ใบงาน การตั้ง คำถาม และตอบ คำถาม ป. 4

                                                                                         แผนการจัดการเรียนรู้ที่  3   

สิงโตเจ้าปัญญา   การตั้งคำถามและตอบคำถาม   

1      สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

       การอ่าน ฟัง หรือดูเรื่องราวต่างๆ จะต้องตั้งคำถาม และตอบคำถามได้

2      ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

        2.1   ตัวชี้วัด

                     ท 1.1    ป.4/3      อ่านเรื่องสั้นๆ ตามเวลาที่กำหนดและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน

        2.2   จุดประสงค์การเรียนรู้ 

            -   ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับนิทานเรื่อง สิงโตเจ้าปัญญา ได้

3      สาระการเรียนรู้

       3.1   สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                ·   การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น

                 -   นิทาน

       3.2   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

            ·   การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น

                 -   นิทานเรื่อง สิงโตเจ้าปัญญา

4      สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

        4.1   ความสามารถในการสื่อสาร

        4.2   ความสามารถในการคิด

                -   ทักษะการสรุปย่อ

        4.3   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5      คุณลักษณะอันพึงประสงค์

       1.   มีวินัย                           

       2.   ใฝ่เรียนรู้                        

       3.   มุ่งมั่นในการทำงาน

6      กิจกรรมการเรียนรู้

        วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ :  เทคนิคคู่คิด

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

สื่อการเรียนรู้   :   นิทานอีสป

     1.  ครูเล่านิทานเรื่อง กบกับหนู ให้นักเรียนฟัง 1 รอบ แล้วตั้งคำถามและคำตอบจากนิทานเป็นตัวอย่างให้นักเรียนดู เช่น

          -    เพราะเหตุใด กบกับหนูจึงตายทั้งคู่ (เพราะกบตัวเล็ก    ไม่มีแรงพอที่จะพาหนูข้ามลำธาร จึงจมน้ำตาย)

     2.  ครูอธิบายการตั้งคำถามและตอบคำถามจากเรื่องที่ฟัง อ่าน   และดู

ขั้นสอน

สื่อการเรียนรู้   :  

  1.  หนังสือเรียน วรรณคดีฯ ป.4          

  2.  ใบงานที่ 2.2

     1.  นักเรียนอ่านนิทานเรื่อง สิงโตเจ้าปัญญา แล้วฝึกตั้งคำถามและคำตอบจากเรื่องที่อ่าน โดยครูตั้งคำถามและตอบคำถามเป็นตัวอย่างให้นักเรียนดู เช่น

          -    สิงโตเฒ่ามีลักษณะอย่างไร (มีอายุและแก่มาก แต่มีประสบการณ์การเป็นเจ้าป่าและมีความสามารถมาก)

     2.  นักเรียนจับคู่กันตามความสมัครใจ จากนั้นผลัดกันฝึกตั้งคำถามและตอบคำถามนิทานเรื่อง สิงโตเจ้าปัญญา

     3.  นักเรียนแต่ละคู่ผลัดกันตรวจสอบการตั้งคำถามและการตอบคำถาม โดยครูให้คำแนะนำเพิ่มเติม

     4.  นักเรียนแต่ละคู่ร่วมกันทำใบงานที่ 2.2 เรื่อง การตั้งคำถามและตอบคำถาม โดยนักเรียนแต่ละคนคิดหาคำตอบด้วยตนเองจนครบทุกข้อ จากนั้นผลัดกันอภิปรายคำตอบจนได้ข้อสรุป แล้วเขียนคำตอบลงในใบงาน

     5.  ครูสุ่มนักเรียนแต่ละคู่เฉลยคำตอบในใบงานที่ 2.2 โดยให้นักเรียนออกมาอ่านคำถามและคำตอบหน้าชั้นเรียนจนครบทุกข้อ แล้วเก็บรวบรวมใบงานส่งครู

