกิน 1.35 เมตร ส่วนโคมไฟต่ำจะใช้ข้อบังคับเดียวกันและอนุญาตให้รวมอยู่ในดวงเดียวกันก็ได้ (สำหรับโคมไฟแสงพุ่งไกลและพุ่งต่ำ
  • การเปลี่ยนหลอดไฟให้มี สีผิดไปจากที่กำหนดถือว่ามีความผิด หลอดไฟจะเป็นหลอดที่มีกำลังไฟ 60/55 W โดยจะแบ่งเป็นสองไส้ ไฟสูงจะใช้ 60 W และไฟต่ำจะอยู่ที่ 55 W

หลอดไฟหน้าจะมีอยู่หลายลักษณะ ตามมาตรฐานต่างๆ เช่น H1,H2,H3,H4,HB3,HB4 ซึ่งจะแตกต่างกันตามลักษณะของขั้วหลอดและรูปทรง