ข้อใดเป็นสาระสำคัญของบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2550
มีสาระสำคัญที่ให้ประโยชน์ต่อประชาชนโดยตรง  4  ประการ ดังนี้ครับ...

1.คุ้มครอง  ส่งเสริม  ขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
2.ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ  และเพิ่มอำนาจประชาชน
3.การเมืองมีความโปร่งใส  มีคุณธรรม  และจริยธรรม
4.ทำให้องค์กรตรวจสอบมีความเป็นอิสระ  เข้มแข็ง  และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าว ณ. วันที่ 22 เม.ย. 2551 เวลา 08.23 น. โดย คุณ สมเกียรติ คฤหะมาน

ผู้เข้าชม 12900 ท่าน

ประเด็น การดำเนินการที่สำคัญ หน่วยงานที่รับผิดชอบ 1. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 55 (1) การสร้างประชาคมอาเซียน (1.1) สนับสนุนข้อริเริ่มของกัมพูชาในวาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน โดยเฉพาะการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน และเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาท้าทายในอนาคตร่วมกัน ตามหัวข้อหลัก “ASEAN A.C.T. : Addressing Challenges Together” ในการขับเคลื่อนการสร้างประชาคมอาเซียน การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 กต. (1.2) ส่งเสริมการประสานงานของกลไกอาเซียนในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติในอนาคตให้มีประสิทธิภาพตามข้อริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์และองค์รวม เพื่อเชื่อมโยงการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติของอาเซียนของบรูไนฯ กต. กระทรวงมหาดไทย (มท.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) (1.3) ส่งเสริมการดำเนินการตามแผนงานประชาคมอาเซียนของทั้ง 3 เสาอย่างสมบูรณ์ กต. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) (1.4) เตรียมความพร้อมเพื่อร่วมมือกับประเทศที่จะเป็นที่ตั้ง ACPHEED ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย กต. และ สธ. (2) ความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกภูมิภาค เดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC กต. (3) การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ (3.1) สถานการณ์ในเมียนมา ที่ประชุมไม่สามารถหาฉันทามติและเห็นควรเสนอให้ผู้นำพิจารณามีข้อตัดสินใจเกี่ยวกับการเข้าร่วมของผู้แทนเมียนมาในระดับการเมืองในการประชุมอาเซียนและการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ ต่อไป กต. (3.2) สถานการณ์ในช่องแคบไต้หวัน ที่ประชุมแสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ความตึงเครียดที่อาจนำไปสู่การประเมินสถานการณ์ผิดพลาด โดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ออกถ้อยแถลงร่วมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจ และย้ำท่าทีสนับสนุนนโยบายจีนเดียว กต. 2. การประชุมคณะกรรมาธิการสำหรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทิศทางความร่วมมือ ที่ประชุมมอบหมายให้คณะทำงานของคณะกรรมการบริหารสำหรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ฯ ดำเนินการหารือในประเด็นที่คั่งค้างของร่างข้อมติสมัชชาสหประชาชาติ เรื่อง สนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ฯ เพื่อนำส่งร่างข้อมติเชิงสารัตถะให้ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 78 ในปี 2566 พิจารณารับรองโดยฉันทามติ กต. 3. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ญี่ปุ่น (1) ภาพรวมความสัมพันธ์ ที่ประชุมสนับสนุนข้อเสนอของญี่ปุ่นในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ฯ ในปี 2566 และมีมติเสนอให้ผู้นำมีข้อตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวในการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป พร้อมทั้งได้ประกาศตราสัญลักษณ์และคำขวัญสำหรับใช้ในวาระการฉลองการครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ฯ กต. (2) ความร่วมมือ
ด้านสาธารณสุข
และโรคโควิด-19 ที่ประชุมยินดีต่อการสนับสนุนของญี่ปุ่นในการรับมือกับโรคโควิด-19 ของอาเซียน ทั้งการสนับสนุนเวชภัณฑ์และวัคซีน ความร่วมมือทางวิชาการและความร่วมมือผ่านการปฏิบัติตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน กต. และ สธ. (3) เศรษฐกิจ ที่ประชุมเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ เช่น ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น กระทรวงการคลัง (กค.) กต. พณ. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) 4. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ออสเตรเลีย (1) ความร่วมมือ
ด้านสาธารณสุข
และโรคโควิด-19 ที่ประชุมยินดีที่ออสเตรเลียสนับสนุนข้อริเริ่มของอาเซียนในการรับมือกับโรคโควิด-19 เช่น สนับสนุนเงิน 1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย สำหรับกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนและบริจาควัคซีน 36 ล้านโดสให้แก่อาเซียน กต. สธ. และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (2) สังคมและวัฒนธรรม ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือในการป้องกันและลดผลกระทบจากสาธารณภัยและการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขจัดขยะทะเล ซึ่งไทยได้เสนอให้มีการใช้ประโยชน์จากเงินทุนภายใต้ข้อริเริ่ม Australia for ASEAN Futures กต. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และ มท. 5. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน (1) ภาพรวมความสัมพันธ์ (1.1) ที่ประชุมย้ำถึงความสำคัญของสถานะความสัมพันธ์อาเซียน-จีน เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน และการปฏิบัติตามแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์ฯ ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน เพื่อสันติภาพ ความมั่นคง ความรุ่งเรือง และการพัฒนาที่ยั่งยืน กต. (1.2) ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของจีนในการจัดทำแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน และ 2) แถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 25 กต. และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2) การเมืองและความมั่นคง ที่ประชุมแสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ช่องแคบไต้หวัน ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนได้แสดงท่าทีสนับสนุนนโยบายจีนเดียว และย้ำว่าไม่ประสงค์จะให้มีการดำเนินการใด ๆ ที่เพิ่มความตึงเครียดและบั่นทอนสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค กต. 6. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย การเมืองและความมั่นคงและประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ ที่ประชุมสนับสนุนบทบาทที่สร้างสรรค์ของรัสเซียและแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสถานการณ์ในยูเครน ซึ่งรัสเซียอธิบายว่าเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นโดยมีที่มาจากการยั่วยุของฝ่ายตะวันตกและสหรัฐฯ ที่ต้องการควบคุมระเบียบโลก ในขณะที่รัสเซียพร้อมเจรจากับยูเครนและยกตัวอย่างความสำเร็จของการส่งออกเมล็ดธัญพืชในทะเลดำว่า เกิดขึ้นจากการเจรจาของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่รวมฝ่ายตะวันตก โดยประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ยังคงต้องการให้มีการพูดคุยเพื่อหาทางออกอย่างสันติ ถึงแม้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศมีท่าทีเห็นต่าง กต. 7. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 23 (1) ภาพรวมความสัมพันธ์ ที่ประชุมรับทราบรายงานความคืบหน้าและผลการดำเนินการตามแผนงานความร่วมมืออาเซียนบวกสาม ค.ศ. 2018-2022 และเห็นชอบแผนงานความร่วมมืออาเซียนบวกสามฉบับใหม่ ค.ศ. 2023-2028 กต. (2) เศรษฐกิจ ที่ประชุมเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือทางการเงินของอาเซียนบวกสาม มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคีในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาค รวมทั้งความสำคัญและประโยชน์ของกลไกการตรวจสอบและติดตามภาวะเศรษฐกิจโดยสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียนบวกสามและมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย กค. พณ. และธนาคารแห่งประเทศไทย 8. การประชุม ARF ครั้งที่ 29 (1) ทิศทางความร่วมมือ ที่ประชุมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม 3 ฉบับ ได้แก่ 1) แถลงการณ์การประชุม ARF เพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งผ่านการทูตเชิงป้องกัน เสนอโดยกัมพูชา และร่วมอุปถัมภ์โดยจีนและไทย 2) แถลงการณ์การประชุม ARF เพื่อเน้นย้ำพันธกิจที่จะธำรงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ เสนอโดยจีนและร่วมอุปถัมภ์โดยกัมพูชา รัสเซียและไทย และ 3) กรอบงานการประชุม ARF เรื่องกระบวนการที่ครอบคลุมสำหรับวาระสตรีฯ เสนอโดยสหภาพยุโรป สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐฯ กต. (2) กิจกรรม ไทยจะร่วมกับสหรัฐฯ และจีนเป็นประธานร่วมจัดการสัมมนา ARF หัวข้อ “ขยะทะเล-การจัดการขยะมูลฝอยและแนวทางแก้ไข” ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในระหว่างสมัยประชุมปี 2565-2566 กต. และ ทส. ไทยจะร่วมกับรัสเซียและจีนเป็นประธานร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ARF หัวข้อ “การต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อก่ออาชญากรรม” ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในระหว่างสมัยประชุมปี 2565-2566 กต. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไทยจะดำรงตำแหน่งประธานร่วมของการประชุมระหว่างปีว่าด้วยการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธร่วมกับสหรัฐฯ และสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สมัยประชุมปี 2565-2567 กระทรวงกลาโหม (กห.) กต. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ สมช.