ขั้นสรุป

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้   :   —

คำถามกระตุ้นความคิด

     1.  นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด

     2.  นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับการตั้งคำถามและตอบคำถามจากนิทานเรื่อง สิงโตเจ้าปัญญา

Ÿ    การฝึกตั้งคำถาม และตอบคำถาม จะช่วยให้สรุปสาระสำคัญของเรื่องได้จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด

      (พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ใน   ดุลยพินิจของครูผู้สอน)

7      การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 2.2

ใบงานที่ 2.2

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ประเมินการนำเสนอผลงาน

แบบประเมินการนำเสนอผลงาน

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน

แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

8      สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

        8.1   สื่อการเรียนรู้

            1)  หนังสือเรียน ภาษาไทย : วรรณคดีและวรรณกรรม ป.4

             2)  นิทานอีสปเรื่อง กบกับหนู

             3)  ใบงานที่ 2.2 เรื่อง การตั้งคำถามและตอบคำถาม

        8.2   แหล่งการเรียนรู้

                    

นิทานเรื่อง กบกับหนู

            หนูแก่ตัวหนึ่งเดินทางแรมรอนมาจนถึงลำธารที่ชายป่า หนูต้องการจะข้ามไปยังฝั่งตรงข้าม จึงเข้าไปหาเจ้ากบ    ตัวน้อยที่ริมลำธารแล้วเอ่ยขอให้กบช่วยพาข้ามลำธารด้วย กบน้อยมองหนูแล้วปฏิเสธอย่างสุภาพว่า

            โธ่ ฉันน่ะตัวเล็กพอๆ กับท่าน แล้วจะพาท่านข้ามไปได้อย่างไรกันล่ะจ๊ะ

            แต่หนูไม่ยอม กลับอ้างว่าตนเป็นสัตว์ผู้อาวุโสกว่า ถ้ากบไม่ช่วยตนก็จะไปป่าวประกาศให้สรรพสัตว์ทั้งหลายรู้ถึงความใจดำของกบ

            เมื่อถูกขู่เข็ญเช่นนั้น กบจึงต้องยอมให้หนูเอาเท้าผูกกับเท้าของตน แล้วก็พาว่ายข้ามลำธาร แต่ทว่าพอว่ายไปได้ครึ่งทางเท่านั้น กบก็เริ่มหมดแรง ก่อนที่ทั้งคู่จะจมน้ำตาย เหยี่ยวตัวหนึ่งก็โฉบลงมาจิกเอาทั้งกบและหนูไปกิน

            นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คิดประโยชน์จากผู้ที่ไม่สามารถให้ได้ ย่อมมีแต่เสียหาย

            นิทานอีสป

       ที่มา http://xn--o3cdbi8era7aon.net/p=27

2ื.2  การตั้งคำถามและตอบคำถาม

คำชี้แจง     ให้นักเรียนอ่านออกเสียงนิทานเรื่อง ปลาโลมากับสิงโต และฝึกตั้งคำถามและคำตอบจากเรื่องที่อ่าน

ปลาโลมากับสิงโต

          ปลาโลมากับสิงโตได้ตกลงเป็นเพื่อนร่วมเป็นร่วมตายกัน ครั้นวันหนึ่งสิงโตมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับควายป่า          จนถึงขั้นต่อสู้กัน สิงโตจึงวิ่งมาที่ชายหาดแล้วร้องว่า โลมาเพื่อนยาก ถึงคราวที่ท่านต้องทำตามสัญญาแล้ว ไปช่วยข้า        สู้กับควายป่าด้วยเถิด แต่ปลาโลมาต้องปฏิเสธเพราะไม่สามารถขึ้นบนบกได้ แม้ว่ามีน้ำใจอยากจะช่วยมิตรสหายเพียงใดก็ตาม

