ใบ งานที่ 1.1 เรื่อง พุทธ ประวัติ ด้านการบริหารและการ ธำรง รักษา พระพุทธ ศาสนา

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  การปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดีของศาสนา ช่วยส่งเสริมให้ศาสนาสามารถสืบทอดได้สืบไป

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส 1.1 ม.3/7 นำเสนอแนวทางในการธำรงรักษาศาสนาที่ตนนับถือ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. นักเรียนสามารถอภิปราย องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา หน้าที่ชาวพุทธได้

2. นักเรียนสามารถสร้างแนวทางในการปลูกจิตสำนึกด้านการบำรุงวัดและพุทธสถานได้

3. นักเรียนเห็นความสำคัญขององค์กรชาวพุทธ

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

  1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

   1.2 ถาม – ตอบ

  1.3 ทำใบงานที่ 17

 2. เครื่องมือ

   2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

   2.2 คำถาม

   2.3 ใบงานที่ 17

3. เกณฑ์

  3.1 ตอบคำถามถูกต้อง

  3.2 ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ขึ้นไป

การบริหารพระพุทธศาสนา

           ในสมัยพุทธกาล การบริหารคณะสงฆ์ของพระพุทธเจ้ามีลักษณะเป็นประชาธิปไตย โดยเน้นให้พระสงฆ์ปกครองดูแลกันเอง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยในหมู่สงฆ์มีปรากฎดังนี้

           1. พระพุทธเจ้าทรงมอบความเป็นใหญ่ให้แก่คณะสงฆ์ เช่นให้คณะสงฆ์เป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้มาขอบวชและทำพิธีบวชให้ เป็นต้น

           2. พระพุทธเจ้าทรงเคารพในมติของคณะสงฆ์ เมื่อคณะสงฆ์มีมติออกมาอย่างไร พระบรมศาสดาจะเคารพในมตินั้น

           3. พระภิกษุต้องเข้าร่วมในกิจกรรมของคณะสงฆ์ เช่น การประชุมทำอุโบสถสังฆกรรม ทุกครึ่งเดือน

           4. การประชุมคณะสงฆ์ พระภิกษุทุกรูปที่เข้าประชุมมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน มีการใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน

            การมอบฉันทะเมื่อพระภิกษุรูปใดจำเป็นต้องออกจากที่ประชุมเพื่อทำธุระส่วนตัวจะต้องให้ฉันทะก่อน แปลว่าอนุญาตให้การประชุมดำเนินการต่อไปได้ แม้มีการลงมติใด ๆ พระภิกษุรูปนั้นต้องยอมรับในมตินั้น

การธำรงพระพุทธศาสนา

           พุทธจริยาวัตรในการธำรงรักษาพระศาสนาให้ยั่งยืน พระพุทธเจ้าทรงดำเนินการ ดังนี้

           1. การบัญญัติพระวินัยสงฆ์ เพื่อเป็นหลักปกครองคณะสงฆ์และควบคุมความประพฤติของพระภิกษุ โดยเริ่มจากไม่กี่ข้อจนครบสิกขาบท 227 ข้อ มีขั้นตอน ดังนี้

               1) เมื่อมีการกระทำหรือประพฤติตนเสื่อมเสียเกิดขึ้น

               2) เมื่อมีพระภิกษุหรือชาวบ้านนำเรื่องเสื่อมเสียที่เกิดขึ้นมากราบทูลให้ทรงทราบ

               3) ให้นำเรื่องเข้าที่ประชุม พร้อมกับพระภิกษุที่ประพฤติตนเสื่อมเสีย

               4) ตรัสถามเรื่องที่เกิดขึ้น ถ้าได้ความชัดเจนแล้วจะทรงบัญญัติให้เป็นพระวินัยสงฆ์

           2. ทรงกำหนดหน้าที่ให้พุทธบริษัทนำไปปฏิบัติ เรียกว่า "พุทธปณิธาน4" เช่น การศึกษาพระธรรมให้เข้าใจชัดเจนนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง อธิบายขยายความให้คนอื่นเข้าใจ และปกป้องพระพุทธศาสนาเมื่อมีคนมาบิดเบือนหลักคำสอน

           3. ทรงชี้แนะให้ทำสังคยานาพระธรรมวินัย โดยให้หมู่สงฆ์ทำสังคายนาพระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่

           4. ทรงเตือนให้ตระหนักถึงเหตุแห่งความเจริญและความเสื่อมในหลักคำสอน ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติของพุทธบริษัท 4 ดังนี้

              1) มีความเคารพในพระรัตนตรัยหรือไม่

              2) มีความเคารพในการศึกษา หรือฝึกฝนอบรมตามหลักไตรสิกขาหรือไม่

              3) มีความเคารพในความไม่ประมาทหรือไม่

แหล่งอ้างอิง

ชมรมพุทธศาสตร์และประเพณี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วันมาฆบูชา. (ม.ป.ป.). ที่มา : <http://www.kmitl.ac.th/buddhist/tumma/>20 ธันวาคม 2550.

วิทยา ปานะบุตร. คู่มือเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วงชั้นที่ 4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์, 2548.

เหม เวชกร. " สมุดภาพพระพุทธประวัติ," ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา. 28 ตุลาคม 2545. <http://www.rta.mi.th/23102u/narit/20050928- 0835/tipitaka/picture/f01-f80.htm>. 20 ธันวาคม 2550.