งานบอลจุฬา ธรรมศาสตร์ จัดที่ไหน

ไทยรัฐออนไลน์

8 ธ.ค. 2563 17:20 น.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์งดจัดการแข่งขันฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 เนื่องด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19

เพจเฟซบุ๊ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกประกาศงดจัดการแข่งขันฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ในปี 2564 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ก่อนหน้านี้ ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะรับหน้าที่สลับกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งในครั้งที่ 75 นี้ เป็นคิวของธรรมศาสตร์  ก่อนจะประกาศงดจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ

สำหรับฟุตบอลประเพณีของสองสถาบัน จะแข่งขันกันทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ โดยปีที่ผ่านมา เป็นจุฬาฯ ที่เฉือนชนะธรรมศาสตร์ไปได้ 2-1 

# แท็กที่เกี่ยวข้อง

วิดีโอแนะนำ

ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ปีนี้ ชวนเพื่อปลุกกระแสสังคมให้ตระหนักรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ภายใต้แนวคิด Make a CHANGE เปลี่ยน ปรับ ขยับสังคม

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563

งานบอลจุฬา ธรรมศาสตร์ จัดที่ไหน

          ปิดฉากลงไปอย่างสวยงาม สำหรับการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 แม้ธรรมศาสตร์จะแพ้ไปด้วย 1-2 คะแนน แต่มิตรภาพที่ชาวธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ที่มีให้กันก็ไม่ได้ลดน้อยลง เพราะเราทุกคนมีสปิริต มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียว

          สำหรับการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ซึ่งในปีนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ ภายใต้แนวคิด “Make a CHANGE เปลี่ยน ปรับ ขยับสังคม” เพื่อปลุกกระแสสังคม ให้ตระหนักรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ให้ลุล่วงไปอย่างราบรื่นและยั่งยืน เสียงจากนิสิต นักศึกษาที่จะสะท้อนให้สังคมได้เปลี่ยน ปรับ ขยับได้ง่าย ๆ และเป็นรูปธรรมผ่านการจัดงานในครั้งนี้ คือการเปลี่ยนพฤติกรรมใกล้ตัวทุกคน แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การรณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดขยะ การร่วมกันบริจาคโลหิตเพื่อสังคม เป็นต้น และหวังว่าเสียงเล็ก ๆ จากนิสิต นักศึกษา 2 สถาบัน จะเป็นแรงกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมกันแสดงพลังในการปรับและเปลี่ยนเพื่อให้สังคมก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง

งานบอลจุฬา ธรรมศาสตร์ จัดที่ไหน

          รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า แนวคิดหลักในการจัดงานในปีนี้ คือ Make a CHANGE เปลี่ยน ปรับ ขยับสังคม ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทันสมัย ทันสถานการณ์โลก แสดงถึงความพร้อมและศักยภาพของคนรุ่นใหม่ในการมีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม โดยเริ่มจากจุดเล็ก ๆ อย่างตัวเองก่อน เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว ย่อมส่งผลให้สังคมไทยขยับไปในทางที่ดีขึ้น งานฟุตบอลประเพณีฯ ก็เช่นเดียวกัน เป็นการสร้างความรัก ความสามัคคี ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน โดยความรักสามัคคีที่แน่นแฟ้นเหล่านี้ จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังสำคัญในการร่วมแรงร่วมใจพัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไปในอนาคต

          นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร นายกสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปภัมภ์ กล่าวว่า งานฟุตบอลประเพณีฯ เป็นพื้นที่ให้พวกเราได้แสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี ระหว่างสองสถาบันได้อย่างชัดเจนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่พี่น้องได้ร่วมกันทำ สำหรับแนวคิดในปีนี้ ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน การปรับตัวจึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ปีนี้ งานฟุตบอลประเพณีฯ ได้ดำเนินมาเป็นครั้งที่ 74 แล้วถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง และถือเป็นหน้าที่ของพวกเราชาวธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ทุกคนที่จะสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ต่อไป

งานบอลจุฬา ธรรมศาสตร์ จัดที่ไหน

          สำหรับขบวนพาเหรดของธรรมศาสตร์ในปีนี้ ได้นำเสนอแนวคิดนี้ด้วยไฮไลท์ของ “ขบวนสื่อแนวคิดหลัก” ที่หยิบยกเรื่อง Social Bullying ขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในสังคม ให้เกิดความสร้างสรรค์และไม่ทำให้ใครตกเป็นจำเลยสังคม ผ่านคำพูดว่า “your words have power use them wisely” คำพูดของทุกคนมีพลัง เราสามารถสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าเดิมด้วยคำพูดของทุกคน นอกจากนี้ยังมี “ขบวนล้อการเมือง” ที่เป็นไฮไลท์ที่น่าจับตามองในทุกปี ซึ่งในปีนี้ยังคงสื่อถึงประเด็นทางสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมและความเคลื่อนไหวในมิติต่าง ๆ อย่างหลากหลาย และสอดคล้องกับแนวคิดของการจัดงานในปีนี้

งานบอลจุฬา ธรรมศาสตร์ จัดที่ไหน

          นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ธรรมศาสตร์ และจุฬาฯ ได้ร่วมกันจัดแคมเปญ “Waste This Way รักษ์โลกให้ถูกทาง” เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอย่างถูกต้องในงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 74 ผ่านคอนเซปต์ “ลด เปลี่ยน แยก” โดยการ “ลด” ใช้ผลิตภัณฑ์แบบ Single use รวมถึงลดวัสดุที่ไม่จำเป็นและส่งเสริมให้พกภาชนะส่วนตัว “เปลี่ยน” แพคเกจจิ้งอาหารในงาน ให้เป็นวัสดุ compostable และเปลี่ยนวัสดุในการทำพาเหรดให้ดีต่อโลกมากขึ้น และ “แยก” ขยะทุกชิ้นภายในงาน เพื่อนำไป reuse recycle & upcycling ต่ออย่างเหมาะสม และหลังจากจบงาน การจัดการขยะจะถูกนำไปคำนวณเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดไปได้ และขยะพลาสติกจะถูกนำไปอัพไซเคิลเป็นรองเท้าให้โรงเรียนที่ขาดแคลนอีกด้วย

คลิกดูรูปบรรยากาศเพิ่มเติม

ผู้ อัญเชิญ พระ เกี้ยว มี ใคร บ้าง

#แต้ว ณฐพร #นุสบา ปุณณกันต์ #ปันปัน เต็มฟ้า #ฟาง ธนันต์ธรญ์ นีระสงิห์

ทูตกิจกรรม คือ อะไร

ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือตัวแทนนักศึกษาในการบำเพ็ญประโยชน์ทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยค่ะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เราทำกันตลอดมา ทั้งลุย ทั้งจิตอาสา แต่ในช่วงของงานฟุตบอลประเพณีที่ธรรมศาสตร์และจุฬาฯ สลับกันเป็นเจ้าภาพ เอินและเพื่อนๆ ก็จะมีหน้าที่ในส่วนพิธีการด้วย มีทั้งด้านผู้อัญเชิญ นำขบวน ...