          โธ่เอ๋ย! ปลาโลมาเพื่อนทรยศ ไม่สมกับเป็นเจ้าแห่งทะเลเลย

          สิงโตบ่นว่าเพื่อนร่วมสาบาน ปลาโลมาจึงว่า

          “ก็เพราะข้าเป็นใหญ่ในน้ำนะสิ ขึ้นบกไปแล้วข้าก็ทำอะไรไม่ได้ ทำไมท่านไม่เข้าใจเลย

นิทานอีสป

ที่มา  http://xn--o3cdbi8era7aon.net/p=32

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

2.2  การตั้งคำถามและตอบคำถาม

คำชี้แจง     ให้นักเรียนอ่านออกเสียงนิทานเรื่อง ปลาโลมากับสิงโต และฝึกตั้งคำถามและคำตอบจากเรื่องที่อ่าน

ปลาโลมากับสิงโต

          ปลาโลมากับสิงโตได้ตกลงเป็นเพื่อนร่วมเป็นร่วมตายกัน ครั้นวันหนึ่งสิงโตมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับควายป่า          จนถึงขั้นต่อสู้กัน สิงโตจึงวิ่งมาที่ชายหาดแล้วร้องว่า โลมาเพื่อนยาก ถึงคราวที่ท่านต้องทำตามสัญญาแล้ว ไปช่วยข้า        สู้กับควายป่าด้วยเถิด แต่ปลาโลมาต้องปฏิเสธเพราะไม่สามารถขึ้นบนบกได้ แม้ว่ามีน้ำใจอยากจะช่วยมิตรสหายเพียงใดก็ตาม

          โธ่เอ๋ย! ปลาโลมาเพื่อนทรยศ ไม่สมกับเป็นเจ้าแห่งทะเลเลย

          สิงโตบ่นว่าเพื่อนร่วมสาบาน ปลาโลมาจึงว่า

          “ก็เพราะข้าเป็นใหญ่ในน้ำนะสิ ขึ้นบกไปแล้วข้าก็ทำอะไรไม่ได้ ทำไมท่านไม่เข้าใจเลย

นิทานอีสป

ที่มา  http://xn--o3cdbi8era7aon.net/p=32

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

(พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)

แบบประเมิน    การนำเสนอผลงาน

คำชี้แจง :  ให้ ผู้สอน ประเมินการนำเสนอผลงานของนักเรียนตามรายการที่กำหนด  แล้วขีด üลงในช่อง

                  ที่ตรงกับระดับคะแนน

ลำดับที่

รายการประเมิน

ระดับคะแนน

3

2

1

1

นำเสนอเนื้อหาในผลงานได้ถูกต้อง

2

การลำดับขั้นตอนของเนื้อเรื่อง

3

การนำเสนอมีความน่าสนใจ

4

การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม

5

การตรงต่อเวลา

                                                                        รวม

                                                                        ลงชื่อ .................................................... ผู้ประเมิน

                                                                               ................/................/................

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

12 - 15

ดี

18 - 11

พอใช้

ต่ำกว่า 8

ปรับปรุง

เกณฑ์การให้คะแนน

          ผลงานหรือพฤติกรรมสมบูรณ์ชัดเจน                   ให้  3  คะแนน

          ผลงานหรือพฤติกรรมมีข้อบกพร่องบางส่วน         ให้  2  คะแนน

          ผลงานหรือพฤติกรรมมีข้อบกพร่องเป็นส่วนใหญ่  ให้  1  คะแนน

แบบสังเกตพฤติกรรม    การทำงานรายบุคคล

ชื่อ                                                                                 ชั้น                                                    

คำชี้แจง :  ให้ ผู้สอน สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน  แล้วขีด üลงในช่อง

                  ที่ตรงกับระดับคะแนน

ลำดับที่

รายการประเมิน

ระดับคะแนน

3

2

1

1

การแสดงความคิดเห็น

2

การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

3

การทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

4

ความมีน้ำใจ

5

การตรงต่อเวลา

                                                                        รวม

                                                                        ลงชื่อ .................................................... ผู้ประเมิน

                                                                               ................/................/................

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

12 - 15

ดี

18 - 11

พอใช้

ต่ำกว่า 8

ปรับปรุง

เกณฑ์การให้คะแนน

          ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ   ให้    3   คะแนน

          ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง            ให้    2   คะแนน

          ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง             ให้    1   คะแนน

แบบประเมิน   คุณลักษณะอันพึงประสงค์

คำชี้แจง : ให้ ผู้สอน สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน  แล้วขีด üลงในช่อง    ที่ตรงกับระดับคะแนน

คุณลักษณะ

อันพึงประสงค์ด้าน

รายการประเมิน

ระดับคะแนน

3

2

1

1.    รักชาติ ศาสน์

       กษัตริย์

1.1   ยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ ร้องเพลงชาติได้พร้อมบอกความหมายของเพลงชาติได้

1.2   เข้าปฏิบัติตนตามสิทธิและหน้าที่ของนักเรียน

1.3   เข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความสามัคคี ปรองดอง และเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน

1.4   เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตนตามหลักของศาสนาตามโอกาส

1.5   เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ตามที่โรงเรียนและชุมชนจัดขึ้น

2.    ซื่อสัตย์ สุจริต

2.1   ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นจริง

2.2   ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง ละอาย และเกรงกลัวที่จะทำความผิด ทำตามสัญญาที่ตนให้ไว้กับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง และครู

2.3   ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรง

3.    มีวินัย รับผิดชอบ

3.1   ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว        และโรงเรียน มีความตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
ในชีวิตประจำวัน

4.    ใฝ่เรียนรู้

4.1   ตั้งใจเรียนรู้

4.2   เอาใจใส่ในการเรียน และมีความเพียรพยายามในการเรียน

4.3   เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ

4.4   ศึกษาค้นคว้า หาความรู้จากหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีต่างๆ แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม

4.5   บันทึกความรู้ วิเคราะห์ ตรวจสอบบางสิ่งที่เรียนรู้ สรุปเป็นองค์ความรู้

4.6   แลกเปลี่ยนความรู้ ด้วยวิธีการต่างๆ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

คุณลักษณะ

อันพึงประสงค์ด้าน

รายการประเมิน

ระดับคะแนน

3

2

1

5.    อยู่อย่างพอเพียง

5.1   ใช้ทรัพย์สินและสิ่งของของโรงเรียนอย่างประหยัด

5.2   ใช้อุปกรณ์การเรียนอย่างประหยัดและรู้คุณค่า

5.3   ใช้จ่ายอย่างประหยัดและมีการเก็บออมเงิน

6.    มุ่งมั่นในการ

       ทำงาน

6.1   มีความตั้งใจและพยายามในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย

6.2   มีความอดทนและไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรคเพื่อให้งานสำเร็จ

7.    รักความเป็นไทย

7.1   มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

7.2   เห็นคุณค่าและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทย

8.    มีจิตสาธารณะ

8.1   รู้จักช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูทำงาน

8.2   อาสาทำงานให้ผู้อื่น

8.3   รู้จักการดูแล รักษาทรัพย์สมบัติและสิ่งแวดล้อมของห้องเรียน โรงเรียน

8.4   เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของโรงเรียน

                                                                        ลงชื่อ .................................................... ผู้ประเมิน

                                                                               ................/................/................

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

59 - 78

ดี

39 - 58

พอใช้

ต่ำกว่า 39

ปรับปรุง

เกณฑ์การให้คะแนน

             ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ   ให้    3   คะแนน

          ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง            ให้    2   คะแนน

          ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง             ให้    1   คะแนน

          Ÿ  ด้านความรู้

        Ÿ  ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

        Ÿ  ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์                                                              

        Ÿ  ด้านอื่นๆ  (พฤติกรรมเด่น หรือพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคล (ถ้ามี))               

       Ÿ  ปัญหา/อุปสรรค

        Ÿ  แนวทางการแก้ไข

ความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย