การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย คือ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง จากเตียงไปรถเข็นอย่างไร ให้ผู้ป่วยปลอดภัย เพราะถึงแม้จะเป็นผู้ป่วยติดเตียงแต่ไม่จำเป็นต้องอยู่บนที่นอนผู้ป่วยติดเตียงตลอดเวลา ผู้ป่วยที่ยังมีสติและพอจะทรงตัวด้วยตัวเองได้ ก็สามารถเปลี่ยนอิริยาบถไปนั่งบนรถเข็นได้เช่นกัน นอกจากจะช่วยป้องกันแผลกดทับจากการนอนเป็นเวลานานแล้ว ยังช่วยสร้างความผ่อนคลายและเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยติดเตียงกับผู้ดูแลด้วย แต่ก่อนอื่นผู้ดูแลจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกต้องเสียก่อน ซึ่งมีวิธีการหลัก ๆ อยู่ 2 แบบ คือ การเคลื่อนย้ายด้วยตัวเอง และการเคลื่อนย้ายโดยใช้อุปกรณ์เสริม

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียงด้วยตัวเอง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยตัวเอง ผู้ดูแลควรเป็นผู้มีร่างกายแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักจากการประคองร่างกายของผู้ป่วยได้ โดยเริ่มเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามขั้นตอนต่อไปนี้

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย คือ

1. ก่อนเริ่มเคลื่อนย้ายให้แจ้งผู้ป่วยให้ทราบก่อนทุกครั้ง และคอยบอกผู้ป่วยในแต่ละขั้นตอนที่เราทำเพื่อให้ผู้ป่วยรู้ว่าเรากำลังทำอะไร และให้ความร่วมมือกับเรา

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย คือ

2. จัดท่าผู้ป่วยให้นั่งข้างเตียง หากผู้ป่วยนอนหงายอยู่ให้พลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงให้เป็นท่านอนตะแคงมาด้านที่อ่อนแรงกว่า จากนั้นจับขาลงข้างเตียงทั้ง 2 ข้าง แล้วใช้มือข้างหนึ่งสอดเข้าบริเวณใต้คอโอบไปทางหัวไหล่อีกข้างของผู้ป่วย และมืออีกข้างหนึ่งจับบริเวณสะโพกของผู้ป่วย ใช้แรงพยุงผู้ป่วยลุกขึ้นนั่ง จับขาผู้ป่วยให้วางราบที่พื้น หากเท้ายังไม่ถึงพื้น ให้ค่อย ๆ ขยับก้นผู้ป่วยจนเท้าถึงพื้น และจัดท่านั่งให้ผู้ป่วยโดยนำมือผู้ป่วยยันไปด้านหลังทั้ง 2 ข้าง

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย คือ

3. จากนั้นนำรถเข็นมาด้านที่ผู้ป่วยมีแรง หรืออ่อนแรงน้อยกว่า โดยทำมุม 45 องศากับที่นอน ล็อคล้อเพื่อป้องกันรถเข็นลื่นไถลให้เรียบร้อย

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย คือ

4. เคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปรถเข็น เริ่มจากใช้เท้าของเราล็อคด้านนอกของขาผู้ป่วยข้างที่อ่อนแรง นำแขนผู้ป่วยมากอดคอเราแล้วให้ผู้ป่วยใช้มือข้างที่มีแรงมากกว่าจับข้อมืออีกข้างไว้ให้แน่น เพื่อเป็นการล็อค จากนั้นจับที่ขอบกางเกง** หรือเข็มขัดช่วยพยุงของผู้ป่วย พร้อมทั้งออกแรงช่วยพยุงผู้ป่วยขึ้นยืนและค่อย ๆ หมุนตัวผู้ป่วยให้ก้นหันไปทางรถเข็น เมื่อหันเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ป่วยโน้มตัวเข้าหาเรา งอเข่าเพื่อที่จะค่อย ๆ หย่อนก้นลงบนรถเข็น

*ในการหมุนตัวผู้ป่วยลงนั่งบนรถเข็น หากผู้ป่วยมีรูปร่างเล็กกว่าผู้ดูแลมาก ผู้ดูแลอาจทำการหมุนกึ่ง ๆ ยกตัวผู้ป่วยให้นั่งลงบนรถเข็นได้เลย หรืออาจใช้แป้นหมุนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (Pivot Disc) ในการช่วยผ่อนแรงการหมุน

