Design Thinking เป็น process ประเภทใด

ในปัจจุบัน กระแสของ Design thinking ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรม ได้เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง  เพราะเป็นเครื่องมือที่มีรวมกระบวนการทั้งด้านวิทย์และธุรกิจมารวมกัน โดยโดยเน้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered) ซึ่งเป็นกระบวนการที่นำไปใช้ในองค์กรระดับโลกในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆอย่างกว้างขวาง เช่น Apple Nike google SAP และในเมืองไทยก็มีการนำมาใช้ในหลายๆองค์กรแล้ว เป็นต้น

  (เนื้อหาโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง - อ. เก๋ - หากนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โปรดอีเมล์แจ้งขออนุญาตก่อนที่  หรือใส่เครดิต อ.ศศิมา สุขสว่าง www.sasimasuk.com ด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ)

Design thinking เป็นกระบวนการที่มีการพัฒนามาตั้งแต่ ปี 1960 โดยเป็นการรวมของเครื่องมือและเทคนิคที่พัฒนามาจากการคิดสร้างสรรค์ ทางสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์  

กระบวนการ Design thinking หรือกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนที่ทำงานอยู่ในสายงานของการออกแบบหรือพัฒนานวัตกรรม เพราะโดยกระบวนการนั้นเป็นกระบวนการคิดสร้างสรรค์ที่มีการใช้ในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มานานแล้ว  ซึ่งกระบวนการพัฒนานวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ๆนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะมาจากการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ๆ (technology push ) มาจากความต้องการจากตลาด  (market pull) หรือจากความต้องการของมนุษย์ หรือลูกค้า

โดย Design thinking จะพัฒนานวัตกรรมโดยให้ความสำคัญกับความต้องการจากผู้บริโภคหรือตลาดมาก่อน แล้วทางทีมผู้ทำวิจัยและผู้พัฒนานั้นพยายามที่จะตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคเหล่านั้นให้ได้ด้วยกระบวนการใหม่ เทคโนโลยีใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการบริการใหม่ ให้โดนใจ 

Design thinking ประยุกต์มาจากหลายๆศาสตร์ด้วยกัน ทั้งทางด้านการวิจัย การคิดและการวัดเชิงคุณภาพจากภาคธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ และการให้ความสำคัญกับมนุษย์เป็นศูนย์กลาง 

เริ่มแรก Design thinking มีจุดเริ่มต้นมาจาก Design Science เป็นการออกแบบทางอุตสาหกรรมและออกแบบทางผลิตภัณฑ์ เพื่อหาแนวทางการออกแบบการตัดสินใจ และการออกแบบการทำงานที่มีลักษณะเฉพาะ  แล้วมีการนำไปใช้ในกระบวนการพัฒนานวัตกรรม ในการทำโครงการต่างๆ  และพัฒนาจนมาเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงธุรกิจ ความคิดสร้างสรรค์ และมุ่งเน้นที่ลูกค้า กลุ่มเป้าหมายเป็นหลักในปัจจุบัน 

Design Thinking  ที่ใช้ในการพัฒนานวัตกรรม มีสิ่งที่สำคัญคือ กระบวนการ (Process) และ Mindset ในการคิด โดยกระบวนการที่สำคัญๆนั้น คือ

1. การเข้าใจปัญหาของกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าในถูกต้อง (Human Centered)

ในแต่ละ Model อาจจะใช้คำว่า understand , discovery, empathize แต่หลักสำคัญคือ เราต้องรู้ว่าปัญหาที่แท้จริงของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายนั้นคืออะไร และทำความเข้าใจปัญหานั้นอย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก หากตั้งประเด็นปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง ขั้นตอนต่อไปอาจจะไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่ตอบโจทย์เลยเป็นได้

2. กระบวนการคิดและแก้ไขปัญหา (Ideation)

ขั้นตอนนี้เป็นการคิดหาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ บางครั้งต้องออกนอกกรอบไปเลย หรือต้องคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ  บางไอเดียอาจจะยังไม่สามารถทำได้ในทันที เพราะทรัพยากรในบริษัทยังไม่มีเพียงพอ แต่การคิดให้ออกไอเดียเยอะๆ แล้วค่อยประเมินว่า ไอเดียใดจะนำมาทำก่อน ไอเดียใดค่อยทำเมื่อมีทรัพยากรพร้อมก็ได้ค่ะ

3. การลงมือทำและทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย (Prototype and Implement)

ขั้นตอนนี้เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญ เพราะไอเดียหลายๆอย่างที่คิดกันมา แล้วไม่เกิด เพราะขาดการลงมือทำให้เกิดออกมาเป็นรูปธรรมเพื่อทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายค่ะ  

ซึ่ง Design Thinking ก็มีหลายๆโมเดลที่น่าสนใจ และเครื่องมือย่อยๆในแต่ขั้นตอนที่จะช่วยในการทำให้กระบวนการทั้ง 3 ข้อด้านบน ชัดเจนขึ้น ดังรูปค่ะ

  (เนื้อหาโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง - อ. เก๋ - หากนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โปรดอีเมล์แจ้งขออนุญาตก่อนที่  หรือใส่เครดิต อ.ศศิมา สุขสว่าง www.sasimasuk.com ด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ)

 

Design Thinking เป็น process ประเภทใด

ซึ่งในรายละเอียดของโมเดลต่างๆ  เก๋จะเอามาเล่าให้ฟังในลำดับต่อๆไปนะคะ

 .................................

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

Design Thinking เป็น process ประเภทใด

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer  และนักวิจัยมาโดยตลอด จนได้มาเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ก่อตั้งและเป็นผู้จัดการบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์กว่า 8  ปี  รวมเวลาทำงานด้านพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กรกว่า 15 ปี

ศศิมาได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล และมีประสบการณ์การโค้ชผู้บริหารในองค์กรชั้นนำหลายแห่ง

ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ  Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กรให้กับองค์กรต่างๆค่ะ 

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail :

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ) 

Design Thinking Process คืออะไร

Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ คือ กระบวนการทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้ นำเสนอทางแก้ไข ปัญหาแบบใหม่ที่อาจไม่เคยคิดมาก่อน ผ่าน 5 ขั้นตอน ได้แก่การเข้าใจ นิยาม สร้างสรรค์ จำลอง และ ทดสอบ (Empathize Define Ideate Prototype & Test) โดย Design Thinking ถือว่าเป็นกระบวนการ สร้างนวัตกรรมอย่างหนึ่ง

Design Process คืออะไร

การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) เป็นการประยุกต์วิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ มาสู่การทำงานในส่วนต่างๆ ตลอดจนการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) จะเป็นประโยชน์สำหรับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่แล้ว ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อการทำงานที่จะช่วยให้ ...

ข้อใดเป็นกระบวนการย่อยของการคิดเชิงออกแบบ

กระบวนการคิดเชิงออกแบบมี 3 ขั้นตอนหลัก คือ การเข้าใจปัญหา, การสร้างสรรค์ความคิด และ การสร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบพัฒนา

Design Thinking ช่วยอะไร

ประโยชน์ของ Design Thinking ช่วยพัฒนากระบวนการแก้ไข้ปัญหา และการทำงานเป็นลำดับขั้นตอน พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการคิดหาวิถีทางหรือแชร์ไอเดียในการทำงานร่วมกันเป็นทีม รู้จักการคิดวิเคราะห์ ทำให้มีไอเดียที่หลากหลาย และมีทางเลือกที่ดีที่สุดในการทำงานได้มีประสิทธิภาพ