2024 ที่ อยู่ มหาวิทยาลัย ราชภัฏ ราช นครินทร์ บางคล้า

ค้นหาสถานที่

Show

ขอเส้นทาง

เครื่องมือ

ตัวอย่างการค้นหา ชื่อสถานที่:บริษัท เมตามีเดีย เทคโนโลยี จำกัด เขตปกครอง:แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร หมวดสถานที่:tag: ป้ายรถเมล์, tag: ภาพถ่ายทางอากาศ พิกัด:13.72264,100.52931 หรือ 665365,1517575,47N

ค้นด้วยไอคอน

ล้างผลลัพธ์การค้นหาและไอคอน tag เก่าก่อนแสดงผลลัพธ์ใหม่

เพิ่มไอคอนธุรกิจของท่านติดต่อ - ดูรายละเอียด

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ สถานที่แห่งนี้เดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมชาย ต่อมาเมื่อโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมชายย้ายไปตั้งใหม่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ทางราชการได้ปรับปรุงโดยการขยายสถานที่เดิมให้กว้างขวางขึ้น โดยขอใช้ที่ดินจากทางการทหารและจัดซื้อเพิ่มเติม จัดสร้างหอนอนและเรือนพักครูแล้วย้ายนักเรียนสตรีแผนกฝึกหัดครูซึ่งเรียนรวมอยู่กับนักเรียนสตรีประจำจังหวัดฉะเชิงเทราดัดดรุณี มาเรียนแทนในปี พ.ศ. 2483 โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด มีทั้งหมด 5 คณะ ประกอบด้วย คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

เคยไปที่นี่มาแล้วหรือเปล่า? เขียนรีวิวให้คนอื่นอ่านได้นะ

มีอีกหลายที่ที่คนอื่นยังไม่รู้จัก

เราอยากชวนคุณมาร่วมแนะนำที่เที่ยวด้วยกัน

เจอที่เที่ยวใหม่? หรืออยากช่วยเพิ่มข้อมูลสถานที่ หรืออยากแนะนำร้านค้าช่วยเจ้าของกิจการคนอื่นๆ คุณเพิ่มเองได้

ย้อนหลังไปเมื่อ 70 ปีที่แล้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมชาย ต่อมาเมื่อโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมชายย้ายไปที่จังหวัดปราจีนบุรี ทางราชการเห็นว่าสถานที่นี้เหมาะจะตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี ศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทราจึงได้ติดต่อขอที่ดินจากกองพันทหารช่าง

เพื่อขยายเนื้อที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการในการตั้งโรงเรียน ได้มีการปรับปรุงสถานที่สร้างรั้วโรงเรียน สร้างหอนอน 1 หลัง เรือนพักครู 2 หลัง แล้วจึงย้ายนักเรียนฝึกหัดครูสตรีที่เรียนรวมอยู่กับโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา “ดัดดรุณี” มาเรียนแทนในปลายปี 2483 ให้ชื่อว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด” รับเฉพาะนักเรียนหญิง มาเป็นครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ครู ว.)

พ.ศ.2485 ได้เปิดสอนฝึกหัดครูประชาบาล (ป.บ.) ขึ้นตามความต้องการของท้องถิ่น และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนมาเป็น “โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา” เมื่อภาวะสงครามสิ้นสุดลง ทางราชการได้ยกเลิกชั้นฝึกหัดครูประชาบาล (ป.บ.) และฝึกหัดครูประกาศ- นียบัตรจังหวัด (ว.) ออกปีละชั้น นักเรียนฝึกหัดครูประชาบาล (ป.บ.) สิ้นสุดลงในปี 2491 และนักเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรยุติลงในปี 2495

พ.ศ. 2498 มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร โดยใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) แทนหลักสูตร ป.ป. โดยรับนักเรียนชายเข้าเรียนด้วย จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา เป็น โรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา สังกัดกรมการฝึกหัดครู ซึ่งตั้งขึ้นในปีนี้เอง ในช่วงถัดมาโรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทราได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งด้านอาคารสถานที่และด้านการเรียนการสอน โดยได้รับการช่วยเหลือจากองค์การปรับปรุงส่งเสริมการศึกษาและองค์การ ยูนิเซฟ (UNICEF) และได้มีโครงการฝึกหัดครูชนบทขึ้นในระยะนี้ด้วย

วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา[แก้]

1 ตุลาคม พ.ศ. 2513 โรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา ได้รับการสถาปนาเป็น วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา เปิดสอนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ทั้ง ภาคปกติและภาคค่ำ (Twilight) ในด้านอาคารสถานที่ได้มีการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กแทนอาคารเรียนไม้ที่มีอยู่แต่เดิม และมีอาคารอื่น ๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ

พ.ศ. 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา จึงได้รับการยกฐานะตามพระราชบัญญัติให้สามารถผลิตครูได้ถึงระดับปริญญาตรี และให้มีภารกิจอื่น ๆ คือ วิจัย ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมวิทยฐานะครูและอบรมครูประจำการ จึงได้มีโครงการอบรมครูประจำการ (อ.คป.) ขึ้น โดยได้เปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จนถึง พ.ศ. 2530

ในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) ให้อำนาจวิทยาลัยครูเปิดสอนสาขาวิชาต่าง ๆ ถึงระดับปริญญาตรี วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา จึงเปิดสอนระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาการศึกษา (ค.บ.) สาขาวิทยาศาสตร์ (วท.บ.) สาขาวิชาศิลปศาสตร์ (ศศ.บ.) ทั้งนักศึกษาภาคปกติและนักศึกษาตามโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ในวันเสาร์ – อาทิตย์

สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา[แก้]

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูทั่วประเทศได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวิทยาลัยครูว่า สถาบันราชภัฏ ซึ่งเมื่อพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา โดยสมบูรณ์

ในปี พ.ศ. 2536 คณะผู้บริหารสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา ภายใต้การบริหารงานของอธิการบดี รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน ได้ดำเนินการขอใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์บริเวณหนองกระเดือย หมู่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ส่วนขยายของสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา โดยดำเนินการประสานงานกับบุคคลสำคัญของท้องถิ่น ผู้เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อาทิ สภาตำบลหัวไทร ทางการอำเภอบางคล้า ทางการจังหวัดฉะเชิงเทรา กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น จนได้รับการอนุมัติให้ใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ตั้งสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา ศูนย์บางคล้า ตามหนังสือที่ มท 0618 / 11964 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2539

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์[แก้]

ในปี พ.ศ. 2541 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทานนามสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทราว่า สถาบันราชภัฏราชนครินทร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้นำร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นกฎหมายตามความในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 115 ตอนที่ 72 ก เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2541 สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันราชภัฏราชนครินทร์

วันที่ 14 มิถุนายน 2547 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช 2547 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก. สถาบันราชภัฏราชนครินทร์ จึงได้เปลี่ยนสถานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 เป็นต้นมา

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

ตราประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย เป็นรูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักรกลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข 9 รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออก ในรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ และรอบนอกด้านบนมีตัวอักษรภาษาไทยว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ " ด้านล้างมีอักษรภาษาอังกฤษว่า RAJABHAT RAJANAGARINDRA UNIVERSITY

ธงและสี[แก้]

ธงและสีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีขียว และสีเหลือง

ดอกไม้[แก้]

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ดอกสารภี

ตัวอักษรย่อ[แก้]

ชื่อย่อมหาวิทยาลัย ภาษาไทย มรร. : ภาษาอังกฤษ RRU

คติธรรม[แก้]

คติธรรมประจำมหาวิทยาลัย คือ สิกฺเขยฺย สิกฺขิตพฺพานิ หมายถึง พึงศึกษาในสิ่งที่ควรศึกษา

การศึกษา[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์เปิดการเรียนการสอนคลอบคลุมทั้งหมด 5 คณะ 3 สถาบัน บัณฑิตวิทยาลัย และโรงเรียนสาธิต ประกอบไปด้วย

คณะ[แก้]

คณะครุศาสตร์[แก้]

เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 10 สาขาวิชาได้แก่

  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและการศึกษา

คณะวิทยาการจัดการ[แก้]

เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 9 สาขาวิชาได้แก่

  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์
  • สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้]

เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 12 สาขาวิชาได้แก่

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
  • สาขาวิชาอาหารและธุรกิจบริการ
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา (ปริญญาโท)
  • สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ (ปริญญาโท)

