นางชุชชุดตรา มีหน้าที่อย่างไรในบ้านของโฆษกเศรษฐี

[While working on "free" offline Thai dictionaries for (otpc) tablets and Android phones, I discovered many rewards - I like to share with you. This one is from  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ by Reverend ป.อ. ปยุตโต.)

From พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
ขุชชุตรา

ขุชชุตรา: อริยสาวิกาสำคัญท่านหนึ่งในฝ่ายอุบาสิกา บางทีเรียกว่าเป็นอัครอุบาสิกา เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นตราชูของอุบาสิกาบริษัท (คู่กับเวฬุกัณฏกีนันทมารดา)
  ท่านเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกาที่เป็นพหูสูต เป็นผู้มีปัญญามาก ได้บรรลุเสขปฏิสัมภิทา (ปฏิสัมภิทาของพระเสขะ),
  ตามประวัติที่อรรถกถาเล่าไว้ อริยสาวิกาท่านนี้ เป็นธิดาของแม่นมในบ้านของโฆสิตเศรษฐี (อรรถกถาเรียกเพี้ยนเป็นโฆสกเศรษฐี ก็มี) ในเมืองโกสัมพี ได้ชื่อว่า "ขุชชุตรา" เพราะเกิดมามีหลังค่อม (เขียนเต็มตามรูปคำบาลีเดิม เป็น "ขุชฺชุตฺตรา" ขุชฺชา แปลว่า ค่อม ชื่อของนางแปลเต็มว่า อุตราผู้ค่อม)
  ต่อมา เมื่อนางสามาวดี ธิดาบุญธรรมของโฆสิตเศรษฐีได้รับอภิเษกเป็นมเหสีของพระเจ้าอุเทนแห่งกรุงโกสัมพี นางขุชชุตราก็ได้ไปเป็นผู้ดูแลรับใช้ (เป็นอุปัฏฐายิกา, แต่อรรถกถาบางแห่งใช้คำว่าเป็นบริจาริกา) ขุชชุตราไม่ค่อยจะซื่อตรงนัก ดังเรื่องว่า เวลาไปซื้อดอกไม้ นางเอาเงินไป ๘ กหาปณะ แต่เก็บเอาไว้เสียเอง ๔ กหาปณะ ซื้อจริงเพียง ๔ กหาปณะ
  อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าของร้านดอกไม้นิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ไปฉัน เมื่อขุชชุตราไปที่ร้านจะซื้อดอกไม้ เจ้าของร้านจึงขอให้รอก่อน และเชิญให้ร่วมจัดแจงภัตตาหารถวายด้วย ขุชชุตราได้รับประทานอาหารเองและทั้งได้เข้าครัวช่วยจัดภัตตาหาร แล้วก็เลยได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสตลอดทั้งหมดจนถึงอนุโมทนา และได้สำเร็จเป็นโสดาบัน
  เมื่อเป็นอริยบุคคลแล้ว วันนั้นก็จึงซื้อดอกไม้ครบ ๘ กหาปณะ ได้ดอกไม้ไปเต็มกระเช้า พระนางสามาวดีแปลกพระทัย ก็ตรัสถามว่าทำไมเงินเท่าเดิม แต่วันนั้นได้ดอกไม้มามากเป็นพิเศษ ขุชชุตราเป็นอริยชนแล้ว ก็เล่าเปิดเผยเรื่องไปตามตรง พระนางสามาวดีกลับพอพระทัย และพร้อมด้วยสตรีที่เป็นราชบริพารทั้งหมด พากันขอให้ขุชชุตราถ่ายทอดธรรม ขุชชุตราแม้จะเป็นคนค่อนข้างพิการ แต่มีปัญญาดีมาก (สำเร็จปฏิสัมภิทาของเสขบุคคล) ได้นำธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสมาถ่ายทอดเหมือนอย่างที่พระองค์ทรงแสดง ทำให้พระนางสามาวดีและสตรีที่เป็นราชบริพารเข้าใจแจ่มแจ้งบรรลุโสดาปัตติผลทั้งหมด
  จากนั้น พระนางสามาวดีได้ยกขุชชุตราขึ้นพ้นจากความเป็นผู้รับใช้ เชิดชูให้มีฐานะดังมารดาและเป็นอาจารย์ที่เคารพ โดยให้มีหน้าที่ไปฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมทุกวัน แล้วนำมาเล่ามาสอนต่อที่วัง เวลาผ่านไป ต่อมา พระนางสามาวดี ถูกพระนางมาคัณฑิยาประทุษร้ายวางแผนเผาตำหนักสิ้นพระชนม์ในกองเพลิงพร้อมทั้งบริพาร แต่พอดีว่า ขณะนั้น ขุชชุตราไปกิจที่อื่น จึงพ้นอันตราย


  พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า (อิติ.อ.๓๔) พระสูตรทั้งหมดในคัมภีร์อิติวุตตกะ แห่งขุททกนิกายในพระไตรปิฎก จำนวน ๑๑๒ สูตร ได้มาจากอริยสาวิกาขุชชุตราท่านนี้ กล่าวคือ นางขุชชุตราไปฟังจากพระพุทธเจ้าและนำมาถ่ายทอดที่วังแก่พระนางสามาวดีพร้อมทั้งบริพาร แล้วภิกษุณีทั้งหลายก็รับไปจากอริยสาวิกาขุชชุตรา และต่อทอดถึงภิกษุทั้งหลาย (พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่เมืองโกสัมพี ในปีที่ ๙ แห่งพุทธกิจ และเมืองโกสัมพีอยู่ห่างจากเมืองราชคฤห์ วัดตรงเป็นเส้นบรรทัด ๔๐๕ กม. ไม่พบหลักฐานว่านางขุชชุตรามีชีวิตอยู่ถึงพุทธปรินิพพานหรือไม่) ทั้งนี้ได้รักษาไว้ตามที่นางขุชชุตรานำมากล่าวแสดง

  ดังที่คำเริ่มต้นพระสูตรชุด ๑๑๒ สูตรนี้ ก็เป็นคำของนางขุชชุตรา ว่า "วุตฺตํ เหตํ ภควตา วุตฺตมรหตาติ เม สุตํ" (แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ไว้ ข้าพเจ้าได้สดับมาดังที่พระองค์อรหันต์ตรัสแล้วว่า...) ซึ่งพระอานนท์ก็นำมากล่าวในที่ประชุมสังคายนา ณ เมืองราชคฤห์ ตามคำเดิมของนาง (คำเริ่มต้นของนางมีเพียงเท่านี้ ไม่บอกสถานที่ตรัส เพราะเป็นพระสูตรซึ่งทรงแสดงที่เมืองโกสัมพีทั้งหมด และไม่บอกว่าตรัสแก่ใคร แต่ในทุกสูตรมีคำตรัสเรียกผู้ฟังว่า "ภิกฺขเว" บ่งชัดว่าตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย คือคงตรัสในที่ประชุมซึ่งมีภิกษุสงฆ์เป็นส่วนใหญ่)
  อันต่างจากพระสูตรอื่นๆ ที่คำเริ่มต้นเป็นของพระอานนท์เอง ซึ่งขึ้นนำว่า "เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา [บอกสถานที่ เช่น ราชคเห วิหรติ ... และระบุบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น เตน โข ปน สมเยน ราชา มาคโธ...] ..." (ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่...โดยสมัยนั้นแล [บุคคลนั้นๆ]...)

  เรื่องที่กล่าวมานี้ นับว่าเป็นเกียรติคุณของอริยสาวิกา ซึ่งได้ทำประโยชน์ไว้แก่พระพุทธศาสนา สมเป็นผู้ทรงปฏิสัมภิทา และได้รับพระพุทธดำรัสยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในด้านเป็นพหูสูต; ดู ตุลา, เอตทัคคะ
///


From คำไทยและความหมาย(ตัวอย่าง)
เอตทัคคะ

เอตทัคคะ: [เอตะ-] น. ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ. (ป.).


From พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
เอตทัคคะ

เอตทัคคะ: "นั่นเป็นยอด", "นี่เป็นเลิศ", บุคคลหรือสิ่งที่ยอดเยี่ยม ดีเด่น หรือเป็นเลิศ ในทางใดทางหนึ่ง เช่น ในพุทธพจน์ (องฺ.เอก.๒๐/๑๔๖/๓๑) ว่า "เอตทคฺคํ ภิกฺขเว มม สาวกานํ ภิกฺขูนํ รตฺตญฺญูนํ ยทิทํ อญฺญาโกณฺฑญฺโญ" (ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้รัตตัญญู อัญญาโกณฑัญญะนี่ เป็นผู้ยอดเยี่ยม), (องฺ.เอก.๒๐/๗๘/๑๗) ว่า "เอตทคฺคํ ภิกฺขเว วุฑฺฒีนํ ยทิทํ ปญฺญาวุฑฺฒิ" (ภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเจริญทั้งหลาย ความเจริญเพิ่มพูนปัญญานี่ เป็นเยี่ยม) (องฺ.นวก.๒๓/๒๐๙/๓๗๗) ว่า "เอตทคฺคํ ภิกฺขเว ทานานํ ยทิทํ ธมฺมทานํ" (ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาทานทั้งหลาย ธรรมทานนี้เป็นเลิศ); ตามปกติ มักหมายถึงพระสาวกที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เช่น เป็นเอตทัคคะในทางธรรมกถึก หมายความว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางแสดงธรรม เป็นต้น
พระสาวกที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นเอตทัคคะ ในบริษัท ๔ ปรากฏในพระไตรปิฎก (องฺ.เอก.๒๐/๑๔๖/๓๑-๑๕๒/๓๓) ดังนี้
  ๑. ภิกษุบริษัท
  พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นเอตทัคคะ ในบรรดาภิกษุสาวกผู้รัตตัญญู, พระสารีบุตร ...ใน~ผู้มีปัญญามาก, พระมหาโมคคัลลานะ ...ใน~ผู้มีฤทธิ์, พระมหากัสสป ...ใน~ผู้ถือธุดงค์, พระอนุรุทธะ ...ใน~ผู้มีทิพยจักษุ, พระภัททิยะกาฬิโคธาบุตร ...ใน~ผู้มีตระกูลสูง, พระ ลกุณฏกภัททิยะ ใน~ผู้มีเสียงไพเราะ, พระปิณโฑลภารัทวาชะ ...ใน~ผู้บันลือสีหนาท, พระปุณณมันตานีบุตร ...ใน~ผู้เป็นธรรมกถึก, พระมหากัจจานะ ...ใน~ผู้จำแนกความย่อให้พิสดาร, พระจุลลปันถกะ ...ใน~ผู้นฤมิตมโนมยกาย (กายอันสำเร็จด้วยใจ), พระจุลลปันถกะ ...ใน ~ผู้ฉลาดทางเจโตวิวัฏฏ์ (การคลี่ขยายทางจิต คือในด้านสมาบัติ หรือเรื่องสมาธิ), พระมหาปันถกะ ...ใน~ผู้ฉลาดทางปัญญาวิวัฏฏ์ (การคลี่ขยายทางปัญญา คือในด้านวิปัสสนา; บาลีเป็นสัญญาวิวัฏฏ์ ก็มี คือ ชำนาญในเรื่องอรูปฌาน), พระสุภูติ ...ใน~ผู้มีปกติอยู่ไม่ข้องเกี่ยวกับกิเลส (อรณวิหารี), พระสุภูติ ...ใน~ผู้เป็นทักขิไณย, พระเรวตขทิรวนิยะ ...ใน~ผู้ถืออยู่ป่า (อารัญญกะ), พระกังขาเรวตะ ...ใน~ผู้บำเพ็ญฌาน, พระโสณ โกฬิวิสะ ...ใน~ผู้ปรารภความเพียร, พระโสณกุฏิกัณณะ ...ใน~ผู้กล่าวกัลยาณพจน์, พระสีวลี ...ใน~ผู้มีลาภ, พระวักกลิ ...ใน~ผู้มีศรัทธาสนิทแน่ว (ศรัทธาธิมุต), พระราหุล ...ใน~ผู้ใคร่ต่อการศึกษา, พระรัฐปาละ ...ใน~ผู้ออกบวชด้วยศรัทธา, พระกุณฑธานะ ...ใน~ผู้จับสลากเป็นปฐม, พระวังคีสะ ...ใน~ผู้มีปฏิภาณ, พระอุปเสนวังคันตบุตร ...ใน~ผู้ที่น่าเลื่อมใสรอบด้าน, พระทัพพมัลลบุตร ...ใน~ผู้จัดแจกเสนาสนะ, พระปิลินทวัจฉะ ...ใน~ผู้เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเหล่าเทพยดา, พระพาหิยทารุจีริยะ ...ใน~ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน, พระกุมารกัสสปะ ...ใน~ผู้แสดงธรรมวิจิตร, พระมหาโกฏฐิตะ ...ใน~ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา, พระอานนท์ ...ใน~ผู้เป็นพหูสูต, พระอานนท์ ...ใน~ผู้มีสติ, พระอานนท์ ...ใน~ผู้มีคติ, พระอานนท์ ...ใน~ผู้มีความเพียร, พระอานนท์ ...ใน~ผู้เป็นอุปัฏฐาก, พระอุรุเวลกัสสปะ ...ใน~ผู้มีบริษัทใหญ่, พระกาฬุทายี ...ใน~ผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส, พระพักกุละ ...ใน~ผู้มีอาพาธน้อย, พระโสภิตะ ...ใน~ผู้ระลึกบุพเพนิวาส, พระอุบาลี ...ใน~ผู้ทรงวินัย, พระนันทกะ ...ใน~ผู้โอวาทภิกษุณี, พระนันทะ ...ใน~ผู้สำรวมระวังอินทรีย์, พระมหากัปปินะ ...ใน~ผู้โอวาทภิกษุ, พระสาคตะ ...ใน~ผู้ชำนาญเตโชธาตุสมาบัติ, พระราธะ ...ใน ~ผู้สื่อปฏิภาณ, พระโมฆราช ...ใน~ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
  ๒. ภิกษุณีบริษัท
  พระมหาปชาบดีโคตมี เป็นเอตทัคคะ ในบรรดาภิกษุณีสาวิกาผู้รัตตัญญู, พระเขมา ...ใน~ผู้มีปัญญามาก, พระอุบลวรรณา ...ใน~ผู้มีฤทธิ์, พระปฏาจารา ...ใน~ผู้ทรงวินัย, พระธัมมทินนา ...ใน~ผู้เป็นธรรมกถึก, พระนันทา ...ใน~ผู้บำเพ็ญฌาน, พระโสณา ...ใน~ผู้ปรารภความเพียร, พระสกุลา ...ใน~ผู้มีทิพยจักษุ, พระภัททากุณฑลเกสา ...ใน~ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน, พระภัททากปิลานี (ภัททกาปิลานี ก็ว่า) ...ใน~ผู้ระลึกบุพเพนิวาส, พระภัททากัจจานา ...ใน~ผู้บรรลุมหาอภิญญา, พระกีสาโคตมี ...ใน~ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง, พระสิคาลมารดา ...ใน~ผู้มีศรัทธาสนิทแน่ว (ศรัทธาธิมุต)
  ๓. อุบาสกบริษัท
  ตปุสสะและภัลลิกะ สองวาณิช เป็นเอตทัคคะ ในบรรดาอุบาสกสาวกผู้ถึงสรณะเป็นปฐม, สุทัตตะอนาถปิณฑิกคหบดี ...ใน~ผู้เป็นทายก, จิตตะคหบดี ชาวเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ...ใน~ผู้เป็นธรรมกถึก, หัตถกะอาฬวกะ ...ใน~ผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔, มหานามะเจ้าศากยะ ...ใน~ผู้ถวายของประณีต, อุคคะคหบดี ชาวเมืองเวสาลี ...ใน~ผู้ถวายของที่[ตัวผู้ถวายเอง]ชอบใจ, อุคคตะคหบดี ...ใน~ผู้เป็นสังฆอุปัฏฐาก, สูระอัมพัฏฐะ ...ใน~ผู้มีปสาทะไม่หวั่นไหว, ชีวกโกมารภัจจ์ ...ใน~ผู้เลื่อมใส[เลือกตัว]บุคคล, นกุลบิดาคหบดี ...ใน~ผู้สนิทคุ้นเคย
  ๔. อุบาสิกาบริษัท
  สุชาดาเสนานีธิดา เป็นเอตทัคคะ ในบรรดาอุบาสิกาสาวิกาผู้ถึงสรณะเป็นปฐม, วิสาขามิคารมารดา ...ใน~ผู้เป็นทายิกา, ขุชชุตตรา ...ใน~ผู้เป็นพหูสูต, สามาวดี ...ใน~ผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา, อุตตรา นันทมารดา ...ใน~ผู้บำเพ็ญฌาน, สุปปวาสาโกลิยธิดา ...ใน~ผู้ถวายของประณีต, สุปปิยาอุบาสิกา ...ใน~ผู้เป็นคิลานุปัฏฐาก, กาติยานี ...ใน~ผู้มีปสาทะไม่หวั่นไหว, นกุลมารดาคหปตานี ...ใน ~ผู้สนิทคุ้นเคย, กาฬีอุบาสิกา ชาวกุรรฆรนคร ...ใน~ผู้มีปสาทะด้วยสดับคำกล่าวขาน; เทียบ อสีติมหาสาวก


From Thai-English Lexitron Dictionary 2.0
เอตทัคคะ

N. specialist
  def:[ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ]

From พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
ปฏิสัมภิทา

ปฏิสัมภิทา: ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน, ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ
  ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
  ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
  ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในทางนิรุกติ คือ ภาษา
  ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ

...

นางขุชชุตตรา ทำหน้าที่อะไรให้กับโฆสกเศรษฐี

นางขุชชุตตรา เป็นสตรีรูปค่อม เป็นธิดาของแม่นมของโฆษกเศรษฐีผู้เป็นบิดาเลี้ยงของพระนางสามาวดีซึ่งต่อมาได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน กษัตริย์กรุงโกสัมภีนางขุชชุตตราได้รับมอบหมายจากเศรษฐีให้เป็นหญิงรับใช้ประจำตัวของพระนางสามาวดีตั้งแต่ยังสาว ต่อมาเมื่อพระนางได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทนและเข้าไปอยู่ในราชสำนักแล้วนางขุชชุ ...

นางขุชชุตตรามีหน้าที่ทำอะไร

นางขุชชุตตราเป็นหญิงรับใช้ของพระนางสมาวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน เป็นเอตทัคคะผู้เป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งปวงในด้านการแสดงธรรม นางได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแล้วบรรลุโสดาปัตติผล พระนางสามาวดีจึงให้นางเป็นผู้สอนธรรมแก่ตนและหญิงบริวาร 500 คน นางจึงมีหน้าที่ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วมาแสดงธรรมต่อแก่บุคคลเหล่านั้น

นางขุชชุตตรามีหน้าที่อย่างไรในบ้านของเศรษฐี

วันหนึ่งโฆษกเศรษฐีกับเพื่อน ๆ ได้กราบทูลอาราธนานิมนต์พระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสาวกเสด็จมาฉันภัตตาหารและถวายวัดที่ได้สร้างขึ้น นางขุชชุตตราได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องดอกไม้เช่นเคย ด้วยภาระหน้าที่ที่ต้องอยู่บริเวณใกล้เคียงที่ประทับของพระพุทธเจ้าทำให้นางมีโอกาสได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์ เมื่อจบพระธรรมเทศนานางได้ดวงตาเห็นธรรม ...

พระนางสามาวดีมอบหมายหน้าที่พิเศษแก่นางขุชชุตตราด้านการฟังธรรมอย่างไร มีผลดีต่อนางอย่างไร

นางขุชชุตตราได้แสดงธรรมตามที่ได้ยิน ได้ฟังมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า แก่สตรีจำนวน 500 คน มีนางสามาวดีเป็นประธาน นางเป็นคนมีความจำแม่น และมีความสามารถในการใช้คำสละสลวยธรรมเทศนาของนางเป็นที่จับจิตจับใจคนฟังมาก ว่ากันว่าได้บรรลุธรรมไปตามๆ กัน