อิทธิพลของสื่อประเภทใดส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงของวัยรุ่นมากที่สุด

สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้เชิงสร้างสรรค์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เมนูนำทาง เรื่อง

ปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นในสังคมไทยปัจจุบัน มีจำนวนมากขึ้น ดังที่สามารถเห็นในข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป เช่น เด็กนักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน , เด็กวัยรุ่นใช้ปืนยิงกัน และยิงตัวตาย กลุ่มเด็กวัยรุ่นรุมข่มขืนเด็กผู้หญิง มีการใช้อาวุธที่รุนแรงและอันตราย เช่น มีด ปืน วัตถุระเบิด ความรุนแรงของวัยรุ่นนำไปสู่สาเหตุการตายจำนวนมากขึ้น

วัยรุ่นเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ วุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ การปรับตัวอยู่ในสังคม ที่สำคัญโดยธรรมชาติของวัยรุ่น เป็นช่วงแห่งการเรียนรู้หาประสบการณ์ อยากลองสิ่งแปลกใหม่และทำสิ่งที่ท้าทาย ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ในวัยรุ่นมากมาย วัยรุ่นเรียนรู้และซึมซับความรุนแรงจากชีวิตจริงที่เขาได้เห็นได้สัมผัสจากคนใกล้ชิด , ครอบครัว , ชุมชน , สังคม , โรงเรียน , สิ่งแวดล้อม ตลอดจนจากสื่อต่างๆ ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อเด็กเล็กๆ และวัยรุ่นในสังคมปัจจุบัน บทบาทของวัยรุ่นนั้นในความรุนแรง อาจจะเป็นทั้งผู้กระทำและถูกกระทำ ซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาสปัจจัยสิ่งแวดล้อม ปัญหาความรุนแรงในวัยรุ่นมีปัจจัยต่างๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายปัจจัยร่วมกันส่งเสริมให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น เช่น ปัญหาทางด้านพันธุกรรม , ฮอร์โมน , ความผิดปกติทางด้านร่างกาย , พื้นฐานทางด้านอารมณ์ , การเลี้ยงดู , สภาพทางด้านครอบครัว , วัฒนธรรม , ค่านิยม , ความเชื่อ , เชื้อชาติ ตลอดจนกฎเกณฑ์ทางด้านสังคมและกฎหมายต่างๆ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่นำไปสู่ความรุนแรงที่เราพบเห็นเป็นประจำที่ปัจจุบันมีอิทธิพลอย่างมาก คือ สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ วิดีโอเกมส์ คอมพิวเตอร์ และสิ่งที่จะชักจูงนำไปสู่ความรุนแรงได้ง่ายมากขึ้น คือ พวกเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมต่างๆ ยา สารเสพติด ฯลฯ ซึ่งกลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงและล่อแหลมต่อสิ่งดังกล่าว ถ้าหากไม่มีการควบคุมกำกับดูแลที่ดีในปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้จะมีผลเสียเกิดขึ้นตามมากับวัยรุ่นมากกว่าผลดีที่วัยรุ่นควรจะได้รับ ดังผลวิจัยโดย ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า จากผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานการณ์การใช้ความรุนแรงในกลุ่มและเยาวชน พบว่า    คลิกที่นี่เพื่ออ่านต่อ

อิทธิพลของสื่อประเภทใดส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงของวัยรุ่นมากที่สุด

ขอบคุณที่มา  dek-d.com

อิทธิพลของสื่อประเภทใดส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงของวัยรุ่นมากที่สุด

คลิกที่นี่เพื่ออ่านต่อวัยรุ่นเป็นวัยที่เริ่มสนใจ ศึกษา ค้นหา ทดลองสิ่งใหม่ ที่ตนพอใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศตรงข้าม , แฟชั่นต่างๆ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ถ้าวัยรุ่นได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมที่ยั่วยุก็จะมีแนวโน้มที่จะสนองตอบต่อความต้องการของตนได้ง่าย และเกิดพฤติกรรมเลียนแบบต่างๆ ตามค่านิยมของสังคม ปัจจุบันว่ามีภัยที่เกิดขึ้นจากสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น วัยรุ่นหลายๆ คนเป็นเหยื่อ ไม่ว่าจะเรื่องเกมส์ออนไลน์การแต่งกายตามแฟชั่นที่ล่อแหลม , การติดตอเพศตรงข้ามผ่านอินเตอร์เน็ต หรือสาวๆหลายคนกลายเป็นสินค้าหน้าจอโดยไม่รู้ตัว  อิทธิพลของสื่อที่มีต่อวัยรุ่น  คลิกที่นี่เพื่ออ่านต่อ

อิทธิพลของสื่อประเภทใดส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงของวัยรุ่นมากที่สุด

ขอบคุณที่มา  ครู วรรณา พุทธิเมธากุล

เมนูนำทาง เรื่อง

หลายคนคงเคยได้ยินสำนวนเปรียบเทียบที่ว่า “ดาบสองคม” สื่อในปัจจุบันอาจนำสำนวนนี้มาใช้ได้เนื่องจาก สื่อในตอนนี้เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงและติดตามได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ซึ่งจริง ๆ แล้วประโยชน์ของสื่อนั้นก็มีหลากหลาย แต่อีกนัยหนึ่งมันก็ซ่อนคมที่อาจเป็นอันตรายต่อสังคมและเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีให้กับเด็กและเยาวชนที่ยังไม่สามารถแยกแยะใช้วิจารณญาณได้ดีเท่ากับผู้ใหญ่ อันอาจนำมาสู่ประเด็นเรื่องการใช้ความรุนแรง

โดยเฉพาะสื่อในปัจจุบันที่มักมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรุนแรง อาชญากรรม ความขัดแย้ง และเรื่องราวทางเพศอยู่เสมอ ๆ จนเป็นที่น่ากังวลว่าอาจทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่า โลกนี้เต็มไปด้วยความรุนแรง ความขัดแย้ง การดิ้นรนต่อสู้ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะหากเนื้อหาในสื่อแสดงให้เห็นถึงตัวละครเอกในเรื่องที่มีอำนาจ มีชัยชนะเหนือผู้อื่นได้ด้วยการใช้พละกำลังหรือความรุนแรง ซึ่งเด็กและเยาวชนที่ยังมีประสบการณ์ชีวิตน้อยอาจถูกบ่มเพาะโดยไม่รู้ตัว และสุดท้ายจะคล้อยตามและเชื่อต่อสิ่งที่สื่อนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมประเด็นเรื่องสื่อกับเยาวชนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรตระหนัก สาเหตุสำคัญเลยก็คือ สื่อถือเป็นตัวกระตุ้นและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนบางคนมีพฤติกรรมชอบใช้ความรุนแรงในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้ในประเด็นเรื่องสาเหตุของการใช้ความรุนแรงนั้นถือเป็นเรื่องที่ยากต่อการอธิบายพอสมควร เนื่องจาก ความรุนแรงเป็นปรากฏการณ์ที่มีความซับซ้อน และมีรากฐานมาจากหลายองค์ประกอบรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางชีวภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลกับพฤติกรรม ส่วนบุคคลที่จะกระทำความรุนแรงหรือตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง เช่น ความผิดปกติทางจิตและบุคลิกภาพ ได้แก่ การมีปัญหาทางจิต ผู้ที่มีอาการทางจิตที่มีอารมณ์ก้าวร้าว การมีบุคลิกภาพก้าวร้าว ขาดการควบคุมตนเองจะกระทำรุนแรงเมื่อโกรธ ผิดหวังหรือสิ้นหวัง การใช้สารเสพติด ผู้ใช้สารเสพติดรวมทั้งสุรา ที่ทำให้ผู้เสพมีความรู้สึกตัวลดลง สูญเสียความสามารถในการตัดสินใจ การยับยั้งควบคุมตนเองไม่ได้ จึงนำไปสู่การใช้ความรุนแรงได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและสังคมเองก็ถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลและเป็นสาเหตุของพฤติกรรมความรุนแรงได้ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ การที่บุคคลมีประสบการณ์ความรุนแรง เช่น การที่บุคคลได้พบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงหรือรับรู้ เรื่องราวข่าวสารเกี่ยวกับความรุนแรงผ่านสื่อต่าง ๆ หรืออาจเป็นการรับรู้จากการเคยมีส่วนร่วม คือ การที่บุคคลได้เข้าร่วมในเหตุการณ์ความรุนแรงในฐานะผู้กระทำความรุนแรงหรือผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรง จากประสบการณ์ทั้งสองหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง อาจทำให้บุคคลดังกล่าวเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับความรุนแรงโดยการเลียนแบบได้

สถานการณ์และผลกระทบจากการบริโภคข่าวสารความรุนแรง

การใช้ความรุนแรงถือเป็นสถานการณ์ที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงขึ้นตามลำดับ เห็นได้จากรายงานขององค์การอนามัยโลก ที่ระบุว่า ในแต่ละปีนั้นจะมีประชากรโลกจำนวนมากกว่า 1.3 ล้านคน เสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรง หรือคิดเป็นร้อยละ 2.5 ของอัตราการเสียชีวิตในทุกรูปแบบเลยทีเดียว

ในส่วนของประเทศไทยเองก็มีแนวโน้มทิศทางการใช้ความรุนแรงเช่นเดียวกัน เห็นได้จากข้อมูลเกี่ยวกับคดีของเด็กและเยาวชนในปี 2556 จำแนกตามฐานความผิด ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งหากพิจารณาแล้วเราก็จะพบการใช้ความรุนแรงโดยเด็กและเยาวชนเป็นจำนวนมาก

อิทธิพลของสื่อประเภทใดส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงของวัยรุ่นมากที่สุด

ความรุนแรงในเด็กและเยาวชนนั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เกิดการบาดเจ็บและทุพพลภาพ นอกจากนี้ยังทำให้เสียโอกาสในการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดปัญหาทางจิต-สังคมอื่น ๆ ตามมา ผลกระทบดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งกับเยาวชนที่เป็นผู้กระทำและเป็นผู้ถูกกระทำ ขณะเดียวกันยังสร้างให้เกิดผลกระทบในมิติอื่น ๆ เช่น ทางด้านเศรษฐกิจในเรื่องค่ารักษาพยาบาล การสูญเสียโอกาสทางการศึกษา การประกอบอาชีพ การสูญเสียทรัพย์สิน ความสูญเสียทางสังคม ความไม่ปลอดภัยของสังคม การสูญเสียความสามารถในการผลิต ด้วยเหตุนี้ปัญหาความรุนแรงของเยาวชนจึงเป็นปัญหาที่ต้องมีการแก้ไขและป้องกันอย่างเร่งด่วน

และสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งเลยที่นำมาซึ่งพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง นั่นก็คือ “สื่อ” ดังที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาที่นำเสนอผ่านสื่อกับความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความก้าวร้าวของเด็กและเยาวชน จากโครงการวิจัยเรื่อง “ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคข้อมูลข่าวสารการใช้ความรุนแรงผ่านสื่อดิจิทัลของเด็กและวัยรุ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีต่อแนวคิดการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา” นั้นผลการศึกษาพบว่า ความรุนแรงในสื่อต่าง ๆ แม้จะไม่ได้มีส่วนเพิ่มหรือลดความเป็นไปได้ในการแสดงพฤติกรรมรุนแรงของผู้รับสารอย่างเด่นชัด แต่ก็มีผลในการเสริมสร้างความก้าวร้าว รุนแรง โดยเป็นแรงเสริมต่อการใช้ความก้าวร้าวรุนแรงที่มีอยู่แล้วของผู้รับสาร

โดยเฉพาะสำหรับเด็ก เนื้อหาที่นำเสนอผ่านสื่อ เป็นเหมือนสถานการณ์จำลองที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากการสังเกต หากเนื้อหาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ก็จะส่งผลต่อการนำไปสู่การปฏิบัติที่เหมาะสมในสังคม แต่หากเป็นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม สิ่งเหล่านั้นก็จะถูกนำไปสู่การปฏิบัติในสังคมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากทักษะการคิดของเยาวชนที่ยังไม่ได้ถูกพัฒนาอย่างเต็มที่ จึงไม่สามารถตีความเนื้อหาได้ดีเท่ากับผู้ใหญ่

อิทธิพลของสื่อประเภทใดส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงของวัยรุ่นมากที่สุด

ทั้งนี้ผลกระทบที่ตามมาจากการบริโภคข่าวสารความรุนแรงนั้นมีมากมาย แต่อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ผลกระทบต่อตัวเด็กและวัยรุ่น ผลกระทบต่อครอบครัว ผลกระทบต่อชุมชน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ สำหรับผลกระทบต่อตัวเด็กและวัยรุ่น ผลการศึกษาพบว่า ส่วนมากเกิดจากการที่ผู้ปกครองบางคนได้ใช้อุปกรณ์สื่อดิจิทัลในการเล่นกับลูก ทั้งการโทรศัพท์พูดคุยกัน ถ่ายรูปบันทึกวีดิโอร่วมกัน หรือการเปิดดูยูทูปต่าง ๆ ให้ลูกดู ซึ่งอาจทำให้ลูกติด และในช่วงนี้เองมีโอกาสเป็นไปได้ที่เด็กและวัยรุ่นจะได้รับข่าวสารความรุนแรงจากสื่อดิจิทัล ซึ่งอาจเกิดการเลียนแบบพฤติกรรมและนำมาเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ โดยที่เด็กและวัยรุ่นเองก็อาจจะไม่รู้ตัว เด็กและวัยรุ่นอาจขาดการควบคุมอารมณ์ มีอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย ดังที่ผู้ปกครองท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์ไว้ว่า

“สงสัยเพราะลูกใช้โทรศัพท์มือถือมากไปหรือเปล่า เวลาห้ามอะไรไป บางทีมีอาการโมโห บางครั้งเวลาไม่ถูกใจก็อาละวาดขว้างปาสิ่งของ”

ต่อมาด้านผลกระทบต่อครอบครัว ครอบครัวอาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากพฤติกรรมของเด็กและวัยรุ่นในการติดตามข่าวสารความรุนแรง ดังที่ผู้ปกครองหลายท่านสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงและมีความกังวลต่อพฤติกรรมของเด็กและวัยรุ่นที่เปลี่ยนไป แต่ส่วนใหญ่ไม่มีแนวทางในการป้องกันปัญหาและขาดที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหาเด็กและวัยรุ่นที่เกิดขึ้น โดยในบางครอบครัวปัญหานี้กลายมาเป็นจุดที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ดังที่เยาวชนคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ไว้ว่า

“พ่อแม่มักคิดก่อนเสมอว่าเราต้องทำอะไรผิดมาแน่ ๆ เริ่มต้นการพูดคุยก็
เหมือนกับหาว่าเราทำอะไรผิด ดังนั้นคุยไปก็เท่านั้น เขาไม่ฟังเราอยู่แล้ว”

ซึ่งจากจุดเริ่มต้นของความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้ปกครองกับเด็กและวัยรุ่น อาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ปัญหายาเสพติดที่เกิดจากความรู้สึกขาดความอบอุ่น ขาดความรักจากคนในครอบครัวของเด็กและวัยรุ่น ทำให้การชักชวนไปสู่วงจรยาเสพติดได้ง่ายขึ้น โดยการชักชวนของกลุ่มเพื่อน เพราะเด็กและวัยรุ่นต้องการพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเขา เมื่อไม่มีในบ้านก็ต้องออกไปค้นหาจากนอกบ้านและนำไปสู่ปัญหาเด็กและวัยรุ่นในหลากหลายมิติ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาชู้สาว เป็นต้น

และสุดท้ายผลกระทบต่อชุมชน ความเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมของเด็กและวัยรุ่นที่อาจจะเกิดความนิยมในการใช้ความรุนแรง ซึ่งเกิดจากการเลียนแบบข่าวสารที่เด็กและวัยรุ่นติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของชุมชน เช่น พฤติกรรมความรุนแรงทางด้านวาจา ทางเพศ เช่น การมีสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง การทะเลาะตบตี การด่าทอ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบต่อเนื่องให้กับสังคมในอีกหลายมิติ เช่น ปัญหาการเป็นพ่อแม่วัยใส การดูแลครอบครัว ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น

จากที่กล่าวมาข้างต้น เราอาจพูดได้อย่างเต็มปากว่า สื่อนั้นมีผลต่อพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของเด็กและเยาวชนจริง ดังนั้นสิ่งที่ผู้ปกครองทุกคนต้องตระหนักคือ เราจะทำอย่างไรให้เด็กเสพสื่ออย่างเท่าทัน ดูตัวอย่างที่ไม่ดีเอาไว้เป็นอุทาหรณ์หรือเอาไว้เตือนใจไม่ให้กระทำตาม และนำตัวอย่างที่ดีมาเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต

โดยแนวทางในการสร้างภูมิคุ้มกันการบริโภคสื่อให้กับเด็กและวัยรุ่นก็มีด้วยกันหลายวิธี แต่ทางหนึ่งเลยที่สำคัญคือ ผู้ปกครองควรมีความเข้าใจเรื่องสื่อกับเด็กสมัยนี้ว่าเป็นสิ่งที่หากยิ่งห้ามเด็กก็จะยิ่งต่อต้าน และคอยทำหน้าที่เป็นผู้คอยชี้แนะให้ข้อแนะนำให้กับเด็ก ชี้ให้เห็นตัวอย่างที่ดีและไม่ดีให้เด็กดู พร้อมให้ข้อคิดและให้เวลากับเด็กหรือวัยรุ่นในการตอบสนองต่อข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในเวลาที่เหมาะสม

อ้างอิงข้อมูลจาก

โครงการวิจัย “ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคข้อมูลข่าวสารการใช้ความรุนแรงผ่านสื่อดิจิทัลของเด็กและวัยรุ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อแนวคิดการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา”

หัวหน้าโครงการ : จารุวัจน์ สองเมือง

สนับสนุนโดย : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

เรียบเรียง ภัณฑิลา ธนบูรณ์นิพัทธ์กราฟิก ตวงทอง จงเจริญพิสูจน์อักษรและตรวจทาน จินตนา ธรรมวงษ์

อิทธิพลของสื่อประเภทใดส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงของวัยรุ่นมากที่สุด *

๑) สื่อลามก เช่น หนังสือโป๊หนังสือการ์ตูนลามก หนังสือที่มีภาพ โป๊วีซีดีลามกซึ่งสื่อเหล่านี้หาซื้อได้ง่าย และเมื่อวัยรุ่นส่วนใหญ่ได้เสพสื่อ เหล่านี้แล้ว ก็เป็นเหตุที่จะนาไปสู่การกระทารุนแรงทางเพศได้

ข้อใดมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นมากที่สุด

สถาบันทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมากที่สุดคือ กลุ่มเพื่อน เพื่อนเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อพฤติกรรมของวัยรุ่น ทั้งความคิด ค่านิยม การเรียนรู้ วัยรุ่นมักเลือกคบเพื่อนที่มีรสนิยม ทัศนคติคล้ายคลึงกันเด็กชายจะรวมกลุ่มกับ เด็กชายด้วยกันก่อน เด็กหญิงก็จะรวมกลุ่มและมีกิจกรรมร่วมกัน เพราะการมีเพื่อน สนิทเป็นสิ่งสาคั ...

สื่อโฆษณามีผลต่อการใช้ชีวิตของวัยรุ่นอย่างไร

ส่งผลต่อการเรียน หากวัยรุ่นเสพสื่อโฆษณามาก เกินไป จนไม่สนใจตาราเรียน ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ หากวัยรุ่นเสพสื่อโฆษณา ที่มีการยัดเยียดค่านิยมที่สังคมคาดหวัง ต่อวัยรุ่นไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อการใช้ภาษา หากวัยรุ่นเสพสื่อโฆษณาที่มี การใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง และติดการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องนั้นมาด้วย

สื่อโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นอย่างไร

โทรทัศน์มีความสัมพันธ์สูงต่อการมีทัศนคติที่ก้าวร้าวต่อผู้อื่นหรือต่อต้านสังคม การดูโทรทัศน์มากเกินไปนำไปสู่การบริโภคเกินความจำเป็น อิทธิพลของโทรทัศน์มีผลต่อการบ่มเพาะค่านิยมและพฤติกรรมทางเพศ เด็กที่ติดโทรทัศน์จะเป็นเด็กที่มีอารมณ์แปรปรวน ขี้โมโห เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมและทัศนคติแบบผิดๆ