ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

เงินตราคือ วัตถุที่ใช้ในการแลกขายซื้อเปลี่ยน เป็นตัวแทนการวัดมูลค่าของสินค้าที่แลกเปลี่ยนกัน เงินตราในอดีตเริ่มจากการใช้เปลือกหอย อัญมณี พัฒนามาเป็นโลหะ ปัจจุบัน ใช้เป็น เหรียญกษาปณ์ และ ธนบัตร

ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4
ดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อน พุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งกลุ่มชนเหล่านี้ได้มีการติดต่อกับชุมชนอื่นในบริเวณใกล้เคียง โดยใช้สื่อกลางใน การแลกเปลี่ยนหลายรูปแบบ เช่น ลูกปัด เปลือกหอย เมล็ดพืช เป็นต้น สำหรับชนชาติไทยสันนิษฐานว่าได้มีการนำโลหะเงินมาใช้เป็นเงินตรามาตั้งแต่ใน สมัยสุโขทัย เรียกกันว่า เงินพดด้วง ซึ่งมีเอกลักษณ์ เป็นของตัวเอง และแสดงให้เห็นถึงความเจริญของชนชาติไทยที่ได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้เองเป็น เวลาหลายร้อยปีจวบจนมีการนำเงินเหรียญตามแบบสากลเข้ามาใช้
 
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

เงินตรา ฟูนัน

อาณาจักรฟูนันก่อตัวขึ้นบริเวณทางใต้ของลุ่มน้ำโขง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 และล่มสลายลง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 จากการโจมตีของพวกเจนละ อาณาจักรฟูนันได้รับอารยธรรมด้านการปกครองโดยกษัตริย์ และการนับถือศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูจากอินเดีย เงินตราที่ใช้จะมีสัญลักษณ์ เกี่ยวกับกษัตริย์ การปกครอง และศาสนา โดยมีลักษณะเป็นเหรียญเงินด้านหนึ่งมีสัญลักษณ์พระอาทิตย์ครึ่งดวงเปล่งรัศมี อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระศรีวัตสะ กลองบัณเฑาะว์ที่พราหมณ์ใช้ในพิธีต่างๆ และมีเครื่องหมายสวัสดิกะซึ่งหมายถึงความโชคดี

 
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

เงินตรา ทวารวดี

อาณาจักรทวารวดีเริ่มมีความสำคัญขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12 และล่มสลายลงในพุทธศตวรรษที่ 16 สันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางการปกครองอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม การปกครองยังคงอยู่ในระบบกษัตริย์ ประชาชนนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน เงินตราที่พบยังคงมีสัญลักษณ์เกี่ยวกับกษัตริย์ อำนาจการปกครอง ความอุดมสมบูรณ์ และศาสนา เช่น เหรียญเงินด้านหนึ่งเป็นรูปบูรณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม) ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ อีกด้านเป็นภาษาสันสกฤตโบราณ อ่านว่า "ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ" แปลว่า "บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี" เป็นต้น

 
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

เงินตรา ศรีวิชัย

ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 การค้าทางทะเลมีความสำคัญมากขึ้น ส่งผลให้เมืองที่อยู่บน คาบสมุทรสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไชยา และนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นตลาดกลางของสินค้าจากทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง และอินเดีย ทางฝั่งตะวันตก และสินค้าจากจีน ขอม ทวารวดี ทางฝั่งตะวันออก มีความสำคัญขึ้นเช่นกัน จนในที่สุดดินแดนแถบนี้จนถึงเกาะสุมาตราได้รวมตัวกันเป็นอาณาจักรศรีวิชัย การปกครองได้ใช้ระบบพระมหากษัตริย์ ประชาชนนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน เงินตราที่ใช้ทำด้วยเงินและทองคำ มี 2 ชนิด คือ "เงินดอกจัน" ด้านหนึ่งมีลวดลายเป็นรูปสี่แฉก อีกด้านหนึ่งมีอักษรสันสกฤตว่า "วร" แปลว่า "ประเสริฐ" เงินตราอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า "เงินนโม" ด้านหนึ่งมีร่องเล็กๆ คล้ายเมล็ดกาแฟอีกด้านหนึ่งเป็น ภาษาสันสกฤตว่า "น" ด้วยเหตุที่ประชาชนในบริเวณนี้นับถือพุทธศาสนา จึงได้ตั้งชื่อเงินตราที่มีอักษร "น" ว่า "เงินนโม" อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงในพุทธศตวรรษที่ 18

 
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

เงินตรา สุโขทัย

ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ราชอาณาจักรสุโขทัยถือกำเนิดขึ้น ได้ติดต่อค้าขายกับราชอาณาจักรในลุ่มเจ้าพระยา คือกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนดำเนินการค้าทางทะเลกับจีน อินเดีย ยุโรป และกลุ่มชนทางตอนเหนือของไทย เช่น ล้านช้าง ยูนนาน น่านเจ้า และไปไกลถึงเปอร์เซีย อาหรับ โดยที่ ราชอาณาจักรสุโขทัยได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้ในระบบเศรษฐกิจ คือ เงินพดด้วง นอกจากนี้ยังใช้ "เบี้ย" เป็นเงินปลีกสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าราคาต่ำ

เงินพดด้วงสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย และใช้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รวมเป็นเวลากว่า 600 ปี โดยทำขึ้นจากแท่งเงินทุบปลายงอเข้าหากันแล้วตอกประทับตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาลลงไป ด้วยเหตุที่มีสัณฐานกลมคล้ายตัวด้วง คนไทยจึงเรียกว่าเงินพดด้วง ขณะที่ชาวต่างประเทศเรียกเงินชนิดนี้ว่า เงินลูกปืน (BULLET MONEY) เงินพดด้วงถือได้ว่าเป็นเงินที่มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนเงินตราตระกูลใดในโลก ในสมัยสุโขทัย เงินพดด้วงมักมีตราประทับไว้มากกว่า 2 ดวง และเป็นรูปสัตว์ชั้นสูง เช่น วัว กระต่าย หอยสังข์ และราชสีห์ เป็นต้น

 
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

เงินตรา สมัยกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยนี้ยังคงใช้เงินพดด้วงเป็นเงินตรา แต่หลวงผูกขาดในการผลิต เงินพดด้วงในสมัยนี้ คล้ายเงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย แต่ตรงปลายขาที่งอจรดกันไม่แหลมเหมือนเงินพดด้วงสุโขทัย ตราที่ประทับส่วนใหญ่เป็นตราจักรและตราประจำรัชกาล เช่น ครุฑ ช้าง ราชวัตร พุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นต้น

 
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

เงินตรา สมัยกรุงธนบุรี

ในสมัยกรุงธนบุรี ยังคงใช้เงินพดด้วงเช่นครั้งกรุงเก่า สันนิษฐานว่ามีการผลิตเงินพดด้วงขึ้นใช้เพียง 2 ชนิดคือ เงินพดด้วงตราตรีศูลและตราทวิวุธ

เงินตรา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรี มาอยู่ฝั่งตรงข้ามคือ กรุงเทพมหานคร และสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้น เงินตราที่ใช้ในยุคต้นๆ ยังคงใช้เงินพดด้วง โดยที่ตราประทับบนเงินพดด้วงคือตราจักร ซึ่งเป็นตราประจำแผ่นดิน และตราประจำรัชกาล ซึ่งได้แก่

  • รัชกาลที่ 1 ตราบัวอุณาโลม
  • รัชกาลที่ 2 ตราครุฑ
  • รัชกาลที่ 3 ตราปราสาท
  • รัชกาลที่ 4 ตรามงกุฏ
  • รัชกาลที่ 5 ตราพระเกี้ยว
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

สมัยรัชกาลที่ 1

เงินพดด้วงในรัชกาลนี้ เดิมประทับตราจักร และตราตรีศูล แต่หลังจากบรมราชาภิเษกแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเงินพดด้วงประจำรัชกาลแล้วประทับตราพระแสงจักร-บัวอุณาโลม

 
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

สมัยรัชกาลที่ 2

ตราที่ประทับบนเงินพดด้วย คือ ตราจักรและตราครุฑ สันนิษฐานว่าตราครุฑ มาจากพระนามเดิมของรัชกาลที่ 2 คือ "ฉิม" ซึ่งเป็นวิมานของพญาครุฑ

 
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

สมัยรัชกาลที่ 3

ตราปราสาทเป็นตราประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ผลิตเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นอกจากนี้ยังมีการผลิตเงินพดด้วงเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญๆ ประทับตราต่างๆ เช่น ดอกไม้ ครุฑเสี้ยว ใบมะตูม และเฉลว เป็นต้น ส่วนการจัดทำเงินเหรียญขึ้นใช้ตามแบบสากลนิยมนั้น มีแนวคิดมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยโปรดเกล้าฯ สั่งจัดทำตัวอย่างเหรียญทองแดงส่งเข้ามา แต่ยังไม่โปรดเกล้าฯ ให้นำออกใช้

 
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

สมัยรัชกาลที่ 4

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศก็ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว พ่อค้าชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายมากขึ้นและได้นำเงินเหรียญของตนมาแลกกับเงินพดด้วงจากรัฐบาลไทยเพื่อนำไปซื้อสินค้าจากราษฎร แต่ด้วยเหตุที่เงินพดด้วงผลิตด้วยมือจึงทำให้มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกและการค้าของประเทศเสียประโยชน์ พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยจากเงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ

ในปี พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียที่ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ได้จัดส่งเครื่องทำเหรียญเงินขนาดเล็กเข้ามาถวาย เป็นราชบรรณาการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้จัดทำเหรียญกษาปณ์จากเครื่องจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกกันว่า "เหรียญเงินบรรณาการ" ในขณะเดียวกันคณะทูตก็ได้สั่งซื้อเครื่องจักรทำเงินจากบริษัท เทเลอร์ เข้ามาในปลายปี 2401 พระองค์จึงโปรดเกล้าให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ ในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า "โรงกระสาปณ์สิทธิการ" ในสมัยนี้จึงถือว่ามีการใช้เหรียญกษาปณ์แบบสากลนิยมขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาแม้ได้ประกาศให้ใช้เงินตราแบบเหรียญแล้วก็ยังโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เงินพดด้วงอยู่เพียงแต่ไม่มีการผลิตเพิ่มเติม จนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่มีการนำธนบัตรออกใช้แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ออกประกาศให้เลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2447 เป็นต้นมา

 
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

สมัยรัชกาลที่ 5

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่สำคัญ พระองค์มีพระราชดำริว่า มาตราของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยากต่อการคำนวณ และการจัดทำบัญชี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงใหม่ โดยใช้หน่วยเป็นบาท และสตางค์ คือ 100 สตางค์ เป็น 1 บาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2441 อันเป็นมาตราเงินตราไทยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระบรมรูปของพระองค์ประทับลงบนเหรียญ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ไทยประทับลงบนเหรียญกษาปณ์

 
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

สมัยรัชกาลที่ 6

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระ
ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้แต่ไม่มี การเปลี่ยนแปลงรูปแบบมากนัก ส่วนใหญ่เป็นเหรียญกษาปณ์ที่มีราคาไม่สูงนัก คือ 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์, และ 1 สตางค์

ในช่วงต้นรัชกาลยังคงใช้เหรียญที่ผลิตในรัชกาลที่ 5 ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 จึงโปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญเงินหนึ่งบาทประจำรัชกาล เป็นเหรียญตราพระบรมรูป-ไอราพต

 
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

สมัยรัชกาลที่ 7

ในรัชกาลนี้มีการผลิตเหรียญหมุนเวียนออกใช้ไม่มากนัก เนื่องจากอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เหรียญประจำรัชกาลที่นำออกใช้เป็นเหรียญชนิดราคา 50 และ 25 สตางค์ ตราพระบรมรูป-ช้างทรงเครื่อง

 
ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ สมัย รัชกาลที่ 4

สมัยรัชกาลที่ 8

เหรียญประจำรัชกาลที่ผลิตออกใช้หมุนเวียน เป็นเหรียญตราพระบรมรูป-พระครุฑพ่าห์ ชนิดราคา 50, 25, 10 และ 5 สตางค์ มี 2 รุ่น คือ รุ่นแรกมีพระบรมรูปเมื่อครั้นเจริญพระชนมพรรษา

 

สมัยรัชกาลที่ 9

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ใช้ในรัชกาลปัจจุบัน มี 8 ชนิดราคา คือ 1 สตางค์ 5 สตางค์ 10 สตางค์ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 5 บาท และ 10 บาท นอกจากนี้ยังมีการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เพื่อบันทึกเหตุการณ์สำคัญ อันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และหน่วยงานต่าง ๆ โดยผลิตทั้งเหรียญประเภทธรรมดาและเหรียญประเภทขัดเงา

มาตราเงินไทย

(มาตราเงินไทยโบราณ)

จากภาพจะเห็นว่า ตำลึงอยู่บนเฟื้อง, บาทอยู่บนสลึง, ไพอยู่ใต้ชั่ง เมื่อเรียงตามมูลค่าจะเป็น ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ไพ มีพิกัดอัตรา ดังต่อไปนี้

  • 800 เบี้ย เป็น 1 เฟื้อง
  • 50 เบี้ย เป็น 1 โสฬส(สิบหก) 16 โสฬส เป็น 1 เฟื้อง
  • 2 โสฬส เป็น 1 อัฐ(แปด) 8 อัฐ เป็น 1 เฟื้อง
  • 2 อัฐ เป็น 1 เสี้ยวหรือไพ 4 อัฐ เป็น 1 เฟื้อง
  • 2 เสี้ยวหรือไพ เป็น 1 ซีก 2 เสี้ยวหรือไพ เป็น 1 เฟื้อง
  • 2 ซีก เป็น 1 เฟื้อง 8 เฟื้อง เป็น 1 บาท
  • 2 เฟื้อง เป็น 1 สลึง 4 สลึง เป็น 1 บาท
  • 1 มายนหรือมะยง เป็น กึ่งบาท หรือ 2 สลึง
  • 4 บาท เป็น 1 ตำลึง
  • 20 ตำลึง เป็น 1 ชั่ง
  • 80 ชั่ง เป็น 1 หาบ

; ;

ที่มาสำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน
E-mail :

-----

เงินตราสยาม มีความหลากหลายในรูปพรรณและสัณฐาน มีความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย และมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจยิ่ง วิวัฒนาการของเงินตราไทยจึงย้อนอดีตไป ตั้งแต่สมัยก่อนที่มนุษย์จะรู้จักใช้เงินตรา และมีการนำสิ่งของต่างๆมาใช้แทนเงินตรา เช่น เปลือกหอย ลูกปัด กำไล หิน ขวานหิน เป็นต้น โดยนำมาใช้เป็นสื่อกลางสำหรับการแลกเปลี่ยน

เงินตราในยุคแรกเริ่ม

ได้มีการขุดพบเงินตราในยุคแรกเริ่ม ในบริเวณที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ เหรียญเงินฟูนัน ทวารวดี และศรีวิชัย ( เงินนโม และ เงินดอกจันทน์ ) นอกจากนี้ยังมีเงินภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือเงินล้านนา ( เงินเจียง เงินใบไม้ เงินผักชี และเงินท๊อก ) และเงินช้าง ( เงินฮาง เงินฮ้อย เงินลาด และเงินลาดฮ้อย ) เงินตราเหล่านี้เป็นเงินตราก่อนมีการตั้งรัฐไทย จากลักษณะของลวดลายบนเงินตรา แสดงให้เห็นว่าชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากจีนบ้าง อินเดียบ้าง

เงินพดด้วง

สมัยกรุงสุโขทัยได้มีการผลิตเงินพดด้วงขึ้นใช้ จึงถือได้ว่า " เงินพดด้วง” เป็นเงินตราของไทยโดยแท้ โดยมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำแบบใคร และใช้แลกเปลี่ยนหมุนเวียนในประเทศไทยเป็นเวลายาวนานที่สุด ประมาณกว่า 600ปี ตั้งแต่กรุงสุโขทัย อยุธยาจนถึง กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสมัยรัชกาลที่5เงินพดด้วงผลิตด้วยมือ โดยทำจากแท่งเงินบริสุทธิ์ ทุบปลายทั้งสองข้างให้งอเข้าหากัน มีรูปร่างคล้ายลูกปืนโบราณ ชาวต่างประเทศเรียกเงินชนิดนี้ว่า"Bullet Coin” ในสมัยสุโขทัย ยังไม่มีการผูกขาดการผลิต เงินพดด้วง จึงมีความหลากหลายในเนื้อเงินที่ใช้ทำ ตลอดจนน้ำหนักและขนาด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทางการจึงห้ามราษฎรผลิตเงินตราขึ้นเอง เงินพดด้วงจึงได้มาตรฐาน และมีตราประทับ 2 ดวงเป็นสำคัญ คือ ตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาล เงินพดด้วงใช้หมุนเวียนอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเลิกผลิต หลังจากได้ทำสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้า เนื่องจากการค้ากับต่างประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว การผลิตเงินพดด้วงด้วยมือ จึงไม่ทันกับความต้องการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริ ที่จะใช้เครื่องจักรผลิตแทน เพื่อความรวดเร็วทางการค้า ทรงขอให้คณะทูตที่กำลังจะเดินทางไปเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ที่กรุงลอนดอน ติดต่อซื้อเครื่องจักรเพื่อนำมาใช้ในการผลิตเงิน จาก บริษัทเทเลอร์และชาลเลน ( Taylor & Challen Limited , Birmingham ) และทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงงานขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพ.ศ. 2400 มีชื่อเรียกว่า " โรงกษาปณ์สิทธิการ

เหรียญกษาปณ์ไทย

มีการผลิตเหรียญกษาปณ์รูปทรงแบนตามสมัยนิยมขึ้นแทนเงินพดด้วง ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการทำเหรียญกษาปณ์ตราพระเกี้ยวออกใช้ เหรียญที่สำคัญได้แก่ เหรียญเงินตราพระแสงจักร - พระมหามงกุฎ พระเต้า ซึ่งเป็นเหรียญแบนรุ่นแรก ผลิตขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เหรียญเงินบรรณาการ ผลิตจากเครื่องจักรที่สมเด็จพระนางเจ้า วิคตอเรีย ถวายเป็นราชบรรณาการ เหรียญอัฐโสฬส ผลิตเพื่อใช้เป็นเงินปลีกแทนเบี้ยหอย เหรียญนิกเกิลผลิตออกใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้ทรงปรับปรุงหน่วยเงินจาก ชั่ง ตำลึง บาท มาเป็น บาท และ สตางค์ เป็นต้น จนกระทั่งถึงเหรียญกษาปณ์ ที่ใช้อยู่ในยุคปัจจุบันนี้ สรุปได้ว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ ทั้งชนิดที่ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และชนิดที่เป็นเหรียญที่ระลึกออกมาใช้มากที่สุด เนื่องจากพระองค์ทรงครองราชย์นานถึง 42 ปี เหรียญกษาปณ์ที่ผลิตในรัชกาลที่ 6,7 และ 8 ส่วนใหญ่ใช้สตางค์ที่รู้จักกันดีก็คือ สตางค์มีรู ชนิด 10 สตางค์ 5 สตางค์ 1 สตางค์ และครึ่งสตางค์ และเลิกใช้สตางค์มีรูในสมัยรัชกาลที่ 8 นี้เอง สมัยรัชกาลที่ 9 มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ ทั้งชนิดที่ใช้หมุนเวียน รวมถึงเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกต่างๆออกมามากมายหลายชนิด และสามารถนำมาใช้ชำระหนี้ได้ เช่นเดียวกับเงินหมุนเวียน เช่น เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเสด็จนิวัติ จากการเสด็จประพาสยุโรป และอเมริกา ในปี พ.ศ. 2504 และเหรียญอื่นๆอีกมากมาย บทบาทของเหรียญกษาปณ์เริ่มลดลง เมื่อการค้าขยายตัวขึ้น จนมีการริเริ่มนำเงินกระดาษมาใช้

ธนบัตรไทย

วิวัฒนาการของการใช้เงินกระดาษ หรือที่เรียกว่า " ธนบัตรไทย ” ตั้งแต่ " หมาย ” " ใบพระราชทานเงินตรา ” " อัฐกระดาษ ” " บัตรธนาคาร ” ซึ่งมีการนำออกมาใช้ครั้งแรก โดยธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ "ตั๋วเงินกระดาษ ” หรือ " เงินกระดาษหลวง ” มาจนกระทั่งถึงธนบัตรที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ หลังจากรัชกาลที่4 ทรงขึ้นครองราชย์ไม่นาน ปรากฏว่ามีการทำเงินพดด้วงปลอมกันมาก พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการทำ " หมาย ” ขึ้นใช้ นับเป็นเงินกระดาษชนิดแรกของระบบเงินตราไทย ธนบัตรไทยได้มีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบ สี ระบบพิมพ์ วัสดุ และเทคนิคในการพิมพ์มาตลอดเวลา ธนบัตรที่มีชื่อแปลก ๆ เช่น " ธนบัตรหน้าเดียว ” ( แบบหนึ่งพิมพ์หน้าเดียว ) " ธนบัตรแบบไถนา ” (ด้านหลังเป็นรูปพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ) " ธนบัตรไว้ทุกข์ ” ( แบบพิมพ์ซึ่งเตรียมไว้ใช้ใน 4 รัฐมลายู ชนิดราคาหนึ่งดอลลาร์ และนำมาแก้เป็นชนิดราคา 50 บาท โดยใช้หมึกดำ และ แดง พิมพ์ทับอักษรจีนและมลายู ) " ธนบัตรแบบบุก ” หรือ " Invasion Note ” ( ทางการของทหารอังกฤษจัดพิมพ์ขึ้น เพื่อเตรียมไว้ใช้จ่ายหากสามารถบุกเข้ายึดพื้นที่ในประเทศไทยได้ )

ธนบัตรแบบต่างๆที่มีการจัดพิมพ์

ธนบัตรรัฐบาลสยามแบบที่หนึ่งเป็นธนบัตรแบบแรกของประเทศไทย ประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2445 - 2468
ธนบัตรรัฐบาลสยามแบบที่สอง ประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ.2468 - 2471
ธนบัตรรัฐบาลสยามแบบที่สามประกาศใช้สมัยรัชกาลที่ 7 กำหนดให้มีตราพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พิมพ์ลงในธนบัตรเป็นครั้งแรก
ธนบัตรรัฐบาลสยามแบบที่สี่ พิมพ์ออกใช้ในสมัยรัชกาลที่ 8 มี 5 ชนิด คือ ราคา 1 บาท ( สีฟ้า ) 5 บาท ( สีม่วง ) 10 บาท ( สีน้ำตาล ) 20 บาท ( สีเขียวใบไม้ ) และ 1000 บาท ( สีแดงเข้ม )
ธนบัตรรัฐบาลสยามแบบที่ห้า (รุ่นนายเล้ง ท่าฉาง) ธนบัตรรุ่นนี้พิมพ์ในประเทศญี่ปุ่น โดยขนส่งมาทางเรือแล้วขนขึ้นที่ท่าเรือสิงคโปร์ ลำเลียงมาทางรถไฟเพื่อเข้ากรุงเทพ ขณะที่เดินทางมาถึงสถานีท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ถูกคนร้ายถีบหีบธนบัตรจากตู้รถไฟ ซึ่งเป็นธนบัตรชนิดราคา 5 บาท 10 บาท 20 บาท และ 100 บาท เหตุเกิด เมื่อ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งชาวบ้านเรียกธนบัตรรุ่นนี้ว่า " ธนบัตรไทยถีบ ” หรือ " ธนบัตรรุ่นนายเล้งท่าฉาง ” เพราะปลอมลายมือของ นายเล้ง ศรีสมวงศ์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น ส่วน " ท่าฉาง ”เป็นชื่อสถานที่ที่คนร้ายถีบหีบธนบัตรลงมา รวมเป็นจำนวนเงินมูลค่าทั้งสิ้น 8,146,800 มาท
ธนบัตรแบบที่หก มี 2 ชนิดราคา คือ 20 บาทและ 100 บาท รูปพรรณของธนบัตรเหมือนแบบที่สี่
ธนบัตรแบบที่เจ็ด เป็นธนบัตรที่พิมพ์ใช้เองเหมือนแบบที่สี่และแบบที่หก
ธนบัตรแบบที่แปด มี 5 ราคาด้วยกัน คือ1 บาท 5 บาท 10 , 20 และ 100 บาท
ธนบัตรแบบที่เก้า เป็นธนบัตรที่ใช้กันนานมากคือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2491- 2522
ธนบัตรแบบที่สิบ จัดพิมพ์โดย บริษัทโทมัส เดอ ลารู เป็นธนบัตรที่พิมพ์โดยบริษัทต่างประเทศรุ่นสุดท้าย หลังจากนั้นก็จัดพิมพ์ในประเทศไทยทั้งหมด
ธนบัตรแบบที่สิบเอ็ด ได้มีการจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2512 เป็นธนบัตรรุ่นแรกที่จัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์ธนบัตรไทย ดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ออกแบบธนบัตรเป็นช่างชาวอิตาเลียน
ธนบัตรโพลิเมอร์เป็นเงินพลาสติกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้แทนธนบัตรกระดาษเป็นครั้งแรก จัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ได้จัดพิมพ์ธนบัตรที่ระลึกราคา 500 บาท แบบพิเศษ ( โพลิเมอร์ ) จำนวน1 ล้านฉบับ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เช่นเดียวกับเงินหมุนเวียน และในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ได้ออกใช้ธนบัตรที่ระลึก ชนิดราคา 50 บาท แบบพิเศษ ( โพลิเมอร์ ) จำนวน 100 ล้านฉบับ

เหรียญทองคำ

รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริ จัดทำเหรียญทองคำขึ้นควบคู่ไปกับเหรียญเงิน จึงทรงมีประกาศความว่า " … ตามอย่างเมืองอื่นที่เป็นเมืองแผ่นดินใหญ่ๆนั้น หลายเมืองเมื่อทองคำมีมากขึ้น ผู้ครองแผ่นดินเมืองนั้นๆก็คิดทำเป็นเหรียญทองมีตราหลวงเป็นสำคัญให้ราษฎรใช้ในการกำหนดราคานั้นๆ ไม่ต้องเกี่ยงน้ำหนักแลเนื้อทองตีราคากัน ผู้ใดได้ทองตราทองเหรียญไป เมื่อต้องการเงินมาขอขึ้นเงินต่อคลังหลวง ฤาเศรษฐีเจ้าทรัพย์ก็ได้ ตามกำหนดซึ่งพิกัดไว้ … " จึงเกิดคำว่า " ทองตรา " ขึ้น เหรียญทองคำที่ได้จัดทำขึ้น ตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 4 มี 3 ขนาด ขนาดใหญ่ ราคา 8 บาท เทียบเท่ากับ เหรียญทองปอนด์สเตอร์ลิงก์ เรียกว่า " ทศ " ขนาดกลางราคา 4 บาท เรียกว่า " พิศ " ส่วนขนาดเล็ก ราคาสิบสลึง เรียกว่า " พัดดึงส์ " เทียบเท่า 1 ตำลึงจีน ในสมัยต่อมา มีการจัดทำเหรียญทองคำที่ระลึก และเหรียญที่ระลึกที่จัดทำขึ้นในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ระลึกเนื่องใน มหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก รวมถึงเหรียญที่ระลึก พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เป็นต้น

ข้อมูลจาก สำนักหอสมุดกลาง ม.รามคำแหง

บรรณานุกรม

" เงินตราโบราณ,” เสนาสาร. 41(803) : 36 – 45 ; ตุลาคม 2539.
จารุวรรณ กันทิมาพงษ์. " มารู้จักเหรียญกระษาปณ์กันเถอะ,” ธนารักษ์. 13(5) : 89 – 92 ; กันยายน – ตุลาคม 2533.
ใจทิพย์ อุไพพานิช. " ธนบัตรไทยในอดีต, ” หลักเมือง. 1(12) : 34 – 40 ; มีนาคม 2535.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. " ตำนานเงินตรา, ” วารสารวัฒนธรรมไทย. 21(2) : 21 – 30 ; กุมภาพันธ์ 2525.
เดือนฉาย เอกศาสตร์. " เหรียญกระษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีสมมงคล, ” วารสาร ตราไปรษณียากร. 30(12) : 46 – 48 ; กรกฎาคม 2543.
ธนารักษ์, กรม. " เหรียญกษาปณ์ไทย, ” นิตยสารนักรบไทย. 21(9) ; 16 –25 ; มิถุนายน 2530.
นพวรรณ อภิชนสุข. " เงินตราเมืองไทย, ” สลากกินแบ่ง. 9(40) 17 – 22 ; สิงหาคม – กันยายน 2542.
ไปย์ญานี ศกุนะสิงห์. " พระเกี้ยวในเงินตราสยาม, ” จามจุรี. 4(1) : 2 – 3 ; มีนาคม – มิถุนายน 2543.
พ. รุ่งอดิเรก (นามแฝง). " ประวัติดวงตราเงินบาท, ” วารสารวัฒนธรรมไทย. 21(1) : 29 – 30 ; มกราคม 2525.
ภาวิตา สัมมาปิติ. " สาระน่ารู้เกี่ยวกับเหรียญกษาปณ์ไทย, ” จันทรเกษม. 168 : 29 – 40 ; กันยายน – ตุลาคม 2525.
" เมื่อเหรียญกระษาปณ์กลับบ้าน, ” ธนารักษ์. 14(4) : 43 – 45 ; กรกฏาคม – สิงหาคม 2534.
ศันสนีย์ อุทุมมา. " จับจ่ายใช้สอยด้วย…โพลิเมอร์, ” NPC. 5(28) : 4 – 8 ; ตุลาคม 2540.