สงครามโลกครั้งที่ 1 มีใครบ้าง


***���ʧ�����š���駷�� 1 (�.�. 1914)
*ʧ�����š���駷�� 1 �����˵��Ҩҡ 4 ��С�� ���
1. ����觢ѹ�ҧ���ɰ�Ԩ ����Ӥѭ��� ����觢ѹ�����ҧ�ѧ��ɡѺ�����ѹ
2. ��÷���������������ͧ�ҳҹԤ� ���� �.�. ��� 19 ���û��ҧ�觢ѹ��ǧ�ԧ�ҳҹԤ����ͨѡ���ôԢͧ�� ��觡������Դ����ᵡ���������ҧ�ҵԢ�� ��
-�ѧ��ɡѺ�����ѹ ����ͧ�Ϳ�ԡҵ��ѹ�͡����Ϳ�ԡҵ��ѹ����§��
-�ѧ��ɡѺ������� ����ͧ������������
-�ѧ��ɡѺ������ ����ͧ�����������ҿ�ҹ�ʶҹ
-�����ѹ�Ѻ������� ����ͧ���������Ϳ�ԡҵ��ѹ��
3. �к��Ҥվѹ��Ե� ������� 2 ���¤��
- �ѭ�����Ҥ� ��Сͺ���� ������� ������� - �ѧ���� ����Ե���
- �ѭ���þѹ��Ե� ��Сͺ���� �ѧ��� ������� ���������
4. ������ѹ����ͷ��ҹ���¤�������֡�ҧ�ҵԹ���
*** �ԡĵԡ�����������
*���˵ػѨ�غѹ�ͧʧ�����š���駷�� 1 ��������Դ�ҡ����ͺ�ŧ��Ъ��� �Ҫ��꡿�ҹ��� ����Թҹ�� ���������� ���½���ͧ͢�ѡ�֡�Һ���������������� ���� ������� ��Թ�Ի ��������� ���ͧ��ǧ�ͧ��鹺�����
**� �.�. 1917 �繪�ǧ����ԡ��ʧ�������û��ʧ�����š �������˵ء�ó��Ӥѭ 2 ��С�ä�� ��û���ѵ������� ��С���������ʧ�����ͧ���Ѱ
* ʧ�����š�ص�ŧ����ʹ���ѭ���ѹ���Ҿ�������� �����仵����ѡ 14 ��С�� �ͧ��иҹҸԺ�մ�����ѹ �ͧ���Ѱ� ���ʹ���ѭ�����������ͷ�� 1 ������Դ "�ѹ�Ժҵ��觻�ЪҪҵ�"

*�Ţͧʧ�����š���駷�� 1
1. Ἱ���ͧ���û����¹� ���С���������¢ͧ�ѡ��ôԷ�����
2. ��������ɰ�Ԩ����Ӥ����˭�����š 㹢�з�����Ѱ� ���������˹������˭�ͧ���û

*���������ѧʧ�����š���駷�� 1
�������������¹�ŧ��û���ͧ�ҡ�к���ѵ���������Ҹ�ó�Ѱ �Ѱ��Ŷ١���ըҡ�ǡ����������Ҿ���ɰ�Ԩ����� ������� ʹ��� �Ե����� ���Ӿ�ä�ç�ҹ�ѧ��������觪ҵ������ѹ (NAZI) ����չ�º����ѡ价ҧ�ҵԹ��� ����������¿�鹿������ѹ�������Ҿ����͹��͹ (��������繽�����ʧ�����š���駷�� 1) ��зӡ������ʹ���ѭ��������������ա��ŧ�ɻ���ȷ����ʧ�������ҧ����繸����ҡ��º�´ѧ����Ƿ���������Ѻ�������� ��з��Ѱ��������������͹���Ҥ� �� 1933


(�շ�����١��͢ع �Ԫ� ���¸������ѹ��)


Show

สงครามโลกครั้งที่ 1 มีใครบ้าง

‘ถ้าให้พูดชื่อสงครามมาสักหนึ่งชื่อ เพื่อน ๆ จะนึกถึงสงครามไหน ???’ 

จากบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์ (และวิชาอื่น ๆ เช่นภาษาไทย) เราเชื่อว่าเพื่อน ๆ ต้องเคยได้ยินชื่อของสงครามกันมาบ้างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นสงครามระดับภูมิภาคของไทยและอาณาจักรเพื่อนบ้าน ที่ปรากฎให้เราเห็นผ่านวรรณคดี เช่น ลิลิตตะเลงพ่าย หรือจะเป็นสงครามใหญ่ที่มีหลายประเทศเข้ามาพัวพันอย่างสงครามโลก ในวันนี้บทเรียนออนไลน์จาก StartDee จะพาเพื่อน ๆ ไปสำรวจจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งแรกที่เกิดขึ้นในโลกของเราว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วล่ะก็ไปดูพร้อม ๆ กันเลย !

สงครามโลกครั้งที่ 1 มีใครบ้าง

สรุปสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน 4 บรรทัด !

สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 - 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ของไทย รวม ๆ แล้วกว่าสงครามจะสิ้นสุดก็ใช้เวลายาวนานถึง 4 ปี แม้ว่าสงครามโลกจะเป็นประเด็นยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ แต่ประวัติศาสตร์โลกฉบับไม่ง่วง (The Mental Floss History of the world) ที่คุณ  Eric Sass และ Steve Wiegand เขียนไว้กลับสรุปเรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่ 1 ไว้อย่างน่าสนใจภายใน 4 บรรทัดว่า…

“อาร์คดยุกถูกยิง ประเทศต่าง ๆ เลือกข้างและเข้าสู่สงคราม อาวุธร้ายกาจถูกงัดออกมาใช้ คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก โรคร้ายฆ่าคนเพิ่มอีก ทุกคนต่างเหน็ดเหนื่อยจากการสู้รบและเห็นดีเห็นงามที่จะยุติ จักรวรรดิล่มสลายและเผด็จการเฟื่องฟู”

เอาล่ะ !!! มาถึงจุดนี้หลายคนคงเริ่มเห็นภาพรวมทั้งหมดของสงครามโลกครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็รู้สึกว่าอ่านแค่นี้ก็พอ ไม่อ่านต่อแล้วจ้า เย้ย !!! ไม่ใช่ซะหน่อยเพราะสงครามโลกครั้งที่ 1 ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะแยะเลยน่ะสิ 

เริ่มจากไปสำรวจสถานที่เกิดเหตุและตัวละครหลักแต่ละตัวกันก่อนดีกว่า !

โลกในต้นศตวรรษที่ 20 เป็นอย่างไร: สำรวจบริบทของโลกเพื่อทำความเข้าใจสงครามโลกครั้งที่ 1

ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 1 จะปะทุขึ้น เราอยากชวนเพื่อน ๆ ไปดูบริบทการปกครองของประเทศต่าง ๆ ในโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 กันก่อน ช่วงเวลานั้นโลกของเราเป็น ‘ยุคของจักรวรรดิและการล่าอาณานิคม’ ประเทศต่าง ๆ ในยุคนั้นล้วนถูกปกครองโดยระบอบกษัตริย์ที่มีอำนาจ (แถมไม่ได้มีอำนาจแค่ในแผ่นดินของตนเอง แต่ยังแผ่ขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ด้วย) ไม่ว่าจะเป็นจักรวรรดิอังกฤษที่เรืองอำนาจจนได้สมญานามว่า ‘จักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน’ เพราะไม่ว่าพระอาทิตย์จะส่องแสงไปยังส่วนไหนของโลก หนึ่งในนั้นจะต้องมีอาณานิคมของอังกฤษรวมอยู่ด้วยเสมอ นอกจากนี้ยังมีจักรวรรดิอื่น ๆ อีก เช่น จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิออตโตมัน และจักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี ซึ่งจักรวรรดิเหล่านี้ล้วนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งสิ้น

สงครามโลกครั้งที่ 1 มีใครบ้าง

French plans for Europe after a victory over the Central Powers in the first World War, 16 February 2010. Wikimedia Commons.

ยิ่งมีประเทศในอาณานิคมมาก จักรวรรดิก็ยิ่งแข็งแกร่ง การมีประเทศในอาณานิคมทำให้เจ้าอาณานิคมได้ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและจุดยุทธศาสตร์ดี ๆ ในการเดินเกมสงคราม ด้วยเหตุนี้ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จักรวรรดิต่าง ๆ ในยุโรปจึงมุ่งมั่นตั้งใจขยายดินแดนกันอย่างไม่หยุดหย่อน ความเจริญก้าวหน้าของแต่ละจักรวรรดินำไปสู่การแข่งขันทางอำนาจในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม รวมถึงเทคโนโลยีทางการทหารและการสงครามด้วย

มาเป็นเพื่อนกันเถอะ (หรือจะเป็นญาติด้วยก็ดีนะ !)

แต่แข่งกันอย่างเดียวคงไม่ไหว หลาย ๆ จักรวรรดิจึงพร้อมใจเจริญไมตรีและเมคเฟรนด์เพื่อสร้างพันธมิตรไปด้วย ซึ่งวิธีการเจริญสัมพันธไมตรีก็มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการค้า การให้การสนับสนุนด้านกำลังทหาร หรือจะเป็นการแต่งงานเพื่อเกี่ยวดองกันเป็นเครือญาติก็เป็นที่นิยมมาก ยกตัวอย่างในอดีตที่พระนางมารี อังตัวเน็ตจากราชวงศ์ออสเตรียถูกส่งไปอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (ก่อนที่ฝรั่งเศสจะเกิดการปฏิวัติ กลายเป็นสาธารณรัฐที่ปกครองโดยประธานาธิบดีในเวลาต่อมา) ด้วยเหตุนี้หลาย ๆ จักรวรรดิจึงมีความสัมพันธ์กันฉันท์เครือญาติ (แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งกันไม่ได้อยู่ดี) โดยกลุ่มมหาอำนาจหลัก ๆ ในยุคนั้นจะมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ

1. ไตรภาคี (Triple Entente) ได้แก่ จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิรัสเซีย และสาธารณรัฐฝรั่งเศส 
2. ไตรพันธมิตร (Triple Alliance) ได้แก่ จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี และอิตาลี

ซึ่งความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติและการเจริญไมตรีของจักรวรรดิเหล่านี้จะส่งผลอย่างมากต่อความร่วมมือ และการรับมือกับความขัดแย้งที่จะตามมาในอนาคต

ภัยความมั่น (คง): ชนวนสงคราม ความขัดแย้ง และสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

ออสเตรีย - ฮังการีเป็นจักรวรรดิที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวเช็ก (Czech) ชาวสลาฟ (Slovaks) ชาวโปแลนด์ (Poles) ชาวยูเครน (Ukrainians) ชาวรูเมเนีย (Romanians) ชาวโครแอต (Croats) ชาวสโลวีน (Slovenians) ชาวอิตาลี (Italians) และชาวเซิร์บ (Serbs) ความขัดแย้งเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อชาวสลาฟเริ่มเรียกร้องอิสระและต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากจักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี (เพื่อไปรวมกับเซอร์เบียที่เป็นเอกราชแล้วในเวลานั้น) แต่จักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการีก็ไม่ยอมง่าย ๆ 

ในความขัดแย้งนี้ชาวสลาฟได้รับการหนุนหลังจากเซอร์เบียให้ก่อการกบฎ (และเซอร์เบียก็มีรัสเซียคอยซัปพอร์ตอยู่อีกที*) จนในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เรื่องไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อนายกัฟรีโล ปรินซีฟ (Gavrilo Princip) ผู้ก่อการร้ายชาวบอสเนีย เชื้อสายเซิร์บลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุก ฟรานซ์ เฟอร์ดินาน แห่งออสเตรีย (Archduke Franz Ferdinand of Austria) และดัชเชสโซฟี แห่งโฮเอนเบิร์ก (Sophie, Duchess of Hohenberg) พระชายาของพระองค์ด้วยอาวุธปืนขณะทั้งสองเสด็จเยือนกรุงซาราเยโว (Sarajevo) จากเหตุการณ์นี้ทำให้จักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการีเริ่มใช้กลยุทธ์ทางการฑูตมากดดันเซอร์เบีย ส่วนเซอร์เบียก็ปฏิเสธการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

นี่เป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้เด็ดขาด กระทบภัยความมั่นสุด ๆ (ความมั่นคงน่ะ) ออสเตรียจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบียทันที

*ทั้งเซอร์เบียและรัสเซียก็ล้วนแต่เป็นชาวสลาฟ จึงรักและสนับสนุนกันอย่างดี

 

พันธมิตรที่ไม่ได้พากย์ไทย: ฝ่ายมหาอำนาจกลางและฝ่ายพันธมิตรคือใครกันนะ ?

เมื่อรัสเซียประกาศตัวสนับสนุนเซอร์เบีย เยอรมนีก็ไม่น้อยหน้า ออกมาสนับสนุนจักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการีเช่นกัน โดยในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 1 กลุ่มประเทศที่มีบทบาทในสงครามจะมีอยู่ 2 ฝ่ายหลัก ๆ คือ

1. ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central power) ได้แก่ จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี บัลแกเรีย และจักรวรรดิออตโตมัน
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ได้แก่ จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิรัสเซีย และสาธารณรัฐฝรั่งเศส

 
สงครามโลกครั้งที่ 1 มีใครบ้าง

1914 - Warring powers in Europe. Alphahistory.com

นอกจากนี้ยังมีประเทศที่วางตัวเป็นกลางในช่วงแรก แต่ก็ตัดสินใจเข้าร่วมสงครามในภายหลังด้วย เช่น สหรัฐอเมริกาที่กลายมาเป็นตัวแปรสำคัญในช่วงหลังของสงครามโลกครั้งที่ 1 และหลังจากที่สงครามดำเนินไปกว่า 3 ปี สยามที่ ‘รักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด’ ก็ประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 โดยมีการส่งทหารอาสาไปประจำแนวรบด้านตะวันตก ส่งกองบินเข้าร่วมฝึก รวมถึงการส่งเสบียงอาหารและยุทธภัณฑ์ไปร่วมด้วย การตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้ทำให้สยามได้รับการยอมรับมากขึ้นในฐานะประชาคมโลก และการเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรก็ช่วยเปิดทางไปสู่การยกเลิกสนธิสัญญาหลาย ๆ ฉบับ เช่น สนธิสัญญาเบาว์ริงที่ทำให้สยามเสียเปรียบด้านการค้ากับตะวันตกอยู่มาก

ขุด ๆๆๆ: เหตุการณ์สำคัญและการแนวทางการรบในสงครามโลกครั้งที่ 1

แผน Schlieffen: ยกทัพอ้อม ๆ แต่ได้คู่สงครามเพิ่มแบบตรง ๆ

จักรวรรดิเยอรมนีเริ่มการรบด้วยแผน Schlieffen โดยการยกทัพผ่านเบลเยียมเพื่อไปโจมตีฝรั่งเศส แต่เบลเยียมในขณะนั้นก็มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับอังกฤษ (เนื่องจากกษัตริย์เบลเยียมเป็นพระญาติกับราชวงศ์อังกฤษ​อยู่) อังกฤษจึงไม่พอใจมาก ๆ และตัดสินใจประกาศสงครามกับจักรวรรดิเยอรมนีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 

สงครามสนามเพลาะและแนวรบที่ไม่จบสิ้น

หลังจากเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเป็นทางการ การสู้รบก็เกิดขึ้นบนแนวการสู้รบที่ยาวกว่า 300 ไมล์ (ประมาณ 483 กิโลเมตร) ในสงครามโลกมีแนวรบที่สำคัญอยู่หลายจุด เช่น ‘แนวรบด้านตะวันตก (Western front)’ ซึ่งเป็นแนวรบระหว่างเยอรมนีและฝรั่งเศสที่ขึ้นชื่อเรื่องความโหดร้ายทารุณ ส่วนแนวรบอีกด้านคือ ‘แนวรบด้านตะวันออก (Eastern front)’ ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างเยอรมนีและรัสเซีย นอกจากนี้กรุงวอร์ซอ (Warsaw)* ที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัสเซียในช่วงนั้นก็ถือเป็นสมรภูมิรบสำคัญอีกแห่งหนึ่ง

*ในการรบครั้งนั้นเยอรมนีได้ช่วงชิงดินแดนในกรุงวอร์ซอไปได้ ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 1 จะจบลง โปแลนด์แยกตัวออกมา และกรุงวอร์ซอก็กลายมาเป็นเมืองหลวงของโปแลนด์ในปัจจุบัน

สงครามโลกครั้งที่ 1 มีใครบ้าง

Cheshire Regiment trench near La Boiselle, July 1916. Wikimedia Commons

การต่อสู้ของเหล่าทหารดำเนินไปใน ‘สนามเพลาะ’ ซึ่งมี ‘การขุดหลุม’ เพื่อซุ่มโจมตีเป็นเอกลักษณ์ การต่อสู้จึงเป็นไปในลักษณะผลัดกันผลุบโผล่เพื่อยิงสลับกันไปมา นอกจากนี้ทหารที่อยู่ในหลุมยังต้องคอยหลบอาวุธและระเบิดที่ถูกขว้างปามาจากฝ่ายตรงข้าม คอยรับมือกับแมลงสัตว์ที่รุมกัดต่อย โรคติดต่อที่เกิดจากสภาวะไม่ถูกสุขอนามัย ไหนจะฝนที่ตกน้ำท่วมหลุมอีก การหลบอยู่ในหลุมแบบนี้ทำให้การรบไม่ค่อยคืบหน้า สงครามจึงยืดเยื้อ สร้างความท้อแท้และส่งผลต่อสภาพจิตใจของทหารอย่างมาก 40% ของทหารที่เข้าร่วมรบต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยทางจิต เช่น โรคเครียดหลังประสบเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD: Post Traumatic Stress Disorder) หรือภาวะการสะท้านจากระเบิด (Shell shock) ที่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงก็มีรายงานผู้ป่วยกว่า 80,000 เคส

สมรภูมิรบทางทะเล

นอกจากการสู้รบในสนามเพลาะยังมีการสู้รบทางเรือด้วย สมรภูมิรบหลักอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก โดยเยอรมนีใช้แผนการรบแบบไม่จำกัดเขต (Unstricted submarine warfare) ซึ่งเป็นการโจมตีเรือโดยไม่บอกกล่าวก่อนตามธรรมเนียมการสู้รบทางเรือ มีการส่งเรือดำน้ำไปประจำรอบเกาะอังกฤษ ส่งผลให้การค้าและการขนส่งของอังกฤษเป็นไปอย่างยากลำบาก แต่การใช้แผนการรบแบบไม่จำกัดเขตของกองทัพเยอรมนีในครั้งนี้ก็ทำให้จุดพลิกผันของสงครามโลกครั้งที่ 1 มาถึง

ยิงผิดชีวิตเปลี่ยน: จุดเปลี่ยนของสงครามโลกครั้งที่ 1

“This is a war to end all wars”

นี่คือสงครามที่จะยุติสงครามทั้งหมด

— Woodrow Wilson

หลังจากวางตัวเป็นกลางมากว่า 2 ปี เมื่อเรือดำน้ำของเยอรมันโจมตีเรือ RMS Lusitania ซึ่งเป็นเรือเดินสมุทรสัญชาติอังกฤษที่มีชาวอเมริกันโดยสารไปด้วยกว่า 100 คน เมื่อรวมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดการสู้รบในมหาสมุทรแอตแลนติก และประเด็นด้านความมั่นคงอื่น ๆ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1917 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันและสภาคอนเกรสก็ตัดสินใจพาสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1 มีใครบ้าง

การเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรของสหรัฐอเมริกากลายเป็นจุดพลิกผันสำคัญของสงคราม เพราะการถูกรายล้อมไปด้วยศัตรูรอบด้านทำให้เยอรมนีในตอนนี้สู้ไม่ไหวแล้วจริง ๆ จนต้องประกาศสงบศึก ส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยชนะเหนือฝ่ายมหาอำนาจกลางในท้ายที่สุด

สงครามสิ้นสุด สันติภาพบังเกิด (ไหมนะ ???): ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1

8 มกราคม ค.ศ. 1918 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับสันติภาพของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งสรุปออกมาได้เป็นหลักการ 14 ข้อ (The Fourteen Points) ซึ่งกลายเป็นหลักการของสนธิสัญญาแวร์ซาย (The Treaty of Versailles) ในเวลาต่อมา เมื่อเยอรมนียอมลงนามในสนธิสัญญาสงบศึก (Armistice) ในวันที่  11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918  จากนั้นในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1919 (ประมาณหนึ่งปีต่อมา) ก็มีการเซ็นสนธิสัญญาแวร์ซาย ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเป็นทางการ รวมเป็นระยะเวลากว่า 5 ปีหลังจากการลอบสังหารอาร์คดยุก ฟรานซ์ เฟอร์ดินานแห่งออสเตรีย

สงครามโลกครั้งที่ 1 มีใครบ้าง

League of Nations (Society Des Nations). Wikimedia Commons

จากหลักการข้อที่ 14 ของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จึงถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อความสงบสุขของประชาคมโลก โดยกติกาสัญญาของสันนิบาตชาตินั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาแวร์ซาย และสยามเองก็เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติเช่นกัน

บทสรุปของสงครามโลกครั้งที่ 1 และปฐมบทสู่สงครามโลกครั้งที่ 2

กว่าสงครามจะจบลง ประเทศที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งก็สูญเสียทหารไปมากกว่า 8.5 ล้านคน บาดเจ็บอีกกว่า 21 ล้านคน มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นรวมเป็นมูลค่ากว่า 186 พันล้านเหรียญสหรัฐ ผลจากสงครามโลกทำให้เกิดการล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการีก็แยกตัวกลายเป็นออสเตรีย ฮังการี เชโกสโลวาเกีย และยูโกสลาเวีย ส่วนจักรวรรดิรัสเซียก็เกิดการปฏิวัติและแยกดินแดน กลายเป็นเอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ในเวลาต่อมา รวม ๆ แล้วยุโรปตะวันออกจึงมีประเทศเกิดใหม่กว่า 9 ประเทศ

ส่วนจักรวรรดิเยอรมนีเองก็ต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนเงินมหาศาล และยังสูญเสียอำนาจการปกครองเหนือดินแดนต่าง ๆ ที่เคยครอบครอง (เช่นแอฟริกา) ให้กับฝรั่งเศสและอังกฤษด้วย นอกจากนี้การเซ็นสัญญา (ที่ไม่ค่อยเป็นธรรม) หลายฉบับก็สร้างความไม่พอใจแก่ประเทศผู้แพ้สงคราม และกลายเป็นชนวนสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลาต่อมา

เรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเป็นอย่างไรต้องรอติดตามในบทความ สงครามโลกครั้งที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาสังคมศึกษา แล้วล่ะ แต่ถ้าเพื่อน ๆ อยากเรียนในรูปแบบวิดีโอ ก็สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee มาเรียนกันก่อนได้เลย หรือจะเรียนรู้ผ่าน 10 หนังประวัติศาสตร์ก็ได้นะ รับรองไม่น่าเบื่อ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:

  1. อิทธิพล จัฒนาวงค์ (ครูจั๊มป์)
  2. สุรรังสรรค์ ผาสุขวงษ์ (ครูกอล์ฟ)

Reference:

BBC. (2004, March 3). Shell Shock. BBC Inside Out. http://www.bbc.co.uk/insideout/extra/series-1/shell_shocked.shtml. 

Butterworth , B. R. (2020, November 3). What World War I taught us about PTSD. The Conversation. https://theconversation.com/what-world-war-i-taught-us-about-ptsd-105613. 

Sass, E., & จันทร สุวิชชา. (2561). The empires strike out จักรวรรดิล่มสลาย. In ประวัติศาสตร์โลกฉบับไม่ง่วง (The Mental Floss History of the world) (pp. 383–423). essay, abook. 

ขำเลิศสกุล เผด็จ. (2017, July 22). ครบรอบ 100 ปี สยามเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1: ย้อนรอยการเลือกข้างเพื่อความอยู่รอด. BBC News ไทย. https://www.bbc.com/thai/thailand-40670894.