กระทรวงใดที่มีบทบาทในการให้การช่วยเหลือดูแลการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน

            หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนที่สำคัญมีดังนี้

1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เป็นหน่วยงานที่ได้รับการยกย่องให้เป็นองค์การตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นหน่วยกลางที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนกว้างขวางมากที่สุด

2. กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวัฒนธรรม  เป็นหน่วยงานที่จะทำหน้าที่อบรมสั่งสอน

ศึกษาวิจัย และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเพื่อให้สาธารณชน โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษาได้รับรู้และช่วยกันส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

3. กระทรวงมหาดไทย  มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น จดทะเบียน คนเกิด จดทะเบียนบ้าน และย้ายบ้าน ทำบัตรประจำตัวประชาชน จดทะเบียนคนตาย เป็นต้น

4. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  มีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองมิให้มีการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนและดำเนินคดีกับบุคคลที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

5. หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ที่ใช้อำนาจในการส่งเสริม และดูแลเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นครั้งคราว เช่น กรมประชาสงเคราะห์ กรมป่าไม้  กรมที่ดิน เป็นต้น

              หน่วยงานของเอกชน  หน่วยงานของเอกชน มีเป็นจำนวนมาก ทั้งหน่วยงานขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ บางหน่วยงานเกิดจากการรวมตัวกันของคนไทยด้วยกันเอง เช่น สภาสตรีแห่งชาติ มูลนิธิเด็ก และสมาคมส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ เป็นต้น ส่วนองค์การบางองค์การของเอกชนก็ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศให้เคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น องค์การสงเคราะห์ผู้ลี้ภัย องค์การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย  เป็นต้น

การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  

            การมีส่วนร่วมสามารถกระทำได้ดังนี้

1. ประชาชนทุกคนต้องใช้สิทธิมนุษยชน เพื่อคุ้มครองตนเองมิให้ถูกละเมิดสิทธิ

2. ป้องกันและต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเมืองที่สำคัญ เช่น การชุมนุมอย่างสงบโดยปราศจากอาวุธ

3. ประชาชนต้องเคารพในสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น และปฏิบัติต่อคนอื่นอย่างเสมอภาคไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

กระทรวงใดที่มีบทบาทในการให้การช่วยเหลือดูแลการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด

ภาพเครื่องหมายราชการ[1]

ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง13 กรกฎาคม 2544
สำนักงานใหญ่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
งบประมาณประจำปี220.7847 ล้านบาท (พ.ศ. 2558)[2]
เว็บไซต์www.nhrc.or.th

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[3] (อังกฤษ: National Human Rights Commission of Thailand) เป็นคณะบุคคลจำนวน 7 คน ซึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว โดยมีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (อังกฤษ: Office of the National Human Rights Commission of Thailand) เป็นหน่วยงานราชการ ที่มีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปฏิบัติราชการภายใต้อำนาจหน้าที่ ปัจจุบันมีนายแพทย์พิทักษ์พล บุญยมาลิก เป็น เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

อำนาจหน้าที่[แก้]

  1. ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณี ระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำ หรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
  2. เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
  3. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
  4. ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
  5. จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน ภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา
  6. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

ในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและของประชาชนประกอบด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจเรียกเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ รวมทั้งมีอำนาจอื่นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[แก้]

ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2544-2552) ชุดที่ 2 (พ.ศ. 2552-2558) ชุดที่ 3 (20 พ.ย.2558 -2564) ชุดที่ 4 (25 พ.ค.2564[4] -ปัจจุบัน)
  • ศ. เสน่ห์ จามริก - ประธานกรรมการ
  • ผศ. จรัล ดิษฐาอภิชัย
  • คุณหญิงจันทนี สันตะบุตร
  • นัยนา สุภาพึ่ง
  • ศ.เกียรติคุณ ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี
  • วสันต์ พานิช
  • ผศ. ดร.สุทิน นพเกตุ
  • สุนี ไชยรส
  • สุรสีห์ โกศลนาวิน
  • คุณหญิงอัมพร มีศุข
  • อาภร วงษ์สังข์
  • ศ.กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ - ประธานกรรมการ
  • นพ. แท้จริง ศิริพานิช
  • นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
  • ปริญญา ศิริสารการ
  • ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
  • พลตำรวจเอก วันชัย ศรีนวลนัด
  • วิสา เบ็ญจะมโน
  • วัส ติงสมิตร - ประธานกรรมการ
  • ฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง
  • ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์
  • นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย (20 พ.ย. 2558 - 5 เม.ย. 2560)[5]
  • อังคณา นีละไพจิตร
  • เตือนใจ ดีเทศน์
  • ชาติชาย สุทธิกลม
  • พรประไพ กาญจนรินทร์ - ประธานกรรมการ
  • ปรีดา คงแป้น
  • สุชาติ เศรษฐมาลินี
  • ศยามล ไกยูรวงศ์
  • ปิติกาญจน์ สิทธิเดช
  • วสันต์ ภัยหลีกลี้

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ 304)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เล่ม 131 ตอนที่ 69ก วันที่ 30 กันยายน 2557
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ 304)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 114 ง หน้า 3-4 วันที่ 27 พฤษภาคม 2564
  5. "สุรเชษฐ์"ยื่นหนังสือลาออก จากกสม.มีผลทันที

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

กระทรวงและองค์กรตามรัฐธรรมนูญของรัฐบาลไทย

กระทรวง

  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • กระทรวงพลังงาน
  • กระทรวงพาณิชย์
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงยุติธรรม
  • กระทรวงแรงงาน
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • กระทรวงสาธารณสุข
  • กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • กระทรวงอุตสาหกรรม
  • สำนักนายกรัฐมนตรี

กระทรวงใดที่มีบทบาทในการให้การช่วยเหลือดูแลการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด

อดีต

  • กระทรวงทหารเรือ
  • กระทรวงนครบาล
  • กระทรวงโยธาธิการ
  • กระทรวงวัง
  • กระทรวงมุรธาธร
  • กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
  • ทบวงมหาวิทยาลัย
  • กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ศาล

  • ศาลปกครอง
  • ศาลยุติธรรม
  • ศาลทหาร
  • ศาลรัฐธรรมนูญ

องค์กรอิสระ

  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง
    • กกต.
  • ผู้ตรวจการแผ่นดิน
    • สผผ.
  • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
    • ป.ป.ช.
  • คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
    • สตง.
  • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

องค์กรอัยการ

  • อัยการสูงสุด
    • สนง.

  • หมวดหมู่
  • องค์กรตามรัฐธรรมนูญ

กระทรวงใดที่มีบทบาทในการให้การช่วยเหลือดูแลการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด
บทความเกี่ยวกับหน่วยงานหรือองค์กรนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล