การพัฒนาชุมชนมีที่มาจากคำใด


ประวัติกรมการพัฒนาชุมชน

กรมการพัฒนาชุมชนป็นหน่วยราชการระดับกรมของกระทรวงมหาดไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่1ตุลาคม2505 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมฉบับที่10พ.ศ.2505โดยโอนกิจการบริหารของส่วนพัฒนาการ ท้องถิ่นกรมมหาดไทยเดิมเป็นกิจการ บริหารของกรมการพัฒนาชุมชน ในขณะที่กิจการบริหารของกรมมหาดไทย ได้โอนเป็นกรมการปกครอง

ในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหาร ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งปรับปรุงใหม่พ.ศ.2505 และเนื่องจากกรมการพัฒนาชุมชนและกรมการปกครอง มีรากฐานมาจากกรมมหาดไทย เหมือนกันมีความ สัมพันธ์กันในทางจิตใจ ในทางการงานที่ต้องปฏิบัติให้บรรลุผลตามนโยบายของกระทรวงร่วมกัน กระทรวงมหาดไทยจึงมี หนังสือด่วนมากที่1890/2505 ลงวันที่12พฤศจิกายน2505สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัดให้รับทราบคำสั่งที่1358/2505 เรื่องระเบียบว่า ด้วยความสัมพันธ์และปฏิบัติงานร่วมกันของกรมการปก ครองและกรมการพัฒนาชุมชน

สรุปได้ว่า “การพัฒนาชุมชนเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ในยุคนั้นที่จะปรับปรุงความเป็นอยู่และมาตรฐาน การครองชีพของประชาชน ในชนบทให้ดียิ่งขึ้นในระดับอำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้ประสานงานระหว่าง เจ้าหน้าที่ วิชาการของกระทรวง ทบวงกรมต่างๆ กับพัฒนากร ให้ปฏิบัติงานร่วมกันตาม หลักการ ระเบียบและวิธีการ ในระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้รับผิดชอบ ในการบริหารงานพัฒนาชุมชน โดยอาศัยการประสานงาน อย่างใกล้ชิด ระหว่างส่วนราชการ ต่าง ๆ ของจังหวัด กระทรวงมหาดไทยมีนโยบายให้ข้าราชการของทั้งสองกรม นี้ได้มีโอกาสศึกษา ประชุม สัมมนาและร่วมกันปฏิบัติงาน พัฒนาชุมชน ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และมีหลักการสับเปลี่ยนโอน หรือยืมตัวหมุนเวียนกันไปปฏิบัติงานได้ตามความจำ เป็น และเหมาะสม ในการสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนขั้นของข้าราชการของกรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สามารถสอบร่วมกันได้ ”

ภารกิจความรับผิดชอบของกรมการพัฒนาชุมชน

อำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวง มหาดไทยพ.ศ. 2552
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทยพ.ศ. 2552 ให้กรมการพัฒนาชุมชน
มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการมี ส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ
ชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพโดยสนับ สนุนให้มีการจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน ตลอดจนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน
เพื่อให้เป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางในการพัฒนาชุมชนระดับชาติ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ เอกชน
และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการพัฒนาชุมชน ได้ใช้เป็นกรอบแนวทาง ในการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถและความ
เข้มแข็งของชุมชน
(2) จัดทำและพัฒนาระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับประเมินความก้าวหน้า
และมาตรฐานการพัฒนาของชุมชน
(3)พัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การอาชีพ
การออม และการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชน ชุมชน ผู้นำชุมชน องค์การชุม
ชน และเครือข่ายองค์การชุมชน
(4) สนับสนุนและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศชุมชน ส่งเสริมการใช้ประโยชน์และการ ให้บริการ
ข้อมูลสารสนเทศชุมชน เพื่อใช้ในการวางแผนบริหารการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(5) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้เพื่อใช้ในงานพัฒนาชุมชน และการ จัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน
(6) ฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน องค์การชุมชน และเครือข่ายองค์การชุมชนให้มีความรู้
ทักษะ ทัศนคติ และสมรรถนะในการทำงาน รวมทั้งให้ความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาชุมชน
แก่หน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(7) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ชั้น 5
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
กรุงเทพมหานคร

แนวคิดการพัฒนาชุมชนที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาในกลุ่มประเทศเครือจักรภพจากเดิมมาเป็น การพัฒนาที่เห็นว่าประชาชนเป็นแกนกลางของพลังขับเคลื่อนทางสังคม เมื่อแนวคิดการพัฒนาชุมชนนี้เผยแพร่ออกไปจนก่อเกิดเป็นปรัชญาเกี่ยวกับการทำ งานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างประชาชนกับรัฐบาลในการปรับปรุงสภาพความเป็น อยู่ซึ่งเรียกว่าขบวนการพัฒนาชุมชน ขบวนการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศใช้แผนการบูรณะชนบทพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ สร้างสรรค์ชีวิตจิตใจของประชาชนในชนบทให้เหมาะสมที่จะเป็นพลเมืองดี และส่งเสริมให้ประชาชนมีการครองชีพที่ดีขึ้น และได้จัดตั้งสำนักงานพัฒนาการท้องถิ่นขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น และมีการริเริ่มโครงการพัฒนาท้องถิ่นในปีถัดมาโดยมีปลัดพัฒนากรเป็นผู้ ปฏิบัติงานซึ่งเรียกกันในภายหลังว่าพัฒนากร

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม ฉบับที่ ๑๐ และจัดตั้งกรมการพัฒนาชุมชนขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อวัน ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ภารกิจในระยะแรกของกรมการพัฒนาชุมชนคือ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนา ตนเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าพัฒนากรต้องทำงานกับประชาชน มิใช่ทำให้ประชาชน

(Visited 26 times, 1 visits today)