ระบบกฎหมายใดต่อไปนี้เป็นระบบกฎหมาย

กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม และมีสภาพบังคับเป็นเครื่องมือในการทำให้บุคคลในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับนั้น

Show

ลักษณะของกฎหมาย แบ่งเป็น 5 ลักษณะ

1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ทุกคนในประเทศต้องปฏิบัติตามซึ่งจะแตกต่างจากข้อห้าม ระเบียบวินัย เช่น ทุกคนที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัย ถ้าใครไม่สวมมีโทษปรับตามที่กฎหมายจราจรกำหนด ลักษณะนี้คือกฎหมาย แต่ถ้าโรงเรียนขึ้นป้าย “ห้ามไม่ให้ทุกคนใช้สนามฟุตบอลในโรงเรียน” ลักษณะนี้เรียกว่าเป็นข้อห้ามที่โรงเรียนกำหนดบังคับใช้เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น

2. กฎหมายต้องมาจากรัฐาธิปัตย์หรือผู้ที่มีอำนาจออกกฎหมายในรัฐนั้น รัฐาธิปัตย์คือผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ ในระบอบเผด็จการหรือระบอบการปกครองที่อำนาจการปกครองประเทศอยู่ในมือของบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด มีอำนาจออกกฎหมายได้ เช่น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด พระบรมราชโองการหรือคำสั่งของพระมหากษัตริย์ก็ถือเป็นกฎหมาย ส่วนในระบอบประชาธิปไตย ถือว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน กฎหมายจึงต้องออกโดยประชาชน คำถามมีอยู่ว่าประชาชนออกกฎหมายได้อย่างไร ก็ออกโดยที่ประชาชนเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ซึ่งก็คือสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ดังนั้นการเลือก ส.ส. ในการเลือกทั่วไปนั้นนอกจากจะเป็นการเลือกคนเข้ามาบริหารประเทศแล้ว ยังเป็นการเลือกตัวแทนของประชาชนเพื่อทำการออกกฎหมายด้วย

ระบบกฎหมายใดต่อไปนี้เป็นระบบกฎหมาย

3. กฎหมายต้องใช้บังคับได้โดยทั่วไป คือเมื่อมีการประกาศใช้แล้ว บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายโดยเสมอภาค จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้ หรือทำให้เสียประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงไม่ได้ แต่อาจมีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น กรณีของฑูตต่างประเทศซึ่งเข้ามาประจำในประเทศไทยอาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายภาษีอากร หรือหากได้กระทำความผิดอาญา ก็อาจได้รับเอกสิทธิ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศไม่ต้องถูกดำเนินคดีในประเทศไทย โดยต้องให้ประเทศซึ่งส่งฑูตนั้นมาประจำการดำเนินคดีแทน ฯลฯ

4. กฎหมายต้องใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการประกาศใช้แล้วแม้กฎหมายนั้นจะไม่ได้ใช้มานาน ก็ถือว่ากฎหมายนั้นยังมีผลใช้บังคับได้อยู่ตลอด กฎหมายจะสิ้นผลก็ต่อเมื่อมีการยกเลิกกฎหมายนั้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นเท่านั้น

5. กฎหมายจะต้องมีสภาพบังคับ คือเมื่อผู้กระทำการผิดต่อกฎหมายที่กำหนดไว้ต้องมีการระบุโทษที่จะได้รับ เช่น การทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนาจนถึงแก่ความตาย จะได้รับโทษประหารชีวิต เป็นต้น

ระบบกฎหมายใดต่อไปนี้เป็นระบบกฎหมาย

ระบบกฎหมาย แบ่งเป็น 4 ระบบ

1. ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์(Civil Law) หรือ ระบบประมวลกฎหมาย จุดกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรโรมัน ระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมรวมเอาจารีตประเพณีหรือกฎหมายต่างๆหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งเรียกว่าประมวลกฎหมาย ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ชนชั้นที่ถูกปกครองในโรมันจึงมีการเรียกร้องให้ชนชั้นสูงทำการเขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ชนชั้นที่ถูกปกครองได้รู้กฎหมายด้วย ซึ่งระบบกฎหมายนี้ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันประเทศที่ใช้กฎหมายระบบซีวิล ลอว์ ยกตัวอย่าง ประเทศเยอรมัน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย และประเทศไทยก็ใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ เป็นต้น

2. ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law) หรือระบบกฎหมายจารีตประเพณี จุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ เนื่องจากแต่เดิมนั้นประเทศอังกฤษมีชนเผ่าอยู่มากมายหลายชนเผ่าด้วยกัน ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลหลวงหรือศาลพระมหากษัตริย์ขึ้น โดยคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้จากส่วนกลางไปพิจารณาคดีในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละชนเผ่าก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณาคดีมากมาย แต่ในภายหลังปัญหาก็ค่อยๆหมดไปเพราะเริ่มมีจารีตประเพณีที่มีลักษณะเป็นสามัญขึ้นโดยศาลหลวงได้ใช้จารีตประเพณีเหล่านี้ในการพิจารณาคดี ในระบบคอมมอน ลอว์ แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อศาลใช้จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อๆไป หาข้อเท็จจริงในคดีต่อๆมาเหมือนกับคดีก่อน ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมายนั่นเอง แต่ปัจจุบันนี้ในประเทศอังกฤษก็ใช้ทั้งระบบกฎหมายแบบซีวิล ลอว์และคอมมอน ลอว์ ควบคู่กันไป

ระบบกฎหมายใดต่อไปนี้เป็นระบบกฎหมาย

ระบบกฎหมายใดต่อไปนี้เป็นระบบกฎหมาย

3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law) จุดกำเนิดของระบบกฎหมายนี้อยู่ที่รัสเซีย แต่เดิมรัสเซียใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ แต่ในภายหลังเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ ก็ได้มีการนำหลักการและแนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน มาใช้โดยเชื่อว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการขัดระเบียบและกลไกในสังคม เพื่อให้คนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน ปราศจากการกดขี่ข่มเหง ปราศจากชนชั้นวรรณะ ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมดร่วมกัน กฎหมายมีอยู่เพื่อความเท่าเทียม เมื่อใดที่สังคมเกิดความเท่าเทียมกันแล้วกฎหมายก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ส่วนลักษณะของกฎหมายสังคมนิยมนั้นจะมีการผสมผสานระหว่างกฎหมายลายลักษณ์อักษรกับจารีตประเพณีเข้าด้วยกัน โดยมีการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนจารีตประเพณีนั้นเป็นตัวช่วยในการตีความและอุดช่องว่างของกฎหมายเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และที่สำคัญก็คือกฎหมายในระบบสังคมนิยมนั้นต้องแฝงหลักการหรือแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน ด้วยเสมอ

4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม ลักษณะของกฎหมายในระบบนี้ โดยเนื้อหาของกฎหมายแล้วก็จะอาศัยศาสนาหรือประเพณีนิยมเป็นฐานในการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามกำหนดหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า ในปัจจุบันประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม กฎหมายอิสลามมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก แต่ส่วนกฎหมายในเรื่องอื่นๆก็จะใช้แนวทางของกฎหมายของทางโลกตะวันตก หรือใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่จังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในเรื่องครอบครัวและมรดกก็จะต้องนำกฎหมายศาสนาอิสลามมาใช้บังคับ ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นเฉพาะ 4 จังหวัดดังกล่าวเท่านั้น ส่วนในเรื่องอื่นๆทุกจังหวัดก็จะใช้กฎหมายฉบับเดียวกันรวมไปถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น

ประเภทของกฎหมาย แบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้

ระบบกฎหมายใดต่อไปนี้เป็นระบบกฎหมาย

1.1 กฎหมายตามลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ตีความตามลายลักษณ์อักษร ตัดสินตามตัวบากฎหมาย เรียกอีกอย่างว่าระบบประมวลกฎหมาย

1.2 กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ใช้จารีต ประเพณี บรรทัดฐานทางสังคม หรือคำพิพากษาในคดีก่อน ๆ ในการตัดสินคดี เรียกอีกอย่างว่า กฎหมายจารีตประเพณี

2.กฎหมายแบ่งตามแหล่งกำเนิด

2.1 กฎหมายในประเทศ เป็นกฎหมายที่ใช้ภายในประเทศ มีผลต่อทุกบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้น ๆ

2.2 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นตามข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ

3.กฎหมายแบ่งตามความสัมพันธ์ของคู่กรณี

3.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ซึ่งในฐานะผู้บริหารประเทศต้องดูแลและรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และเพื่อความสงบเรียบร้อย เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง ประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

3.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย รวมถึงสิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตั้งแต่ปฎิสนธิจนกระทั่งตาย ซึ่งได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น แต่ราสามารถแบ่งเป็นเรื่องย่อย ๆ เช่น ครอบครัว มรดก หนี้สิน สัญญา

4.กฎหมายแบ่งตามสถานภาพบังคับ

4.1 กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวข้องระหว่างเอกชนกับเอกชน

4.2 กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และมีการกำหนดบทลงโทษนั้น

5.1 กฎหมายสารบัญญัติ ลักษณะเนื้อความทั่วไป (ภาคทฤษฎี) กำหนดสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคคล เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

5.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ ลักษณะเป็นวิธีดำเนินคดี (ภาคปฏิบัติ) กำหนดวิธีบังคับ วิธีพิจารณาการฟ้องร้อง การดำเนินคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ระบบกฎหมายใดต่อไปนี้เป็นระบบกฎหมาย

วิวัฒนาการกฎหมายในประเทศไทย

เดิมกฎหมายของประเทศไทยนั้นมีที่มาจากจารีตประเพณี ศาสนา รวมไปถึงพระราชโองการของพระมหากษัตริย์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชศาสตร์” ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยหลักใน “คัมภีร์พระธรรมศาสตร์” จนกระทั่งการเสียกรุงครั้งที่ 2 ให้แก่ประเทศพม่า เอกสารสำคัญทางกฎหมายได้มีการถูกทำลายและสูญหายไปเป็นจำนวนมาก ต่อมาในสมัยของรัชการที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แม้จะมีการรวบรวมกฎหมายขึ้นใหม่แต่ก็เหลือเพียงหนึ่งในสิบของกฎหมายที่มีอยู่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังมีเนื้อหาที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้กฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถตัดสินคดีได้อย่างยุติธรรม รัชกาลที่ 1 จึงทรงชำระกฎหมายเสียใหม่กลายเป็น “กฎหมายตราสามดวง” ถือเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญของไทย นักวิชาการทั้งหลายถือว่าแม้จริงแล้วกฎหมายตราสามดวงนี้ ก็คือกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง

ระบบกฎหมายใดต่อไปนี้เป็นระบบกฎหมาย

คดีสำคัญที่ก่อให้เกิดกฎหมายตราสามดวงก็คือ “คดีอำแดงป้อม” (อำแดง เป็นคำนำหน้าชื่อของผู้หญิงในสมัยก่อน) คดีนี้มีข้อเท็จจริงคือ นายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษพระเกษมและนายราชาอรรถ เนื่องจาก อำแดงป้อม ภรรยาของนายบุญศรีเป็นชู้กับ นายราชาอรรถ แต่อำแดงป้อมกลับมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่พระเกษมกลับพิจารณาเข้าข้างอำแดงป้อมแล้วคัดข้อความส่งให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีคำตัดสินให้อำแดงป้อมกับนายบุญศรีขาดจากการเป็นสามีภรรยาตามกฎหมาย เมื่อรัชการที่ 1 ทรงทราบเรื่องจึงตรัสว่า หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษากันแล้วให้หย่าตามคำฟ้องนั้นไม่เป็นการยุติธรรม จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งให้เจ้าพระยาคลังตรวจสอบกฎหมายดังกล่าว ปรากฏได้ความว่า ชายไม่ผิด หญิงมาขอหย่า ก็สามารถหย่าได้(ตามที่บันทึกใช้คำว่า ชายหาผิดมิได้หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชายหย่าได้) จึงทรงเห็นว่าแม้แต่พระไตรปิฎกผิดเพี้ยนไป ก็ยังอาราธนาพระราชาคณะทั้งปวงให้ทำสังคายนาชำระ พระไตรปิฎกให้ถูกต้องได้ ดังนั้นเมื่อกฎหมายผิดเพี้ยนไปก็ควรต้องชำระสะสางให้ถูกต้อง

พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 ลูกขุน 3 ราชบัณฑิต 4 จัดการชำระบทกฎหมายให้ถูกต้อง โดยอาศัย “คัมภีร์พระธรรมศาสตร์”(เชื่อกันว่าเป็นคัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ หรือผู้มีอำนาจเหนือคนธรรมดาแต่งขึ้น เดิมนั้นเป็นของชาวฮินดู เป็นหนังสือในศาสนาพราหมณ์) เป็นหลักในการบัญญัติกฎหมาย เช่นเดียวกับในสมัยกรุงศรีอยุธยา เกิดเป็นกฎหมายตราสามดวงขึ้น

ในเวลาต่อมาเกิดการล่าอาณานิคมจากประเทศซีกโลกตะวันตก เช่น ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ ทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นก็คือการเสียเอกราชทางศาล เนื่องจากต่างประเทศเห็นว่าประเทศไทยกฎหมายป่าเถื่อน ไม่เป็นธรรม เมื่อมีปัญหาหรือคดีเกิดขึ้นก็จะไม่ยอมขึ้นศาลไทยและบีบบังคับให้รัฐบาลของไทยทำสนธิสัญญาซึ่งเรียกว่า “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ได้มีการจัดตั้งศาลกงศุล และศาลต่างประเทศขึ้นเพื่อใช้ในการพิจารณาคดีสำหรับคนชาตินั้นๆโดยเฉพาะ ไม่ใช้กฎหมายของไทยและไม่ขึ้นศาลไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะนำเอาเอกราชทางศาลกลับคืนมา โดยการแก้ไขกฎหมายให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ จึงได้ส่งข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์ไปศึกษากฎหมายที่ต่างประเทศเพื่อนำความรู้มาพัฒนากฎหมาย รวมถึงจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการตรวจแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายขึ้นใหม่ โดยตั้งคณะกรรมการซึ่งมีพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์(พระบิดาแห่งกฎหมายไทย) เป็นประธาน โดยร่างประมวลกฎหมายอาญาเสร็จก่อน (ในสมัยนั้นคือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127) อีกทั้งได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นร่างกฎหมายอื่นๆด้วย ต่อมาในสมัยรัชการที่ 6 ก็ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประกาศใช้ในปี พ.ศ.2468 แรกเริ่มเดิมทีมีเพียง 2 บรรพ คือบรรพ 1 ว่าด้วยบทเบ็ดเสร็จทั่วไป และบรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ หลังจากนั้นก็มีการร่างบรรพอื่นๆขึ้นจนครบ 6 บรรพในภายหลัง

ในการปฏิรูประบบกฎหมายจากระบบเดิมที่ล้าสมัยมาเป็นระบบใหม่นั้น ไทยได้รับเอาระบบซีวิล ลอว์ มาใช้ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่ฝรั่งเศสและเยอรมันใช้กัน โดยระบบนี้มีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรโรมัน เริ่มแรกเดิมทีนั้นคณะกรรมการร่างกฎหมายประสงค์ที่จะนำเอาระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ มาใช้บังคับ แต่เนื่องจากระบบกฎหมายนี้เป็นระบบกฎหมายที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ เพราะระบบกฎหมายนี้เป็นระบบกฎหมายที่พัฒนามาเป็นเวลาช้านานจากจารีตประเพณีและระบบสังคมโดยเฉพาะ ตัวบทกฎหมายก็ไม่มีการรวบรวมเอาไว้เป็นหมวดหมู่ทำให้ยากแก่การศึกษา ซึ่งแตกต่างกับระบบซีวิล ลอว์ ที่มีการรวบรวมกฎหมายไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระเบียบ ทำให้ง่ายแก่การศึกษาและนำมาใช้เป็นแบบอย่าง อีกทั้งประเทศส่วนใหญ่นอกจากฝรั่งเศสและเยอรมันแล้ว ต่างก็ใช้ระบบกฎหมายนี้ทั้งสิ้น การที่ประเทศไทยใช้ระบบเดียวกับนานาประเทศก็จะทำให้กฎหมายของไทยมีความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับ ซึ่งก็จะมีผลทำให้ไทยอาจได้รับเอกราชทางศาลคืนได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นประเทศไทยจึงนำเอาระบบซิวิล ลอว์ มาใช้ โดยนำกฎหมายของประเทศอื่นๆมาผสานเข้ากันกับกฎหมายไทยดั้งเดิม และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ จนในที่สุดก็ได้รับเอกราชทางศาลคืนมา และกฎหมายไทยก็ยังมีการพัฒนาขึ้นมาอีกเรื่อยๆเพื่อสามารถใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้ จนถึงปัจจุบัน

ลำดับชั้นของกฎหมายในประเทศไทย (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

ลำดับชั้นของกฎหมายมีไว้เพื่อบ่งบอกถึงระดับสูงต่ำและความสำคัญของกฎหมายแต่ละประเภทรวมไปถึงภาพรวมของกฎหมายที่ใช้กัน กฎหมายที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะมีผลยกเลิกหรือขัดต่อกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่าไม่ได้ ซึ่งเราจัดลำดับได้ดังนี้

1.กฎหมายแม่บทที่มีศักดิ์สูงที่สุด ได้แก่ รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์การปกครองและกำหนดโครงสร้างในการจัดตั้งองค์กรบริหารของรัฐ กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชนรวมไปถึงให้ความคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว กฎหมายอื่นๆที่ออกมาจะต้องออกให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายใดที่ขัดกับรัฐธรรมนูญจะก็จะไม่มีผลใช้บังคับได้

2.กฎหมายที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจแก่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก

ได้แก่ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด กฎหมายเหล่านี้ถือว่ามีศักดิ์เป็นลำดับที่สองรองจากรัฐธรรมนูญ

-ประมวลกฎหมาย คือเป็นการรวมรวบเอาหลักกฎหมายในเรื่องใหญ่ๆซึ่งเป็นเรื่องทั่วไปมาจัดเป็นหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฯลฯ ประมวลกฎหมายต่างๆ ถือเป็นกฎหมายที่เป็นหลักทั่วๆไป ที่กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคลแต่ละคน บุคคลในสังคมต้องประพฤติปฏิบัติตนอย่างไรและห้ามประพฤติปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง และรวมไปถึงการให้ความคุ้มครองต่อสิทธิต่างๆของบุคคลแต่ละคนด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ต่างๆที่รัฐธรรมนูญวางไว้

ระบบกฎหมายใดต่อไปนี้เป็นระบบกฎหมาย

-พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คือเป็นกฎหมายที่ออกมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย ก็จะเป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับการล้มละลาย หรือพระราชบัญญัติสัญชาติ ก็จะเกี่ยวข้องเฉพาะกับเรื่องสัญชาติของบุคคล ฯลฯ ซึ่งพระราชบัญญัตินี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหาร คือรัฐบาลค่อนข้างมาก เพราะฝ่ายบริหารจะเป็นผู้กำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ และเสนอกฎหมายเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายนั้นๆให้สภานิติบัญญัติทำการออกนั่นเองและกฎหมายที่ออกมานั้นแม้จะมีการเปลี่ยนฝ่ายบริหารหรือฝ่ายรัฐบาลแล้ว ก็จะมีผลใช้บังคับอยู่ จนกว่ากฎหมายนั้นจะถูกยกเลิกหรือมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

-พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารคือรัฐบาล เป็นกฎหมายที่ออกใช้ไปพลางก่อนในกรณีที่มีจำเป็นเร่งด่วน หลังจากมีการใช้ไปพลางก่อนแล้ว ในภายหลังพระราชกำหนดนั้นก็อาจกลายเป็นพระราชบัญญัติซึ่งจะมีผลบังคับเป็นการถาวรได้ ถ้าสภานิติบัญญัติให้การอนุมัติ แต่ถ้าสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นก็ตกไป แต่จะไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้กระทำไปในระหว่างใช้พระราชกำหนดนั้น ซึ่งพระราชกำหนดจะออกได้เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือเพื่อรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือเพื่อจะป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ หรือมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา

3.กฎหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ได้แก่ พะราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง

(ก).พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ซึ่งจะออกได้เฉพาะในกรณีต่อไปนี้คือ

-รัฐธรรมนูญกำหนดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาในกิจการอันสำคัญที่เกี่ยวกับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ

ระบบกฎหมายใดต่อไปนี้เป็นระบบกฎหมาย

-โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายแม่บทซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกำหนด คือจะต้องมีพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดให้อำนาจในการออกไว้ เช่น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากร พ.ศ. 2528 กำหนดว่าหากจะเปิดศาลภาษีอากรจังหวัดเมื่อใด ต้องประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา ฯลฯ ด้วยการที่พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติและพระราชกำหนด ดังนั้นจะออกมาขัดกับพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทนั้นไม่ได้

-กรณีที่จำเป็นอื่นๆในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย

ระบบกฎหมายใดต่อไปนี้เป็นระบบกฎหมาย

(ข).กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงเป็นผู้ออก โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายแม่บทซึ่งก็คือพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดฉบับใดฉบับหนึ่ง เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆ พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดจะกำหนดกฎเกณฑ์กว้างๆเอาไว้ ส่วนกฎกระทรวงก็จะมากำหนดรายละเอียดอีกชั้นหนึ่ง เช่น ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ได้กำหนดว่า ในกรณีที่ใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของบุคคลใดเพื่อขายทอดตลาด ผู้ที่มีอำนาจสั่งให้ยึด อายัดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เราก็ต้องไปศึกษาในกฎกระทรวงอีกชั้นหนึ่งว่าผู้ที่มีอำนาจสั่งนั้นคือใครบ้าง ฯลฯ

4. กฎหมายที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ออก

ได้แก่ เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับโดยเฉพาะในแต่ละองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เป็นไปตามหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หรือในกรณีที่กฎหมายให้อำนาจไว้ก็ทำการออกได้เช่นกัน เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานครตราขึ้นเพื่อใช้บังคับในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น หรือเทศบัญญัติ ก็เป็นกฎหมายที่เทศบาลบัญญัติขึ้นใช้บังคับเฉพาะในเขตเทศบาลของตน

ระบบกฎหมายใดต่อไปนี้เป็นระบบกฎหมาย

การที่จะทำให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1.การประกาศใช้กฎหมายเพื่อให้ประชาชนทราบ ว่ามีกฎหมายใดออกมาใช้บังคับแล้ว ก็จะมีการจัดพิมพ์ “ราชกิจจานุเบกษา” เมื่อมีการประกาศแล้วให้ถือว่าประชาชนทุกคนทราบโดยถ้วนหน้ากัน ประชาชนจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ ดังที่มีหลักทั่วไปในการใช้บังคับกฎหมายว่า “ความไม่รู้กฎหมาย ไม่เป็นข้อแก้ตัว”

2.วันเริ่มใช้กฎหมาย คือวันที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วมีผลบังคับใช้นั่นเอง โดยปกติเมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายก็จะมีการกำหนดวันใช้บังคับไว้ในกฎหมาย

3.สถานที่ใช้กฎหมาย กฎหมายย่อมใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักรเว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะว่ากฎหมายใดให้ใช้เฉพาะในท้องที่ใด หรือให้ใช้บังคับแก่การกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร เช่น ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล พ.ศ. 2498 กำหนดว่าในการพิจารณาวินิจฉัยคดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามของศาลชั้นต้นในเขต 4 จังหวัด ให้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกแทนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือการกระทำความผิดบางประเภทที่ได้กระทำขึ้นนอกราชอาณาจักร ก็อาจถูกลงโทษในราชอาณจักรได้ เช่น ความผิดฐานปลอมแปลงเงินตรา ฯลฯ

4.บุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ โดยทั่วไปแล้วกฎหมายย่อมใช้บังคับแก่บุคคลในสังคม แต่ก็มีข้อยกเว้นแก่บุคคลบางประเภทซึ่งกฎหมายไม่อาจใช้บังคับด้วยได้ แต่บุคคลเหล่านั้นต้องมีกฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้โดยชัดแจ้ง เช่น

-ตามกฎหมายไทย รัฐธรรมนูญกำหนดว่ากฎหมายจะไม่ใช้บังคับแก่พระมหากษัตริย์ เพราะถือว่าทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้ ผู้ใดจะฟ้องพระมหากษัตริย์เป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้ทั้งสิ้น ฯลฯ

-ตามกฎหมายอื่น เช่น ตามกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดว่าจะไม่ใช้กฎหมายภายในประเทศของตนบังคับแก่ ฑูต บุคคลในคณะฑูตหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่บุคคลดังกล่าว ฯลฯ