**ขอบการเกงผู้ป่วยในการเคลื่อนย้ายไม่ควรเป็นแบบยางยืด แต่ควรเป็นแบบพอดีตัวกับผู้ป่วย เพื่อให้การยกตัวผู้ป่วยเป็นไปอย่างสะดวก หากเป็นแบบยางยืดอาจะใช้เข็มขัดช่วยพยุงตัว หรือใช้ผ้าคาดเอวมาช่วย

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย คือ

5. เคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากรถเข็นกลับมาที่เตียง เริ่มจากนำรถเข็นกลับมาจอดด้านที่ผู้ป่วยอ่อนแรงกว่า โดยให้รถเข็นทำมุม 45 องศากับที่นอนพร้อมล็อคล้อให้เรียบร้อย จากนั้นสอดขาของผู้ดูแลระหว่างขาทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วยแล้วให้ผู้ป่วยนำมือมากอดคอผู้ดูแลไว้เหมือนตอนลุกจากเตียง เมื่อพร้อมแล้วก็ทำการพยุงตัวผู้ป่วยขึ้นยืนด้วยการจับที่ขอบกางเกง หรือเข็มขัดช่วยพยุงของผู้ป่วย หมุนตัวผู้ป่วยให้นั่งลงบนเตียง พร้อมทั้งจัดท่านั่งให้ผู้ป่วยให้เรียบร้อย

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย คือ

6. ปรับท่าให้ผู้ป่วยนอนบนที่นอนป้องกันแผลกดทับให้เรียบร้อย เมื่อผู้ป่วยนั่งบนเตียงเรียบร้อยแล้ว ให้นำแขนข้างที่พอมีแรงของผู้ป่วยข้ามไปแตะที่ที่นอนอีกด้าน จากนั้นผู้ดูแลต้องประคองที่หัวไหล่ข้างที่อ่อนแรง และสะโพกข้างที่มีแรงของผู้ป่วยเพื่อประคองผู้ป่วยให้ค่อย ๆ เอนลงนอนตะแคง จากนั้นจัดขาขึ้นบนที่นอนให้เรียบร้อย แล้วพลิกผู้ป่วยกลับท่านอนหงายเหมือนเดิม

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย คือ

การเคลื่อนย้ายโดยใช้อุปกรณ์เสริม

อุปกรณ์สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียงมีอยู่หลายชนิด เช่น ผ้ายกตัวผู้ป่วย แป้นหมุนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย บอร์ดเคลื่อนย้าย เครื่องยกตัว เป็นต้น ซึ่งมีระดับราคาและคุณภาพแตกต่างกันไป การเลือกใช้อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยควรเลือกใช้แบบที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล และความสามารถของผู้ดูแล เช่น

  • ผ้ายกตัวผู้ป่วย เบาะยกตัวผู้ป่วย ไม่ควรใช้หากต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว เพราะอาจจะทำการยกตัวผู้ป่วยเป็นไปได้ยาก
  • แป้นหมุนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (Pivot Disc) ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก หรือไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย นอกจากจะใช้พร้อมกับมีผู้ดูแลช่วยเหลือ
  • บอร์ดเคลื่อนย้ายเหมาะกับผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่ง และให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลได้
  • หากต้องดูแลผู้ป่วยด้วยตัวคนเดียวแล้วไม่มีกำลังมากพอ การใช้เครื่องยกตัวอาจเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด เป็นต้น

เข้าสู่ระบบ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีอะไรบ้าง

2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสองคน วิธีที่ 1 อุ้มและยก เหมาะสำหรับผู้ป่วยรายในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บของลำตัว หรือกระดูกหัก.
3. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสามคน วิธีที่ 1 อุ้มสามคนเรียง เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว ต้องการอุ้มขึ้นวางบนเตียงหรืออุ้มผ่านทางแคบๆ.

ข้อใดคือความสำคัญของการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยอย่างปลอดภัยมีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องใด ลดอาการบาดเจ็บ ป้องกันการสูญเสียชีวิต ป้องกันความพิการ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 3 คน เหมาะกับผู้ป่วยแบบใด

วิธีที่ 1 อุ้มสามคนเรียงเหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว ต้องการอุ้มขึ้นวางบนเตียงหรืออุ้มผ่านทางแคบๆ วิธีเคลื่อนย้ายผู้ช่วยเหลือทั้งสามคนคุกเข่าเรียงกันในท่าคุกเข่าข้างเดียว ทุกคนสอดมือเข้าใต้ตัวผู้ป่วย และอุ้มพยุงไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังนี้