นางปฏาจารา ได้ประสบเคราะห์กรรมอะไรมาบ้าง

อยากทราบบุพกรรมของพระปฏาจาราเถรีครับ

#0  

  • นางปฏาจารา ได้ประสบเคราะห์กรรมอะไรมาบ้าง
  • ตอบไม่มาก
  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 27
  • สมัคร: 14/07/2006

ตอบ: 10/08/2006 - 03:27

อยากทราบบุพกรรมของพระปฏาจาราเถรีครับ สงสัยว่าท่านเคยไปทำอะไรไว้เลยต้องมารับกรรมเช่นนี้ครับ รบกวนอาวุโสทั้งหลายด้วยครับ

0



  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • นางปฏาจารา ได้ประสบเคราะห์กรรมอะไรมาบ้าง
    กระทู้นี้ถูกล็อค

การตอบอื่นๆต่อกระทู้นี้

#1   chavis 

  • นางปฏาจารา ได้ประสบเคราะห์กรรมอะไรมาบ้าง
  • ตอบไม่มาก
  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 27
  • สมัคร: 14/07/2006

ตอบ: 11/08/2006 - 05:44

อ้อ ผมหมายถึง ท่านไปทำกรรมอะไรไว้ถึงได้ ต้องสูญเสีย สามี ลูก พ่อแม่ครับ

0


#2   เฉลิมศักดิ์ 

  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 6244
  • สมัคร: 26/01/2004

ตอบ: 11/08/2006 - 06:03

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

ปฏาจาราเถริยาปทานที่ ๑๐
ว่าด้วยบุพจริยาของพระปฏาจาราเถรี

http://84000.org/tip...3&A=5238&Z=5312

--------------------------------------------------------------

อ้างอิง
อ้อ ผมหมายถึง ท่านไปทำกรรมอะไรไว้ถึงได้ ต้องสูญเสีย สามี ลูก พ่อแม่ครับ

จากคุณ : chavis

พระนางปฏาจาราเถรี ท่านเล่าถึงแต่กรรมที่พระบรมศาสดาทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย
http://84000.org/one/2/04.html

ท่านไม่ได้เล่าถึง กรรมในอดีตชาติของท่าน ที่ต้องพลัดพรากจากผู้คนรักมากมายขนาดนั้น ( บุตร ๒ คน, มารดา บิดา , สามี , พี่ชาย )

แต่เท่าที่ฟังมา ผมว่าน่าจะเป็นผลจากการผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร ครับ
------------------------------------
อ้างอิง

http://larndham.net/...opic=19694&st=0

  ผลในปวัตติกาลของกาเมสุมิจฉาจาร มี ๑๑ ประการ คือ

๑. มีผู้เกลียดชังมาก                                        ๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ

๒. มีผู้ปองร้ายมาก                                         ๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ

๓. ขัดสนทรัพย์                                            ๙. ร่างกายไม่สมประกอบ

๔. ยากจนอดอยาก                                         ๑๐. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย

๕. เป็นหญิง                                               ๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

๖. เป็นกระเทย


----------------------------------------------------------

แต่ผมไม่อาจล่วงรู้ได้ว่า ในอดีตชาติไหน กระทำอกุศลกรรมอย่างไร ได้รับวิบากในอดีตอย่างไรมาบ้าง

ชีวิตคืออะไร ชีวิตเกิดจากอะไร ชีวิตจะสิ้นสุดลงอย่างไร?
http://www.thaimisc....gaew&topic=7680

ชีวิตสั้นเหลือเกิน ประดุจความฝัน เราเกิดมามีอุปนิสัยต่างกัน และมีกิเลสสะสมมากมาย เราย้อนกลับไปดูในอดีตไม่ได้ว่า เราสะสมกิเลสมาอย่างไรบ้าง

บุคคลในอดีตก็มีกิเลสเหมือนกัน บางท่านก็ระลึกอดีตชาติได้ และรู้ว่าได้สะสมกิเลสมาต่างๆ กันอย่างไร?

..ในขุททกนิกาย จัตตาฬีสนิบาต อิสิทาสีเถรีคาถา.. มีข้อความเรื่องชีวิตของพระอิสิทาสีภิกษุณี ผู้ไม่เป็นที่รักของสามี ท่านมีสามีมาแล้วหลายครั้ง แต่ภายหลังท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีและได้บรรลุอรหัตต์ ท่านระลึกอดีตชาติได้ และรู้เหตุที่ทำให้ต้องได้รับความทุกข์อันใหญ่หลวงนั้นว่า ในอดีตชาติท่านประพฤติผิดในกาม อกุศลกรรมนั้นทำให้เกิดในนรกตลอดกาลนาน และเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานสามชาติ

หลังจากนั้นก็ได้เกิดเป็นมนุษย์สามชาติ และได้รับทุกข์อันใหญ่หลวงในชาติที่เป็นมนุษย์ด้วยจนกระทั่งได้บรรลุอรหัตต์

0


#3   เฉลิมศักดิ์ 

  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 6244
  • สมัคร: 26/01/2004

ตอบ: 11/08/2006 - 06:17

อ่านเรื่องราวของพระนางปฏาจาราเถรี ก่อนที่จะพบพระพุทธองค์แล้ว รู้สึกกลัววิบากของอกุศลกรรม ที่ต้องสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นที่รัก แม้กระทั่ง สติ

ถ้าเป็นผมก็คงต้องเป็นบ้าเหมือนกัน และคงไม่มีวิบากที่ดีพอ ที่จะได้ฟังพระธรรม แล้วมีดวงตาเห็นธรรม แบบนั้น

http://84000.org/tip...?b=25&i=18&p=12

อ้างอิง
วันหนึ่ง นางกำลังเอาหม้อตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง น้ำนั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ขาด. ครั้งที่ ๒ น้ำที่นางเทลง ได้ไหลไปไกลกว่านั้น. ครั้งที่ ๓ น้ำที่เทลง ได้ไหลไปไกลแม้กว่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
          นางถือเอาน้ำนั้นนั่นแลเป็นอารมณ์ กำหนดวัยทั้ง ๓ แล้ว คิดว่า
          สัตว์เหล่านี้ ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งแรก,
          ตายเสียในมัชฌิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๒ ไหลไปไกลกว่านั้น,
          ตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๓ ไหลไปไกลแม้กว่านั้น.
        พระศาสดาประทับในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไปเป็นดังประทับยืนตรัสอยู่เฉพาะหน้าของนาง ตรัสว่า "ปฏาจารา ข้อนั้นอย่างนั้น ด้วยว่าความเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ของผู้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์
"

ก่อนที่จะบรรลุมรรคผล ในชาตินี้ ท่านคงปฏิบัติวิปัสสนามาอย่างมากมาย ในอดีตชาติ

ในชาตินี้ ท่านผู้ใดจะฝึกสติให้อยู่กับ รูป นาม ขันธ์ ๕ ผมมีแบบฝึกหัดมาแนะนำครับ

http://larndham.net/...opic=21524&st=0

0


#4   chavis 

  • นางปฏาจารา ได้ประสบเคราะห์กรรมอะไรมาบ้าง
  • ตอบไม่มาก
  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 27
  • สมัคร: 14/07/2006

ตอบ: 11/08/2006 - 16:33

ขอบคุณครับ

0


#5   ดบัสวนี 

  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมทั่วไป
  • ตอบ: 2229
  • สมัคร: 25/09/2005

ตอบ: 11/08/2006 - 18:17

เวลาเหลิมไม่เถียงเรื่องพระเรื่องเจ้านะ
เหลิมน่าร๊ากกกกกกกกกกก
ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆ:101:

0


#6   บัวรัศมิ์ 

  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 451
  • สมัคร: 11/04/2006

ตอบ: 11/08/2006 - 20:14

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะคุณดบัสวนี

ถึงแม้พวกเราท่านทั้งหลายไม่รู้บุพกรรมในอดีตชาติด้านอกุศลกรรม
แต่พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสเกี่ยวกับบุพกรรมด้านกุศลกรรมไว้
ดังนี้

บุรพกรรมของท่านในอดีตชาติ

ดังได้สดับมา พระเถรีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในครอบครัว กรุงหังสวดี ต่อมา กำลังฟังพระธรรมเทศนา ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ทรงวินัย ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น.

ท่านทำกุศลตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์
ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ถือปฏิสนธิในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิงกิ เป็นพระธิดาพระองค์หนึ่งระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ คือ นางสมณี นางสมณคุตตา นางภิกขุนี(ภิกขุณี) นางภิกขุทาสิกา นางธัมมา(ธรรมา) นางสุธัมมา(สุธรรมา) และนางสังฆทาสี ครบ ๗.
พระราชธิดาเหล่านั้น ในบัดนี้ [ครั้งพุทธกาลชาติปัจจุบัน] คือ
พระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจาราเถรี พระนางกุณฑลเกสีเถรี (พระภัททากุณฑลเกสาเถรี) พระกิสาโคตมีเถรี พระธรรมทินนาเถรี และนางวิสาขา ครบ ๗.

ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี สร้างบริเวณถวายภิกษุสงฆ์ บังเกิดในเทวโลกอีก เสวยสมบัติอยู่พุทธันดรหนึ่ง

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในครอบครัวเศรษฐี กรุงสาวัตถี ดังกล่าวแล้วในค.ค.ห.ข้างต้น
#เถรี
.อ. ๒/๔/๑๘๔-๑๙๗ องฺ.อ. ๑/๒/๒๔-๒๘;ธ.อ. ๑/๒/๒/๔๘๙-๔๙๘ ขุ.อป. ๙/๕๙๒-๕๙๗

“ดูกรฯ บัณฑิตผู้ฉลาดมีปัญญาย่อมใคร่ครวญอายตนะภายใน
ทั้ง6 นั้นคือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของว่าง
เปล่า ทั้งนั้น”
(พุทธภาษิต)

0


#7   chavis 

  • นางปฏาจารา ได้ประสบเคราะห์กรรมอะไรมาบ้าง
  • ตอบไม่มาก
  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 27
  • สมัคร: 14/07/2006

ตอบ: 16/08/2006 - 00:02

ผมว่าท่านพุทธทาสท่านอาจจะอยากช่วยคนส่วนมากที่ไม่เชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิดก็ได้ ท่านก็เลยให้พิจารณาเห็นธรรมขณะปัจจุบันแทน เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่ามีเพราะไม่เคยเห็น จริงๆน่าจะเป็นกลางกันไว้ก่อนถ้าไม่เคยเห็น อย่าพึ่งสรุปว่าไม่มี เพราะมันก็สุดโต่งกันไป บางคนก็เชื่อตำราเหลือเกิน จนยึดติดกันไปมากและมากไป เลยพาลไม่ได้ปฏิบัติธรรม ท่านก็เลยอาจจะพูดรุนแรงไปหน่อย แต่จริงๆแล้วเจตนาท่านอาจจะไม่อยากให้เราไปยึดกับอะไรมากจนเกินไป จนเป็นมานะทิฐิ แต่จริงๆแล้วผมเชื่อว่า ท่านอาจจะทราบเรื่องเวียนว่ายตายเกิดก็ได้ แต่ไม่อยากกล่าว เพราะอาจทำให้หลายคนที่ยึดติดว่าไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มาฟังธรรมและมาปฏิบัติกับท่าน กลายเป็นว่าท่านช่วยใครไม่ได้เลย เราควรวางตัวเป็นกลางครับ ไม่ต้องไปเถียงกันให้มากมาย เพราะ ความเชื่อของคนที่มีมานะทิฐินั้นเปลี่ยนแปลงยาก ซึ่งกว่าจะเห็นด้วยตัวเองว่าบางสิ่งบางอย่างมันมีจริงๆ ก็อาจจะสายไปแล้วก็ได้ครับ อย่าไปคิดมากเลยครับ รักกันเอาไว้ ตั้งหน้าตั้งตาศึกษา แล้วปฏิบัติ สักวันอาจจะเห็นในสิ่งที่ตัวเองบอกว่าไม่มีก็ได้ครับ

เอาใจช่วยทุกท่าน และ ตัวผมเองด้วยครับ
รักกันไว้เถิดชาวพุทธ

0


#8   เฉลิมศักดิ์ 

  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 6244
  • สมัคร: 26/01/2004

ตอบ: 16/08/2006 - 05:33

อ้างอิง
ผมว่าท่านพุทธทาสท่านอาจจะอยากช่วยคนส่วนมากที่ไม่เชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิดก็ได้ ท่านก็เลยให้พิจารณาเห็นธรรมขณะปัจจุบันแทน เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่ามีเพราะไม่เคยเห็น จริงๆน่าจะเป็นกลางกันไว้ก่อนถ้าไม่เคยเห็น อย่าพึ่งสรุปว่าไม่มี เพราะมันก็สุดโต่งกันไป

คุณ chavis ครับ แต่ที่ผมศึกษาดูคำสอนของท่าน จะไม่เป็นกลางนะครับ จะไปทางการปฏิเสธเรื่องอดีตชาติ อนาคตชาติ จนทำให้คนที่ลังเลสงสัยเรื่องหลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด เห็นว่าตายแล้วก็แล้วกันไป ไม่มีตัวกู-ของกู
-----------------------------------------------------------

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
http://www.buddhadas...uddha/1-04.html

โดย ท่านพุทธทาส

การอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต*

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์ ! โพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม บังเกิดขึ้นในหมู่ เทพชั้นดุสิต" ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! ข้อที่พระโพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม บังเกิดขึ้นในหมู่เทพชั้นดุสิต นี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์! โพธิสัตว์มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ดำรงอยู่ ในหมู่เทพชั้นดุสิต" ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อที่พระโพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ดำรงอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต นี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์! โพธิสัตว์มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ดำรงอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต จนกระทั่งตลอดกาลแห่งอายุ" ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้อที่พระโพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ดำรงอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิตจนกระทั่งตลอดกาลแห่งอายุ นี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.

* บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๗/๓๖๐-๑-๒, เป็นคำที่พระอานนท์เล่าแก่ภิกษุทั้งหลาย ต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ถึงเรื่องที่เคยได้ฟังมาจากพระผู้มีพระภาคเอง, นับว่าเป็นข้อความจากพระโอษฐ์ เฉพาะตอนที่อยู่ในอัญญประกาศ.
บาลีอัจฉริยอัพภูตธัมมสูตรอันว่าด้วยเรื่องอยู่ในดุสิต เรื่องจุติ เรื่องประสูติ เหล่านี้ซึ่งล้วนแต่เป็นปาฎิหาริย์, จะเป็นเรื่องที่ควรถือเอาตามนั้นตรงตามตัวอักษรไปทั้งหมด หรือว่าเป็นเรื่องที่ท่านแฝงไว้ในปุคคลาธิษฐาน จะต้องถอดให้เป็นธรรมาธิษฐานเสียก่อนแล้วจึงถือเอา เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยกันอีกต่อหนึ่ง, ข้าพเจ้าผู้รวบรวมสังเกตเห็นความแปลกประหลาดของเรื่องเหล่านี้ ตอนที่ไม่ตรัสเล่าเสียเอง ยกให้เป็นหน้าที่ของพระอานนท์ เป็นผู้เล่ายืนยันอีกต่อหนึ่ง ขอให้วินิจฉัยกันดูเถิด. ที่นำมารวมไว้ในที่นี้ด้วย ก็เพราะมีอยู่ในบาลี เป็น พุทธภาษิตเหมือนกัน แม้จะโดยอ้อม โดยผ่านทางปากของพระอานนท์อีกต่อหนึ่ง ซึ่งลักษณะเช่นนี้มีแต่เรื่องตอนนี้เท่านั้น.
-------------------------------------------------------------------

คุณบัวและคุณchavis ครับ อย่างเรื่องพระโพธิสัตว์ที่อยู่บนเทวโลกชั้นดุสิต ก่อนที่จะจุติและมาปฏิสนธิเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านก็บอกว่าให้ตีความหมายในแง่ปุคคลาธิษฐาน

คงจะหมายถึงการเกิดขึ้นของตัวกู-ของกู แบบที่ท่านชอบอ้างบ่อย ๆ มั่ง ( ภาษาธรรม )

ที่จริงท่านคงจะไม่อยากอ้างพระบาลีบทนี้เท่าใด เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องในอดีตชาติและกล่าวถึงเทวภูมิด้วย

อ้างอิง
เอาใจช่วยทุกท่าน และ ตัวผมเองด้วยครับ
รักกันไว้เถิดชาวพุทธ

หากชาวพุทธส่วนใหญ่ยังยึดถือ อาจริยวาท เป็นใหญ่ กว่า พระไตรปิฏก ยากครับที่สามัคคีกัน

มีแต่จะแตกออกเป็นนิกายต่าง ๆ เหมือนนิกาย มหายาน ดังประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้ในพระอภิธรรมปิฏก คัมภีร์กถาวัตถุ

http://larndham.net/...opic=11438&st=0

ก็ภิกษุวัชชีบุตร มีประมาณ ๑๐,๐๐๐ รูป ถูกพระธรรมสังคา-
หกเถระทั้งหลายข่มขู่แล้ว คือติเตียนแล้ว จึงแสวงหาพวก ครั้นได้
พวกที่เป็นทุพพลวะ อันสมควรแก่ตนก็จัดตั้งสำนักตระกูลอาจารย์ใหม่
ชื่อว่า มหาสังฆิกะ แปลว่า พวกมาก ตระกูลอาจารย์ ๒ พวกอื่น
อีกเกิดขึ้น คือ โคกุลิกะ และ เอกัพโยหาริกะ ซึ่งแตกแยกมาจาก
ตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะนั้น. ตระกูลอาจารย์ ๒ พวกอื่นอีก คือ
บัญญัตติวาทะ และพหุลิยะ ซึ่งมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า พหุสสุติกะ
แตกแยกมาจากนิกายโคกุลิกะ. อาจริยวาท อื่นอีกชื่อว่า เจติยวาท
เกิดขึ้นแล้วในระหว่างนิกายพหุลิยะนั้น นั่นแหละ. ในร้อยแห่งปีที่ ๒
คือ ภายในพระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี ตระกูลอาจารย์ทั้ง ๕ ตระกูล
เกิดขึ้นจากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะด้วยประการฉะนี้. ตระกูลอาจารย์
ทั้ง ๕ เหล่านั้น รวมกับมหาสังฆิกะเดิม ๑ ก็เป็น ๖ ตระกูลด้วยกัน.

0


#9   chavis 

  • นางปฏาจารา ได้ประสบเคราะห์กรรมอะไรมาบ้าง
  • ตอบไม่มาก
  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 27
  • สมัคร: 14/07/2006

ตอบ: 16/08/2006 - 22:49

ทุกวันนี้ดิฉันก็กำลังพิสูจน์เรื่องต่างๆ ในพระไตรปิฎก
ด้วยการปฏิบัติธรรม บางอย่างก็พิสูจน์แล้วจึงทำให้ศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น
ว่าเป็นของจริง ของแท้ ...... บัวรัศมิ์

สาธุ ครับ

0


#10   เฉลิมศักดิ์ 

  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 6244
  • สมัคร: 26/01/2004

ตอบ: 20/08/2006 - 20:19

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

สังคัยหสูตรที่ ๒

http://84000.org/tip...8&A=1788&Z=1931

[๑๓๓] พ. ดูกรมาลุกยบุตร ก็ในธรรมเหล่านั้น คือ รูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้ง เธอจักเป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในธรรมทั้งหลาย คือ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้งแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้งแล้ว ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักไม่พัวพันในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบ หรือในธรรมารมณ์ที่ได้รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกอื่นก็ไม่มี ในระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
-------------------------------------------------------------------

ทำไมจึงไม่เห็นเฉยๆ ....

http://www.thaimisc....gaew&topic=8820

-------------------------------------------------
ก่อนที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะต้องรู้อะไรบ้าง?

ก่อนลงมือปฏิบัติต้องมีความรู้ ความรู้ต้องคู่กับการปฏิบัติ คือ

๑. ต้องรู้ ทวาร ๖

๒. ต้องรู้ อารมณ์ ๖

๓. ต้องรู้ว่าอะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป ทางทวารทั้ง ๖

๔. ต้องรู้ว่ากำหนดนามอะไร กำหนดรูปอะไร ในทวารทั้ง ๖

๕. ต้องรู้วิธีการกำหนดหรือการวางใจในอารมณ์ตามเหตุผลที่เกิดขึ้นตามทวารทั้ง ๖

http://www.thaimisc....gaew&topic=8315

http://www.thaimisc....gaew&topic=8317

http://www.thaimisc....gaew&topic=8326

http://www.thaimisc....gaew&topic=8336

------------------------------------------------------

http://www.thaimisc....gaew&topic=6055

รูปที่จะนำมาเป็นอารมณ์ทางวิปัสสนานั้นมี 6 คือ

!
!
!

--------------------------------------------------------

อ้างอิง
ทุกวันนี้ดิฉันก็กำลังพิสูจน์เรื่องต่างๆ ในพระไตรปิฎก
ด้วยการปฏิบัติธรรม  บางอย่างก็พิสูจน์แล้วจึงทำให้ศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น
ว่าเป็นของจริง ของแท้ ...... บัวรัศมิ์

------------------------------------------------------------

คุณบัวรัศมีครับ มีสิ่งหนึ่งที่ต้องการให้พิสูจน์ครับ คือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่จะทำให้เห็นสักแต่ว่าเห็น ฯลฯ

แบบฝึกหัดวิปัสสนา
และการกำหนด นาม - รูป ที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา โดยย่อ
http://larndham.net/...opic=21524&st=0

-----------------------------------------------------------

และเมื่อเกิดเมื่อเข้าไปพิสูจน์เห็นรูปนาม ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น โอกาสที่เกิดมามีชีวิตย่อมไม่มีอีกต่อไป

ชีวิตจะยุติการเกิดได้อย่างไร ?
http://www.geocities...ong1/kam/ch.htm

อ้างอิง
ถือเสียว่าดิฉันเป็นกัลยาณมิตรที่เข้ามาพูดคุย และทักทาย   
ไม่ใช่ผู้คอยค้านคอยขวางคุณเลย  เพียงขอสะกิดนิดหน่อยว่า
น่าจะผ่อนปรนความรู้สึกนึกคิด ให้วางใจเป็นกลาง

ขอบคุณครับที่แนะนำ เรายังเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ครับ

0


#11   บัวรัศมิ์ 

  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 451
  • สมัคร: 11/04/2006

ตอบ: 22/08/2006 - 21:28

:16: :16: :16: :14: :14: :14: :01: :01: :04:
๑. ฝึกสติให้เห็นจิต หมายถึง ระลึกรู้เท่าทันจิต (หมายรวมทั้ง เวทนา-ความรู้สึกรับรู้ และจิตสังขาร เช่น ความคิด, คิดปรุงแต่ง, โมหะ, โทสะ, โลภะ ฯ.)
๒. ฝึกสติให้เห็นความแตกต่างของความรู้สึก(เวทนา)ระหว่าง จิตขณะปกติ และขณะที่ จิตปรุงแต่ง เพื่อให้เห็นโดยปัจจัตตัง คือเห็นรู้ด้วยตนเอง
๓. ฝึกสติ ให้ชำนาญอย่างต่อเนื่องในการเห็น จิต (เห็นใน เวทนา+จิตสังขาร อย่างเป็นสัมมาสมาธิ)
๔. ฝึกสติ ไม่ให้ไปคิดนึกปรุงแต่งต่อจากจิต(เวทนา+จิตสังขาร)ที่เห็นหรือเกิดขึ้นนั้น (หมายถึงยังมีคิดเป็นปกติธรรมดาของขันธ์๕ที่ยังกระทบแล้วรู้สึกเป็นธรรมดา แต่ไม่คิดปรุงแต่งชนิดที่ยังให้เกิดทุกข์ต่อ) หรือคือการฝึกสติในการถืออุเบกขานั่นเอง
๕. ฝึกสติให้เห็นความแตกต่างของความรู้สึกระหว่าง เมื่อจิตไม่รู้เท่าทันไปปรุงแต่ง กับ จิตที่รู้เท่าทันแล้วถืออุเบกขา

“ดูกรฯ บัณฑิตผู้ฉลาดมีปัญญาย่อมใคร่ครวญอายตนะภายใน
ทั้ง6 นั้นคือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของว่าง
เปล่า ทั้งนั้น”
(พุทธภาษิต)

0


#12   เฉลิมศักดิ์ 

  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 6244
  • สมัคร: 26/01/2004

ตอบ: 23/08/2006 - 05:33

คุณบัวรัศมีครับ อย่าลืมพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในพระไตรปิฏก มหาสติปัฏฐานสูตรนะครับ

http://larndham.net/...opic=20718&st=0

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

----------------------------------------------------------------
อ้างอิง
๕. ฝึกสติให้เห็นความแตกต่างของความรู้สึกระหว่าง เมื่อจิตไม่รู้เท่าทันไปปรุงแต่ง กับ จิตที่รู้เท่าทันแล้วถืออุเบกขา

พระพุทธองค์ตรัสถึงองค์คุณของการเจริญสติปัฏฐาน ไว้ ๓ อย่างคือ สติมา สัมปชาโน อาตาปี (ไม่ได้ตรัสถึงสติเพียงอย่างเดียว)

ทางสายเอก
http://www.geocities...g1/thang/00.htm

http://www.geocities...g1/thang/08.htm

. ถาม ผู้ที่จะปฏิบัติธรรมตามแนวมหาสติปัฏฐาน จำเป็นจะต้องประกอบด้วยองค์คุณเท่าไร อะไรบ้าง

ตอบ จำเป็นจะต้องประกอบด้วยองค์คุณ ๓ ประการ คือ

ก. อาตาปี ต้องมีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสที่เป็นไปติดต่อตามหลักของปธานความเพียร ๔ อย่าง คือ เพียรละความเข้าใจผิดในนามรูปเก่าๆที่เกิดแล้ว เพียรระวังไม่ให้ความเข้าใจผิดในนามรูปใหม่ๆที่มันยังไม่เกิดอย่าให้เกิดขึ้นได้ เพียรทำโยนิโสมนสิการคือความเข้าใจถูกในนามรูปที่มันยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นให้ได้ และเพียรพยายามทำโยนิโสมนสิการคือความเข้าใจถูกตามความเป็นจริงของนามรูปที่มันเกิดขึ้นแล้วอย่าให้เสื่อมไป เมื่อจะพูดกันอย่างฟังง่ายๆก็คือ ถ่ายเทความเข้าใจผิดในนามรูปที่เรียกว่าวิปลาสธรรมเก่าๆออกไปเสีย เปลี่ยนรับเอาแต่เฉพาะความเข้าใจถูกตามความเป็นจริงของนามรูปอันมีโยนิโสมนสิการและวิปัสสนาเป็นต้นเข้ามาแทนที่นั่นเอง

ข. สัมปชาโน คือต้องเป็นผู้ที่เต็มไปด้วยสัมปชัญญะ ๔ คือ

จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าในการที่จะก้าวเท้าไปข้างหน้านั้น จะเป็นประโยชน์แก่สติปัญญาหรือไม่ที่เรียกว่า สาตถกสัมปชัญญะ หนึ่ง

จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าในการที่จะเดินไปนั้น จะเป็นที่สบายแก่สติปัญญาหรือไม่ที่เรียกว่า สัปปายสัมปชัญญะ หนึ่ง

จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าอารมณ์ที่ตนจะประสบนั้น จะเป็นอารมณ์ที่เจริญไปด้วยสติปัญญาหรือไม่ที่เรียกว่า โคจรสัมปชัญญะ หนึ่ง

จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าในการที่จะก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยกลับมาข้างหลังเป็นต้นนั้น ตนเองจะรู้เท่าทันกับอารมณ์นั้นหรือไม่ที่เรียกว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ หนึ่ง

ค. สติมา คือจะต้องเป็นผู้ที่ประกอบไปด้วยสติที่ตั้งอยู่บนมูลฐาน ๔ อย่างมีกายานุปัสสนาเป็นต้น อย่างชนิดที่เป็นไปติดต่อโดยไม่ขาดสาย นั่นแหละจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ที่สมควรในการเจริญสติปัฏฐานได้

0


#13   เฉลิมศักดิ์ 

  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 6244
  • สมัคร: 26/01/2004

ตอบ: 23/08/2006 - 06:03

อ้างอิง
อ้อ ผมหมายถึง ท่านไปทำกรรมอะไรไว้ถึงได้ ต้องสูญเสีย สามี ลูก พ่อแม่ครับ

จากคุณ : chavis

อ้างอิง
ชีวิตคืออะไร ชีวิตเกิดจากอะไร ชีวิตจะสิ้นสุดลงอย่างไร?
http://www.thaimisc....gaew&topic=7680

ในขุททกนิกาย จัตตาฬีสนิบาต อิสิทาสีเถรีคาถา.. มีข้อความเรื่องชีวิตของพระอิสิทาสีภิกษุณี ผู้ไม่เป็นที่รักของสามี ท่านมีสามีมาแล้วหลายครั้ง แต่ภายหลังท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีและได้บรรลุอรหัตต์ ท่านระลึกอดีตชาติได้ และรู้เหตุที่ทำให้ต้องได้รับความทุกข์อันใหญ่หลวงนั้นว่า ในอดีตชาติท่านประพฤติผิดในกาม อกุศลกรรมนั้นทำให้เกิดในนรกตลอดกาลนาน และเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานสามชาติ


--------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเติมจาก

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

อิสิทาสีเถรีคาถา


http://84000.org/tip...ีเถรี
------------------------------------------------------

วิถีบุญวิถีธรรม : กรรมเก่าอะไร?...ที่ทำให้เกิดผิดเพศ
http://www.komchadlu...05/10/06/02.php
--------------------------------------------------------
คนเป็นกะเทยได้อย่างไร ?
http://larndham.net/...opic=20560&st=0

0


#14   chavis 

  • นางปฏาจารา ได้ประสบเคราะห์กรรมอะไรมาบ้าง
  • ตอบไม่มาก
  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 27
  • สมัคร: 14/07/2006

ตอบ: 23/08/2006 - 07:01

สาธุ สาธุ ขอบคุณ คุณ เฉลิมศักดิ์ มากครับ

0


#15   บัวรัศมิ์ 

  • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
  • ตอบ: 451
  • สมัคร: 11/04/2006

ตอบ: 24/08/2006 - 05:33

:01: :01: :01: :16: :16: :16: :11:

ในการปฏิบัติกรรมฐานนั้น ผู้ปฏิบัติย่อมได้รับผลที่ประจักษ์ได้เองค่ะ

หลวงปู่สิมท่านสอนว่า
อย่ามัวแต่ถาม ให้ “ทำ”

"ในการเป็นผู้รู้ตำรามาก รู้ปริยัติมาก แต่ขาดปฏิบัติ
ก็จะวิตกวิจารณ์เรื่อยไป จึงทำให้ละทิ้งนิวรณ์ไม่ได้
การปฏิบัติก็จะไม่ก้าวหน้า"

ดิฉันเริ่มต้นจากการไม่รู้ตำราค่ะ ไม่ได้เรียนอภิธรรม
เริ่มจากศรัทธา ทาน ศีล แล้วก็ภาวนา
ปฏิบัติไป ก็เริ่มเห็นผล มีศัพท์ทางพระอภิธรรมเกิดขึ้นในสมาธิ
ดิฉันก็ไปถามหลวงตา ท่านก็เมตตาอธิบาย
บ่อยครั้งเข้าก็เลยเข้าโรงเรียนเรียนพระอภิธรรม และศึกษาพระไตรปิฎก
ทั้งฉบับสยามรัฐ ฉบับประชาชน

ปฏิบัติไป เรียนไป ก็เลยไม่เข้าข่ายที่คุณเฉลิมว่า
ว่าต้องเรียนหรือมีพื้นฐานพระอภิธรรมหรือพระไตรปิฏกก่อน มิฉะนั้นจะผิดทาง

ดิฉัน “ทำ” ก่อนค่ะ แล้วค่อยศึกษาเพิ่มทางปริยัติภายหลัง
อ่านแล้วฟังแล้วก็เข้าใจ เข้าใจแล้วก็ปฏิบัติ ควบคู่กันไปเช่นนี้ั้
ปฏิบัตินานเข้าก็เกิดความก้าวหน้า

เรื่องที่คุณเจอกรณีที่ผู้ปฏิบัติปวดหัว ไม่ว่าคุณจะมีความคิดเห็นอย่างไร ดิฉันไม่เข้าไปค้าน เพราะเขาไม่ได้ถามดิฉัน

และบัดนี้การปฏิบัติธรรมของดิฉันก็ก้าวหน้าไปเป็นลำดับ
คุณเฉลิมไม่ต้องห่วงว่าจะผิดทางหรอกค่ะ เพราะขณะนี้การปฏิบัติกรรมฐาน
ของดิฉันอยู่ในความดูแลของครูบาอาจารย์ผู้มาสอนดิฉันในกรรมฐานภายในสมาธิคุ่ะ

เรื่องนี้เป็นปัจจัตตัง ผู้อื่นอาจมีประสบการณ์อย่างอื่น
แต่ผู้ปฏิบัติย่อมรู้ได้ด้วยตนเองค่ะ

เมื่อคุณท้วงติงมาจึงขอบคุณ และเห็นว่า
ตราบใดคนเราเมื่อยังแพ้สังขารมาร กิเลสมาร ขันธมาร
ก็ยังห่างไกลที่พบมรรคผล

ตราบใดที่คนเรายังมีบ่วงหรือห่วง ตราบนั้นก็ยังห่างไกลมรรคผล
ตราบใดที่คนเรายังมีวิจิกิจฉา และยังไม่เริ่มต้นปฏิบัติภาวนา ก็ยิ่งห่างไกลมรรคผล

ก็ขอให้ยุติ เรื่องการปฏิบัติของดิฉันไว้เพียงเท่านี้นะคะ เพราะดิฉันมีหลายเรื่องที่เป็นอัศจรรย์เกินความเข้าใจที่จะอธิบายโดยความรู้จากห้องอภิธรรม และขอขอบคุณในความห่วงใยของคุณเฉลิมเป็นอย่างมากด้วยค่ะ อย่างไรก็ขอให้เห็นว่าดิฉันเป็นกีลยาณมิตร ที่มีประสบการณ์แปลกๆ เท่านั้นเอง แต่ขอยืนยันว่าดิฉันเดินไม่ผิดทางแน่ค่ะ

“ดูกรฯ บัณฑิตผู้ฉลาดมีปัญญาย่อมใคร่ครวญอายตนะภายใน
ทั้ง6 นั้นคือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของว่าง
เปล่า ทั้งนั้น”
(พุทธภาษิต)

0


คำตอบต่อไป: ไม่มี

  • ← กระทู้ก่อนหน้า
  • ปริยัติธรรม (ปิดปรับปรุง)
  • กระทู้ถัดไป →

  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • นางปฏาจารา ได้ประสบเคราะห์กรรมอะไรมาบ้าง
    กระทู้นี้ถูกล็อค


1 ผู้ใช้กำลังอ่านกระทู้นี้ 0 สมาชิก, 1 ผู้เยี่ยมชม, 0 ผู้ใช้ที่ไม่ระบุชื่อ