อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีอะไรบ้าง

ปิโตรเคมี คือ กลุ่มเคมีและวัตถุดิบต่างๆ ที่ได้จากปิโตรเลียม น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ  ที่นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆที่พวกเราใช้กัน หรือที่เราเรียกกันว่า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเคมีนั้นถูกจำแนกหลักๆเป็นสองสาย นั่นคือ โอเลฟินส์ (Olefin) และ อโรเมติกส์ (aromatic) มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่ได้จากปิโตรเคมี อย่างเช่น ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ถังน้ำ ท่อน้ำ สายเคเบิล ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เสื้อผ้าใยสังเคราะห์ อุปกรณ์อุตสาหกรรม และอื่นๆอีกมายมายที่ทำจากพลาสติก 

ปิโตรเคมียังคงมีความสำคัญต่อมนุษย์ เพราะว่ามันเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสิ่งของต่างๆมากมายที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แน่นอนว่าคุณต้องใช้งานสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเคมีทุกวัน  การหลีกเลี่ยงที่จะใช้ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมีนั้นเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย นอกเสียจากว่าในอนาคตจะมีเทคโนโลยีต่างๆ ที่ดีต่อธรรมชาติ ที่สามารถนำมาทดแทนสิ่งของที่ทำจากปิโตรเคมีได้

ปิโตรเลียม เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอันสลับซับซ้อน ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในชั้นหินใต้พื้นผิวโลก มีธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ ไฮโดรเจน และคาร์บอน

ปิโตรเลียม ได้จากการสลายตัวของอินทรีย์สารจำนวนมาก ทับถมกันในหินตะกอน ภายใต้ความร้อนและความดันมหาศาล เมื่อนำมากลั่นจะได้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา ยางมะตอย รวมทั้งเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช พลาสติก และยางสังเคราะห์ เป็นต้น

น้ำมันดิบ ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนชนิดระเหยง่ายแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด

  • น้ำมันดิบชนิดที่ไม่มีไขมาก (paraffin base)
  • น้ำมันดิบชนิดที่มียางมะตอยมาก (asphalt/naphthenic base)
  • น้ำมันดิบชนิดผสม (mixed base) น้ำมันดิบโดยทั่วไปจะมีสีดำหรือสีน้ำตาล มีกลิ่นคล้ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป

การสำรวจพบปิโตรเลียมครั้งแรกในประเทศไทยเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ในปี

  • พ.ศ.2461 เมื่อชาวบ้านฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้พบน้ำมันไหลซึมขึ้นมาบนพื้นดิน
  • พ.ศ. 2491 กรมโลหกิจ (กรมทรัพยากรธรณีในปัจจุบัน) จึงเข้าไปสำรวจที่แอ่งฝางอีกครั้ง โดยใช้วิธีการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนเพื่อกำหนดตำแหน่งของหลุมเจาะ ทำให้สามารถผลิตน้ำมันได้วันละประมาณ 20 บาเรล ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 พื้นที่นี้ก็ถูกโอนให้ไปอยู่ใต้การดำเนินงานของกระทรวงกลาโหมอีกครั้งหนึ่ง และสามารถทำให้การผลิตเพิ่มขึ้นเป็นวันละประมาณ 1,000 บาเรล
  • พ.ศ.2514 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ทำให้เอกชนสนใจแหล่งปิโตรเลียมกันอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งปีพ.ศ.2516 ได้พบก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมากครั้งแรกในอ่าวไทยในหลุมผลิตของ บริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด ชื่อว่า “แหล่งเอราวัณ” ซึ่งสามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้

โดยจำแนกตามปริมาณของกำมะถันเนื่องจากในน้ำมันดิบแต่ละแห่งมีปริมาณกำมะถันต่างกัน ซึ่งปริมาณกำมะถันที่มากทำให้น้ำมันมีฤทิธิ์เป็นกรด จึงจำแนกน้ำมันดิบเป็น 2 อย่างคือ

  • Sour Crude Oil น้ำมันดิบที่มีกำมะถันเจือปนอยู่ในสัดส่วนมากกว่า 0.5%
  • Sweet Crude Oil น้ำมันดิบที่มีกำมะถันเจือปนอยู่ในสัดส่วนต่ำกว่า 0.5%

Dry gas

หมายถึงแก๊สธรรมชาติที่ไม่มีส่วนผสมของแก๊สธรรมชาติเหลว (condensate) มีแต่แก๊สมีเทนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้มีราคาสูงกว่าแก๊สธรรมชาติชนิดอื่นๆ

ก๊าซมีเทน

ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตปุ๋ย และอัดใส่ถังใช้เป็นเชื้อเพลิงรถโดยสาร เอ็นจีวี ( Natural gas for vehicles - NGV)

Wet gas

แก๊สธรรมชาติที่มีส่วนประกอบหลักเป็นพวกแก๊สธรรมชาติเหลว ได้แก่ โพรเพน บิวเทน เพนเทน และเฮกเซน แก๊สเหล่านี้จะกลายเป็นของเหลวได้ง่ายที่อุณหภูมิต่ำและความดันสูง

อีเทน และโพรเพน

ใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied petroleum gas - LPG)

ซึ่งประกอบด้วยโพรเพนและบิวเทน ใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม เชื้อเพลิงสำหรับรถและอุตสาหกรรม

แก๊สโซลีนธรรมชาติ (Natural gas liquid - NGL)

ส่งเข้าโรงกลั่นเพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเบนซินแก๊สธรรมชาติ

  1. OFFSHORE (แท่นขุดเจาะน้ำมัน)
  2. ลำเลียงก๊าซและน้ำมันเพื่อมาเข้าโรงงานกลั่นน้ำมันบนฝั่ง
  3. โรงกลั่นน้ำมัน , ผลิตภัณท์ปิโตรเคมี
  4. รถขนส่งน้ำมัน , ผลิตภัณท์ปิโตรเคมี
  5. ปั้มน้ำมันและผู้บริโภค

Hydrocarbon Releases , Dermatitis , Respiratory disease , การทำงานในที่สัมผัสเสียงดัง , การทำงานในที่สูง , อุบัติเหตุทางโครงสร้าง , การทำงานในที่อับอากาศ , อุบัติภัยต่างๆ เช่น ไฟไหม้ พายุ , โรคทางกระดูกและกล้ามเนื้อ , ความเครียด , สภาพจิตใจ

  1. Oil distillation กระบวนการกลั่น สิ่งคุกคาม คือ ความร้อน และ เสียงดัง
  2. Hydrocleaning กระบวนการทำความสะอาด
  3. Cracking กระบวนการแยกส่วน สิ่งคุกคาม คือ ความร้อน และ เสียงดัง
  4. Blending กระบวนการผสม

สิ่งคุกคามอื่นๆ ได้แก่ สารเคมีต่างๆ สิ่งที่น่ากลัวมากสุดคือที่ก่อให้เกิดมะเร็งแต่พบว่าความเสี่ยงต่ำเนื่องจากมาตรการการควบคุมที่เข้มงวดมีการสกัด Solvent extraction เพื่อนำ aromatic compound ออก และเติม hydrogen ให้ aromatic เพื่อให้อยู่ในรูปที่อิ่มตัว

พอลิไซคลิกแอโรแมติกไฮโดรคาร์บอน เป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีโครงสร้างเป็นวงแหวนมากกว่า 2 วงขึ้นไป และมีวงแหวนเบนซีนอย่างน้อย 1 วง

แหล่งที่มาของ PAHs

  • เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ การเกิดไฟป่าและการเกิดภูเขาไฟระเบิด
  • เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่จงใจให้เกิดขึ้น เช่น จากการผลิตปิโตรเคมี
  • เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ไม่จงใจให้เกิดขึ้น ได้แก่ ควันจากการจุดธูป การเผาถ่าน การเผาไหม้ที่ไม่สมบรูณ์ของเชื้อเพลิงใน เครื่องยนต์ กระบวนการแปรรูปและปรุงอาหารที่ ทำให้เกิด PAHs ได้แก่ การอบขนม การเคี่ยวน้ำตาลเป็นคาราเมล การคั่วกาแฟ

ผลกระทบต่อสุขภาพ

  • ส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์
  • ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ
  • ระคายเคืองผิวหนัง
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อ มะเร็งปอด มะเร็งระบบสืบพันธ์ มะเร็งทางเดินปัสสาวะ และมะเร็งผิวหนัง

การสัมผัส PAH ในอุตสากรรมปิโตรเคมี

PAH มักสัมผัสใน fluid catalytic cracker , coke ,asphalt ซึ่งมักเป็น PAH ที่มี aromatic แค่ 2-3 วงจึงเสี่ยงมะเร็งน้อย

การป้องกัน

  • Close system
  • Personal protective equipment

จัดเป็นสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ไฮโดรคาร์บอนในกลุ่มอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์สำหรับเป็นตัวทำละลายในการผลิตทางอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมผงซักฟอก พลาสติก ยาฆ่าแมลง สีย้อมผ้า สี และหมึกพิมพ์ เป็นต้น

ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง

อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสารทำละลายเบนซีน ได้แก่ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมทำสี กาว การผลิตสีย้อม อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมสิ่งทอ ผงซักฟอก อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมทำยางรถยนต์ รองเท้า

งานปิโตรเคมี มีอะไรบ้าง

เกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี.
เบนซิน ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสบู่และผงซักฟอก ใช้ผลิตพลาสติกชนิดที่เรียกว่า “ABS” ซึ่งใช้ทำตัวเครื่องโทรทัศน์ ตัวตู้โทรทัศน์ หมวกกันน็อก ฯลฯ.
โทลูอีน ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมสี ทินเนอร์ กาว ยาฆ่าแมลง ฯลฯ.
ไซลีน ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเส้นใย เส้นด้าย ขวดใส่อาหาร ถุงใส่อาหารร้อน ฯลฯ.

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีผลิตอะไร

ปิโตรเคมีคือ สารเคมีที่ผลิตจากสารประกอบไฮโดรคาร์บอน โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ที่ต้องอาศัย ความร้อน ความดัน และการทาปฏิกิริยาเคมีจนได้เป็นวัตถุดิบเพื่อนาไปผลิตเม็ดพลาสติกและวัสดุสังเคราะห์ต่างๆ

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น มีอะไรบ้าง

* อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น เป็นการนำสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากแก๊สธรรมชาติหรือน้ำมันดิบมาผลิตสารโมเลกุลขนาดเล็กที่เรียกว่า มอนอเมอร์ เช่น นำอีเทนและโพรเพนมาผ่านกระบวนการเพื่อผลิตเอทิลีนและโพรพิลีน หรือใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเบนซีน โทลูอีน และไซลีน หรือใช้เบนซีนทำปฏิกิริยากับเอทิลีนได้เป็นสไตรีนที่ใช้ผลิตพอ ...

อุตสาหกรรม ปิโตรเคมีมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ระดับของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้น ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย โดยแต่ละขั้นจะแบ่งออกเป็นสองสายหลักคือ สายโอเลฟินส์และสายอะโรเมติกส์