ยุโรปสมัยกลางเริ่มต้นเมื่อใด

             เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง 

สงครามร้อยปี

ยุโรปสมัยกลางเริ่มต้นเมื่อใด


เป็นสงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1337 และสิ้นสุดในค.ศ. 1453 ซึ่งรวม แล้วเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี โดยเหตุการณ์นี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงรูป แบบการปกครองทางการเมือง และ สังคมในสมัยกลางอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของความ เป็นรัฐชาติสมัยใหม่ 

          สาเหตุของสงคราม มีหลายประการ คือ

          1.ความขัดแย้งในเรื่องดินแดนระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส 

          2.สิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส เนื่องจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 มี พระราชมารดาเป็นเจ้าหญิงฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1324 พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส สนิ้พระชนม์โดย ไม่มีทายาท ทำให้ราชวงศ์กาเปเชียงสายตรงต้องสิ้นสุดลง พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้า ชาลส์ที่ 4 เป็นพระญาติชายที่ใกล้ชิดที่สุดทางสายพระโลหิต จึงเป็นผู้มีสิทธิจะครองบัลลังก์มากที่สุด แต่ขุนนางฝรั่งเศสไม่ต้องการให้กษัตริย์อังกฤษมาปกครองฝรั่งเศส จึงอ้างกฏบัตรซาลลิคของชนแฟรงก์โบราณว่า การสืบสันติวงศ์จะต้องผ่านทาง ผู้ชายเท่านั้น และให้ฟิลิปเคานท์แห่งวาลัวส์ ที่สืบเชื้อสายจาก พระเจ้าฟิลิปที่ 3 ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 6 เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์วาลัวส์ ซึ่งเป็นสาขาของราชวงศ์กาเปเชียง

          ในค.ศ. 1331 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 ทรงยินยอมที่จะสละสิทธิ์ ในบัลลังก์ฝรั่งเศสทั้งมวลแต่ครองแคว้นกาสโคนีในค.ศ. 1333 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงทำสงครามกับสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสตามสัญญาพันธมิตรเก่า (Auld Alliance ) ทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 6 ทรงเห็นเป็นโอกาสจึงนำทัพบุกยึด แคว้นกาสโคนี แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงปราบปราม สกอตแลนด์อย่างรวดเร็ว  ตอบโต้พระเจ้าฟิลิปได้ทัน 6 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3

          3. อังกฤษต้องการที่จะผนวกสกอตแลนด์ แต่สกอตแลนด์ได้รับการ สนับสนุนจากฝรั่งเศสให้ต่อต้าน อังกฤษ ทำาให้อังกฤษไม่พอใจ

          4. ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ ฝรั่งเศสได้ขัดขวางการค้าระหว่าง อังกฤษกับแคว้นฟลานเดอร์ (เบลเยี่ยมในปัจจุบัน) และขัดขวางอังกฤษในการครองแคว้นกาสโกนีเพื่อเป็นศูนย์กลางทางการค้า

          5. กษัตริย์ทั้งสองประเทศกำาลังประสบปัญหาการขยายอำนาจของ เหล่าขุนนาง จึงต้องการใช้ สงครามดึงความสนใจของขุนนางและประชาชน 

          สถานการณ์ของกองทัพเรือของฝรั่งเศษสามารถโจมตีเมืองท่าอังกฤษได้หลายที่ แต่ลมก็เปลี่ยนทิศเมื่อทัพเรือฝรั่งเศสถูกทำาลายล้างในการรบที่สลุยส์ (Sluys) ใน ค.ศ. 1341 ตระกูลดรือซ์แห่งแคว้นบรีตตานีสญูสิ้น พระเจ้าเอ็ดวาร์ดและพระเจ้าฟิลิปจึงสู้รบกันเพื่อให้คนของตนได้ ครองแคว้น บรีตตานี ในค.ศ. 1346 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงสามารถ ขึ้นบกได้ที่เมืองคัง (Caen) ในนอร์มังดี เป็นที่ตกใจแก่ชาวฝรั่งเศส พระเจ้าฟิลิปแต่งทัพไปสู้ แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงหลบหนีไปประเทศ ภาคตำ่า (Low Countries) ทัพฝรั่งเศสตามมาทัน แต่พ่ายแพ้ยับเยิน ที่การรบที่เครซี (Crécy) ทำาให้พระเจ้าเอ็ดวาร์ดต่อไปยึดเมืองท่า คาเลส์ของฝรั่งเศสและยึดเป็นที่มั่นบนแผ่นดินฝรั่งเศสได้ในค.ศ. 1347ใน ค.ศ. 1348 ระหว่างที่ฝรั่งเศสกำลังลุกเป็นไฟด้วยสงคราม กาฬโรคก็ระบาดมาถึงฝรั่งเศสคร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก 

          เจ้าชายดำพระโอรสของพระเจ้าเอ็ดวาร์ด บุกอังกฤษจากกาสโคนี ชนะ ฝรั่งเศสในศึกปัวติเยร์ (Poitiers) จับ พระเจ้าชองแห่งฝรั่งเศสได้ ด้วย อำานาจของฝรั่งเศสที่อ่อนแอลง ทำให้ตามชนบทมีโจรอาละวาด ทำาให้ชาวบ้านก่อจลาจลกันมากมาย พระเจ้าเอ็ดวาร์ดเห็นโอกาสจึงทรง บุกอีกครั้ง แต่ถูกองค์รัชทายาทแห่งฝรั่งเศสต้านไว้ได้ จนทำสนธิสัญญา บรีติญญี (Bretigny) 

และสงครามก็ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง ในสมัยของพระเจ้าชาลส์ที่ 5 แห่ง ฝรั่งเศสทรงสามารถบุกยึดดินแดนคืนจากฝรั่งเศสได้ ด้วยความช่วย เหลือของขุนพลแบร์ทรันด์ เดอ เกอสแคลง (Bertrand de Guesclin) องค์ชายเอ็ดวาร์ดทรงติดพันอยู่กับสงครามในสเปน จน ทรงปลีกพระองค์มาฝรั่งเศสได้ในค.ศ. 1371 ฝ่ายอังกฤษตอบโต้ โดยการปล้นสะดมทำาลายล้าง (chevauchée) เมืองต่างๆของ ฝรั่งเศส แต่เดอเกอสแคลงก็ไม่หลงกลองค์ ชายเอ็ดวาร์ดสนิ้พระชนม์ ในค.ศ. 1376 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดสิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1377 และเดอ เกอสแคลงสิ้นชีวิตในค.ศ. 1380 เมื่อผนู้ำาทัพสิ้นชีวิตไปหมดแล้ว สงครามก็สงบลงอีกครั้ง จนทำสัญญาสงบศึกในค.ศ. 1389 พระเจ้าชาล ส์ที่5 

          ระหว่างตระกูลอาร์มันญัค (Armagnac) และ ดยุคแห่งเบอร์กันดี เพราะพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 ทรงมีพระสติไม่สมประกอบ ทำาให้แย่ง อำนาจกันปกครองบ้านเมือง และขอให้อังกฤษช่วย แต่อังกฤษเองก็ กำาลังมีสงครามกลางเมือง และเวลส์และไอร์แลนด์ก่อกบฎ สกอตแลนด์บุกเมื่อ อังกฤษสงบแล้ว พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ก็ทรงนำทัพบุก ฝรั่งเศสในค.ศ. 1415 และชนะฝรั่งเศสขาดลอยที่การรบที่อแกงคูร์ต ได้ดยุคแห่งเบอร์กันดีมาเป็นพวก และยึดฝรั่งเศสตอนเหนือไว้ได้ทั้ง หมดในค.ศ. 1419 พระเจ้าเฮนรีทรงเฝ้าพระเจ้าชาลส์ที่ 6 แห่ง ฝรั่งเศสซึ่งทรงพระสติไม่สมประกอบ ทำาสัญญาให้พระโอรสพระเจ้าเฮนรีขึ้นครองฝรั่งเศสเมื่อพระเจ้าชาลส์สิ้นพระชนม์ แต่ทัพสกอตแลนต์ก็ มาช่วยขัดขวางเอาไว้ เมื่อพระเจ้าชาลส์สิ้นพระชนม์ พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ ก็ขึ้นเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศส แต่ตระกูลอาร์มันญัคยังคงจงรัก ภัคดีต่อองค์รัชทายาทฝรั่งเศส

