การปรับใช้คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างจาก นางวิสาขา

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการเป็นชาวพุทธแบบอย่างของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ศึกษาบทบาทการเป็นชาวพุทธแบบอย่างของนางวิสาขามหาอุบาสิกาและเปรียบเทียบบทบาทของอนาถบิณฑิกเศรษฐีกับนางวิสาขามหาอุบาสิกา

ผลการศึกษาพบว่าอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นอุบาสกที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะใน ด้านการถวายทาน เป็นชาวพุทธแบบอย่างที่มีบทบาทโดดเด่นในด้านการให้ความอุปถัมภ์ พระภิกษุสงฆ์ดำรงตนมั่นอยู่ในความเป็นอุบาสกที่ดีในพระพุทธศาสนา อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน มีศรัทธามั่นคง เข้าวัดฟังธรรมและตักบาตรทำบุญในพระพุทธศาสนา อย่างสมํ่าเสมอ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นอุบาสกที่เป็นต้นแบบ เป็นอุบาสกตัวอย่างของชาวพุทธ ท่านสมบูรณ์ด้วยคุณธรรม

นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นอุบาสิกาที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็น เอตทัคคะในด้านการถวายทาน เป็นชาวพุทธแบบอย่างที่มีบทบาทโดดเด่นให้ความอุปถัมภ์ บำรุงพระภิกษุสงฆ์ด้วยการถวายปัจจัย ๔ อ้นสมควรแก่สมณบริโภค มีศรัทธาอย่างมั่นคงในพระพุทธศาสนา ชักชวนญาติ คนรับใช้และบริวารให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา ให้ความ ช่วยเหลือสังคมและคนรอบข้างด้วยความเต็มใจและเสียสละ

เปรียบเทียบบทบาทของอนาถบิณฑิกเศรษฐีกับนางวิสาขามหาอุบาสิกา จาก การศึกษาพบว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขามหาอุบาสิกามีบทบาทโดดเด่นด้านการ อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วยการถวายปัจจัย ๔ อันสมควรแก่สมณบริโภคเหมือนกัน มีศรัทธามั่น ในพระพุทธศาสนาอย่างไม่เสื่อมคลายเหมือนกัน สร้างเสนาสนะอันเป็นถาวรวัตถุไว้ใน พระพุทธศาสนาคืออนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดเชตวัน นางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างวัดบุพพาราม ทั้งสองท่านเป็นเศรษฐีใจบุญชอบช่วยเหลืองานสังคมเป็นที'เคารพรักของบุคคลทั่ว ๆ ไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

บรรณานุกรม
พระครูกัลป์ยาณสิทธิวัฒน์. เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา . พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพมหานคร : โรง พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗.
รังสี สุทนต์. “การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของอนาถบิณฑิกอุบาสกที่ปรากฏในคัมภีร์ พระพุทธศาสนา”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๔.

การปรับใช้คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างจาก นางวิสาขา

How to Cite

ประวัติพุทธสาวิกา

การปรับใช้คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างจาก นางวิสาขา



                              ประวัตินางวิสาขา

                                 นางวิสาขา เกิดในตระกูลเศรษฐี บิดาชื่อ ธนัญชัย มารดาชื่อ สุมนาเทวี เมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ ต่อมาได้ย้ายตามบิดามารดามาอยู่เมืองสาเกต ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองพาราณสี เมื่อนางวิสาขามีอายุได้ 7 ขวบ ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เมื่ออายุได้ 16 ปี นางได้แต่งงานกับชายหนุ่มชื่อ ปุณณวัฒน ซึ่งเป็นลูกเศรษฐีในเมืองสาวัตถี
นางวิสาขา มีคุณสมบัติที่พรั่งพร้อมด้วยเบญจกัลยาณี หมายถึงลักษณะงดงามพร้อมทั้ง 5 ประการ ได้แก่ 1) ผมงาม คือ ผมดำสลวยเป็นเงางาม 2) เนื้องาม คือ เหงือกงามและริมฝีปากงาม 3) กระดูกงาม คือ ฟันขาวงามเป็นระเบียบ 4) ผิวงาม คือ ผิวเกลี้ยงเกลางามไม่มีไฝฝ้า และ 5) วัยงาม คือ มีความงามเหมาะสมกับวัยของตน
วันหนึ่งนางวิสาขาได้จัดงานทำบุญเลี้ยงพระที่คฤหาสน์ของตน ได้นิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกมาฉันอาหาร นางวิสาขาได้ส่งคำเชิญไปยังมิคารเศรษฐีบิดาสามีของตนซึ่งยังไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาให้มาร่วมทำบุญ เมื่อมิคารเศรษฐีได้เฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมซึ่งไม่เคยฟังมาตลอดชีวิต ฟังจบก็สำเร็จอริยบุคคลชั้นโสดาบัน
นางวิสาขาเป็นผู้ริเริ่มการถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุผู้เข้าพรรษา เพราะนางทราบว่าภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนไม่เหมาะสม ดูประหนึ่งชีเปลือย จึงขออนุญาตพระพุทธเจ้าถวายผ้าอาบน้ำฝน ต่อมาจึงเป็นประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝนมาถึงทุกวันนี้
นางวิสาขาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเอตทัคคะ (เลิศกว่าผู้อื่น) ในด้านการถวายทาน มีอายุยืนยาวถึง 120 ปี มีบุตรชาย 10 คน บุตรสาว 10 คน เป็นสาวิกาที่อุปถัมถ์พระพุทธศาสนาที่สำคัญคนหนึ่งคู่กับอนาถบิณฑิกเศรษฐี

              คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

1. เป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า
2. เป็นผู้มีความเชื่อฟังบิดา มารดา และมีความซื่อสัตย์มั่นคงต่อสามี
3. เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ใช้หลักธรรมแก้ปัญหาในครอบครัวได้
4. เป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนความเชื่อถือของบิดาสามี ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง(นางวิสาขา)

การปรับใช้คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างจาก นางวิสาขา

การปรับใช้คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างจาก นางวิสาขา
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

การปรับใช้คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างจาก นางวิสาขา

ที่มา:http://board.postjung.com/m/690695.html

1.มีคารวธรรมอย่างยิ่ง

นางวิสาขามีความเคารพเชื่อฟังบิดามารดา และผู้ใหญ่ในตระกูลอย่างดียิ่ง ดังจะเห็นได้จากการน้อมรับโอวาท 10 จากบิดาก่อนแต่งงาน

2.เป็นผู้มีปัญญาและมีกุศลโลบายในการแนะนำคนเข้าหาพระธรรม

มิคารเศรษฐีนั้นเป็นมิจฉาทิฐิ(นับถือลัทธิอื่นจากพุทธศาสนา)นางวิสาขาเห็นว่าเศรษฐีเชื่อถือลัทธิพระเปลือยกายอันงดงาม จึงพยายามหาทางชี้แนะพ่อสามี เนื่องด้วยนางเป็นคนฉลาดจึงมิได้หักหาญหรือชี้แนะตรงๆ รอจนได้จังหวะเหมาะสม นางก็ได้มีโอกาสชี้แจงจนกระทั่งเศรษฐีเข้าใจ และหันมานับถือพุทธศาสนา

3.จริงใจต่อเพื่อนและช่วยเหลือเพื่อนเสมอ

แม้ว่านางจะเป็นคนร่ำรวยแต่นางก็ไม่ทิ้งสตรีเพื่อนคนอื่นๆ ที่มีฐานะไม่ดีเท่ากับนาง เมื่อมีโอกาสก็พยายามช่วยเหลือพวกเธอเสมอ

การปรับใช้คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างจาก นางวิสาขา
ที่มา:วิทย์ วิศทเวทย์และเสฐียรพงษ์ วรรณปก.หนังสือเรียนพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.กรุงเทพฯ:อักษรเจริญทัศน์ อจท.พิมพ์ครั้งที่ 13,มปพ.

ข้อความนี้ถูกเขียนใน นางวิสาขา คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

นางวิสาขา มีคุณธรรมใดที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

นางวิสาขา คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง มีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย แม้จะเข้าไปอยู่ในครอบครัวของสามีที่มิใช่ชาวพุทธแต่นาง วิสาขาก็ยังมั่นคงในพระรัตนตรัย มีคารวธรรม นางวิสาขาให้ความเคารพเชื่อฟังและอยู่ในโอวาทของบิดา มารดา รวมทั้งพ่อ ของสามี( มิคารเศรษฐี) อย่างดียิ่ง

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างของ อนาถบิณฑิกะ มีอะไรบ้าง

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง 1. เป็นผู้มั่นคงในการทำบุญ มีความใจบุญสุนทานมาก ชอบทำบุญกุศล แม้ว่าช่วงชีวิตหนึ่งที่ท่านตกอับ ท่านก็ยังคงทำบุญให้แก่พุทธศาสนา 2. เป็นทายกตัวอย่าง เพราะท่านตระหนักถึงหน้าที่ของชาวพุทธเป็นสำคัญ เช่น การอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์

อะไรคือคุณธรรมที่ได้จากการเรียนรู้ประวัติของนางวิสาขามหาอุบาสิกา

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง 1. เป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า 2. เป็นผู้มีความเชื่อฟังบิดา มารดา และมีความซื่อสัตย์มั่นคงต่อสามี 3. เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ใช้หลักธรรมแก้ปัญหาในครอบครัวได้ 4. เป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนความเชื่อถือของบิดาสามี ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา

นางวิสาขามีนิสัยอย่างไร

บทบาทของสตรีที่มีความส าคัญในพระพุทธศาสนา อย่างเช่นนางวิสาขามหา อุบาสิกา เป็นก าลังส าคัญในการส่งเสริมและค้าชูพระพุทธศาสนา นางเป็นหญิงที่มีความ เฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ รอบรู้ช่วยเหลือการงานของครอบครัวตั้งแต่เยาว์วัย มีความ รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย นางวิสาขาจึงเป็นที่รักใคร่ของครอบครัวตลอดจนข้าทาส บริวาร และ ...