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์[แก้]

เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 9 สาขาวิชาได้แก่

  • สาขาวิชานิติศาสตร์บัณฑิต
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาดนตรีสากล
  • สาขาวิชาทัศนศิลป์
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษ์ศาสตร์

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม[แก้]

เปิดการเรียนการสอน 7 สาขาวิชาได้แก่

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกลยานยนต์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติ
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม (ปริญญาโท)

สถาบัน[แก้]

  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
  • สถาบันพัฒนาคุณภาพครู (สพค.)
  • สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

หน่วยงานภายใน[แก้]

  • สำนักงานอธิการบดี เก็บถาวร 2012-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (RRUBI)

ศูนย์[แก้]

  • ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมและท้องถิ่น
  • ศูนย์ภาษา
  • ศูนย์การเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ เก็บถาวร 2010-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ศูนย์เครือข่ายสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

โรงเรียนสาธิต[แก้]

  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

บัณฑิตวิทยาลัย[แก้]

  • บัณฑิตวิทยาลัย

รายนามอธิการบดี[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์มีอธิการบดีมาแล้ว 13 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ รายนามครูใหญ่ วาระการดำรงตำแหน่ง 1. นางสาวชิตพันธ์ นคาวัฒน์ พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2485 2. นางทวี ชุติวงศ์ พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2494 3. นางสาวจรัสสม ปุณณะหิตานนท์ พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2497 รายนามอาจารย์ใหญ่ วาระการดำรงตำแหน่ง 3. นางสาวจรัสสม ปุณณะหิตานนท์ พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2498 4. นางฉวีวรรณ ดุลยจินดา พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2501 5. นายสนอง ศุขสมาน พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2503 6. นายพิษณุ ชัชวาลย์ปรีชา พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2505 7. นายทวีสิน ชุติวงศ์ พ.ศ. 2505 - พ.ศ. 2508 8. นางสาววัชรี พิมพยะจันทร์ พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2515 รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง 8. นางสาววัชรี พิมพยะจันทร์ พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2518 รายนามอธิการ วาระการดำรงตำแหน่ง 8. นางสาววัชรี พิมพยะจันทร์ พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2528 9. นายฉลอง ภิรมย์รัตน์ พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2532 10. รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2538 รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง 10. รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2546 11. ผศ.เอนก เทพสุภรณ์กุล พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2556 12. ผศ.ดร.อุทัย ศิริภักดิ์ พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2559 13. รศ.ดร.ดวงพร ภู่ผะกา 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  • http://rru-comsci.blogspot.com/2008/05/blog-post_08.html
  • http://krusart.rru.ac.th
  • http://human.rru.ac.th)
  • http://fms.rru.ac.th
  • http://science.rru.ac.th
  • http://techno.rru.ac.th
  • http://grad.rru.ac.th

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • มหาวิทยาลัยราชฏัฏราชนครินทร์
  • https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/16419.pdf
  • https://www.komchadluek.net/news/local/415576 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์พ้นจากตำแหน่ง (นายอุทัย ศิริภักดิ์)

มหาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อยู่ที่ไหน

422 ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000.

ม.ราชภัฏราชนครินทร์มีสาขาอะไรบ้าง

เนื้อหา.

3.1 คณะ.

3.2 คณะครุศาสตร์.

3.3 คณะวิทยาการจัดการ.

3.4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

3.5 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

3.6 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม.

3.7 สถาบัน.

3.8 หน่วยงานภายใน.

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์มีกี่แห่ง

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มีสถานที่ปฏิบัติงานดั้งเดิมตั้งแต่เริ่มก่อตั้งอยู่ในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ใกล้วัดโสธรวรารามวรวิหาร ซึ่งประดิษฐานหลวงพ่อพุทธโสธร ใกล้กับกองพันทหารช่างที่ ๒ (ค่ายศรีโสธร) ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีสถานที่ปฏิบัติงานแยกกันเป็น ๓ แห่ง คือ 1.

สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มีอะไรบ้าง

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย เป็นรูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙ เป็นรูป พระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักรกลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออก ในรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ และรอบนอกด้านบนมีตัวอักษรภาษาไทยว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชนครินทร์” ด้านล่างมีอักษร ...