ทักษะด้านใดบ้างที่เพศวิถีศึกษาเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นหาคุณค่าและทัศนคติของตนเอง

ทักษะด้านใดบ้างที่เพศวิถีศึกษาเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นหาคุณค่าและทัศนคติของตนเอง

มงคลกร พุฒธะพันธ์  นักศึกษาฝึกงาน The Isaan Record เรื่องและภาพ

กว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา (2563-2564) พลังนักเรียนนักศึกษาส่งเสียงสะท้อนปัญหาในโรงเรียน ทั้งหลักสูตรการศึกษา แสดงออกความคิดทางการเมือง การชูสามนิ้ว ชูกระดาษเปล่า จัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ กระจายไปเกือบทุกโรงเรียน ม็อบนักศึกษาเรียกร้องการปฏิรูปการศึกษา จัดดีเบตระหว่างนักเรียนและรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ 

ความเท่าเทียมทางเพศ ธงสีรุ้ง หรือ สัญญลักษณ์ Pride มีให้เห็นในทุกกิจกรรมและหลายเวทีมีนักเรียนออกมาปราศรัยสะท้อนปัญหาความเท่าเทียมทางเพศในหลักสูตรการศึกษา ทำให้เกิดคำถามว่า หลักสูตรการศึกษาในปัจจุบันสอดรับกับความเท่าเทียมทางเพศมากน้อยเพียงใด และอะไรคืออุปสรรคปัญหาในเรื่องนี้ 

The Isaan Record พูดคุยกับ ธงชัย ทองคำ หรือ ครูแจ็ก ครูสอนเพศวิถีศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ หนึ่งในครูแกนนำหลักสูตร “เพศวิถีศึกษา” ที่นำเรื่องเพศวิถีมาประยุกต์กับเนื้อหาการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องความหลากหลายทางเพศ 

The Isaan Record : เพศวิถีศึกษา คือ อะไร
ครูแจ็ก : หลักสูตรเพศวิถีศึกษามีเนื้อหาที่เน้นในกระบวนการสอนเพศศึกษาอย่างรอบด้าน ครอบคลุมและสอดคล้องกับค่านิยมทางเพศและพฤติกรรมทางเพศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งยังรวมถึงสถานการณ์การขับเคลื่อนนโยบาย กฎหมายของภาคประชาชน ภาครัฐ และในระดับประชาคมโลก ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนและครูผู้สอน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเพศวิถีมากขึ้น รวมถึงสามารถเชื่อมโยงทัศนคติสู่การสรุปแนวคิดที่เป็นทักษะชีวิตได้

The Isaan Record :  ก่อนที่จะมีเพศวิถีศึกษา สอนเรื่องเพศอย่างไรในโรงเรียน
ครูแจ็ก :  สุขศึกษา จะมีหน่วยหนึ่งที่ใช้คำว่า เรื่องเพศ แต่ละระดับชั้นก็จะเรียนในเนื้อหาที่ต่างกัน เช่น ม.5 จะกล่าวถึงค่านิยมทางเพศ พฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงอย่างเช่น คนที่มีความเบี่ยงเบนทางเพศ ผมว่า น่าจะคั่นที่ตรงนี้ ในปัจจุบันเราไม่ได้มองแบบนั้น ในเนื้อหาเพศวิถีแบบใหม่ มองกว้างขึ้น มองตั้งแต่เรื่องของพัฒนาการทางด้านร่างกายไปจวบจนถึงเรื่องของค่านิยมทางเพศ ไม่ได้มาสอนว่า เพศศึกษาต้องดูแลสุขภาพอย่างไร ต้องดูแลการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายอย่างไร ไม่ได้พูดถึงแค่เรื่องของความปลอดภัย สารเสพติด เรื่องของการ CPR อะไรอย่างเดียว

หรือจะพูดอีกนัยนึงก็คือว่า สุขศึกษา พูดถึงเรื่องสุขภาพรวมๆ ทั้งหมดแล้วก็มีเรื่องเพศอยู่ในนั้น แต่เพศวิถีพูดถึงเรื่องของสุขภาพทางเพศ ซึ่งก็ครอบคลุมถึงตัวเพศศึกษาด้วย เพียงแต่ว่ารายละเอียดปลีกย่อยของเพศวิถีก็จะครอบคลุมมากกว่าเป็นหกมิติ ไม่ได้มองถึงเรื่องของเพศอย่างเดียวแล้ว แต่จะมองถึงเรื่องพฤติกรรม เรื่องของค่านิมยม พูดถึงเรื่องการปฏิบัติที่มันสอดคล้องกับตัวกฎหมาย หรือสอดคล้องกับค่านิยมโลกในปัจจุบัน

เนื่องด้วยการมีข้อผูกมัดกับกฎหมาย พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นปี 2559 ในตอนนี้หลายโรงเรียนได้มีการจัดกิจกรรมอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องของเพศวิถีหรือเพศวิถีศึกษา หนึ่งในข้อกฎหมายดังกล่าวได้ได้ระบุไว้ว่า “โรงเรียนต้องจัดการสอนเรื่องเพศวิถี” 

ด้วยเนื้อหาของเพศวิถีทั้งหกมิติที่กล่าวไว้ข้างต้นจึงมีความน่าสนใจ อันได้แก่มิติด้านพัฒนาการของมนุษย์ (Human Development), ด้านสัมพันธภาพ (Relationships), ด้านทักษะส่วนบุคคล (Personal Skills), ด้านพฤติกรรมทางเพศ (Sexual Behavior), ด้านสุขภาพทางเพศ (Sexual Health) และ ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Society and Culture) ซึ่งมีความครอบคลุมในเรื่องเพศมากขึ้น 

จากเดิมเรื่องเพศศึกษา เป็นเพียงส่วนหนึ่งในรายวิชาสุขศึกษา มีน้ำหนักประมาณ 4 ชั่วโมง/ภาคเรียน หรือ ต่อปีการศึกษา แต่ในส่วนของเนื้อหาการสอนเพศวิถีศึกษานั้น สามารถจัดทำแยกเป็นรายวิชาเพิ่มเติมได้อีก 1 วิชา ซึ่งมีน้ำหนักอยู่ที่ 20 ชั่วโมง/ภาคเรียน หรือ แทรกในรายวิชาสุขศึกษา กิจกรรมโฮมรูม หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ความน่าสนใจจึงอยู่ที่การให้นักเรียนได้เรียนเนื้อหาเพศวิถีศึกษาได้อย่างครอบคลุมและรอบด้านทุกประเด็น

ทักษะด้านใดบ้างที่เพศวิถีศึกษาเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นหาคุณค่าและทัศนคติของตนเอง
“การมองว่าคนที่เบี่ยงเบนทางเพศ คือ กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง นี่คือเนื้อหาที่เก่ามาก เราควรมองที่ความเป็นตัวตนมากกว่าเรื่องเพศ” ธงชัย ทองคำ หรือครูแจ็ก ครูสอนเพศวิถีศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์

The Isaan Record : นำเพศวิถีมาปรับเข้ากับห้องเรียนอย่างไร
ครูแจ็ก : เรื่องเพศวิถีมันเป็นนโยบายที่มอบหมายให้ทางโรงเรียนได้จัดการสอน เนื่องมาจากตัวกฎหมาย พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559 ได้กำหนดให้คุณครูหรือโรงเรียนจัดการสอนเรื่องเพศวิถีให้กับนักเรียน ซึ่งในกรอบของเพศวิถีก็จะพูดถึงหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพัฒนาการทางด้านร่างกาย เรื่องของสัมพันธภาพ เรื่องของทักษะชีวิต เรื่องของสุขภาพทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ แล้วก็สังคมและวัฒนธรรม ส่วนที่เราจะเน้น และให้ความสำคัญคือเรื่องของสังคมและวัฒนธรรม เพราะว่าปัจจุบันมันมีความหลากหลายทางเพศเกิดขึ้น สังคมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

การเสริมเนื้อหาของเพศวิถีศึกษาเข้ามาในชั้นเรียน ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีเนื้อหาเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงนักเรียนในห้อง ก็จะมีความเข้าใจในเรื่องของความหลากหลายทางเพศมากขึ้น มีการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ปฏิบัติต่อกันในเชิงลบ 

การศึกษาเรื่องเพศวิถีไม่ใช่แค่เฉพาะในผู้เรียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงครูผู้สอนอย่างกรายๆ เพราะในการกระจายองค์ความรู้เหล่านี้ มิใช่เพียงเนื้อหาตามตำราเท่านั้นที่สำคัญที่สุด หากแต่เป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องตระหนักรู้ถึงสิ่งที่ความหลากหลายทางเพศเป็นจริง ๆ ทำความเข้าใจ และนำความเข้าใจเหล่านั้นมาบูรณาการณ์ มาประยุกต์ให้เข้ากับบทเรียนเพื่อสร้างฐานความรู้ที่ถูกต้องที่สุดต่อผู้เรียน

การสอนหรือเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศของคุณครู จะต้องเข้าใจมากขึ้น เราจะไม่มองแค่ว่า แต่ก่อนมีแค่เพศหญิงหรือเพศชาย ปัจจุบันคุณครูต้องทำความเข้าใจว่ามันมีเพศอยู่หลายเพศ ซึ่งเราเรียกว่า LGBT หรือ LGBTQ

ในกระบวนการสร้างฐานความเข้าใจให้กับบุคลากรทางการศึกษา ครูผู้สอนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะสอนวิชาใด หรือ เนื้อหาไหน จำเป็นต้องมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและบริบททางเพศในสังคมปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีการจัดอบรมในหลักสูตรการสอนเพศวิถีศึกษา แบบ E-Learning ที่ สพฐ. ร่วมกับมูลนิธิ Path2Health ได้จัดขึ้น ซึ่งเมื่อผ่านการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวจะทำให้ครูผู้สอนได้แนวคิดและทางการจัดการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตอย่างบูรณาการได้ชัดขึ้น

จากการอบรมเรื่องเพศวิถี โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ครูแจ็กยังได้นำเนื้อหามาถ่ายทอดให้กับคุณครูในโรงเรียน และได้เชิญชวนให้บุคลากรในโรงเรียนร่วมอบรมด้วย

ตอนนี้ครูหลายคนได้เข้าอบรมแล้วและเชื่อว่าในอนาคตจะมีการเข้าอบรมมากขึ้น และเชื่ออีกว่า คุณครูเมื่อได้เข้าอบรมในหลักสูตรนี้แล้วจะเข้าใจในเรื่องของเพศวิถี เข้าใจในเรื่องของความหลากหลายทางเพศ เข้าใจการบูลลี่ เข้าใจการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม การใช้คำพูด การกล่าวถึง หรือการสนับสนุน ตามความสามารถตามเพศสภาพ 

“เราต้องสร้างพื้นที่ความปลอดภัยให้กับนักเรียนเมื่อมาโรงเรียนของเรา เขาจะได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าสิ่งที่ทำจะถูกตำหนิหรือโดนดุด่า”

The Isaan Record: อุปสรรคในการเผยแพร่เรื่องเพศวิถีคืออะไร
ครูแจ็ก :  อุปสรรคเบื้องต้นเห็นจะเป็นเรื่องของกรอบแนวคิด หลังจากที่ครูแจ็กได้เชิญชวนครูจากหลากหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้มาร่วมอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจในเนื้อหาเพศวิถี อุปสรรค์ที่ขัดขวางกระบวนการเหล่านั้นคือกรอบแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งครูบางส่วนยังตระหนักว่าไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไปจากกรอบแนวคิดเดิมๆ ทั้งยังมองว่าเป็นเรื่องของเพศศึกษาที่หมาะสำหรับครูสุขศึกษาเพียงเท่านั้น

เราพยายามที่จะบอกคุณครูทุกคนว่า เรื่องเพศวิถีไม่ได้เป็นเนื้อหาเฉพาะครูสุขศึกษา แต่หมายถึงคุณครูทุกคน เพราะว่าคุณครูทุกคนต้องจัดการเรียนการสอน มีนักเรียนในที่ปรึกษา ซึ่งการใช้คำ ประโยคบางประโยคที่เรามองเป็นเรื่องปกติแต่มันอาจจะส่งผลกระทบกับกลุ่มคนบางคน ดังนั้นอุปสรรค์คือการสร้างความเข้าใจให้คนเห็นความสำคัญว่าเรื่องเพศวิถีสำคัญอย่างไร หรือพยายามเปิดกรอบใหม่ๆ ว่ามันเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญนะ ไม่ใช่แค่เรื่องของการสอนสุขศึกษาอย่างเดียว 

ด้านของตัวกฎหมาย หลังจากการออกมารณรงค์ และเรียกร้องถึงสิทธิพื้นฐานที่ทุกผู้คนพึงจะได้รับ อาทิ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ฯลฯ ก็นับได้ว่าคลี่คลายลง ส่วนในรั้วการศึกษาผลลัพธ์คือมีการพูดคุยถึงเรื่องการสอนเพศวิถีศึกษามากขึ้น อย่างไรก็ตามถึงกฎหมายจะมีมาตรการการสร้างความเข้าใจในระดับการศึกษา แต่ในเรื่องสิทธิพื้นฐานในสังคม กฎหมายกลับยังไม่ได้มอบสิทธิให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างเต็มที่ 

The Isaan Record : หลักสูตรเรื่องเพศในเพศวิถี จะไม่เกิดประสิทธิผลหากไม่มีการยอมรับจากระบบ 

ครูแจ็ก : หน่วยงานด้านการศึกษาหรือแม้กระทั่งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ต่างก็มีนโยบายขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ที่อาจจะเป็นอุปสรรค คือ การนำนโยบายลงไปปฏิบัติสู่โรงเรียน ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้บริหาร หรือ ครูผู้สอน รวมถึงผู้ปกครองและชุมชนว่า จะให้ความสำคัญ เปิดกว้างในสิ่งเหล่านี้หรือไม่

ตัวคุณครูเมื่อมีความเข้าใจในเรื่องของเพศวิถีแล้ว เราก็จะสามารถจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสม โดยไม่เลือกปฏิบัติว่านักเรียนจะเป็นเพศไหน โรงเรียนของเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เราเปิดพื้นที่ให้กลุ่ม LGBT ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ เชื่อไหมครับเขาเป็นทั้งประธานสี ประธานนักเรียน ถ้าเรามองข้ามเรื่องของเพศออกไป เขาคือคนคนหนึ่ง แล้วมอบโอกาสให้เขาได้แสดงความสามารถ ทำให้เขาได้มีตัวตน มีความภูมิใจในสิ่งที่เป็น สังคมให้ความยอมรับ และที่สำคัญครอบครัวเขาภาคภูมิใจ

ทักษะด้านใดบ้างที่เพศวิถีศึกษาเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นหาคุณค่าและทัศนคติของตนเอง
“เรื่องเพศวิถี เป็นเรื่องใกล้ตัวและรอบตัว อยากให้นักเรียนกล้าที่จะถาม หรือ ตอบคำถามได้อย่างไม่เขินอาย และมองเรื่องเพศเป็นเรื่องปกติ”

The Isaan Record : ก้าวต่อไปของเพศวิถีศึกษาจะเป็นอย่างไร 

ครูแจ็ก : หลังจากที่วิชาเพศวิถีศึกษาได้กระจายองค์ความรู้สู่นักเรียน จากเนื้อหาและรูปแบบการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วม เน้นการถามคำถามหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริงหรือข้อสงสัยอย่างเปิดกว้าง ในจุดนี้ระยะห่างของความเก้อเขินถูกย่นลงมา เกิดการรับรู้และมองเรื่องเพศเป็นเรื่องปกติเหมือนเนื้อหาวิชาการทั่วไป ครูผู้สอนไม่เขินอายที่จะอธิบายหรือตอบคำถามที่นักเรียนอยากรู้และสนใจ โดยครูแจ็กได้กล่าวถึงสิ่งที่สร้างความเข้าใจกับนักเรียนร่วมกันเช่นนี้ว่า “การที่รู้หรือตอบคำถามเรื่องเพศได้ ไม่ได้หมายความว่าเป็นผู้มีประสบการณ์  เนื้อหาเรื่องเพศเป็นเรื่องทั่วไป ใคร ๆ ก็ศึกษาได้ คนที่ตอบหรือสงสัยจึงเป็นคนที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ถือเป็นเรื่องปกติและเป็นเรื่องที่ดี”

ส่วนสำคัญของกระบวนการสร้างความเข้าใจเรื่องเพศได้เกริ่นไว้ข้างต้นอย่างประปราย สำคัญที่ ความเปิดกว้างอย่างเข้าใจ ในทีนี้จะหมายถึงในส่วนของตัวบุคคล ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจ 

ทุกคนควรที่จะต้องเข้าใจในเรื่องความหลากหลายทางเพศอย่างเปิดกว้าง แต่ในสังคมกลับเป็นเยาวชนที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นกระบอกเสียงอย่างนัย ๆ ถึงระบบการรับรู้เรื่องเพศแบบเก่า ที่ควรถูกต่อยอดด้วยแนวคิดเรื่องเพศแบบใหม่

เพศวิถีศึกษาถือเป็นประตูด่านแรกของการแก้ปัญหาของความไม่เข้าใจเรื่อง LGBTQI+ ได้ในระดับหนึ่ง เพราะเนื้อหาเรื่องเพศวิถีศึกษามีเนื้อหาหลายด้านอย่างที่กล่าวมา 

แต่การขับเคลื่อนสำหรับระบบการศึกษาอาจไม่เพียงพอ ตัวกฎหมายต้องมีการขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน ร่วมด้วยในปัจจุบันเยาวชนสมควรจะต้องเรียนรู้เรื่องของความหลากหลายทางเพศ เพื่อทำความเข้าใจถึงความแตกต่าง.ให้มากขึ้น ถึงแม้จะพอรู้ แต่ก็ควรจะรู้ให้มากขึ้น ซึ่งผู้ใหญ่เองก็ต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้เช่นกัน ดังที่กล่าวไปข้างต้น

“เรื่องเพศไม่ใช่แค่เรื่องของกลุ่มคน แต่คือเรื่องของทุกคน”  

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง :

  • เคท ครั้งพิบูลย์ : สู้เพื่อพลิกโฉมความเท่าเทียมทางเพศ 
  • LGBTIQ+- ความฝันของทนาย LGBT “ทุกเพศต้องเท่าเทียม” (5)
  • LGBTQI+ – เสียงจากความหลากหลายทางเพศอีสาน (2)
  • LGBTIQ+ อีสาน: บนหนสู่สิทธิและความเท่าเทียม” (1)
ทักษะด้านใดบ้างที่เพศวิถีศึกษาเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นหาคุณค่าและทัศนคติของตนเอง

เพศวิถีศึกษามีอะไรบ้าง

'เพศวิถีศึกษา' คือ การเรียนการสอนทั้งในรูปแบบการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ โดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์: เนื้อหาของเพศวิถีศึกษามาจากข้อเท็จจริงและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ เพศวิถี และพฤติกรรมของมนุษย์

ประโยชน์อะไรบ้างจากการศึกษาเรื่อง เพศวิถีศึกษา

3. เพศวิถีศึกษาช่วยให้เยาวชนสามารถควบคุมพฤติกรรมของตน ในทางกลับกันช่วยให้ผู้เรียนรู้จักปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วย ความเคารพ ยอมรับ อดทน และเอาใจใส่ โดยไม่เลือกเพศชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือวิถีทางเพศ ท าให้มีแนวทางในการเลือก ดาเนินชีวิตทางเพศอย่างเหมาะสม เป็นสุข และปลอดภัย

การเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาก่อให้เกิดประโยชน์เรื่องใดมากที่สุด

ดังนั้นการให้ความรู้ทางเพศศึกษาที่ถูกต้อง จะเป็นการปิดกั้นโอกาสในการเบี่ยงเบนทางเพศ และพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งป้องกันปัญหาที่จะเกิดจากความไม่สมดุลของความต้องการทางเพศในชีวิตคู่อีกด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข และเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

เพศศึกษาเป็นการเรียนรู้ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง

สรุปได้ว่า “เพศศึกษา” หมายถึง กระบวนการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ตั้งแต่เกิดจนตาย และให้ความเข้าใจแก่ผู้เรียนในเรื่องเพศ ที่เกี่ยวกับทางด้านกายวิภาค และ สรีรวิทยาของร่างกาย สุขภาพจิต และพัฒนาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องเพศอย่างถูกต้อง การอยู่ ร่วมกัน และการเรียนรู้บทบาทระหว่างชายหญิง ทั้งด้านสังคมวิทยา และ ...