เราสามารถนำเอาคุณธรรมของพระอุบาลีมาเป็นแบบอย่างในด้านใด

        ธรรมสวัสดีค่ะ พวกเราอรั้ยยยกับอาร์มพิทค่ะ วันนี้พวกเราจะมานำเสนอเนื้อหาในรายวิชาพระพุทธศาสนาในชั้นเรียน เราได้รวบรวมเนื้อหาจากหลายๆเว็บไซต์ หากเครดิตไม่ครบหรือมีเนื้อหาผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ 

 พุทธสาวก-สาวิกาตัวอย่าง

   พระอุบาลี  เป็นบุตรช่างกัลบก  (ช่างตัดผม)  อาศัยอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์  เมื่ออุบาลีเจริญวัยขึ้นก็ได้เป็นพนักงานภูษามาลา  (ช่างตัดผม)  ประจำราชสำนักพระเจ้าศากยะ  ในขณะนั้นพระราชกุมารแห่งศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ได้ออกบวชด้วยกัน    องค์  คือ ภัททิยะ  อนุรุทธะ  อานนท์  ภัคคุ  กิมพิละและเทวทัต  โดยได้บวชในสำนักของพระพุทธเจ้าที่อนุปยนิคม  แคว้นมัลละ  อุบาลีจึงได้ตามเสด็จออกลวชด้วย  และเนื่องจากพระราชกุมารทั้ง    ทรงมีพระประสงฆ์จะขจัด  "ขัตติยะมานะ"  คือความถือตัวว่าเป็นกษัตริย์  หรือ  มีเชื้อสายกษัตริย์  จึงทรงยินดีพร้อมกันประทานอนุญาตให้อุบาลีบวชก่อน  เพื่อให้อุบาลีมีอาวุโสในทางศาสนามากกว่าจะได้กราบไหว้อย่างสนิทใจ  อุบาลีจึงได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าก่อน  และมีพรรษามากกว่าพระราชกุมารองค์อื่นๆ

   หลังบวชแล้ว  พระพุทธเจ้าทรงประทานกรรมฐานให้พระอุบาลีฝึกปฏิบัติ  ไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์  เป็นผู้ทรงอภิญญาและมีปัญญาแตกฉาน    ประการ  ได้แก่

   1)  ปัญญาแตกฉานในอรรถ  คือ  เห็นข้อธรรมหรือความย่อ  ก็สามารถแยกแยะ  อธิบายขยายความออกไปได้โดยพิสดาร  เห็นเหตุอย่างหนึ่งก็สามารถแยกแยะ  กระจาย  และเชื่อมโยงต่อออกไปจนล่วงรู้ถึงผล

   2)  ปัญญาแตกฉานในธรรม  คือ  เห็นอรรถาธิบายพิสดาร  ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้  เห็นผลอย่างหนึ่งก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้

   3)  ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ  คือ  รู้ศัพท์  ถ้อยคำบัญญัติ  และภาษาต่างๆ  เข้าใจใช้คำพูดชี้แจ้งให้ผู้อื่นเข้าใจและ       เห็นตามได้

   4) ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ  คือ  มีไหวพริบ  ซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่  เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและ      เหตุผลขึ้นใหม่  ใช้ประโยชน์ได้เหมาะสมเข้ากับกรณีและเหตุการณ์

    พระอุบาลีมีความสนใจในพระธรรมวินัยเป็นอย่างมาก  ได้ศึกษาพระวินัยจากพระพุทธเจ้าจนมีความเชี่ยวชาญ 
 มีความสามารถในการพิจารณาอธิกรณ์  หรือ  การตัดสินคดีหรือข้อพิพาทของภิกษุ  นอกจากนี้พระอุบาลียังได้รับ
   การยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะหรือเป็นผู้เลิศในการทรงจำพระวินัย

   คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

1)  เป็นผู้เชี่ยวชาญพระวินัย

   พระอุบาลีได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศในด้านทรงจำพระวินัย  ดังนั้นเมื่อมีการสังคายนาพระธรรมวินัยเป็น
 ครั้งแรก  พระอุบาลีจึงได้รับหน้าที่วิสัชนาพระวินัย  นับว่าพระอุบาลีได้ทำประโยชน์อันสำคัญยิ่งแก่พระพุทธศาสนา

2)  เป็นครูที่ดี

   พระอุบาลีได้เอาใจใส่ถ่ายทอดความรู้เรื่องพระธรรมวินัยให้แก่ภิกษุเป็นจำนวนมากโดยไม่ห่วงความรู้ 
 มีโอกาสเมื่อ ใดท่านก็สั่งสอนภิกษุรูปอื่นให้รู้ตาม  จนเกิดเป็นสำนักทรงจำพระวินัยในสมัยต่อมา  
และพระเถระที่เชี่ยวชาญพระวินัยจากสำนักนี้  ล้วนเป็นศิษย์หรือศิษย์ของพระอุบาลีทั้งสิ้น

3)  ใฝ่ความรู้อยู่เสมอ

   พระอุบาลีเป็นพระสาวกที่มีคุณธรรมในด้าน  "สิกขามาตา"  คือ ความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาหรือมีความใฝ่รู้
 อย่างเด่นชัด  แม้จะได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่ามีความรู้เรื่องพระวินัย  แต่ท่านก็ยังขวนขวายหาความรู้
 เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา

🔊วีดิโอภาพพระอุบาลี

นางวิสาขา

นางวิสาขา เป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐีและนางสุมนาแห่งเมืองภัททิยะ  แคว้นอังคะ  ต่อมาได้ย้ายตามบิดามารดามาอยู่เมืองสาเกต ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองสาวัตถี  เมื่อมีอายุได้    ปี  นางวิสาขาได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน

เมื่อนางวิสาขาอายุได้  ๑๖  ปี  บิดามารดาได้ให้สมรสกับบุตรชายของมิคารเศรษฐีชื่อปุณณวัตนกุมาร  จึงย้ายไปอยู่ในตระกูลของสามีตามธรรมเนียมของอินเดีย  ทั้งนี้ก่อนที่จะส่งตัวนางวิสาขาไปยังบ้านเจ้าบ่าว  ธนัญชัยเศรษฐีได้เรียกนางวิสาขามาตักเตือนและให้โอวาทซึ่งเป็นปริศนา  ๑๐  ประการ  ดังนี้

 1.   ไฟในอย่านำออก อย่านำความลับหรือความไม่ดีภายในครอบครัวไปเล่าให้คนภายนอกฟัง

 2.   ไฟนอกอย่านำเข้า            อย่านำเอาคำที่คนอื่นนินทาคนภายในครอบครัวมาเล่าสู่กันฟัง

 3.  จงให้แก่คนที่ให้ ใครที่ยืมของให้ใช้แล้วนำมาคืน  คราวต่อไปเขามายืมอีกก็ควรให้ยืม

 4.    จงอย่าให้แก่คนที่ไม่ให้    คนที่ยืมของไปแล้วไม่คืน  ภายหลังไม่ควรให้ยืมอีก

 5.   จงให้แก่คนที่ให้และไม่ให้ ญาติมิตรแม้จะนำเอาสิ่งของที่เคยหยิบยืมกลับมาคืนให้หรือไม่คืนก็ตาม
    ก็ควรให้ยืมอีก

 6.   จงนั่งให้เป็นสุข  อย่านั่งในที่ซึ่งจะต้องลุกขึ้นเมื่อพ่อผัว  แม่ผัว  หรือสามีเดินผ่าน

 7.    จงนอนให้เป็นสุข          นอนเมื่อภายหลังพ่อผัว  แม่ผัว  และสามีเข้านอนแล้ว

 8.    จงกินให้เป็นสุข กินเมื่อภายหลังพ่อผัว  แม่ผัว  และสามีได้กินอิ่มแล้ว

 9.    จงบูชาไฟ          ให้ความเคารพยำเกรงพ่อผัว  แม่ผัว  และสามีดุจไฟ

 10.  จงบูชาเทวดา       ให้ความเคารพยำเกรงพ่อผัว  แม่ผัว  และสามีเสมือนเทวดา  จงเอาใจใส่ดูแลอย่างดี

   เนื่องจากตระกูลสามีของนางวิสาขานับถือพวกนิครนถ์  เมื่อนางวิสาขาเข้ามาอยู่ในตระกูลนี้  ได้ชักจูงให้พ่อ             และ     แม่สามีมานับถือพระพุทธศาสนา  โดยเฉพาะพ่อสามี เคารพนับถือนางเป็นเสมือนแม่ของตนเลยที                   เดียว เพราะนาง      ได้ ชี้ทางสว่างแห่งชีวิตให้  ดังนั้น นางวิสาขาจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า "มิคารมาตา" ซึ่งแปลว่า                 มารดา            ของมิคารเศรษฐี

  นางวิสาขาเป็นพุทธสาวิกาที่มั่นคงในพระรัตนตรัยมาก  ไปวัดฟังธรรมทุกวันมิได้ขาดหลังจากฟังธรรมแล้ว
มักจะเดินตรวจรอบวัด  เพื่อซักถามว่าภิกษุรูปใดมีความประสงค์สิ่งใดจะได้ช่วยจักหามาถวาย

    หลังจากอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดเชตวันวิหารถวายพระพุทธเจ้าแล้ว  นางวิสาขาได้สร้างวัดบุพพาราม 
ด้วยเงินจำนวน  ๒๗  โกฏิ (ซื้อที่ดิน ๙ โกฏิ  สร้างวัด    โกฏิ  และบริจาคทานเนื่องด้วยวัดอีก ๙ โกฏิ)

  นางวิสาขาได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะคือเป็นเลิศกว่าผู้อื่นในด้านการถวายทาน  มีอายุยืนนานถึง ๑๒๐ ปี มีบุตรชาย ๑๐ คน บุตรสาว ๑๐ คน เป็นพุทธสาวิกาที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาที่สำคัญและรู้จักกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชนคู่กับอนาถบิณฑิกเศรษฐี

🔊วีดิโอนางวิสาขาถวายข้าวให้กับพระพุทธเจ้า

       นางเขมาเถรี

พระนางเขมาเถรี เป็นภิกษุณีผู้เลิศทางมีปัญญามาก พระพุทธเจ้าทรงยกย่องท่านเป็นอัครสาวิกาเบื้องขวา ตำแหน่งของท่านนั้น เทียบได้กับพระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวา

พระเขมาภิกษุณีบังเกิดในราชสกุล ตระกูลกษัตริย์พระบิดา พระนามว่า พระเจ้ามัททราช กรุงสาคละ แคว้นมัททะ มีพระนาม ว่า พระนางเขมาทรงมีพรรณะดั่งทอง มีพระฉวีเสมือนทอง ท่านเป็นสตรีที่มีรูปงามมาก ท่านเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารแห่งนครราชคฤห์ แต่ท่านไม่เคยไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเลย เพราะเคยได้ยินมาว่า พระพุทธเจ้านั้นตำหนิความงามของร่างกาย จึงเกรงว่าพระพุทธองค์จะแสดงโทษในรูปโฉมของพระนาง

พระเจ้าพิมพิสาร คิดว่า เราเป็นถึงอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า แต่อัครมเหสีของเราไม่เคยไปฟังธรรมเลย เป็นสิ่งที่ไม่สมควร พระองค์จึงคิดหาอุบายด้วยการให้พวกนักกวีผู้ฉลาด แต่บทกวีประพันธ์ถึงคุณสมบัติความงดงามของพระวิหารเวฬุวันราชอุทยานแล้ว รับสั่งให้นำไปขับร้องใกล้ ๆ ที่พระนางเขมาเทวีประทับ เพื่อให้ทราบสดับบทประพันธ์นั้น พระนางได้สดับคำพรรณนาความงดงามของพระราชอุทยานแล้ว ทรงหลงอุบายถูกหลอกให้ไปวัดก็มีพระประสงค์จะเสด็จไปชม จึงเข้าไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อพระนางเข้าไปในวัดแล้ว พระพุทธเจ้าทรงเห็นพระเทวีกำลังเสด็จมา จึงทรงเนรมิตหญิงคล้ายนางเทพอัปสรด้วยฤทธิ์ ทำให้ถือพัดใบตาลถวายงานพัดอยู่

พระนางเขมาเทวีทรงเห็นหญิงนั้น ทรงดำริว่า หญิงนี้มีส่วนเปรียบด้วยนางเทพอัปสร ยืนอยู่ไม่ห่างพระผู้มีพระภาคเจ้า เราไม่พอที่แม้แต่จะเป็นหญิงรับใช้ของหญิงเหล่านั้นได้เลย เราต้องเสียหายด้วยอำนาจจิตชั่ว เพราะเหตุเล็กๆ น้อยๆ ทรงถือเอานิมิตประทับยืนมองดูหญิงนั้นคนเดียว เมื่อพระนางกำลังทอดพระเนตรดูอยู่ หญิงนั่นก็ล่วงปฐมวัย มัชฌิมวัย ถึงปัจฉิมวัยแล้ว ฟันหัก ผมหงอก หนังเหี่ยว ล้มกลิ้งลงพร้อมกับพัดใบตาล ด้วยพระกำลังอธิษฐานของพระพุทธเจ้า พระนางเขมาทอดพระเนตรเห็นเหตุนั้นแล้วทรงพระดำริว่า

สรีระแม้อย่างนี้ ยังถึงความวิบัติเช่นนี้ สรีระของเราก็จักมีคติอย่างนี้เหมือนกัน ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบวาระจิตของพระนางแล้ว ก็ตรัสพระคาถาว่า ชนเหล่าใด กำหนัดอยู่ด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่กระแสตัณหา เหมือนแมลงมุมตกไปยังใยที่ตัวเองทำไว้ ฉะนั้น ชนเหล่านั้นตัดกระแสตัณหานั้นเสียได้แล้ว เป็นผู้หมดอาลัยละกามสุขได้ ย่อมงดเว้นกิจคฤหัสถ์ [บวช] อยู่

ในอรรถกถาว่า จบคาถา พระนางเขมาทรงบรรลุพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาณ ขณะประทับยืนนั้น เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้วจำต้องปรินิพพานหรือไม่ก็บวชเสียในวันนั้น

เพราะเพศฆราวาสไม่สามารถจะรองรับความเป็นพระอรหันต์ได้ จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ให้พระเจ้าพิมพิสารพระสวามีทรงอนุญาตการบวชก่อน พระเจ้าพิมพิสาร ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ให้พระนางประทับบนวอทองแล้วนำไปอุปสมบทในสำนักของภิกษุณีสงฆ์ เมื่อพระนางบวชแล้วได้นามว่า “พระเขมาเถรี” เพราะอาศัยเหตุที่พระนางมีปัญญามาก บรรลุพระอรหัตผลทั้ง ๆ ที่อยู่ในเพศฆราวาส พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่ายผู้มีปัญญา และทรงแต่งตั้งให้เป็น อัครสาวิกาฝ่ายขวา

พระนางทรงเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ในทิพโสตธาตุและเจโตปริยญาณ รู้ชัดปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพจักษุให้บริสุทธิ์ มีอาสวะทั้งปวงหมดสิ้นภพใหม่ไม่มีอีก ญาณอันบริสุทธิ์ของพระองค์ ในอรรถะธรรมะ นิรุติและปฏิภาณ เกิดขึ้นแล้วในพระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้ฉลาดในวิสุทธิทั้งหลาย คล่องแคล่วในกถาวัตถุ รู้จักนัยแห่งอภิธรรม ถึงความชำนาญในศาสนา

วิชชา ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ มี ๘ คือ

๑. วิปัสสนาญาณ ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา

๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ

๓. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้

๔. ทิพพโสต หูทิพย์

๕. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้

๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้

๗. พิทพจักขุ ตาทิพย์ (จุตูปปาตญาณ)

๘. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น

🔊วีดีโอพระเขมาเถรี

 พระอานนท์

พระอานนท์ ก่อนจะผนวชนั้น ทรงเป็นเจ้าชายแห่งศากยวงศ์ โดยท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระพุทธบิดา พระมารดาของท่านทรงพระนามว่านางกีสาโคตมี พระอานนท์จึงถือว่าเป็นลูกผู้น้องของเจ้าชายสิทธัตถะ และเป็นหนึ่งในสหชาติของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 7 ประการ คือ มารดาพระราหุล 1พระอานนท์ 1นายฉันนะ 1กาฬุทายีอำมาตย์ 1,  ม้ากัณฐกะ 1ต้นมหาโพธิพฤกษ์ 1 และหม้อขุมทรัพย์ทั้ง 4 ขุม

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จกลับไปโปรดพระพุทธบิดา และพระญาติวงศ์ศากยะ ณ นครกบิลพัศดุ์ ในครั้งนั้นบรรดาศากยราชได้ทรงเลื่อมใสศรัทธา ต่างได้ถวายพระโอรสของตนให้ออกบวชตามเสด็จ ยังเหลือแต่ศากยกุมารบางพระองค์ อาทิ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภัคคุ  เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอานนท์ และเจ้าชายเทวทัต ยังมิได้ออกบวช

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงกบิลพัศดุ์พอสมควรแก่กาลแล้วก็เสด็จจาริกต่อไปยังที่อื่น ศากยกุมารทั้ง 6 องค์ มีพระอานนท์ เป็นต้นรวมทั้งอุบาลี ผู้เป็นภูษามาลา ได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปเพื่อขอบรรพชาอุปสมบท และได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ที่อนุปิยอัมพวัน เขตอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ ลำดับนั้น พระพุทธองค์โปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน แล้วให้ ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง ฯ

ท่านพระอานนท์ครั้นอุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาธรรมจากสำนักของท่านพระปุณณมันตานีบุตร ไม่นานก็ได้สำเร็จโสดาปัตติผล ท่านพระอานนท์จึงได้กราบทูลขอพร 8 ประการ หากพระองค์ทรงประทานพร 8 ประการนี้ ท่านจึงจะรับตำแหน่งพุทธุปัฏฐาก

1. ถ้าจักไม่ประทานจีวรอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์

2. ถ้าจักไม่ประทานบิณฑบาตอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์

3. ถ้าจักไม่โปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์

4. ถ้าจักไม่ทรงพาข้าพระองค์ไปในที่ที่ทรงรับนิมนต์ไว้

5. ถ้าพระองค์จักไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้

6. ถ้าข้าพระองค์จะพาบริษัทซึ่งมาแต่ที่ไกลเพื่อเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาแล้ว

7. ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น

8. ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอันใดในที่ลับหลังข้าพระองค์ จักเสด็จมาตรัสบอกพระ

ธรรมเทศนานั้นแก่ข้าพระองค์อีก

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามถึงโทษและอานิสงส์ที่ทูลขอพร 8 ประการนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ถ้าท่านไม่ทูลขอพรข้อ 1-4 ก็จักมีคนพูดได้ว่า ท่านรับตำแหน่งพุทธุปัฏฐาก เพื่อหวังลาภสักการะอย่างนั้น ๆ เพื่อป้องกันปรวาทะอย่างนั้น ท่านจึงได้ทูลขอพร 4 ข้อนี้ ถ้าท่านไม่ทูลขอพรข้อ 5-7 ก็จักมีคนพูดได้ว่า พระอานนท์บำรุงพระศาสดาไปทำไม เพราะกิจเท่านี้พระองค์ก็ยังไม่ทรงสงเคราะห์เสียแล้ว และหากท่านไม่ทูลขอพรข้อ 8 เมื่อมีคนมาถามท่านลับหลัง พระพุทธองค์ว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสที่ไหนถ้าท่านตอบเขาไม่ได้ เขาก็จะพูดได้ว่า พระอานนท์เฝ้าติดตามพระผู้มีพระภาคเหมือนเงาของพระองค์อยู่เป็นเวลานาน ทำไมเรื่องเท่านี้ยังไม่รู้?

ครั้นท่านได้ทูลชี้แจงแสดงโทษในข้อที่ไม่ควรได้ และอานิสงส์ในข้อที่ควรได้อย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงทรงประทานพรตามที่พระอานนท์กราบทูลขอทุกประการ ท่านพระอานนท์จึงได้รับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก และได้อุปัฏฐากพระพุทธองค์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงวันเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค เป็นเวลา 25 พรรษา

ตั้งแต่วันที่ได้ตำแหน่งอุปัฏฐาก ท่านพระอานนท์ก็ได้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดี กิจที่ท่านทำเป็นประจำแก่พระพุทธเจ้าคือ ถวายน้ำสรง 2 ครั้งถวายไม้ชำระพระทนต์ 3 ครั้งนวดพระหัตถ์และพระบาทนวดพระปฤษฏางค์ปัดกวาดพระคันธกุฏี และบริเวณพระคันธกุฏี ไปไหนก็ไม่ไกลพระศาสดา คิดอยู่เสมอว่า เวลานี้พระศาสดาควรจะได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ เราควรทำสิ่งนี้ๆ

ในเวลากลางคืนท่านก็ถือด้านประทีปดวงใหญ่ เดินตรวจไปรอบบริเวณพระคันธกุฏีที่ประทับ 9 ครั้ง ด้วยคิดว่า ถ้าเราง่วงนอน นอนหลับก็จะไม่อาจขานรับเมื่อพระศาสดาเรียกหาได้ ท่านจึงไม่ปล่อยด้ามประทีปจากมือตลอดคืนยันรุ่ง ด้วยเหตุนี้ในบรรดาพระภิกษุผู้เคยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามาแล้ว จึงไม่มีใครทำได้เสมอเหมือนท่าน

🔊วีดิโอพระอานนท์

พระราธเถระ

พระราธเถระ ชื่อเดิม ราธมาณพ บิดามารดาตั้งให้ บิดาและมารดา เป็นคนวรรณะพราหมณ์ แต่ไม่ปรากฎชื่อในตำนาน

เกิดที่บ้านพราหมณ์ ในเมืองราชคฤห์ พระราธเถระ ในสมัยเป็นฆราวาส ยังไม่แก่เฒ่าเป็นผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง แต่พอแก่เฒ่าลง บุตรและภรรยาไม่นับถือ ไม่เลี้ยงดู จึงเข้าวัดตั้งใจว่าจะบวชแล้วอยู่รอวันตายไปวัน ๆ หนึ่ง ได้ขอบวชกับพระเถระทั้งหลาย แต่ไม่มีใครบวชให้ เพราะรังเกียจว่า เป็นคนแก่ บวชแล้วจะว่ายากสอนยาก เขาจึงได้แต่อยู่วัด ช่วย พระกวาดวัด ดายหญ้า ตักน้ำเป็นต้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้สงเคราะห์เขาด้วยอาหาร ไม่ขาดแคลนแต่อย่างไร

มูลเหตุของการบวชในพระพุทธศาสนา

วันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่งอันเป็นพุทธกิจอย่างหนึ่ง ทรงเห็นพราหมณ์นั้นเข้าไปในข่ายแห่งพระญาณ ได้เสด็จไปโปรดตรัสถามว่า พราหมณ์ ท่านกำลังทำอะไร เขากราบทูลว่า ข้าพระองค์กำลังทำวัตรปฏิบัติภิกษุทั้งหลายอยู่ พระเจ้าข้า ตรัสถามต่อว่า เธอได้รับการสงเคราะห์จากภิกษุเหล่านั้นหรือ เขาทูลว่า ได้พระเจ้าข้า ได้เพียงอาหาร แต่ท่านไม่บวชให้ข้าพระองค์

พระศาสดารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์เกี่ยวกับเรื่องนั้น แล้วตรัสถามว่า ใครระลึกถึงอุปการะของพราหมณ์นี้ได้บ้าง พระสารีบุตรเถระกราบทูลว่า ท่านระลึกได้ ครั้งหนึ่ง เมื่อท่านเที่ยวบิณฑบาต ในพระนครราชคฤห์ พราหมณ์นี้ได้แนะนำให้คนถวายข้าวท่านทัพพีหนึ่ง พระศาสดาทรงประทานสาธุการแก่ท่านแล้ว ตรัสว่า สารีบุตร เธอเป็นสัตบุรุษที่มีความกตัญญูกตเวที และได้ทรงเล่าถึงอดีตชาติที่พระเถระมีความกตัญญูกตเวทีให้ภิกษุทั้งหลายฟังด้วย แล้วทรงมอบหมายให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ราธพราหมณ์นั้น

วิธีบวช

การบวชให้ราธพราหมณ์นี้ ตรัสให้ยกเลิกวิธีอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ที่ทำเฉพาะพระอุปัชฌาย์ กับผู้มุ่งบวชเท่านั้นมาเป็นการบวชโดยสงฆ์รับผิดชอบ ซึ่งต้องมีพระภิกษุอย่างต่ำที่สุด ๕ รูปประชุมกันจึง บวชได้ โดยแบ่งกันทำหน้าที่ ๓ ฝ่าย คือ ๑. เป็นพระอุปัชฌาย์ ๑ รูป ๒. เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์อย่างละ ๑ รูป ๓. นอกนั้นร่วมรับรู้ว่าการบวชนั้นถูกต้องหรือไม่ การบวชวิธีนี้ เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา แปลว่า การบวชด้วยกรรมมีญัตติเป็นที่ ๔ หมายความว่า มีการตั้งญัตติ คือการประกาศให้สงฆ์ทราบ ๑ ครั้ง มีอนุสาวนา คือการบอกให้สงฆ์ตรวจสอบว่าการบวชนั้นถูกต้องหรือไม่ ๓ ครั้ง พระราธเถระ เป็นรูปแรกในพระพุทธศาสนาที่บวชด้วยวิธีนี้

พระราธเถระ ครั้นบวชแล้ว ถึงแม้จะเป็นพระผู้เฒ่า เป็นหลวงตา แต่ก็เป็นผู้ว่าง่ายใคร่ศึกษา ใครแนะนำสั่งสอนอย่างไรไม่เคยโกรธ ยอมรับฟังและปฏิบัติตามด้วยความเคารพ แต่เพราะท่านมีบุญน้อย ทั้งอาหาร ทั้งที่อยู่อาศัย จึงมักไม่พอแต่การดำรงชีวิต จึงตกเป็นภาระของพระอุปัชฌาย์ ต้องช่วยสงเคราะห์ตลอดมา วันหนึ่ง ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอให้แสดงธรรมย่อ ๆ พอให้ท่านเกิดกำลังใจยินดีในวิเวก ไม่ประมาทและมีความเพียร เพื่อความพ้นทุกข์
พระศาสดาตรัสว่า ราธะ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเป็นมาร เธอจงละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจรักใคร่ในขันธ์ ๕ นั้นเสีย ท่านรับพุทธโอวาทแล้วจาริกไปกับพระอุปัชฌาย์พยายามปฏิบัติตามพระโอวาทนั้นไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔

งานประกาศพ

ระศาสนา

 พระราธเถระบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านเป็นผู้เฒ่าแก่มากแล้ว คงช่วยงาน พระศาสนาด้วยกำลังกาย กำลังวาจาเหมือนรูปอื่นไม่ได้ แต่ท่านได้ช่วยประกาศพระศาสนาด้วยปฏิปทาที่ดีงามของท่าน ด้วยความเป็นผู้ว่าง่าย ใครแนะนำสั่งสอนอะไรยินดีรับฟังด้วยความเคารพ ไม่เคยโกรธ เป็นเหตุให้พระศาสดานำท่านมาเป็นอุทาหรณ์ สั่งสอนภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุควร เป็นผู้ว่าง่ายเหมือนราธะ แม้อาจารย์ชี้โทษ กล่าวสอนอยู่ก็ไม่ควรโกรธ ควรเห็นบุคคลผู้ให้โอวาท เหมือนบุคคลผู้บอกขุมทรัพย์ให้

เอตทัคคะ

เพราะพระราธเถระ เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายใคร่การศึกษา ทำให้พระศาสดาและ พระอุปัชฌาย์ เป็นต้น มีความเมตตาสั่งสอนท่านเสมอ จึงทำให้ท่านมีปฏิภาณ คือปัญญาแจ่มแจ้งในเทศนา เพราะได้รับฟังบ่อย ๆ พระศาสดาจึงทรงตั้งท่านไว้ในเอตทัคคะว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีปฏิภาณคือญาณแจ่มแจ้งในธรรมเทศนา

บุญญาธิการ

ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ พระราธเถระนี้ได้เกิดเป็นพราหมณ์ ได้เห็น พระศาสดาทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งซึ่งมีปฏิภาณแตกฉานไว้ในเอตทัคคะ ได้เกิดกุศลฉันทะในตำแหน่งนั้นบ้าง จึงได้ทำสักการะบูชาพระศาสดาพร้อมกับภิกษุสงฆ์ กราบลงแทบพระบาท ปรารถนาฐานันดรนั้น พระศาสดาทรงพยากรณ์แก่เขาแล้ว ได้ทำบุญกุศลมากมายหลายพุทธันดร จนชาติสุดท้ายเกิดเป็นพราหมณ์ในพระนครราชคฤห์ ถึงฝั่งแห่งสาวกบารมีญาณดังกล่าวแล้ว

ธรรมมวาทะ

ในเวลาเราแก่เฒ่า เราอาศัยวัดอยู่ ใคร ๆ ไม่ยอมบวชให้เราผู้ชราหมดกำลังเรี่ยวแรง เพราะฉะนั้น เราผู้เป็นคนยากเข็ญ จึงเป็นผู้ปราศจากผิวพรรณ เศร้าโศก พระโลกนาถผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาคุณ ทอดพระเนตรเห็นเข้า จึงตรัสถามเราว่า ไฉนลูกจึงเศร้าโศก จงบอกถึงโรคที่เกิดในใจ เราได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ข้าพระองค์ไม่ได้บวชในศาสนาของพระองค์ ซึ่งพระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงมีความเศร้าโศก

นิพพาน

พระราธเถระ ได้พากเพียรพยายามจนได้บรรลุพระอรหัตผลอันเป็นประโยชน์สูงสุดของมนุษย์เรา และได้ปฏิบัติตนให้เป็นทิฏฐานุคติของประชุมชนที่เกิดมาในภายหลังแล้ว สุดท้ายก็ได้นิพพาน พ้นจากวัฏสงสาร อย่างสิ้นเชิง

🔊วีดิโอพระราธเถระ

   พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางรัตตัญญู (ผู้รู้ราตรีนาน)

พระมหาปชาบดีเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งพระนครเทวทหะ เป็น พระกนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) พระประยูรญาตถวายพระนามว่า “โคตมี”

ทรงเป็นทั้งพระน้านางและพระมารดาเลี้ยง พระนางสิริมหามายาทรงอภิเษกเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะศากยราชแห่งพระนครกบิลพัสดุ์ ต่อมาพระบรมโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต

ทรงถือปฏิสนธิใน พระครรภ์ของพระนางสิริมหามายราชเทวี พอประสูติพระราชโอรส คือเจ้าชายสิทธัตถะได้เพียง ๗ วัน พระนางสิริมหามายาราชเทวี ก็สวรรคตไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสวรรค์ชั้นดุสิต

พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงมอบให้การเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะแก่พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ผู้ศักดิ์ เป็นพระมาตุจฉา (พระน้านาง) ซึ่งต่อมาได้สถาปนาพระนางไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี และ ได้ประสูติพระราชโอรสนามว่า “นันทกุมาร” และพระราชธิดานามว่า “รูปนันทา”

พระนางประชาบดีเป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้า และ ทั้งยังทรงเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้าด้วย ทรงเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าในวัยเด็กมาอย่างดี

ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์เสด็จออกผนวชได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว เสด็จไป โปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร และทรงแสดง ธรรมกถาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ในระหว่างถนน ให้ดำรงอยู่ในอริยภูมิชั้นพระ

โสดาบัน ครั้นวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในถนน ให้ดำรงอยู่ในอริยภูมิชั้นพระโสดาบัน ครั้น วันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา และพระน้านางยังพระบิดาให้ดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ยังพระน้านางให้บรรลุพระโสดาปัตติผล และในวันรุ่งขึ้น ทรงแสดงมหาปาลชาดกโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พอจบลง พระพุทธบิดา ทรงบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี

ในวันที่ ๔ แห่งการเสด็จโปรดพระประยูรญาติ พระพุทธองค์เสด็จไปในพิธีอาวาหมงคลอภิเษกสมรส นันทกุมารพระอนุชาต่างพระมารดา กับพระนางชนปทกัลยาณี เมื่อเสร็จพิธีอาวาหมงคล พระพุทธองค์ได้นำนัทกุมาร ไปบวชในวันนั้น ครั้นถึงวันที่ ๗ แห่งการ

เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ทรงพาราหุลกุมารออกบรรพชาเป็นสามเณรอีก จึงยังความเศร้าโศกให้ บังเกิดแก่พระเจ้าสุทโธทนะยิ่งนักเพราะเกรงว่าจะขาดรัชทายาทสืบสันติวงศ์

ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลแล้วเข้าสู่ปรินิพพาน เมื่อการถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นลงแล้ว

พระนางมหาปชาบดีโคตรมีรู้สึกว้าเหว่พระทัยมีพระประสงค์จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนาจึงเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่นิโครธารามกราบทูลขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชใน
พระพุทธศาสนา   พระนางกราบทูล อ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่เป็นผล รู้สึกผิดหวังเศร้าโศกโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงกราบทูลลาเสด็จ กลับพระราชนิเวศน์  ส่วนพระบรมศาสดาประทับ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ โดยสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวาร เสด็จไปยังพระนครเวสาลีประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน

ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังแคว้นเวสาลี พระนางได้โกนผมเหมือนนักบวช ทรงผ้าผ้ากาสาวพัสตร์ และนำสตรีวรรณะกษัตริย์ 500 ท่าน (ผู้ซึ่งสามีได้ออกบวชแล้วไป) ออกเสด็จด้วยพระบาทไปหาพระพุทธเจ้า เพื่อขอบวชอีกครั้งนึง แต่ว่า พระพุทธเจ้าก็ยังไม่ทรงอนุญาต

พระอานนท์มาพบพระนางร้องไห้ อยุ่ที่ริมประตูจึงเข้าไปถาม เมื่อทราบความแล้ว จึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อช่วยทูลขอให้พระองค์อนุญาตให้สตรีออกบวชได้ โดยพระอานนท์ให้เหตุผลว่า สตรีทั้งหลายล้วนมีความสามารถในการบรรลุธรรมไม่ต่างจากบุรุษ และ ครั้งนี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาต แต่ว่า สตรีทั้งหลายต้องรับ “ครุธรรม 8 ประการ”พระอานนท์ เรียนครุธรรม 8 ประการจากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี แล้วกล่าวว่า "พระนางโคตมี ถ้าพระนางจะพึงรับครุธรรม ๘ ประการได้ นั้นก็จักเป็นอุปสัมปทา(การบวช) ของพระนาง คือ

    1.ภิกษุณีแม้อุปสมบทแล้วได้ 100 พรรษา ก็พึงเคารพกราบไว้ พระภิกษุ แม้อุปสมบทได้วันเดียว

    2.ภิกษุณี จะอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีพระภิกษุนั้นไม่ได้ ต้องอยู่ในอาวาสที่มีพระภิกษุ

    3.ภิกษุณี จะต้องทำอุโบสถกรรม และรับฟังโอวาทจากสำนักภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน

    4.ภิกษุณี อยู่จำพรรษาแล้ว วันออกพรรษาต้องทำปวารณาในสำนักสงฆ์ทั้งสองฝ่าย (ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)

    5.ภิกษุณี ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส อยู่ปริวาสกรรม ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย


  6.ภิกษุณี ต้องอุปสมบทในสำนักสงฆ์สองฝ่าย หลังจากเป็นนางสิกขมานารักษา “สิกขาบท 6 ประการ” คือ
ศีล 5 กับ การเว้นการรับประทานอาหารยามวิกาล ทั้ง 6 ประการนี้มิให้ขาดตกบกพร่องเป็นเวลา 2 ปี ถ้าบกพร่อง     ในระหว่าง 2 ปี ต้องเริ่มปฏิบัติใหม่

     7.ภิกษุณี จะกล่าวอักโกสกถาคือ ด่าบริพาษภิกษุ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้

เราสามารถนำเอาคุณธรรมของพระอุบาลีมาเป็นแบบอย่างในด้านใด
     8.ภิกษุณี ตั้งแต่วันอุปสมบทเป็นต้นไป พึงฟังโอวาทจากภิกษุเพียงฝ่ายเดียว จะให้โอวาทภิกษุมิได้

พระนางประชาบดี โคตมี ทรงดีพระทัยมาก ทรงรับครุธรรม 8 ประการไว้

พระพุทธองค์จึง ประทานการอุปสมบทให้แก่พระน้านางสมเจตนาพร้อมศากยขัดติยนารีที่ติดตามมาด้วยทั้งหมด

เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทสำเร็จเป็นนางภิกษุณีแล้วเรียนพระ กรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา อุตสาห์บำเพ็ญเพียรด้วยความไม่ประมาทไม่นานนักก็ได้ บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยภิกษุณีบริวารทั้ง 500 รูป และได้บำเพ็ญกิจพระศาสนาเต็มกำลัง

ความสามารถ  ลำดับต่อมา เมื่อพระศาสดาประทับ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาภิกษุณีใน ตำแหน่งเอตทัคคะ หลายตำแหน่ง

พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นผู้มีวัยวุฒิสูง คือรู้กาลนาน มีประสบการณ์มาก รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ มาตั้งแต่ต้น  จึงทรงสถาปนาพระนางนำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้รัตตัญญู คือ ผู้รู้ ราตรีนาน

วิดิโอพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี