เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง แก้ ปัญหา เรื่องน้ำ ด้วย การสร้าง ทำนบกั้นน้ำ

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง แก้ ปัญหา เรื่องน้ำ ด้วย การสร้าง ทำนบกั้นน้ำ

ถอดรหัสการจัดการน้ำฉบับเมืองโบราณ สุโขทัย เมืองเก่าที่มีระบบจัดการน้ำดีที่สุดในไทย

Focus

  • สุโขทัย ถือว่าเป็นเมืองโบราณที่มีการวางผังเมืองได้ดีที่สุดในไทยโดยเฉพาะในเรื่องการวางผังเมืองเพื่อจัดการปัญหาเรื่องน้ำ
  • ภายในเมืองสุโขทัยมีสระเก็บกักน้ำ หรือ ตระพัง เป็นระบบการดึงน้ำจากคูเมืองมาใช้ในชุมชน โดยพบประมาณ 175 สระ
  • สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง คือวิธีการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพของเมืองเก่าสุโขทัย

ในบรรดาเมืองเก่าของไทย สุโขทัย ที่มีอายุตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 18-19 ถือว่าเป็นเมืองโบราณที่มีการวางผังเมืองได้ดีที่สุดโดยเฉพาะในเรื่องการวางผังเมืองเพื่อจัดการปัญหาเรื่องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำแล้งหรือน้ำหลากก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับกรุงเก่าสุโขทัย ถ้าใครเคยไปเที่ยวเมืองเก่าแห่งนี้จะพบว่า สุโขทัยมีทั้งคันดินกั้นน้ำเป็นเขื่อนเก็บน้ำที่รู้จักกันดีว่า ทำนบพระร่วง ไปจนถึงการขุดสระน้ำที่เรียกว่า ตระพัง ตลอดจนการขุดคูคลองรอบเมือง ไปจนถึงการใช้น้ำดื่มจากบ่อบาดาล แน่นอนว่าเหล่านี้ไม่ใช่สระน้ำ คูคลองเพื่อภูมิทัศน์ที่สวยงาม แต่สระน้ำ คูคลองเหล่านี้คือแหล่งเก็บน้ำอย่างดีในยามแล้ง ขณะที่ยามน้ำฝนหลากก็ช่วยชะลอไม่ให้น้ำท่วมเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง แก้ ปัญหา เรื่องน้ำ ด้วย การสร้าง ทำนบกั้นน้ำ
ผลจากพายุเตี้ยนหมู่ทำให้คูคลองสระน้ำรอบเมืองเก่าน้ำปริ่ม แต่น้ำยังไม่ท่วมโบราณสถาน (อัพเดทภาพเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2564 / ภาพโดย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง แก้ ปัญหา เรื่องน้ำ ด้วย การสร้าง ทำนบกั้นน้ำ

หากย้อนในด้านภูมิศาสตร์ ตัวเมืองเก่าสุโขทัยนั้นตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำยมซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ราว 12 กิโลเมตร ถือว่าค่อนข้างไกล และดูเหมือนจะไม่สะดวกสบายนักในการลำเลียงสินค้า หรือใช้คมนาคมเดินทางไปยังเมืองอื่นๆ แต่นั่นกลับเป็นข้อดีในเรื่องของการป้องกันภัยธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำท่วม ส่วนข้อเสียก็คือการเลือกสร้างเมืองบนที่ดอนที่มีความสูงขึ้นมาจากพื้นที่ลุ่มริมน้ำ อีกทั้งระดับความลาดเอียงในเมืองเก่าสุโขทัยยังมีความสูงถึง 3-4 เมตร ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ หมายความว่า ชาวสุโขทัยโบราณต้องคิดค้นระบบการจัดการน้ำธรรมชาติให้มีเหลือใช้ในฤดูแล้งให้ได้ทั้งในแง่ดื่มกินและใช้ในการเกษตร รวมทั้งต้องคิดเผื่อไปถึงช่วงฤดูน้ำหลาก ต้องวางผังเมืองให้เชื่อมระบบการจัดการน้ำ เพื่อให้สามารถมีน้ำกิน น้ำใช้ หรือแม้แต่ใช้น้ำในการเดินทาง การขนส่งสินค้าจากที่ดอนสู่ลำน้ำยมให้ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเมืองเก่าสุโขทัยถึงได้รับการยกย่องว่ามีระบบการวางผังเมืองและการจัดการน้ำที่ยอดเยี่ยมที่สุดในบรรดาเมืองโบราณของไทย โดยแบ่งระบบการจัดการน้ำได้ดังนี้

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง แก้ ปัญหา เรื่องน้ำ ด้วย การสร้าง ทำนบกั้นน้ำ
ผลจากพายุเตี้ยนหมู่ทำให้คูคลองรอบเมืองเก่าน้ำปริ่ม แต่น้ำยังไม่ท่วมโบราณสถาน (อัพเดทภาพเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2564 / ภาพโดย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)

คูเมืองและกำแพงเมืองเพื่อการส่งน้ำ

คูเมืองและกำแพงเมืองสุโขทัยวางตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคันดินเป็นกำแพง 3 ชั้น และคูน้ำ 3 ชั้น ทำหน้าที่เป็นแนวป้องกันข้าศึกและเป็นคันบังคับส่งน้ำธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ โดยเป็นน้ำที่ไหลมาจากคลองเสาหอด้านทิศตะวันตกมายังบริเวณคูเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีท่อเชื่อมน้ำสู่คูเมืองชั้นใน ทั้งนี้ในการบูรณะปรับปรุงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ. 2521-2531ได้ขุดพบท่อน้ำดินเผาขนาดต่างๆ ใกล้ขอบสระและคูน้ำที่อยู่ล้อมรอบวัดเสมอๆ เช่น วัดพระพายหลวง วัดมหาธาตุ วัดเชตุพน นอกจากนี้การสร้างกำแพงเมืองสุโขทัยถึง 3 ชั้น สันนิษฐานว่าก็เพื่อให้กำแพงเมืองทำหน้าที่เหมือนฝายหรือเขื่อนป้องกันน้ำเข้าท่วมเมืองในฤดูน้ำหลาก ให้กำแพงและคูเมืองมีประโยชน์มากไปกว่าการป้องกันข้าศึกศัตรู

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง แก้ ปัญหา เรื่องน้ำ ด้วย การสร้าง ทำนบกั้นน้ำ
พายุเตี้ยนหมู่ทำให้ตัวเมืองสุโขทัยน้ำท่วมแต่อุทยานประวัติศาสตร์ยังไม่ได้รบผลกระทบ (อัพเดทภาพเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2564 / ภาพโดย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)

ตระพัง และเทคนิคการทดน้ำใช้ยามแล้ง

ภายในเมือง สุโขทัย มีสระเก็บกักน้ำ หรือ ตระพัง เป็นระบบการดึงน้ำจากคูเมืองมาใช้ในชุมชน โดยพบประมาณ 175 สระ เฉพาะตระพังที่จุน้ำได้ไม่ต่ำกว่า 300 ลูกบาศก์เมตรมีมากถึง 80 สระ กระจายไปตามชุมชนต่างๆ  ตระพังที่สำคัญ ได้แก่ ตระพังทอง ตระพังเงิน  ตระพังสอ ส่วนตระพังใหญ่สุดคือ ตระพังตะกวน ซึ่งถ้าน้ำเต็มความจุของตระพังขนาดใหญ่ก็จะไหลไปตามท่อสู่ตระพังขนาดเล็ก  อีกทั้งยังพบว่ามีการออกแบบคลองส่งน้ำจากบริเวณเมืองชั้นในให้สามารถผันน้ำจากตระพังด้านในมาสู่ตระพังบริเวณตัวเมืองรอบนอก รวมทั้งมีการขุดพบลำรางส่งน้ำเป็นท่อสังคโลกเรียกว่า ท่อพระร่วง ส่งน้ำจากด้านนอกเข้าไปในตัวเมืองเพื่อขังเก็บในตระพังใหญ่เล็กเพื่อใช้ตลอดทั้งปี โดยตระพังขนาดใหญ่ที่สำคัญ ได้แก่

  • ตระพังเงิน อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ มีขนาดกว้าง 52 เมตร ยาว 253 เมตร ลึก 3 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ 39,468 ลูกบาศก์เมตร
  • ตระพังทอง อยู่ทางทิศตะวันออกของวัดมหาธาตุ มีขนาดกว้าง 175 เมตร ยาว 800 เมตร ลึก 3 เมตร เก็บกักน้ำได้ 96,375 ลูกบาศก์เมตร เกาะกลางเป็นที่ตั้งของวัดตระพังทอง
  • ตระพังตะกวน  อยู่ทางทิศเหนือของตระพังเงินและวัดมหาธาตุ มีขนาดกว้าง 216 เมตร ยาว 417 เมตร ลึก 3 เมตร รับน้ำได้ 222,504 ลูกบาศก์เมตร เกาะกลางเป็นที่ตั้งของวัดสระศรี
  • ตระพังสอ อยู่ทางทิศเหนือของพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง มีขนาดกว้าง 56.75  เมตร ยาว 218 เมตร ลึก 3 เมตร กักเก็บน้ำได้ 37,114 ลูกบาศก์เมตร

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง แก้ ปัญหา เรื่องน้ำ ด้วย การสร้าง ทำนบกั้นน้ำ
สรีดภงส์ในวันที่ได้รับน้ำฝนเต็มจากพายุเตี้ยนหมู่ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 (ภาพ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย )

สรีดภงส์ พื้นที่เก็บกักน้ำยามแล้ง

สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง คือวิธีการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพของ สุโขทัย ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Cœdès) ได้ให้คำอธิบายว่า สรีดภงส์ เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ทำนบ ซึ่งในการสำรวจของกรมศิลปากรพบซากทำนบโบราณ 2 แห่ง คือ สรีดภงส์ 1 และ สรีดภงส์ 2 ตั้งอยู่ห่างจากกำแพงเมือง 3 กิโลเมตร และ 7.6 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ ทำหน้าที่รับน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มาจากเขาประทักษ์ เขาค่าย เขาเจดีย์งาม โดยแหล่งน้ำจากภูเขาจะไหลลงมาเป็นลำธารที่เรียกว่า โซก มาเก็บไว้ที่สรีดภงส์ และจากนั้นจัดการระบายน้ำจากสรีดภงส์ไปตามคลองต่างๆ อีกครั้งเพื่อดึงน้ำมาใช้ในตัวเมืองสุโขทัย โดยน้ำจะถูกบังคับให้ไปเลี้ยงคูเมืองโดยรอบและกักเก็บน้ำไว้ตามตระพังต่างๆ เพื่อให้ชาวเมืองมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง แก้ ปัญหา เรื่องน้ำ ด้วย การสร้าง ทำนบกั้นน้ำ
คลองเสาหอ กำลังระบายน้ำจากสรีดภงส์
(ภาพ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย )

บ่อน้ำซึม เพื่อการดื่มกินอย่างชื่นใจ

นอกจากวางระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำหลากและให้มีกินยามน้ำแล้งแล้ว ชาว สุโขทัย โบราณยังมีการขุดบ่อน้ำซึมหรือบ่อบาดาลที่เรียกว่า ตระพังโพย เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร แปลว่า บ่อมหัศจรรย์ (น่าจะหมายถึงบ่อบาดาลที่มีน้ำซึมจากใต้ดินตลอดปีเป็นเรื่องมหัศจรรย์) เป็นบ่อที่ให้น้ำสะอาดและเย็นชื่นใจจากใต้ดิน บ่อน้ำซึมนี้มีการขุดใช้อย่างแพร่หลาย พบมากถึง 198 บ่อ โดยบ่อน้ำซึมใต้ดินเหล่านี้มีลักษณะเป็นบ่อกลม กรุด้วยศิลาแลง อิฐ และบางแห่งมีหินก่อเสริมตรงปากบ่อ กระจายตัวอยู่ตามบริเวณต่างๆ ของเมือง ซึ่งจากการสำรวจของกรมศิลปากรพบว่า ไม่เคยมีการพบหลักฐานเกี่ยวกับการขุดบ่อน้ำซึมใช้จำนวนมากเช่นนี้จากเมืองโบราณอื่นๆ ในประเทศไทยมาก่อน นั่นสามารถยืนยันได้ว่าระบบการสุขาภิบาลของชาวสุโขทัยนั้นก้าวหน้ากว่าสังคมอื่นๆ เช่นเดียวกับการจัดการระบบน้ำและชลประทาน

ภาพ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

อ้างอิง

  • ระบบชลประทานสมัยสุโขทัย, กรมศิลปากร
  • ท่อปู่พระยาร่วงและระบบชลประทานเมืองสุโขทัย https://bit.ly/3ibW91H

เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง แก้ ปัญหา เรื่องน้ำ ด้วย การสร้าง ทำนบกั้นน้ำ


เพราะ เหตุ ใด สุโขทัย จึง แก้ ปัญหา เรื่องน้ำ ด้วย การสร้าง ทำนบกั้นน้ำ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ Sarakadee Lite

ในสมัยสุโขทัยสร้างสิ่งใด เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำ

การแก้ปัญหาเรื่องน้ำอุปโภคบริโภคที่ขาดแคลน พ่อขุนรามคำแหงใช้วิธีที่ปรากฏเป็นหลักฐาน คือ ที่เก็บน้ำขนาดใหญ่ทางด้านทิศใต้ “เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัย มีสรีดภงค์” สรีดภงค์มาจากภาษาสันสกฤต คือ สริทภงค แปลว่า “ทำนบ” แสดงว่ามีการเก็บน้ำขนาดใหญ่ไว้ในทำนบ และยังมีแหล่งเก็บน้ำตามธรรมชาติที่ค่อนข้างกว้างขวางมากเหมือนกัน ดังพรรณนา ...

เพราะเหตุใดสุโขทัยจึงแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมด้วยการสร้างทำนบกั้นน้ำไว้เป็นจำนวนมาก

ผังเมืองโบราณสุโขทัย ที่ตั้งเมืองเป็นพื้นที่ลาดเอียง มีการสร้างคันดินกั้นน้ำ ทำเหมืองฝายเพื่อชะลอน้ำ ภายในเมืองจึงมีร่องน้ำและบ่อน้ำจำนวนมาก

ภูมิปัญญาเกี่ยวกับน้ำในสมัยสุโขทัยเกิดขึ้นเพราะเหตุใด

ระบบการจัดการน้ำเป็นภูมิปัญญาที่เกิดในประเทศไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยการตั้งบ้านแปลงเมือง ดังหลักฐานทางด้านโบราณคดีตามชุมชนโบราณขนาดใหญ่หลายแห่ง มีการขุดคูน้ำและแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค นอกจากเหตุผลการป้องกันข้าศึกศัตรูแล้วยังเป็นแหล่งอาหารให้กับประชาชนอีกด้วย ในสมัยสุโขทัย บริเวณที่ตั้งเมืองสุโขทัยมักประสบปัญหาความ ...

สมัยสุโขทัยแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้วยวิธีใด

การสร้างเมืองสุโขทัยต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญมากมี 2 อย่าง ได้แก่ น้ำแล้งในฤดูร้อน กับน้ำท่วมในฤดูฝน วิธีแก้ปัญหาทำโดยได้ต้นแบบจากอีสาน ดังนี้ สร้างคันดินกั้นน้ำ และเบี่ยงเบนน้ำ รู้จักกันสมัยหลังในชื่อ “ทำนบพระร่วง” หรือ “ถนนพระร่วง”