          ใน ค.ศ. 1428 อังกฤษล้อมเมืองออร์เลียงส์ จึงทำาให้เกิดวีรสตรีโจนออฟอาร์ค (Joan of Arc หรือ ฌานดาก) เสนอตัวขับไล่ทัพอังกฤษ กล่าวว่านางเหน็นิมติว่าพระเจ้าให้เธอปลดปล่อย ฝรั่งเศสจากอังกฤษ จนสามารถ ขับไล่ทพัอังกฤษออกไปได้ในทสีุ่ด ซึ่งสามารถเอาชนะอังกฤษได้หลายครั้ง และยังสามารถเปิดทางให้องค์รัชทายาท สามารถยึดเมืองแรงส์เพื่อราชาภิเษก พระเจ้าชาลส์ที่ 7 นับเป็นจุดเปลี่ยนในสงครามร้อยปี แต่โยนแหง่อาร์คถกูพวก เบอร์กันดีจับได้จึงถูกศาลศาสนาตัดสินว่า เป็นแม่มด จะต้องถูกลงโทษโดยการเผาทั้งเป็น วีรกรรมนี้จีงถูกยกย่องและสร้าง ความคิดเรื่องชาตินิยมให้กับชาวฝรั่งเศส

          ความเสื่อมของศาสนาในช่วงปลายสมัยกลาง มีสาเหตุสำคัญ คือ 1. การเกิดลัทธิชาตินิยมและรัฐชาติก่อตัวขึ้นในสมัยยุโรปกษัตริย์ สามารถปกครองขุนนางได้ 2. ประชาชนสนับสนุนอำนาจของกษัตริย์มากขึ้น 3. เกิดการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกษัตริย์ฝรั่งเศสกับสันตะปาปา ซึ่งชัยชนะเป็นของพระเจ้า

ฟิลิปที่ 4และได้แต่งตั้งพระสันตะปาปา องค์ใหม่ 4. ความแตกแยกภายในของศาสนจักรอย่างรุนแรงจนถึงขั้นมี สันตะปาปา 2องค์ในเวลาเดียวกัน เหตุการณ์ในยุติลงแต่ก็ทำให้คริสตจักร 

          การสิ้นสุดสมัยกลาง การค้าขยายตามเมืองต่างๆทั่วยุโรป เกิดชนชั้นกลาง เช่น พ่อค้า แพทย์ ครู นักกฎหมาย แทรก ระหว่างชนชนั้สูงอย่างพวกขุนนาง และชนชั้นต่ำอย่างชาวนาและ ช่างฝีมือ ระบบฟิวดัลของขุนนางอ่อนแอลง ประชาชนสนใจที่จะแสวงหาความรู้นอกศาสนจักรจึง ทำให้อำนาจของศาสนจักร เสื่อมลง และเริ่มสนใจอารยธรรมกรีกโบราณ และโรมัน ซึ่งนำไปสู่ ยุคฟื้นฟูศิลปะ ทำให้แตกต่างจาก สมัยกลางที่ศาสนาเข้ามามีอำานาจอย่างมาก

สงครามครูเสด

ยุโรปสมัยกลางเริ่มต้นเมื่อใด


          เป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์ กับ ศาสนาอิสลาม เพื่อปลด ปล่อยกรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งชาวคริสต์ เชื่อว่าเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่ในการควบคุมของพวกมุสลิม

          สาเหตุทางด้านการเมือง มีการเปลี่ยนอำานาจในจักรวรรดิอาหรับเมื่อพวกเซลจุกเติร์ก (Seijuk Turk) เข้าไปมีอำานาจ ในจักรวรรดิอาหรับ ซึ่งเป็นศาสนาอิสลาม และใน ค.ศ. 1071 กอง ทหารพวกนี้ก็ได้เข้ารุกรานจักรวรรดิ ไบแซนไทน์ เมื่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไปแซนไทน์ได้ขอความ ช่วยเหลือไปยังคริสตจักรที่กรุงโรม สันตะปาปาเออร์บันที่ 2(Urban II) เรียกประชุมผู้นำทางศาสนาและขุนนางที่มีอำนาจในเขตต่างๆของฝรั่งเศสเพื่อให้ยุติการสู้รบแย่งชิงอำานาจกัน และช่วยกันปกป้องศาสนาคริสต์ ซึ่งในสมัยนั้น สถาบันศาสนามีอำนาจเหนือกว่าสถาบันกษัตริย์ จึงทำาให้กษัตริย์ต่างๆ พากันเข้าร่วมสงครามครูเสดนี้ เป็นการตอบสนองนโยบายของสันตะปาปาเพื่อความมั่นคงทางการเมือง

          จิตรกรรมสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 เรียกประชุมผู้นำ ทางศาสนา และขุนนางร่วมรบเพื่อแย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์

สาเหตุทางด้านศาสนา สันตะปาปาทรงชักชวนและนำทัพในสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ผเู้ข้าร่วม สงครามซึ่งมีจำนวนมากมาจาก ดินแดนต่างๆ ทั่วยุโรป เพราะเชื่อว่าการไปรบเพื่อศาสนาจะเป็นการไถ่บาปที่ยิ่งใหญ่ ผู้ที่เสียชีวิตในสงครามครูเสดจะได้ขึ้นสวรรค์ สันตะปาปาทรงให้สัญญาว่าทรัพย์สิน และครอบครัวของนักรบครูเสดจะ ได้รับความคุ้มครองจากศาสนจักร นักรบที่มีหนี้สินจะได้รับการยกเว้นหนี้และนักโทษคดีอาญาที่ไปร่วมรบก็จะได้รับอภัยโทษด้วย และผลจากการชักชวนของพระสันตะปาปา ทำให้     ขุนนาง พ่อค้า และ ประชาชนพากันเดินทางไปที่ดินแดนปาเลสไตน์ 

          แผนที่การเดินทางของพวกขุนนาง พ่อค้า และประชาชนพากันเดินทางไปจักรวรรดิไบแซนไทน์ และดินแดนปาเลสไตน์

ยุโรปสมัยกลางเริ่มต้นเมื่อใด

Crusader นักรบทางศาสนาผู้ซึ่งมีเครื่องหมายกางเขน

          ซึ่งคนเหล่านี้ก็มีเหตุผลอยู่หลายประการ คือ

          1. ชาวยุโรปในสมัยนั้นมีความศรัทธาศาสนาอย่างแรงกล้า ทำให้คน จำานวนมากเดินทางไปทำ สงคราม เนื่องจากจะได้ปลดเปลื้องวิญญาณ และ สันตะปาปาทรง ประกาศยกบาปให้กับคนพวกนี้

          2. บุคคลที่ไม่มีที่ดินในยุโรป โดยเฉพาะขุนนางระดับล่าง และคนสามัญ ต้องการที่จะครอบครองที่ดินในดินแดนตะวันออกกลาง

          3. มีคนเป็นจำานวนมากที่จะเดินทางไปแสวงโชค เพื่อความมั่งคั่งในดินแดนตะวันออกกลาง

          4. สงครามครูเสดได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ โดยเฉพาะพ่อค้าในแหลมอิตาลีซึ่งได้รับผลประโยชน์จาก การขนส่งทหารและเสบียง อาหารให้กับกองทัพครูเสดไปยังปาเลสไตน์ ขณะเดียวกันพ่อค้าเหล่านั้นก็แสวงหาประโยชน์อื่นจากนักรบครูเสด ด้วย ดังกรณีที่พ่อค้าเมืองเวนิส (Venice) เสนอจะลดค่าขนส่งที่มีมูลค่า สูงให้กับกองทัพครูเสดหากยินดียกทัพไปตีเมืองซารา

          สงครามครูเสดนี้ดำเนินอยู่ในช่วงเวลาเกือบ 200 ปี และชาวยุโรปยกทัพไปทำาสงครามครูเสดรวม 6 ครั้ง เมื่อ ค.ศ. 1291 เมือเอเคอร์ (Acre) ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของพวกคริสเตียน ในปาเลสไตน์แห่งสุดท้ายถูกพวกมุสลิมยึดครอง สงครามครูเสดก็ได้สิ้นสดุลง

          ผลกระทบของสงครามครูเสด

          ด้านการเมือง สงครามครูเสดส่งผลกระทบทางการเมืองอย่าง กว้างขวาง กล่าวคือ

          1. สงครามครูเสดทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและโลกมุสลิมเสื่อมลงเนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างมีอคติต่อกัน

          2. การที่นักรบครูเสดบุกยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลในสงครามครูเสดครั้งที่ 4 ได้ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์อ่อนแออย่างมาก กระทั่งไม่อาจต้านทานการรุกรานของพวกออตโตมันเติร์กและล่มสลายไปในที่สุด

          3. สงครามครูเสดมีผลให้ระบบฟิวดัลของยุโรปเสื่อมลง เนื่องจากขุนนางและอัศวินซึ่งปกครองดูแลแมเนอร์ของตนในเขตต่างๆ ต้องไปร่วมรบในสงครามครูเสด ทำให้กษัตริย์มีอำนาจปกครองดินแดนต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงการจัดเก็บภาษีจากราษฎร

          ด้านเศรษฐกิจ สงครามครูเสดส่งผลกระทบที่สำาคัญทางเศรษฐกิจ คือ

          1. หลังสงครามครูเสดยุติลงแล้ว พ่อค้ายุโรปโดยเฉพาะในแหลม อิตาลีประสบปัญหาการเดินเรือในเขตทะเลเมดิเตอร์ เรเนียน เพราะ เมืองท่าบางแห่งอยู่ใต้อำนาจของพวกมุสลิมซึ่งมีคติต่อชาวยุโรป นอกจากนี้พ่อค้ายุโรปยังประสบปัญหาการขยายการค้ากับดิน แดนตะวันออกตามเส้นทางบกซึ่งต้องผ่านดินแดนของพวกมุสลิม ดังนั้นชาวยุโรปจึงต้องพัฒนาเส้นทางทะเล โดยเฉพาะการเดินเรืออ้อม แอฟริกาไปยังเอเชียที่ประสบความสำาเร็จในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติใน เวลาต่อมา

          2. การติดต่อกับตะวันออกกลางในช่วงสงครามครูเสดทำให้ชาวยุโรป รู้จักบริโภคสินค้า และผลิตภัณฑ์จากตะวันออกกลาง เช่น ข้าว น้ำตาล มะนาว ผลแอปริคอต และผ้าป่านมัสลิน ซึ่งกลายเป็นสินค้าที่ ยุโรปนำเข้าเป็นประจำ 

          ด้านสังคม สงครามครูเสดทำให้เกิดผลกระทบทางสังคม คือ

          1. สงครามครูเสดได้เปิดโลกทัศน์ของชาวยุโรปเกี่ยวกับ “โลกตะวันออก” โดยเฉพาะความก้าวหน้าและเทคโนโลยีของชาวตะวันออก เช่น การใช้ดินปืนในการทำสงคราม ต่อมาชาวยุโรปได้นำความรู้นี้ ไปพัฒนาเป็นอาวุธปืนและสามารถทำสงครามชนะชา เอเชีย ทำให้ยุโรปกลายเป็นมหาอำนาจของโลก 

          2. นักรบครูเสดมาจากดินแดนต่างๆ ในสังคมของระบบฟิวดัลที่ไม่มีโอกาสรู้จักโลกภายนอกมากนัก เมื่อได้พบปะเพื่อนนักรบอื่นๆ จึงได้แลกเปลี่ยนทัศนคติและองค์ความรู้ต่อกัน ทำให้เกิดการหล่อหลอม ทางด้านวัฒนธรรมและความคิดของชาวยุโรป โดยเฉพาะในการแสดงออกทางความคิดการวิพากษ์วิจารณ์ และการเปิดรับแนวคิดใหม่ ซึ่งรากฐานของขบวนการมนุษย์นิยมที่เติบโตในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุดมการณ์เสรีนิยมของยุโรปสมัยใหม่

ยุโรป "สมัยกลางตอนต้น" มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ายุคอะไร

ยุโรปสมัยกลางตอนต้น เป็นยุคแห่งความยุ่งยากซึ่งบางครั้งถูกเรียกว่าเป็นยุคมืด (Dark Age)จักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ในสภาพที่ป่าเถื่อนสงครามและความเดือดร้อนมี อยู่ทุกหย่อมหญ้า ด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรรมมีความสำคัญต่อจักรวรรดิเป็นอย่างมาก ดังนั้นเกษตรกรจึงมีความสำคัญและได้รับความคุ้มครองจากรัฐ

ยุคสมัยใดคือยุคสมัยเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ยุโรป

เมื่ออาณาจักรของชาวโรมันเสื่อมอ านาจลงในค.ศ 476 อันเนื่องมาจากการแผ่อานาจของชนกลุ่มต่างๆ ที่เรียกว่า อนารยชนเยอรมัน ก็ถือ ว่าอารยธรรมสมัยคลาสสิคของยุโรปสิ้นสุดลง และ เป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์ ของยุโรปสมัยกลาง ซึ่งมีระยะเวลายาวนานประมาณ 1000 ปี

เหตุการณ์ใดเป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดประวัติศาสตร์สมัยกลางของยุโรป

สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (อังกฤษ: Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัย ...

ผู้ใดมีอำนาจมากที่สุดในยุโรปสมัยกลาง

จักรพรรดิโรมันในสมัยกลาง ทำให้คริสตจักรมีความสัมพันธ์กับรัฐ พร้อมกับสร้างความชอบธรรมทาง การเมืองให้แก่ศาสนจักรในสมัยกลาง คริสตจักรได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของชาวยุโรปกลางเป็น อย่างมาก ตั้งแต่กำเนิดจนเสียชีวิต เป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุด โดยผูกอำนาจในการตีความพระธรรม