การกลายเป็นเมือง urbanization


การกลายเป็นเมือง urbanization

ชื่อเรื่อง Urbanization เมื่อ “เมือง” กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผล
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
             การเป็นเมืองและการเติบโตของเมืองเป็นนครหรือมหานครส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งทางบวกและลบในทางบวก เมืองส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเมือง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โอกาสในการทำงานสูงขึ้น มีนวัตกรรมใหม่ หากแต่ถ้าเมืองเติบโตโดยขาดทิศทาง และขาดการบริหารจัดการที่ดีก็จะนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ มากมาย ซึ่งหลายๆ เมืองหรือนครในโลกนี้กำลังเผชิญอยู่ คำถามสำคัญคือควรมีแนวทางและการบริหารจัดการเมืองอย่างไร เพื่อทั้งป้องกันปัญหาและสามารถจัดการปัญหาต่างๆ ของเมือง อย่างมีประสิทธิผล นอกจากนั้นยังพัฒนาให้เมืองเป็นกลไกของการพัฒนาประเทศ

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
อรทัย ก๊กผล.
Urbanization เมื่อ “เมือง” กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่น
สมัยใหม่.--กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2559.
220 หน้า.1. การเกิดเป็นเมือง 2. การปกครองท้องถิ่น . I. ธเนศ ชำนาญ, ผู้แต่งร่วม
II. บุรัสกร, ผู้แต่งร่วม. III. ชื่อเรื่อง 352.14
ISBN = 978-974-449-950-9

จัดพิมพ์โดย
สถาบันพระปกเกล้า
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารบี ชั้น 5
เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 02 - 1419563-77 โทรสาร 02-1438175

การกลายเป็นเมือง urbanization

Urbanization เมื่อ เมือง กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่ (230 ครั้ง) ดาวน์โหลด


Share :
การกลายเป็นเมือง urbanization
การกลายเป็นเมือง urbanization

กลับไปหน้าหลัก

"ความเป็นเมือง" สามารถนิยามหรือให้คำจำกัดความได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้มุมมองใดหรือข้อมูลอะไรมาอธิบาย เช่น การแบ่งแยกเมืองกับชนบท ตามเขตการปกครองหรือความหนาปน่นของประชากร การเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต/บริบทสังคม/วัฒนธรรม/โครงสร้างทางเศรษฐกิจ อย่างไรต่างก็สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจและอาชีพที่มาพร้อมกับการขยายตัวของความเป็นเมืองทั้งสิ้น


การกลายเป็นเมือง urbanization

รู้หรือไม่


  • โลกผ่านการขยายตัวของความเป็นเมืองตลอดศตวรรษที่ 20

  • คาดการณ์ว่าในอีก 35 ปีข้างหน้า ในปี 2050 โลกจะมีประชากรคนเมืองเพิ่มขึ้นมากถึง 2.4 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 66 ของประชากรโลก

สถานการณ์และแนวโน้มของไทย โอกาสและความท้าทาย

คนไทยกำลังอยู่ในวิถีคนเมือง ประเทศไทยมีการขยายตัวของความเป็นเมืองมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 แม้ประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจในรอบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ทว่าโมเดลการพัฒนาแบบเดิมเริ่มมาถึงทางตันด้วยข้อจำกัดหลายประการ อาทิ ผลิตภาพการผลิตที่ต่ำ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การแข่งขันทางเศรษฐกิจที่รุนแรงในตลาดโลก ฯลฯ ไทยจึงจำเป็ฯอย่างยิ่งที่จะต้องมองหาโมเดลการพัฒนาแบบใหม่ที่ตั้งอยู่บนฐานของความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม การยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมถึงต้องปรับตัวและมองหาโอกาสจากการขยายตัวของความเป็นเมืองเพื่อแข่งขันกับนานาชาติในอนาคตได้

มองเทรนด์ 5 ด้าน

การขยายตัวของความเป็นเมืองนำมาซึ่งโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ การวิเคราะห์ผ่านกรอบการวิเคราะห์ มองเทรนด์ 5 มิติ จะช่วยอธิบายถึงพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระยะยาว ปัจจัยเร่ง ความต้องการพื้นฐานของคนเมือง โอกาสเกิดใหม่และความคิดบันดาลใจ ที่จะก่อให้เกิดโอกาสในการประกอบอาชีพและโอกาสทางธุรกิจของสินค้าและบริการ

สถิติน่ารู้


  • ประเทศไทย ปี 2558 มีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์จำนวนมาก จนทำให้มูลค่าตลาดรวมสูงสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 2.07 แสนล้านบาท

    ถึงเวลาแล้วที่โลก…เริ่มเดินหน้าตรวจสอบเทคโนโลยีสุดล้ำอย่าง AI ที่กำลังฉลาดขึ้นทุกวัน ทุกวันนี้เราต่างคุ้นเคยกับเทคโนโลยี AI กันเป็นอย่างดี จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว และเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับเราขนาดนี้จึงอดไม่ได้ที่จะทำให้เกิดการตั้งคำถามจากคนในสังคม โดยเฉพาะเรื่อง จริยธรรม มาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ส่งผลให้ในปัจจุบันกลายเป็นข้อถกเถียงใหญ่ในหลายประเทศ ถึงขั้นกลายเป็นซีรีส์หรือภาพยนตร์กันเลยทีเดียว จากเดิมที่มีกฎหมาย General Data Protection Regulation (GDPR) เพื่อควบคุมดูแลในด้านข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว สหภาพยุโรป (EU) จึงเดินหน้าอีกขั้นด้วยการร่างกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้ AI ขึ้นมาในชื่อว่า “Artificial Intelligence Act (AIA)” เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา เป็นกฎหมายแรกของโลกที่ใช้กำกับดูแลขอบเขตการใช้งาน AI ในบริษัทต่างๆ เมื่อผ่านการพิจารณาอนุมัติจะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายภายในประเทศสมาชิกทันที แต่การขยับก้าวนี้ของสหภาพยุโรปไม่ได้ส่งผลเพียงแค่ในภาคพื้นที่ทวีปเดียวเท่านั้น ยังส่งผลกับนักพัฒนาทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เพราะไม่ว่าบริการหรือเทคโนโลยีนั้นจะมาจากที่ใดบนโลกก็ต้องถูกตรวจสอบเมื่อถูกนำมาใช้งานในยุโรป ซึ่งร่างกฎหมายนี้เรียกได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนและตัวช่วยกำหนดทิศทางเทคโนโลยี AI ในอนาคตได้ ร่างกฎหมาย “Artificial Intelligence Act (AIA)” มีหลักเกณฑ์สำคัญอยู่ 5 ข้อด้วยกัน จากแนวคิดที่ว่าสร้าง AI ที่เชื่อถือได้และเคารพหลักสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ใช้งานพึงได้รับ โดยแบ่งรายละเอียดดังต่อไปนี้ • การกำหนดหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายหรือการให้บริการระบบ AI ในสหภาพยุโรป • การกำหนดหลักเกณฑ์ในการสร้างความโปร่งใสของระบบ AI ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ • การกำหนดข้อห้ามไม่ให้ใช้ AI ในการสอดส่อง หรือการเฝ้าระวังบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพในพื้นที่สาธารณะ • การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดทิศทางและสร้างความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมาย • การกำหนดบทลงโทษทางปกครอง ไม่เพียงแค่กำหนดหลักเกณฑ์เท่านั้น ร่างกฎหมายนี้ยังได้จำแนกความเสี่ยงของเทคโนโลยี AI ไว้ใน 4 ระดับด้วยกัน 1.ระดับที่ 1 ยอมรับไม่ได้ (Unacceptable Risk) เทคโนโลยี AI ที่ขัดต่อค่านิยมของสภาพยุโรป ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานแบบร้ายแรง เช่น การใช้เทคโนโลยีสแกนใบหน้า (Facial Recognition) เพื่อสร้าง Social Credit แบบในประเทศจีน หรือเทคโนโลยีที่แสวงหาผลประโยชน์จากเด็กและผู้พิการ EU ก็จัดหมวดหมู่ให้อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงในระดับนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่ไม่สามารถใช้ได้ในยุโรปอย่างเด็ดขาด 2.ระดับที่ 2 ความเสี่ยงสูง (High Risk) เทคโนโลยี AI ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฎหมาย การระบุตัวตนทางชีวภาพ การบริการสาธารณะ รวมถึงด้านการศึกษาและจัดสรรหาบุคลากร โดยเทคโนโลยีในกลุ่มนี้จะต้องถูกตรวจสอบทั้งวัตถุประสงค์ กระบวนการพัฒนา อัลกอริทึมที่ใช้ในการประมวลผล ไปจนถึงข้อมูลของผู้ใช้ที่ส่งมอบให้ผู้บริการ เรียกได้ว่าถูกกำกับดูแลในทุกกระบวนการ 3.ระดับที่ 3 ความเสี่ยงจำกัด (Limited Risk) เทคโนโลยี AI ที่มีความเสี่ยงในการถูกแก้ไขดัดแปลงได้ เช่น Chatbot หรือเทคโนโลยี Deep Fake หากถูกใช้งานในยุโรปจะต้องมีการบอกบริบทการใช้งานให้เห็นได้ชัด ไม่สร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค เช่น แจ้งว่าตอนนี้คุณกำลังคุยกับ Chatbot อยู่ โดยเทคโนโลยีในระดับนี้มีข้อยกเว้นด้านการบังคับใช้กฎหมาย สามารถใช้งานได้อย่างอิสระภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ 4.ระดับที่ 4 ความเสี่ยงต่ำ (Minimal Risk) เทคโนโลยี AI ในแบบอื่นๆ ที่ไม่อยู่ใน 3 ระดับที่กล่าวมา สามารถพัฒนาและใช้งานได้ตามปกติ เพียงแค่ผู้พัฒนาหรือผู้ประกอบการมีจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ตระหนักถึงผู้ใช้งานและผลกระทบต่อสังคม สำหรับร่างกฎหมายนี้ถ้านักพัฒนาหรือผู้ประกอบการทำผิดเงื่อนไขจะมีบทลงโทษสูงสุดถึง 30 ล้านยูโรหรือต้องถูกปรับ 6% จากรายได้ทั้งหมดเลยทีเดียว และในอนาคตสหภาพยุโรปจะมีแผนการจัดตั้ง European Artificial Intelligence Board เพื่อทำหน้าที่กำหนดทิศทางและสร้างความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ต่อไป ซึ่งเป็นการวางแผนอนาคตที่สร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทั่วโลกอย่างแน่นอน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเกิดขึ้นของร่างกฎหมายนี้มุ่งเน้นการสร้างผลประโยชน์ให้กับผู้บริโภคเป็นหลัก ทั้งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้นและเพิ่มความโปร่งใสในการพัฒนานวัตกรรมและธุรกิจ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกปลอดภัยเมื่อได้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ แต่ในทางตรงกันข้ามก็อาจทำให้เกิดข้อจำกัดมากขึ้น ส่งผลให้พัฒนานวัตกรรมได้ล่าช้ากว่าเดิมและสามารถเกิดข้อพิพาทได้ง่าย เนื่องจากการประเมินความเสี่ยงทั้ง 4 ระดับยังมีข้อคลุมเครือ รวมถึงอาจมีประเด็นใหม่ๆ ในอนาคตที่ไม่สอดคล้องกับทั้ง 4 ระดับ ร่างกฎหมายนี้จึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาและสร้างข้อถกเถียงในสังคมต่อไป และไม่ใช่แค่สภาพภาพยุโรปที่เดินหน้าควบคุม AI สภาประชาชนแห่งมหานครเซินเจิ้น ประเทศจีนก็ได้เตรียมออกร่างกฎหมายในลักษณะนี้เช่นกัน แต่เป็นการควบคุมในระดับท้องถิ่นในเมืองที่เรียกได้ว่าเป็นซิลิคอนวัลเลย์แห่งโลกตะวันออก โดยข้อกำหนด หลักเกณฑ์ต่างๆ จะเป็นอย่างไรก็ต้องคอยติดตามในอนาคต แม้ตอนนี้ในประเทศไทยจะยังไม่มีกฎหมายในลักษณะนี้โดยตรง แต่เราก็อยากชักชวนให้นักพัฒนา ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคทุกคนได้เข้าใจการเคลื่อนไหวในมิติด้านกฎหมายนี้ไว้ เพราะมันจะสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมได้ในหลายมิติ สุดท้ายถ้าคุณอยากทำความรู้จักเทคโนโลยีด้าน AI ให้มากขึ้น รวมถึงนวัตกรรมด้าน Deep Tech ในรูปแบบอื่นๆ งาน Virtual Event “SITE 2021 : DEEPTECH RISING” เป็นอีกงานหนึ่งที่จะมาเปิดโลกนวัตกรรมให้กว้างขึ้น ก้าวทันเทคโนโลยี และสร้างความเข้าใจในการใช้นวัตกรรมในมิติต่างๆ คลิกเข้าชมแบบย้อนหลังได้ที่นี่ > https://site.nia.or.th/ ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://t-reg.co/blog/t-reg-knowledge/what-is-pdpa/https://eur-lex.europa.eu/legal-content/