หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2565 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมงาน TEP Forum 2022 “ก่อร่างสร้างใหม่ การศึกษาไทยสู่อนาคต” ณ ห้องเมจิก 3 โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ได้รับทราบปัญหามาโดยตลอดในทุก ๆ ด้าน แต่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ได้รับทราบปัญหาพร้อมกับข้อเสนอทางนโยบายจากเวทีระดมสมอง 5 โจทย์สำคัญ เพื่อการเปลี่ยนระบบการศึกษาไทย ได้แก่

  1. โรงเรียนพลังบวก : ความหวังปฏิรูปการศึกษาจากพื้นที่
  2. สร้าง/คัด/พัฒนาครูแบบไหน ให้ตอบโจทย์เด็กไทยทุกคน
  3. Beyond Schooling! การเรียนรู้แบบใหม่ที่ไปไกลกว่าโรงเรียน
  4. Learning Recovery เปิดเรียนใหม่ การศึกษาไทยต้องไม่เหมือนเดิม
  5. พ.ร.บ. พอหรือไม่ : กติกานโยบายแบบไหน จะพาการศึกษาไทยไปสู่อนาคต

ทั้งนี้ อาจจะยังไม่สามารถแก้ไขได้ในทันที ศธ. จะนำไปศึกษาให้ตกลึก และสิ่งไหนเรื่องไหนที่สามารถทำได้จะทำในทันที รวมทั้ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ทราบว่ามีล่าช้า เนื่องจากเป็นเรื่องของกฎหมาย แต่ปัจจุบันนี้ไม่สามารถรอได้ ต้องเร่งเดินหน้าต่อไป

ขอขอบคุณการพูดคุยกับทั้ง 5 ท่าน 5 ข้อเสนอในครั้งนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นในการศึกษาไทย อาจจะไม่ใช่ของทั้งประเทศ แต่ถือเป็นตัวแทนจากคนส่วนใหญ่ในประเทศ อย่างไรก็ตามต้องเรียนให้ทราบว่ากระทรวงศึกษาธิการไม่ได้นิ่งนอนใจ หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของตน ได้วางรากฐานการศึกษาไทยเพื่อไปสู่ศตวรรษที่ 21 หรือยุคดิจิทัลด้วย Coding และวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม หรือ STI (Science/ Technology/ Innovation) นับเป็นการปฏิรูปไปถึงตัวเด็กโดยตรง และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนโลกในอนาคต

โดยทุกนโยบายที่หน่วยงานในกำกับได้ขับเคลื่อน มีเป้าหมายเดียวกันคือต้องการที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ซึ่งเชื่อมั่นว่าเด็กไทยมีความรู้ ความสามารถไม่แพ้เด็กชาติในโลก ศธ.พร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพื่อเพิ่มสมรรถนะนักเรียนให้มีมาตรฐานสากล อาทิ การเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนในการสอบประเมิน PISA การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนวิทยาศาสตร์อย่างเท่าเทียมในโครงการวิทยาศาสตร์พลัง 10 ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล

สุดท้ายนี้ ศธ. จะรับทุกข้อเสนอเพื่อนำไปศึกษา และเร่งพัฒนาการศึกษาให้เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ในปัจจุบันให้มากที่สุดต่อไป

หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงวันที่ 15 มีนาคม 2565 เรื่อง ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2565 จำนวน 130 ราย

ทั้งนี้ ศธ.จะจัดพิธีมอบเข็มเสมาคุณูปการและประกาศเกียรติคุณบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ และรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2564 ในโอกาสครบรอบ 130 ปี ในวันศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2565 ณ หอประชุมคุรุสภา ตั้งแต่เวลา 9.30 น. ลงทะเบียนเวลา 8.30 น.

หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง

บัลลังก์ โรหิตเสถียร / สรุป

21 มีนาคม 2565 – ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุภัทร จำปาทอง) มอบหมายให้นายธนู ขวัญเดช รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมรับฟังแนวทางและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงสร้างของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รองรับบริบทการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ โดยมีนายสมใจ วิเศษทักษิณ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายศัจธร วัฒนะมงคล รองศึกษาธิการภาค 1 รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการภาค 1, ผู้แทนสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-18, ผู้อำนวยการสำนักในสังกัด สป.ศธ. ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสะอาด พิมพ์สวัสดิ์ ชั้น 9 อาคารรัชมังคลาภิเษก 1 และระบบประชุมทางไกล ZOOM Meeting

ที่ประชุมได้รับฟังหลักการ แนวทาง และข้อเสนอ ในการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานในสังกัด สป.ศธ. จากผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร. และผู้แทนสำนักงาน ก.พ. เพื่อดำเนินการตามแนวทาง ดังนี้

  • ทบทวนบทบาท ภารกิจ หน้าที่ และอำนาจ รองรับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. และสอดคล้องตามบริบทการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ
  • ทบทวนและออกแบบกระบวนการ เพื่อมุ่งผมสัมฤทธิ์ของหน่วยงาน ลดความซ้ำซ้อนของภารกิจงาน
  • มุ่งเน้นการมอบอำนาจ และกระจายอำนาจไปยังหน่วยงานในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
  • มุ่งเน้นการบูรณาการและเชื่อมโยงการทำงาน ระหว่างหน่วยงานส่วนกลาง และหน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค
  • นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการปฏิบัติงาน เพื่อลดขั้นตอน และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
  • การพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้าง ควรคำนึงถึงประโยชน์และความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง

ข้อมูล: กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

More Info : “ตรีนุช” ร่วมตั้งเข็มทิศการศึกษาอาเซม 2030

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8 (ASEM Education Ministers’ Meeting: ASEMME8) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และแผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) พ.ศ. 2573 ซึ่ง ศธ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (21 กันยายน 2564) เห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) พ.ศ. 2573] โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและประธานการประชุม ภายใต้แนวคิดหลัก “การศึกษาอาเซม พ.ศ. 2573 : สู่อนาคตที่ยืดหยุ่น มั่งคั่ง และยั่งยืนมากขึ้น” มีผู้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาจากประเทศสมาชิกเอเชียและยุโรป ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ และเครือข่ายด้านการศึกษาของอาเซม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

  • การกล่าวถ้อยแถลงของรัฐมนตรีด้านการศึกษาประเทศสมาชิกเอเชียและยุโรป เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการในอนาคตที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ด้านการศึกษาอาเชม และมีการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาและเครือข่ายด้านการศึกษาของอาเซม โดยมีการแถลงคำมั่นและสนับสนุนการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของอาเซม พ.ศ. 2573 ซึ่งที่ประชุมเน้นย้ำถึงความร่วมมืออย่างแข็งขันระหว่างประเทศสมาชิกเอเชียและยุโรป ท่ามกลางสถานการณ์ในโลกปัจจุบันที่ต้องคำนึงถึงทักษะความรู้รอบด้าน ทั้งเทคโนโลยีดิจิทัล การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • สำนักเลขาธิการด้านการศึกษาของอาเซม และผู้แทนเครือข่ายด้านการศึกษาของอาเซม ได้นำเสนอและรายงานสรุปโครงการและข้อริเริ่มด้านการศึกษาอาเซมที่ได้ดำเนินการ เช่น การส่งเสริมการศึกษาที่ครอบคลุมและความเสมอภาค ความคืบหน้าในงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และผลการศึกษาของการวิเคราะห์ทั่วประเทศเกี่ยวกับคลังข้อมูลของกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ
  • ที่ประชุมได้รับรอง (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของอาเซม พ.ศ. 2573 ซึ่งเป็นเอกสารหลักของการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการศึกษาของอาเซม พ.ศ. 2573 เพื่อเสริมสร้างและเตรียมความพร้อมภาคการศึกษาให้สามารถรับมือกับความท้าทายในระดับโลกในปัจจุบันและอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์สำหรับการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในทศวรรษหน้า คือ 1) เสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเอเชีย-ยุโรป ด้วยการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายและการแลกเปลี่ยนที่สมดุลและครอบคลุม 2) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม 3) สนับสนุนการพัฒนาทักษะและสมรรถนะ และ 4) สร้างความโปร่งใสและความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับการให้การรับรอง การตรวจสอบ และการประกันคุณภาพ ทั้งนี้ ได้มีการปรับถ้อยคำของเอกสารโดยไม่กระทบกับสาระสำคัญตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (21 กันยายน 2564) เห็นชอบในหลักการไว้
  • การเชิญชวนประเทศสมาชิกพิจารณาสมัครเพื่อทำหน้าที่สำนักเลขาธิการด้านการศึกษาในวาระต่อไป (ระหว่างเดือนมกราคม 2565-ธันวาคม 2568) ต่อจากราชอาณาจักรเบลเยียมซึ่งหมดวาระในการทำหน้าที่ดังกล่าวในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 รวมทั้งพิจารณารับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมด้านการศึกษาของอาเซมในระดับต่าง ๆ เช่น การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซมอย่างไม่เป็นทางการในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2565 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซม ครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 และการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซม ครั้งที่ 2 พร้อมทั้งการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย -ยุโรป ครั้งที่ 9 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2566
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 เห็นชอบมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ โดยอนุมัติเป็นหลักการให้หน่วยงานราชการดำเนินการตามข้อเสนอของกระทรวงพลังงาน ลดการใช้พลังงานร้อยละ 20 (รวมไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง) พร้อมทั้งรายงานผลการประหยัดพลังงานผ่าน www.e-report.energy.go.th

มาตรการที่ปฏิบัติได้ทันที

  • ให้หน่วยงานราชการลดการใช้ไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิงลงร้อยละ 20 ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของการประเมินผลตัวชี้วัดการลดใช้พลังงานของหน่วยงานราชการ ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงานดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2563 โดยปรับเพิ่มเป้าหมายลดใช้พลังงานจากเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 ในช่วงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
  • แนวทางดำเนินการ
  1. การรายงานข้อมูลการใช้พลังงาน ให้หน่วยงานราชการรายงานข้อมูลการใช้พลังงานผ่าน http://www.e-report.energy.go.th
  2. มาตรการลดใช้พลังงานด้านไฟฟ้า
    – ให้หน่วยงานราชการจัดซื้ออุปกรณ์/เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน หรือมีฉลากประสิทธิภาพเบอร์ 5
    – กำหนดเวลาเปิด – ปิดเครื่องปรับอากาศ เช่น 8.30 – 16.30 น. และปรับอุณหภูมิให้อยู่ที่ 25 – 26 องศาเซลเซียส และล้างเครื่องปรับอากาศเป็นประจำทุก 6 เดือน
    – กำหนดการใช้ลิฟต์ให้หยุดเฉพาะชั้น เช่น การหยุดเฉพาะชั้นคู่ หรืออาจจะสลับให้มีการหยุดเฉพาะชั้นคี่และปิดลิฟต์บางตัวในช่วงเวลาที่มีการใช้งานน้อย และรณรงค์ขึ้น – ลงชั้นเดียวไม่ใช้ลิฟต์
    – พิจารณาให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทำงานที่บ้าน (Work from Home) ทั้งนี้ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของสถานการณ์
  3. มาตรการลดใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
    – ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแทนการเดินทาง เช่น การประชุมออนไลน์ การจัดส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
    – ให้พนักงานขับรถยนต์ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 อย่างเคร่งครัด และขับรถในอัตราความเร็วที่สม่ำเสมอ เพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
    – เลือกใช้รถยนต์ให้เหมาะสมกับสภาพการเดินทาง และจำนวนผู้เดินทาง

มาตรการระยะยาว

  • ให้ “อาคารของรัฐที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุม” ก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประมาณ 800 แห่ง เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานไม่ให้เกิน “ค่ามาตรฐานการจัดการใช้พลังงาน” ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการอาคารของเอกชนที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุม
  • ให้นำมาตรการบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน มาใช้กับหน่วยงานราชการ โดยให้กระทรวงพลังงาน สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดวิธีการและแนวทางที่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้จริง

ทั้งนี้ หากหน่วยงานราชการลดการใช้พลังงานร้อยละ 20 ในครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คาดว่าจะลดการใช้พลังงานได้ ดังนี้

  • ลดการใช้ไฟฟ้าได้ 120 ล้านหน่วย คิดเป็นเงินมูลค่า 600 ล้านบาท (ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 5 บาท) ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 70,800 ตัน เทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ (ไฟฟ้า 1 หน่วย = 0.590 กิโลกรัมเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์) และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ 12 ล้านลิตร คิดเป็นเงินมูลค่า 420 ล้านบาท (ค่าน้ำมันคิดเฉลี่ยหน่วยละ 35 บาท) ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 26,275 ตัน เทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ (เบนซิน 1 ลิตร = 2.1896 กิโลกรัม เทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์) รวมลดปริมาณการใช้พลังงานลงคิดเป็นมูลค่า 1,020 ล้านบาท ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 97,075 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์
  • การกำกับดูแลอาคารของรัฐที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุม คาดว่าจะสามารถลดการใช้พลังงาน คิดเป็นไฟฟ้า 174.45 ล้านหน่วย คิดเป็นมูลค่า 872.25 ล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 102,925 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์
  • การดำเนินงานตามมาตรการบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ คาดว่าจะสามารถลดใช้พลังงานคิดเป็นไฟฟ้า 1,058.33 ล้านหน่วย คิดเป็นมูลค่า 5,291.65 ล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 624,414 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์

บัลลังก์ โรหิตเสถียร / สรุป

สป.ศธ. ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการจัดโครงการสร้างเสริมแกนนำส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (กนส.) เพื่อนำข้อมูลจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมให้มีความสมบูรณ์

(22 มีนาคม 2565 ) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน ลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลการโครงการสร้างเสริมแกนนำส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (กนส.) ซึ่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมุกดาหาร ร่วมกับโรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 24 มีนาคม 2565 ณ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน

โครงการสร้างเสริมแกนนำส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (กนส.) เป็นโครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของนักเรียนและนักศึกษา เพื่อเป็นแกนนำในการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา โดยมีประธานสภานักเรียน กรรมการนักเรียนและผู้นำนักเรียนเข้าร่วม จำนวนกว่า 50 คน โดยหลักสูตรฝึกอบรมประกอบด้วยเรื่องของการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา บทบาทและหน้าที่แกนนำส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา การให้คำปรึกษา แก่นักเรียนและนักศึกษา การใช้สื่อออนไลน์ให้ปลอดภัย การป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยแนวทางสันติวิธี ทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 และการจัดตั้งองค์กรณ์เครือข่ายในการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา

การเข้าร่วมสังเกต ติดตาม และประเมินผลครั้งนี้จะนำไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมแกนนำส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และประกาศใช้เป็นหลักสูตรฝึกอบรมให้กับสถานศึกษานำไปใช้ต่อไป

หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง

สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน /ข้อมูล

16 มีนาคม 2565 – นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีลงนามในคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายอรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา, นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และผู้บริหารสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมลงนาม ณ ห้องราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

นายสมใจ วิเศษทักษิณ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานว่า การลงนามในคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จัดขึ้นเพื่อแสดงถึงเจตจำนงร่วมกันของผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่มุ่งมั่นปฏิบัติราชการให้เกิดผลงานที่ดี เกิดสัมฤทธิ์ผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยเป็นการลงนามร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะผู้รับคำรับรอง และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะผู้ทำคำรับรอง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ทั้งนี้ การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ จะพิจารณาจากความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายของตัวชี้วัดทั้งหมดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของแต่ละส่วนราชการ ประกอบด้วย

  • ส่วนที่ 1 ตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในส่วนที่แต่ละส่วนราชการรับผิดชอบดำเนินการ ซึ่งเป็นการประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) ของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 8 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามการดำเนินงาน (ตัวชี้วัด monitor) จำนวน 2 ตัวชี้วัด
  • ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดที่ตอบสนองนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทั้ง 7 ข้อ รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 ตัวชี้วัด

ในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและรายละเอียดตัวชี้วัดต่าง ๆ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้รับความร่วมมือจากผู้แทนของทุกส่วนราชการ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมดำเนินการอย่างดียิ่ง

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ นอกจากจะเป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว ยังเป็นการสะท้อนถึงผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจของแต่ละส่วนราชการ ว่าดำเนินการได้บรรลุตามเป้าหมายและทิศทางขององค์การหรือไม่ ทั้งนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โรงเรียนคุณภาพ การสร้างอาชีพ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การสร้างคนให้เหมาะกับงาน ตลอดจนดำเนินนโยบายให้สอดคล้องกับ Big Rock ว่ามีความคุ้มค่าในเชิงภารกิจและงบประมาณอย่างไร

สิ่งสำคัญที่สุดคือ การพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ทั้งมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาของชาติเป็นกลไกสำคัญที่เข้มแข็งในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำตัวขี้วัดในประเด็นสำคัญต่าง ๆ เพื่อกำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของแต่ละส่วนราชการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผลของการดำเนินงานสามารถเชื่อมโยงบูรณาการร่วมกันไปสู่จุดหมายในการผลิตและพัฒนากำลังคน ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศ การจัดการเรียนการสอนสามารถสนองตอบความต้องการของผู้เรียน สังคม และทิศทางการพัฒนาประเทศ ให้ได้คนดี และคนเก่ง ที่มีศักยภาพควบคู่คุณธรรม

หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง

ปารัชญ์ ไชยเวช / สรุป
อธิชนม์ สลางสิงห์, ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า / ภาพและวีดิทัศน์
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี / ภาพ

สรุปมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน กรอบวงเงิน 1,848 ล้านบาท

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และโรงเรียน กรอบวงเงิน 1,848,047,228 บาท ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ

สาระสำคัญ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นส่วนราชการที่มีภารกิจในการจัดและส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึง โดยมีสถานศึกษาในความรับผิดชอบ จำนวน 29,583 แห่ง ศูนย์การศึกษาพิเศษ1 77 แห่ง โรงเรียนศึกษาพิเศษ2 48 แห่ง และโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์3 52 แห่ง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 61,119 อัตรา 16 ตำแหน่ง ได้แก่

  1. บุคลากรสนับสนุนการปฏิบัติงานเขต (พนักงานพิมพ์ดีด/ รปภ./ พนักงานทำความสะอาด/ พนักงานขับรถยนต์)
  2. บุคลากร สพท. ขาดแคลนและตั้งใหม่ (แทน 38 ค.(2))
  3. ครูรายเดือนแก้ไขปัญหาสถานศึกษาขาดแคลนครูขั้นวิกฤต
  4. เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (Lab boy)
  5. นักการภารโรง
  6. ครูดูแลนักเรียนประจำพักนอน
  7. วิทยากรสอนอิสลามศึกษารายชั่วโมง
  8. ธุรการโรงเรียน 15,000 บาท
  9. ธุรการโรงเรียน 9,000 บาท
  10. ครูและบุคลากรในโครงการตามพระราชดําริและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ
  11. ครูคลังสมอง
  12. ครูอัตราจ้างและลูกจ้างชั่วคราว โรงเรียนนันทบุรีวิทยา
  13. ลูกจ้างส่วนกลาง
  14. ค่าล่วงเวลาสำหรับครูดูแลนักเรียนประจำพักนอน
  15. ครูผู้ฝึกสอนและบุคลากรสนับสนุนกีฬา
  16. พี่เลี้ยงเด็กพิการ

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงบุคลากรทางการศึกษาอย่างมาก จึงเร่งดำเนินการอนุมัติเพื่อให้บุคลากรเหล่านี้ได้รับเงินเดือนตามที่กำหนดไว้ โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นภายในกรอบวงเงิน 1,848,047,228 บาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการสำหรับ สพท. และโรงเรียนเท่าที่จำเป็นและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง

รมว.ศธ. กล่าวด้วยว่า ขอให้บุคลากรทุกคนสบายใจได้ว่า จะได้รับเงินเดือนจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งขณะนี้ ศธ.ได้จัดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้ครอบคลุมการจ่ายจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการการทั้งหมดแล้ว

_________________

1ศูนย์การศึกษาพิเศษ เป็นรูปแบบที่จัดขึ้นสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในแต่ละลักษณะโดยเฉพาะ เช่น โรงเรียนสอนคนหูหนวก โรงเรียนสอนคนตาบอด หรือจัดตั้งเป็นชั้นเรียนเฉพาะในโรงเรียนปกติ เช่น ชั้นเรียนเด็กพิเศษ

2โรงเรียนศึกษาพิเศษ หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาเพื่อคนพิการ เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีความบกพร่องหรือพิการทางหู เด็กที่มีความบกพร่องหรือพิการทางตา และเด็กที่มีความบกพร่องหรือพิการทางร่างกาย (แขน – ขา)

3โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาให้แก่เด็กด้อยโอกาส เช่น เด็กยากไร้ เด็กเร่ร่อน เด็กที่พึ่งพาตนเองและครอบครัวไม่ได้ เด็กที่ถูกทำร้ายหรือถูกรังแกจากครอบครัว เด็กกำพร้าจากเหตุการณ์ประสบภัยธรรมชาติ ภัยจากการสู้รบเพื่อป้องกันประเทศชาติและความมั่นคง และภัยโรคติดต่อร้ายแรง อาทิ โรคเอดส์ เป็นต้น

บัลลังก์ โรหิตเสถียร / สรุป

เมื่อวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พร้อมด้วย คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช และนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “SAFE สถานศึกษาปลอดภัย” ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กับ 8 กระทรวง 2 หน่วยงาน พร้อมเปิดโครงการเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ณ หอประชุมคุรุสภา ทั้งนี้มีนายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษา รมว.ศธ. นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการ รมว.ศธ. ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ครู และบุคลากร เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง

หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง รมว.ศธ. ก็ได้ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา เรื่องความปลอดภัยจึงได้ถูกกำหนดให้เป็นวาระแรกใน 7 วาระเร่งด่วนของ ศธ. เพราะตระหนักดีว่าหากสถานศึกษาไม่มีความปลอดภัยแล้ว จะไม่สามารถจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพให้แก่ผู้เรียนได้ และยังส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาของไทย รวมถึงการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม

หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง

โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้พัฒนาระบบการแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยขึ้น ใช้ชื่อว่าศูนย์ “MOE SAFETY CENTER” โดยนำแพลตฟอร์มดิจิทัล เป็นแอปพลิเคชัน MOE SAFETY CENTER สำหรับเป็นช่องทางในการแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัย ทั้งยังได้พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในทุกสังกัดของ ศธ. ให้มีความรู้ มีความเข้าใจในการใช้งานระบบ เพื่อรับแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยที่มีผลต่อนักเรียน นักศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงให้ความสำคัญกับการอบรมครูผู้สอนให้มีความรู้ มีทักษะที่จะนำไปสื่อสารกับเด็กในวัยเรียน ด้วยการจัดทำโครงการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อสร้างความปลอดภัยแบบคู่ขนานกัน

หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง
หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง

“วันนี้ ถือเป็นการเปิดตัวศูนย์ MOE SAFETY CENTER อย่างเป็นทางการ โดยสามารถแจ้งเหตุได้ 4 ช่องทาง ดังนี้ ใน Application MOE Safety Center, www.MOESafetyCenter.com, LINE @MOESafetyCenter หรือที่ call center 0-2126-6565 ทั้งนี้ ต้องขอบคุณ สพฐ. ที่ได้ขยายแนวทางปฏิบัติงาน ซึ่งช่วยให้ความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้น ได้รับการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสี่ยง และความรุนแรง แก้ไขได้ถึงแหล่งต้นตอของปัญหา มีการติดตามความคืบหน้า มีความเป็นธรรมและโปร่งใสแก่ทุกฝ่าย โดยมีการรายงานการแก้ไขปัญหาแบบ Real-time ที่สำคัญได้เก็บเป็นฐานข้อมูล Big-Data ที่จะนำมาวางแผนและกำหนดนโยบายการพัฒนาสถานศึกษาและด้านความปลอดภัยในแต่ละพื้นที่ เพื่อขยายผลในการป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม รวมถึงการสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ ด้วย” รมว.ศธ.กล่าว

นวรัตน์ รามสูต: สรุป/เรียบเรียง

สถาพร ถาวรสุข,ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว,ฤทธิเกียรติ์ ยศประสงค์ :ถ่ายภาพ

ประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน

10/2/2565

รมว.ศธ. “ตรีนุช เทียนทอง” ปลื้ม SAFE สถานศึกษาปลอดภัย สัญจร 8 จังหวัด ได้รับเสียงตอบรับล้นหลาม ย้ำทุกสถานศึกษาอย่าเพิกเฉยต่อปัญหาความรุนแรงเด็ก ให้โรงเรียนเป็นเสมือนบ้านหลังที่สอง สร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจ (Trust) ให้ผู้ปกครองส่งลูกหลานมาโรงเรียน

14 มีนาคม 2565 ที่โรงเรียนสระแก้ว จ.สระแก้ว – นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสร้างการรับรู้การเข้าถึงระบบมาตรฐานความปลอดภัยสถานศึกษา (SAFE สถานศึกษาปลอดภัย สัญจร) โดยมีนายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษา รมว.ศธ., นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการ รมว.ศธ., นายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว, นางขวัญเรือน เทียนทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมงาน

รมว.ศธ. กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า ความปลอดภัยเป็นนโยบายของรัฐบาลและ ศธ. ในการส่งเสริมประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี นำไปสู่การมีความสุขทั้งส่วนตัว ครอบครัว และสังคมโดยรวม ซึ่งเป้าหมายทางการศึกษาจะไม่เกิดผลประโยชน์ใด ๆ หากนักเรียนและเยาวชนไม่มีความปลอดภัยเมื่อมาโรงเรียน หรือไม่มีความปลอดภัยในชีวิต

สำหรับกิจกรรมที่จังหวัดสระแก้วในครั้งนี้ เป็นจังหวัดสุดท้ายที่ ศธ. รณรงค์สร้างการรับรู้เรื่องความปลอดภัย และการรับรู้ถึงช่องทางการรับแจ้งเหตุภัยร้ายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกหลานของเรา ซึ่งการจัดกิจกรรม SAFE สถานศึกษาปลอดภัย สัญจร ใน 7 จังหวัดก่อนหน้านี้ ได้เห็นความตื่นตัวของทุกภาคส่วน และชื่นชมนักเรียนที่เห็นความสำคัญในการช่วยป้องกันภัยร้าย มีการปลูกฝังให้เห็นถึงสาเหตุ และวิธีการรับมือกับภัยร้ายที่เกิดขึ้น ส่วนการปราบปรามเป็นภารกิจที่ ศธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมมือร่วมใจในการจัดการภัยร้ายต่าง ๆ ให้เหลือน้อยที่สุด หรือไม่ให้เกิดขึ้นอีก

“ทุกสถานศึกษาต้องไม่เพิกเฉย ต่อปัญหาความรุนแรงในเด็ก เราต้องทำให้โรงเรียนเป็นเสมือนบ้านหลังที่สอง ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูในโรงเรียนทุกท่าน เป็นเสมือนเจ้าบ้านที่ต้องให้การดูแลเด็กนักเรียน ที่เป็นลูกหลานของเราอยู่ภายในโรงเรียนได้อย่างปลอดภัย ต้องทำให้พ่อ แม่ หรือผู้ปกครองของเด็กนักเรียนมีความไว้วางใจ (Trust) ในการส่งลูกหลานมาโรงเรียน มีความเชื่อใจถึงการให้ความคุ้มครอง และดูแลเด็กให้ได้รับความปลอดภัย มีความมั่นใจว่า เด็กนักเรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพมากที่สุด” รมว.ศธ.กล่าว

จากข้อมูลล่าสุด มีผู้แจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยกับทาง ศูนย์ MOE Safety Center แล้ว 99 กรณี มีทั้งภัยทะเลาะวิวาท ภัยจากยานพาหนะ เด็กติดเกม ภัยไซเบอร์ ภาวะทางจิต ยาเสพติด การล่วงละเมิดทางเพศ การล่อลวง ภัยจากอาคารเรียนหรือสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งทุกกรณีได้มีการติดตามตรวจสอบทันที โดยมี 13 กรณีที่ตรวจสอบแล้ว มีการยกเลิกเหตุ 13 กรณีได้แก้ไขเป็นที่เรียบร้อย 38 กรณีอยู่ระหว่างการดำเนินการติดตามผล 33 กรณีอยู่ระหว่างการเข้าตรวจสอบเหตุ ซึ่งตนจะติดตามความคืบหน้าและการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด โดยกรณีที่ร้ายแรง เช่น การล่วงละเมิดทางเพศ การล่อลวง จะเป็นกรณีที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยหากมีครูถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิด จะต้องให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ และมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย และหากพบว่าผิดจริง จะมีการลงโทษขั้นรุนแรงตามระเบียบของข้าราชการอย่างเคร่งครัด

ขอขอบคุณ 10 หน่วยงานที่ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ SAFE สถานศึกษาปลอดภัย กับ ศธ. โดยเฉพาะข้าราชการ และบุคลากรในพื้นที่ซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานหลัก ที่จะต้องป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปรามเพื่อไม่ให้มีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับลูกหลานของเราเชื่อว่า ความปลอดภัยที่เด็กได้รับเมื่อมาโรงเรียน จะเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญต่อการสร้างคุณภาพทางการศึกษาของประเทศต่อไป

รมว.ศธ. “ตรีนุช เทียนทอง” เป็นประธานลงนามความร่วมมือพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้ว “SAKAEO Model” โดยหลายหน่วยงานร่วมมือบูรณาการทำงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในจังหวัดไปในทิศทางเดียวกัน เป็นองค์รวมทั้งระบบ ภายใต้บริบทของพื้นที่

14 มีนาคม 2565 – นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานจังหวัดสระแก้ว กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต

โดยมีนายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว, นายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษา รมว.ศธ., นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการ รมว.ศธ., นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, นายสุทิน แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ผู้แทนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา, ผู้แทนมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จ.สระแก้ว

หลักการ 3 ป.ของท่านตรีนุช เทียนทอง Moe Safety Center คืออะไรบ้าง

รมว.ศธ. กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในรูปแบบ SAKAEO Model เป็นการบูรณาการเป้าหมาย และความร่วมมือเพื่อการบริหารจัดการ และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นองค์รวมทั้งระบบ และเป็นการพัฒนาระบบการศึกษาภายใต้บริบทของพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่การแก้ไขปัญหาเด็กตกหล่นจากระบบการศึกษา การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในทุกระดับ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ในลักษณะ Active Learning การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ ๆ สร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการติดตามและประเมินผลของความสำเร็จ

โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้ผู้เรียนในทุกช่วงวัย สามารถเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ มีความรู้ความสามารถ มีทักษะต่าง ๆ ทั้งด้านทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตที่สำคัญ เป็นผู้ที่มีขีดสมรรถนะ และเป็นบุคลากรคุณภาพ ที่สามารถนำความรู้ ทักษะต่าง ๆ มาใช้เพื่อการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชนท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า เติบโต และสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในมิติของสังคม และเศรษฐกิจให้กับประเทศได้

ในส่วนนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่กำหนดไว้ 12 นโยบาย 7 วาระเร่งด่วน เป็นเพียงเข็มทิศให้การศึกษาของประเทศก้าวเดินไปข้างหน้า แต่ผลสำเร็จนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการลงมือปฏิบัติ ภายใต้การลงนามในบันทึกความร่วมมือของหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดสระแก้วในวันนี้ ตนเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ได้เห็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ และผู้ที่ทำงานด้านการศึกษามาอย่างยาวนาน ได้ร่วมพลังกาย พลังใจ และพลังสมอง ในการช่วยวางทิศทางในการพัฒนาการศึกษา ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการศึกษาในจังหวัดสระแก้วให้เกิดขึ้นได้อย่างแข็งแกร่ง จึงขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ได้บูรณาการร่วมกัน และเชื่อมั่นว่าพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดสระแก้วในอนาคตต่อไป

ในเรื่องของการศึกษา แต่ละพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกัน จึงต้องการให้จังหวัดสระแก้ว เป็นโมเดลที่สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และมีเรื่องของการอ่านออกเขียนได้ ซึ่งได้มีการทำ SWOT Analysis ว่าจุดอ่อนจุดแข็งคืออะไร และเราจะแก้ปัญหาตรงจุดไหน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอ่านออกเขียนได้ การพัฒนาเด็กให้สอดคล้องกับสมรรถนะ ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีบริบทไม่เหมือนกัน มีจุดอ่อนจุดแข็งไม่เหมือนกัน แต่ละพื้นที่จะรู้ปัญหาได้ดีกว่าและรู้ว่าจังหวัดตัวเองต้องการจะพัฒนาอะไร ในส่วนนี้ทางพื้นที่ก็จะช่วยกันออกแบบการแก้ไขปัญหา และทางส่วนกลางก็จะเข้ามาช่วยสนับสนุนให้การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างตรงจุด ซึ่งในทุกวันนี้โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากองค์กรพื้นที่มีความเข้มแข็งเพียงพอ แล้วทางส่วนกลางเข้ามาช่วยส่งเสริมสนับสนุน ก็จะทำให้การศึกษามีความยืดหยุ่น สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดเหมาะสมกับความต้องการของพื้นที่

“ในวันนี้เรามีนโยบายที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา ผนวกกับนโยบายที่เข้มแข็งของรัฐบาล เราก็จะมาดูว่าตรงจุดต่าง ๆ จะสามารถเพิ่มเติมอะไรได้อีกบ้าง ซึ่งเรามีตัวชี้วัดอยู่แล้ว ทั้งเรื่องของปัญหาเด็กตกหล่นจากระบบการศึกษา การสร้างคุณภาพของโรงเรียน หรือการสร้างอาชีพต่าง ๆ เราก็จะมาดูว่ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ในระดับจังหวัด ถือว่าเป็นที่แรกในประเทศไทย เป็นสระแก้วโมเดลที่ได้รับความร่วมมือจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต มาร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยเจาะลงไปในพื้นที่เพื่อให้มีความเข้มข้นมากขึ้น และเราก็จะมาดูว่ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นโมเดลตัวอย่างให้กับจังหวัดอื่นสามารถนำไปเป็นรูปแบบในการพัฒนาพื้นที่ของตนเองได้” รมว.ศธ. กล่าว

นายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า ปัญหาเฉพาะตัวของจังหวัดสระแก้วคือ มีพื้นที่ชายแดน ซึ่งเมื่อมองตัวชี้วัดจะเห็นว่ามีเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จำนวนมาก ในจุดนี้ต้องอย่าลืมว่าในพื้นที่ชายแดนมีเด็กต่างชาติอยู่ด้วย หากเราแยกเด็กต่างชาติออกไป จะเห็นว่าเด็กไทยส่วนใหญ่ที่ครูสอนจะอ่านออกเขียนได้เกือบทั้งหมด แต่ในภาพรวมเมื่อนับจำนวนเด็กในโรงเรียนแบบเป็นตัวเลข จะเห็นว่ายังมีเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อยู่พอสมควร ซึ่งข้อเท็จจริงคือเป็นเด็กต่างชาติที่เข้ามาเรียน เช่น โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งการจัดการการศึกษาของสระแก้วมีหลากหลาย มีทั้งโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนของ ตชด. โรงเรียนเอกชน รวมถึงโรงเรียนพระปริยัติธรรม

“จังหวัดสระแก้ว ตั้งเป้าว่าผลการศึกษาจะต้องอยู่ในมาตรฐานใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะวัดด้วย NT หรือวิธีใดก็ตามที่เป็นมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ นี่คือเป้าหมายสำคัญของจังหวัดสระแก้ว” ผวจ.สระแก้ว กล่าว

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของจังหวัดสระแก้ว ด้วยเทคนิค SWOT ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า จุดอ่อนด้านปัจจัยการบริหาร การสอนและคุณภาพผู้เรียน และด้านเทคโนโลยี พบปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าระดับประเทศ ผู้เรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานมีโอกาสเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปมีน้อย การจัดการศึกษาสายอาชีพไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทำให้นักเรียนเดินทางไกล ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน อีกทั้งขาดการบูรณาการฐานข้อมูล ความเชื่อมโยง Big Data และขาดเครื่องมือการเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้เรียน

จากปัญหาดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาของจังหวัดสระแก้ว โดยร่วมกันออกแบบแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในรูปแบบ SAKAEO Model ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนา 6 ขั้นตอน และทุกขั้นตอนใช้กระบวนการ PDCA ได้แก่

  • ขั้นตอนที่ 1 S : SWOT Analysis การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพคุณภาพมาตรฐานของโรงเรียน
  • ขั้นตอนที่ 2 A : Assignment กำหนดผู้ร่วมรับผิดชอบและสร้างข้อตกลงร่วมกันจากทุกสังกัดการศึกษาจังหวัดสระแก้ว
  • ขั้นตอนที่ 3 K : Knowledge Sharing การสร้างองค์ความรู้ แบ่งปันความรู้และวางแผนพัฒนา การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาจังหวัดสระแก้วร่วมกัน
  • ขั้นตอนที่ 4 A : Action การลงมือปฏิบัติตามแผนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาร่วมกัน
  • ขั้นตอนที่ 5 E : Evaluation การนิเทศก์กำกับติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนคิดร่วมกัน
  • ขั้นตอนที่ 6 O : Optimum Goals เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาร่วมกัน

“ทั้งนี้ ขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาดังกล่าว ได้มีการจัดทำประกาศจังหวัดสระแก้ว เรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้วในรูปแบบ SAKAEO Model ให้หน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดสระแก้วได้นำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้วให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ภาพ/ข่าว ประชาสัมพันธ์ สพฐ.
ที่มา https://www.obec.go.th/archives/589553

14 มีนาคม 2565 – สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) โดยสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำคู่มือการใช้เกณฑ์การประเมินผลและคัดเลือกสถานศึกษา โครงการโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ โดย ดร.อำนาจ สายฉลาด ผู้อำนวยการสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน เป็นประธานพิธีเปิด มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านกิจการลูกเสือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการลูกเสือ ร่วมพิจารณาจัดทำแนวทางให้มีความชัดเจน มีคุณภาพ ระหว่างวันที่ 14-17 มีนาคม 2565 ณ เกาะกอหญ้า รีสอร์ท อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

นายอำนาจ กล่าวว่า กิจกรรมลูกเสือเป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาลูกเสือทั้งทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบและช่วยสร้างสรรค์สังคม พร้อมทั้งปลูกฝังให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์ ดังนั้นการจัดทำคู่มือการใช้เกณฑ์การประเมินผลและคัดเลือกสถานศึกษาโครงการโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ ต้องมีความชัดเจน มีมาตรฐาน ในการที่จะให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทั่วประเทศ ได้ดำเนินการสรรหาและคัดเลือกสถานศึกษา ที่เข้าเกณฑ์ให้ได้รับรางวัล ถือเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจของสถานศึกษาที่เห็นในเชิงประจักษ์ และเป็นแบบอย่างที่จะกระตุ้นให้สถานศึกษาอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ต่อไป

โดยเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกสถานศึกษา โครงการโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ ประจำปี พ.ศ. 2565 มีจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผู้บริหารสถานศึกษา 2) ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) ด้านจัดการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียน 4) ด้านการจัดกิจกรรมลูกเสือ ภายหลังจากการจัดทำคู่มือฯ เสร็จสิ้นบูรณ์ทุกขั้นตอน ทางสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน จะประกาศเกณฑ์นี้ให้ทราบอีกครั้ง

การดำเนินการประชุมคู่มือการใช้เกณฑ์ ฯ นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ ในการสร้างมาตรฐานที่ดีในการดำเนินการพิจารณาคัดเลือกรางวัลโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ ประจำปี พ.ศ. 2565 เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษามีกระบวนการและหลักการทางลูกเสือ ไปพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ และส่งเสริมเยาวชนให้แสดงออกถึงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สามารถนำเอาความรู้และทักษะที่ได้รับและฝึกฝน ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข

“ตรีนุช” ลุยช่วยเด็กพิเศษ เตรียมเพิ่มบุคลากรดูแล พร้อมเติมเต็มความรู้ผู้ปกครอง เป็นกองหนุนร่วมดูแลบุตรหลาน

13 มีนาคม 2565 ที่จังหวัดสระแก้ว – นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียนพิการ ตามโครงการ “ปักหมุดเด็กพิการ” ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งนางสาวเมตตา หงษ์ร่อน อายุ 18 ปี เป็นนักเรียนพิการทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว เข้ารับบริการทางการศึกษามาตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 รวม 6 ปี และเด็กชายชนนน โทนมี อายุ 4 ปี เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เข้ารับบริการทางการศึกษาในปี การศึกษา 2561 รวม 3 ปี

รมว.ศธ. กล่าวว่า ตนมาตรวจเยี่ยมครั้งนี้เพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ ดูประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานปักหมุดเด็กพิการ ให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงาน และรับฟังปัญหา รวมถึงข้อเสนอแนะจากครูและผู้ปกครอง ซึ่งจากการพูดคุย พบว่า เด็กได้รับการดูแลที่ดี มีแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล มีสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ส่งเสริมการเรียนรู้เหมาะสมกับความพิการแต่ละประเภท ซึ่งเป็นประโยชน์กับเด็กทำให้ได้รับการพัฒนาตามความเหมาะสมถูกหลักวิชาการ ได้รับการดูแลทางสุขอนามัย

“จากการการที่ทางศูนย์ฯ จัดให้มีครูมาช่วยดูแลให้การศึกษาแก่เด็กที่บ้าน พบว่า บุคลากรไม่เพียงพอต่อเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งครูพี่เลี้ยง 1 คน ต้องดูแลเด็กหลายคน และแต่ละคนก็มีความบกพร่องที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การดูแลกลุ่มนี้ขาดความต่อเนื่อง ซึ่ง ศธ. เข้าใจถึงปัญหาดังกล่าว แต่การที่จะสรรหาบุคลากรเข้ามาทำหน้าที่ในการดูแลเด็กกลุ่มนี้ จำเป็นต้องใช้คนที่มีความรู้ความสามารถ มีความเข้าใจ และเมตตา ดังนั้น นอกจากการเพิ่มบุคลากรที่จะเข้ามาดูแลเด็กกลุ่มนี้แล้ว ศธ.จะมีการสร้างความเข้าใจ และให้ความรู้เรื่องการดูแลเด็กกลุ่มนี้ให้แก่ผู้ปกครองด้วย เนื่องจากผู้ปกครองเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้เป็นอย่างดี” รมว.ศธ.กล่าว

แนะแนวเรื่อง

Moe Safety Center หมายถึงอะไร

สำหรับระบบ MOE Safety Center เป็นระบบมาตรฐานความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยใช้หลัก Digital Based Management เป็นรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข และได้รับการปกป้อง คุ้มครองความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการเสริมสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความ ...

ช่องทางการแจ้งเหตุ Moe Safety มีกี่ช่องทาง

นักเรียนสมัครใช้งานแจ้งเหตุเข้าระบบ MOE Safety Center ต้องทำยังไง การสมัครให้นักเรียนใช้งาน MOE Safety Center สามารถเข้าระบบได้ 2 ช่องทาง 1.www.moesafetycenter.com. 2.Application: MOESafetyCenter.

ถ้าผู้ปกครองจะลงทะเบียนเพื่อใช้งานแจ้งเหตุไปยัง Moe Safety Center จะต้องทําอย่างไร

ทางเว็บไซต์ www.MOEsafetycenter.com เพียงลงทะเบียนยืนยันตัวตนในครั้งแรกเท่านั้น ก็สามารถใช้งานเพื่อแจ้งเหตุได้ตลอดเวลา ทางไลน์ @MOESafetyCenter ก็ง่ายและสะดวก เพียงแค่สแกนคิวอาร์โค้ด กดแอดไลน์เพิ่มเพื่อน เท่านี้ก็สามารถใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการแจ้งเหตุที่ง่ายและสะดวก เพราะนี่คือ Social ที่เราใช้เป็นประจำนั่นเอง

ข้อใดคือวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องของการให้บริการ Moe Safety Center? 1 คะแนน

ระบบ MOE SAFETY CENTER ถูกจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดูแลความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจของนักเรียน เช่น การบูลลี่ การล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น ซึ่งตนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เพราะต้องการให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็ก เพราะโรงเรียนเป็นสถานที่ที่ผู้ปกครองมอบความไว้วางใจให้ จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ ศธ.ว่าจะผลัก ...