ข้อ ใด คือ ขั้น ตอน สุดท้าย ของ การ จัดการ ข้อมูล ให้ มี คุณค่า เป็น สารสนเทศ

  • ชนิดของข้อมูล
  • ความสำคัญของข้อมูล 
  • ประโยชน์ของข้อมูล

Show

ข้อ ใด คือ ขั้น ตอน สุดท้าย ของ การ จัดการ ข้อมูล ให้ มี คุณค่า เป็น สารสนเทศ

ทำความรู้จักกับข้อมูล (Data) และความสำคัญของข้อมูล

ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมาย และการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัดข้อมูล เป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลข ภาพ เสียง หรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริง และต่อเนื่อง ซึ่งตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น

ข้อ ใด คือ ขั้น ตอน สุดท้าย ของ การ จัดการ ข้อมูล ให้ มี คุณค่า เป็น สารสนเทศ

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจให้ตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ ซึ่งสารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย

โดยข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้ มีหลายรูปแบบ เช่น เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียงต่าง ๆ เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะรับรู้ข้อมูลทางตา ทางหู ทางมือ ทางจมูก และทางปาก

ชนิดของข้อมูล

1. ข้อมูลตัวเลข ประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น เช่น 145 2468 เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ

2. ข้อมูลอักขระ ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น บ้านเลขที่ 13/2 เป็นต้น

3. ข้อมูลภาพ รับรู้จากการมองเห็น เช่น ภาพบุคคล ภาพสัตว์ต่าง ๆ

4. ข้อมูลเสียง รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน เช่น เสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น

ข้อ ใด คือ ขั้น ตอน สุดท้าย ของ การ จัดการ ข้อมูล ให้ มี คุณค่า เป็น สารสนเทศ

ความสำคัญของข้อมูล 

ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมาก มนุษย์ได้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์มากมายทั้งในชีวิตประจำวัน และในการปฏิบัติงาน สำหรับในชีวิตประจำวันนั้น ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ทำให้เราทราบเรื่องราวความเป็นไปต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข่าวการเมือง ข่าวสังคม ข่าวการศึกษา และเราอาศัยข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการดำรงชีวิต เช่น ข่าวการเดินทาง เรือต่อรถ รถต่อเรือ ทำให้เราทราบว่าในเส้นทางดังกล่าวมีรถสายอะไรผ่าน หากจำเป็นต้องเดินทางนั่นเอง

ประโยชน์ของข้อมูล

1. ด้านการเรียน เช่น ข้อมูลที่ได้จากโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ มาใช้ประโยชน์ในการเรียนหรือเป็นความรู้เพิ่มเติม

2. ด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น ถ้าเรามีข้อมูล เราสามารถที่จะสนทนาพูดคุย หรือบอกเรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้อื่นได้

3. ด้านการตัดสินใจ เป็นการใช้ช่วยให้เราตัดสินใจต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น การเลือกซื้อของเล่น ถ้าเราทราบราคาของเล่นในแต่ละร้าน จะทำให้เราเลือกซื้อของเล่นที่เหมือนกันได้ในราคาที่ถูกที่สุด

ข้อมูล: pentapcy.blogspot.com และ info.muslimthaipost.com

รูปภาพ: freepik.com 

ข้อมูล (data) มีความสำคัญกับการทำธุรกิจ และการดำเนินงานในปัจจุบันเป็นอย่างมาก การใช้ข้อมูลทำให้เกิดความได้เปรียบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้ตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น เข้าใจสถานการณ์ ช่วยคาดการณ์อนาคต มองเห็นแนวโน้มและโอกาสต่างๆ 

แต่ก่อนที่เราจะเข้าใจและนำข้อมูลมาใช้ได้ ก็ต้องผ่านกระบวนการของ “การวิเคราะห์ข้อมูล” หรือ “Data Analysis” มาก่อน เพื่อถอดรหัสและมองหาความสัมพันธ์ให้ได้คำตอบที่ต้องการ 

ในบทความนี้เรามาทำความรู้จักกับ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเจาะลึก รวมทั้งตัวอย่างและการนำไปประยุกต์ใช้ในระดับองค์กร เพื่อการใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างเต็มที่

  • การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) คืออะไร
  • ประโยชน์และความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล
  • 4 ระดับของการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ (Levels of Data Analysis Maturity)
  • ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อมูลเชิงลึก (Insight) อย่างง่ายและเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล
  • วิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรให้เกิดประโยชน์ใช้ได้จริงในองค์กร

การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) คืออะไร

การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) คือ กระบวนการนำข้อมูลมาเรียบเรียง จัดกลุ่ม/แยกประเภทชุดข้อมูล หาความสัมพันธ์ของชุดข้อมูลแต่ละชุดในรูปแบบต่างๆ เพื่อหาความหมาย หรือคำตอบตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ต่างๆ 

จนได้ออกมาเป็น “ข้อมูลเชิงลึก” (insight) หรือ “ข้อสรุป” (conclusion) ที่ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ หาสาเหตุ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ฯลฯ ได้

ในปัจจุบัน การวิเคราะห์ข้อมูลถือเป็นสิ่งที่ช่วยให้องค์กร หรือในอุตสาหกรรมสามารถสร้างความได้เปรียบได้ โดยเฉพาะในแง่มุมของธุรกิจและการตลาด 

ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีบทบาทอย่างยิ่งจนเกิดเป็น “วิทยาศาสตร์ข้อมูล” หรือ “Data Science” และการใช้ “ข้อมูลมหัต” หรือ “Big Data”เพื่อให้ธุรกิจและองค์กรได้องค์ความรู้มาใช้ในการดำเนินธุรกิจและขับเคลื่อนองค์กร

ประโยชน์และความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล

1. เข้าใจข้อมูลและสถานการณ์

ข้อมูลดิบ (raw data) เป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้มีการนำมาจัดการ ตีความ หรือหาความหมายอะไร จึงยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ภายหลังการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เราจะมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลกับข้อมูลชุดต่างๆ หรือข้อมูลกับบริบท 

ยกตัวอย่างเช่น รู้ว่ายอดขายเดือนนี้กับเดือนที่แล้ว เดือนไหนทำได้มากกว่ากัน รู้ว่าสินค้าใดขายดี รู้ว่าใครเป็นลูกค้า/กลุ่มลูกค้าของเรามีใครบ้าง เมื่อรู้สถานการณ์แล้ว เราก็สามารถนำมาคิดและตัดสินใจต่อได้ว่า ควรจะทำอะไรต่อไป ปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งไหน  

2. รู้จักกลุ่มเป้าหมายดียิ่งขึ้น

การมีข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ช่วยให้ธุรกิจหรือองค์กรสามารถติดตาม และทำสถิติข้อมูลด้านต่างๆ เกี่ยวกับลูกค้าได้ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ซื้อบ่อย ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดกลุ่มลูกค้า (segmentation) หรือข้อมูลจาก Third-party platform 

เช่น โซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรือ Google ช่วยให้ธุรกิจ/องค์กร รู้พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น ก็สามารถนำมาใช้วางแผนการตลาด การตั้งราคา การออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ตลอดจนขยายตลาดหรือหาลูกค้าใหม่ๆ ได้

3. ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

การวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างลื่นไหลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะช่วยให้สามารถตัดสินใจเฉียบขาดและตรงจุด ลดการกระทำและการใช้งบที่ไม่จำเป็นลงได้ รู้ว่าอะไรที่สำคัญ อะไรที่จำเป็นหรือไม่จำเป็น หรืออะไรส่งผลกับผลลัพธ์สุดท้ายมากหรือน้อย ทำอะไรแล้วได้ผลมาก ทำอะไรแล้วไม่ค่อยได้ผล 

ยกตัวอย่างเช่น การทำแคมเปญการตลาด งบประมาณที่ลงทุนกับช่องทางหนึ่งอาจให้ผลลัพธ์ดีกว่า แต่อีกช่องทางไม่ค่อยได้ผล ธุรกิจ/องค์กรก็อาจจะลดงบประมาณหรือโยกงบมาทำในช่องทางที่ได้ผลมากกว่า 

หรืออีกตัวอย่างเช่น โรงงานผลิต มีข้อมูลการใช้วัตถุดิบและข้อมูลคลังสินค้าจาก ERP: Enterprise Resource Planning ก็สามารถนำมาคำนวณ EOQ (Economic Order Quantity) หรือปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมเพื่อลดปัญหาต้นทุนจม สั่งซื้อวัตถุดิบหรือสินค้ามากักตุน เป็นต้น 

4. เข้าใจสาเหตุของปัญหาและช่วยแก้ปัญหา

เมื่อมีข้อมูล ไม่ว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่จะเป็นปัญหาหรือไม่ องค์กรสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยและต้นเหตุของสิ่งต่างๆ ได้จาก ข้อค้นพบ (data findings) โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาที่มีความเสี่ยงสูง ส่งผลกระทบกับการดำเนินงานอื่นๆ ค่อนข้างรุนแรง การมีข้อมูลพร้อมและมีซอฟต์แวร์ช่วยวิเคราะห์จะช่วยให้องค์กรรู้ว่าต้องรีบแก้ไขที่จุดใด

ยกตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตสินค้าล่าช้าในระบบ ERP หรือระบบโรงงานที่บันทึกกิจกรรมต่างๆ ไว้ทั้งหมด ก็สามารถวิเคราะห์ข้อมูล สร้างรายงานออกมาให้เราตรวจสอบดูได้ว่า เกิดขึ้นเพราะอะไร 

หรือโรงพยาบาลที่มี EHR หรือระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ แพทย์จะเห็นประวัติการรักษา ยาที่ผู้ป่วยเคยใช้ และประวัติการแพ้ยา ช่วยให้วินิจฉัยโรคและติดสินใจเลือกวิธีรักษาได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น 

5. ช่วยให้เห็นแนวโน้มและโอกาส

การมีข้อมูลเชิงลึก (insight) มองเห็นความสัมพันธ์ของชุดข้อมูลกับบริบท และสถานการณ์จะช่วยให้มองเห็นแนวโน้มหรือ “เทรนด์” (trend) ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 

ยกตัวอย่างเช่น มีข้อมูลเชิงลึกว่า ลูกค้าเริ่มสนใจสินค้าบางอย่างของธุรกิจมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและกลุ่มที่ซื้อเป็นกลุ่มที่ธุรกิจไม่ได้สนใจมาก่อน ก็อาจวางแผนการตลาดและแผนการขายเพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้มากขึ้น เป็นต้น 

นอกจากนี้ การมีฐานข้อมูลจาก open-source เช่น Google ก็ช่วยให้ธุรกิจรู้ความต้องการของตลาดในแต่ละช่วงได้ เห็นเทรนด์พฤติกรรมและความสนใจที่เปลี่ยนแปลง ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนดำเนินงานเพื่อคว้าโอกาสที่กำลังมาได้

4 ระดับของการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ (Levels of Data Analysis Maturity)

ในศาสตร์ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น มีการแบ่งระดับหรือเลเวลของการวิเคราะห์ลงไปอีก เพื่อที่จะทำความเข้าใจวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลให้ลึกขึ้น รวมถึงเลือกระดับในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เหมาะกับคำถามและคำตอบที่ต้องการ 

ระดับของการวิเคราะห์ข้อมูลก็มีด้วยกันทั้งสิ้น 4 ระดับ ดังนี้

ข้อ ใด คือ ขั้น ตอน สุดท้าย ของ การ จัดการ ข้อมูล ให้ มี คุณค่า เป็น สารสนเทศ
ขอบคุณภาพจาก medium.com/madt-and-bads-nida

1. Descriptive analysis – ตอนนี้ กำลังเกิดอะไรขึ้น?

ระดับแรกของการวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นการวิเคราะห์โดยใช้ตัวแปรแค่ตัวแปรเดียว (Univariate Analysis) แค่ดูว่า ตัวแปรนั้น ๆ เกิดอะไรขึ้น 

เช่น มีมากเท่าไหร่ มีความถี่เท่าไหร่ ใครหรืออะไร เพื่อตอบคำถามว่า “ตอนนี้ กำลังเกิดอะไรขึ้น” โดยใช้เทคนิคทางสถิติ เช่น การหาค่ากลาง หาการกระจายตัว หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม เป็นต้น

ตัวอย่างคำถามที่ใช้การวิเคราะห์ระดับนี้ เช่น เดือนนี้มียอดขายเท่าไร สินค้าตัวใดขายดีที่สุด มีคนเยี่ยมชมเว็บไซต์กี่คน (user) เป็นต้น 

2. Diagnostic analysis – ทำไมถึงเป็นแบบนี้ เกิดขึ้นจากอะไร?

ระดับการวิเคราะห์ในขั้นต่อมาจะลึกกว่าระดับแรก ในระดับนี้ จะเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป (Multivariate Analysis) เพื่อดูว่าตัวแปรแต่ละตัวแปรมีความสัมพันธ์หรือส่งผลกระทบต่ออีกตัวแปรอย่างไร เพื่อตอบคำถามว่า “ทำไมจึงเกิดสิ่งนี้ขึ้น” หรือ “สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร” 

ยกตัวอย่างคำถามเช่น ทำไมเครื่องดื่มเย็นขายดีช่วงบ่าย อุณหภูมิหรือช่วงเวลามีผลต่อการสั่งซื้อสินค้าไหม หรือทำไมสินค้าประเภทหนึ่งถึงขายดีในช่วงหนึ่ง สินค้าของเรา “ซีซัน” หรือฤดูกาลในการขายหรือเปล่า เป็นต้น

3. Predictive analysis – อะไรที่อาจเกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้น?

การวิเคราะห์ข้อมูลในระบบนี้ จะเป็นการวิเคราะห์เพื่อดูแนวโน้มหรือพยากรณ์ว่าอาจจะเกิดอะไรขึ้น ผ่านการศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของชุดข้อมูล 

เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นกราฟหรือ “เทรนด์” เพื่อดูแนวโน้ม อย่างที่มักจะเห็นกราฟการเติบโตของหุ้น เป็นต้น การวิเคราะห์ระดับนี้ จะช่วยตอบคำถามว่า “กำลังจะเกิดอะไรขึ้น” 

ตัวอย่างคำถามง่ายๆ ที่ใช้การวิเคราะห์ในระดับนี้ เช่น สินค้าอะไรกำลังจะขายดี ใครบ้างที่มีแนวโน้วจะเป็นลูกค้าและธุรกิจควรทำการตลาดให้ทัน ที่ดินย่านไหนราคาน่าจะถีบตัวสูงขึ้น เป็นต้น

4. Prescriptive analysis – ควรจะทำอะไรต่อ?

ในระดับสุดท้ายของการวิเคราะห์จะเป็นขั้นตอนที่ใกล้เคียงกับการตัดสินใจว่าจะต้องทำอะไร นั่นคือ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปว่าควรจะทำอะไร ทั้งปรับปรุง แก้ไขปัญหา หรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ตลอดจนการวางแผนเพื่อคว้าโอกาสหรือรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น 

ยกตัวอย่างคำถามที่ใช้การวิเคราะห์แบบ “Prescriptive” เช่น ควรทำการตลาดช่องทางไหน อย่างไร ด้วยงบประมาณเท่าไร ควรจับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใด ควรเลือกซับพลายเออร์เจ้าใด ควรตั้งราคาสินค้าเท่าไร ควรกักตุนวัตถุดิบเท่าไรจึงคุ้มค่า เป็นต้น

ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อมูลเชิงลึก (Insight) อย่างง่ายและเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล

ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลในการทำธุรกิจอย่างง่าย 

ในการวิเคราะห์ข้อมูล หากพูดในเชิงวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) หรือสถิติศาสตร์ (Statistics) มีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล มีประเภทของการวิเคราะห์ที่ลึกซึ้ง และค่อนข้างยากต่อการทำความเข้าใจ แต่หัวใจของการวิเคราะห์ข้อมูลคือการตั้งคำถามและพยายามหาคำตอบด้วยวิธีต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น

  • การดูสถิติหรือตัวเลขที่เก็บไว้ เช่น ดูว่าเดือนนี้ สินค้าชิ้นนี้ขายได้เท่าไร หายอดขายเฉลี่ย ดูจำนวนคนไข้ที่เข้ารับบริการ ฯลฯ
  • การนำเอาตัวเลขหรือข้อมูลที่เก็บไว้มาเปรียบเทียบกัน เช่น จัดกลุ่มข้อมูลต่างๆ ตามประเภทสินค้า เพื่อดูว่าสินค้าใดกำลังขายดี การเปรียบเทียบต้นทุนและกำไรของสินค้าแต่ละชนิด เป็นต้น 
  • การนำเอาข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุด มาหาความสัมพันธ์ เช่น หาความสัมพันธ์ระหว่างเพศของลูกค้าและประเภทของสินค้าที่ลูกค้าสั่ง เพื่อหาแนวโน้มที่ลูกค้าแต่ละกลุ่มจะสั่ง หาความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับโรคประจำตัว เป็นต้น

การวิเคราะห์ข้อมูลจะเริ่มขึ้นตั้งแต่การตั้งคำถามและหยิบชุดข้อมูลต่างๆ มาดูเพื่อหาคำตอบ อย่างไรก็ตาม ศาสตร์ของการวิเคราะห์ข้อมูลยังมีวิธีการและประเภทในการวิเคราะห์ข้อมูลอีกมากมาย ตัวอย่างข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลในเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถทำได้ 

ตัวอย่างเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Management Tools)

สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมหาศาลและการวิเคราะห์เทรนด์ของข้อมูลต่างๆ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้การวิเคราะห์ง่ายขึ้นและรวดเร็ว เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็น Data Management Tools ทั้งจัดเก็บ ประมวลผล วิเคราะห์ และสร้างรายงาน โดยตัวอย่างที่เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปนี้ จะเป็นเครื่องมือหรือระบบที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น

  • BI: Business Intelligence คือ เทคโนโลยีที่ช่วยธุรกิจวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ ทั้งการบริหารงาน การจัดการงาน การวางแผน เป็นต้น มีหลักการทำงานโดยการดึงหรือจัดเก็บข้อมูลกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งฐานข้อมูลทั้ง First party และ Third party มาประมวลผล วิเคราะห์ และสร้างรายงานผล ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจองค์กร สินค้า/บริการ ลูกค้า และตลาดได้ดียิ่งขึ้น
  • ERP: Enterprise Resource Planning คือ ระบบวางแผนจัดการทรัพยากร โดยส่วนมากจะเป็นซอฟแวร์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบริษัทที่มีฝ่ายการผลิตด้วย ระบบ ERP เป็นระบบที่ในการบริหารทรัพยากรต่างๆ ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นสินค้า วัสดุ/วัตถุดิบคงคลัง การเงิน ทรัพยากรบุคคล ฯลฯ โดยกิจกรรมต่างๆ จะถูกบันทึกไว้เป็นฐานข้อมูลให้องค์กรอย่างเป็นระบบ ทั้งยังช่วยประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล สร้างรายงานพร้อมใช้ประโยชน์ได้ทันที
  • CRM: Customer Relationship Management หรือระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า เป็น Data Management Tools ที่มุ่งจัดการข้อมูลลูกค้าเพื่อให้ธุรกิจสามารถเข้าใจลูกค้าและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ดีขึ้น ผ่านการเก็บข้อมูลแบบ First party นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ช่วยให้ธุรกิจรู้ว่าลูกค้ารายใดสนใจสินค้าตัวใด หรืออยู่ในขั้นตอนไหนของการตัดสินใจซื้อ เพื่อที่ธุรกิจจะได้เข้าไปช่วยเหลือหรือเสนอสินค้าได้ถูกที่ถูกเวลา เป็นต้น 
  • HIS (Hospital Information Systems) หรือ ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลคือ ระบบจัดการข้อมูลที่ใช้ในโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยจากฐานข้อมูลโรงพยาบาลที่จัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ ประกอบไปด้วยข้อมูลจากแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาล ช่วยให้โรงพยาบาลให้บริการทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรให้เกิดประโยชน์ใช้ได้จริงในองค์กร

แม้ว่าองค์กรจะมีข้อมูลเก็บเอาไว้มากมายแค่ไหน แต่หากขาดการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ องค์กรก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ใดๆ ได้จากการเก็บข้อมูลเอาไว้ นี่คือความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล 

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ข้อมูลมีหลายระดับ และซับซ้อนแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ และความซับซ้อนของชุดข้อมูล แต่กระบวนการวิเคราะห์และนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์มีหลักการสำคัญที่ข้ามไปไม่ได้ ได้แก่

  1. การตั้งคำถาม (Question) – ตั้งคำถามที่จะนำไปสู่การผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์กับองค์กรหรือธุรกิจได้จริง
  2. การเตรียมข้อมูล (Data cleansing and preparation) – กรองและจัดเตรียมเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล
  3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) – เลือกระดับและวิธีในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามที่ตั้งไว้ พร้อมกับการเลือกใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม
  4. การนำข้อสรุปมาวางแผนงาน (Action plan) – นำข้อสรุปจากการวิเคราะห์ข้อมูลมาสร้างเป็นแผนปฏิบัติงาน

เมื่อตั้งคำถามที่ถูกต้องและมีเทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลที่ช่วยจัดเก็บ จัดการ ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลได้แล้ว สิ่งสำคัญคือการนำข้อสรุปหรือความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์มาเปลี่ยนเป็นแผนการดำเนินงานเพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลสร้างผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์แก่องค์กรหรือธุรกิจได้จริง