การสร้างสัมพันธภาพมีความหมายและความสําคัญอย่างไร

สัมพันธภาพที่ดี ที่อบอุ่นเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการอยู่ร่วมกันในครอบครัว เพราะหากครอบครัวของคุณมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน จะส่งผลให้สุขภาพใจของทุกคนในบ้านแข็งแรงอีกด้วย

 

และหากพ่อแม่ มีสัมพันธภาพที่ดีต่อลูก ๆ ก็จะทำให้พวกเขาอยากที่จะพูดคุย แบ่งปันเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตให้เราฟัง และเมื่อเกิดอะไรขึ้นไม่ว่าจะสุข หรือทุกข์ ทุกคนก็จะนึกถึงบ้านเป็นสถานที่แรกเสมอ

 

กลับกันหากครอบครัวไหนมีสัมพันธภาพในครอบครัวที่ไม่ค่อยจะดีเท่าที่ควร ก็จะส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในบ้านเป็นลำดับแรก ๆ ทุกคนในบ้านก็คงจะไม่ค่อยอยากที่จะอยู่บ้าน และพยายามทำทุกวิถีทางที่จะได้ออกไปอยู่ข้างนอก และหากไม่จำเป็นจริง ๆ บ้านคงเป็นสถานที่สุดท้ายที่จะเลือกกลับมาเยือนใช่มั้ยล่ะคะ

 

ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้ครอบครัวของคุณเองมีสัมพันธภาพที่ดี ที่อบอุ่น วันนี้เราจึงได้นำเอา 5 วิธี ที่จะช่วยทำให้สัมพันธภาพของคนในครอบครัวดี และอบอุ่นยิ่งขึ้นมาฝากกันค่ะ

 

ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้าง...

 

การสร้างสัมพันธภาพมีความหมายและความสําคัญอย่างไร

 

 4 วิธี  การสร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัว

 

 1. เอาใจใส่กันเสมอ 


หากคุณพ่อคุณแม่เอาใจใส่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเสมอ ไม่ปล่อยปละละเลยกัน เวลาไม่เข้าใจกันก็คุยกันด้วยเหตุผล ยอมรับข้อเสีย และยอมปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็จะช่วยให้ความมั่นคงด่านแรกของครอบครัวแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

 

แต่หากครอบครัวไหน คุณพ่อคุณแม่ไม่ดูแลเอาใจใส่กัน ทะเลาะเบาะแว้ง และไม่มีใครยอมใคร ความสัมพันธ์ด่านแรกก็ถือว่าสั่นคลอนไปมากกว่าครึ่งแล้วใช่ไหมละค่ะ และหากยังเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ในวันนึงชีวิตคู่ของคุณพ่อคุณแม่ครอบครัวนี้ ก็อาจจะมาถึงจุดแตกหักก็เป็นได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นคงไม่ดีแน่

 

ครอบครัวที่พ่อแม่แยกทางกันจะส่งผลให้เด็ก ๆ เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย รู้สึกว่าพวกเขาได้รับความรักความอบอุ่นไม่มากพอ หรือคิดว่าตัวเองไม่ได้รับมัน สิ่งนี้เองจะเป็นรอยร้าวรอยใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้นในจิตใจของทุกคนในบ้าน ซึ่งมันจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการมีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวอย่างแน่นอน

 

 

 2. ความเข้าใจ 


การที่สมาชิกแต่ละคนในบ้านพยายามทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิด นิสัย ตัวตน และความต้องการของกันและกัน และค่อย ๆ ปรับจูนหาตรงกลางที่พอดีสำหรับทุกคนในบ้าน หาจุดที่ทำให้ทุกคนได้ทำ ได้เป็น ในสิ่งที่ต้องการภายใต้ขอบเขตที่ทุกคนในบ้านยอมรับได้

 

รับฟังความคิดเห็นของกัน และกัน เข้าใจ และคอยให้กำลังใจกันอยู่เสมอ สิ่งนี้จะช่วยสร้าง และเชื่อมโยงสายใยแห่งความผูกพัน เชื่อใจ และความรักของคนในครอบครัวให้เข้ามาผูกกันอย่างแน่นแฟ้น และมั่นคงมากยิ่งขึ้น

 

 

 3. การพูด 


การพูดที่จะช่วยทำให้สัมพันธภาพของคนในครอบครัวดี และอบอุ่นมากยิ่งขึ้นคือการพูดคุยด้วยความให้เกียรติซึ่งกัน และกัน คอยถามสารทุกข์สุบดิบกันอยู่เสมอ เมื่อใครทำสิ่งไหนได้ดี หรือประสบความสำเร็จในการทำอะไรก็คอยพูดชื่นชม หรือหากใครทำบางสิ่งที่ผิดพลาดล้มเหลวก็ค่อยปลอบโยน คอยสอนสิ่งที่ถูกต้อง และคอยให้กำลังใจกันอยู่เสมอ

 

 

 4. ใช้เวลาร่วมกัน 


พยายามหาเวลาในแต่ละวันให้ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน อย่างน้อยในหนึ่งวันก็ควรจะมีเวลาสักหนึ่งช่วงที่ถือเป็นเวลาครอบครัว ที่คนในบ้านจะได้มารวมตัวกัน เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือสิ่งที่ได้พบเจอมาในแต่ละวันให้กันฟัง

 

การทำแบบนี้ทุกคนในบ้านก็จะได้รู้ความเป็นไปของกัน และกัน เป็นการสร้างความสนิทสนม ความไว้เนื้อเชื่อระหว่างกัน ให้มีมากยิ่งขึ้น และแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เมื่อทุกคนในบ้านสนิทใจกัน เชื่อใจกัน พูดคุยกันได้ทุกเรื่อง ก็จะทำให้เวลาเด็ก ๆ หรือคนในบ้านมีปัญหา หรือเรื่องที่ไม่สบายใจ ก็จะเลือกมาปรึกษากับคนในครอบครัวมากกว่าจะไปปรึกษาเพื่อน หรือไปลองผิดลองถูกเองคนเดียว

 

 

การสร้างสัมพันธภาพมีความหมายและความสําคัญอย่างไร

 

และนี่ก็คือสิ่งสำคัญ 4 อย่างที่ทุกคนในครอบครัวควรทำ เพื่อที่จะทำให้ทุกคนในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่อบอุ่นที่เราได้นำมาฝากกันในวันนื้ ทางสถาบันก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคุณไม่มากก็น้อยนะคะ

คนทุกคนต่างก็มีความต้องการต่างๆที่คล้ายๆกัน นั่นก็คือความต้องการที่จะให้มีคนเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจ ต้องการความรักจากคนรอบข้างและคนอื่นที่ผ่านเช้ามาในชีวิต และบุคคลเหล่านี้มักจะเป็นครูที่ดีสำหรับเราเสมอ

การเรียนรู้วิธีการพัฒนาสัมพัธภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าเราทุกคนต้องการค้นหาสิ่งใดบ้างในการมีมิตรภาพกับใครบางคน

สัมพันธภาพที่ดีสร้างได้อย่างไร

 

คุณรู้หรือไม่ว่าการมีสัมพันธภาพที่ดีนั้นต้องทำอย่างไรบ้างที่จะช่วยให้ความสัมพันธ์ของคุณนั้นมั่นคงถาวร และยั่งยืนเหมือนต้นไม้ใหญ่อายุหลายร้อยปีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ถือกำเนิดเกิดมาจนสิ้นชีวิต คนทุกคนต่างก็มีความต้องการที่คล้ายๆกัน นั่นก็คือต้องการที่ให้มีคนเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจ ต้องการความรักจากคนรอบข้างหรือคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิต และบุคคลเหล่านี้มักจะเป็นครูที่ดีสำหรับคุณเสมอ
การเข้าอกเข้าใจผู้อื่น
การที่คุณมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้คุณได้สนใจในสิ่งใหม่ๆ ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ที่อยู่ตั้งแต่ระยะใกล้ตัวจนถึงไกลตัว หากคุณได้รับมิตรภาพตอบแทนก็จะทำให้คุณนั้นเกิดความมั่นใจในการสานมิตรภาพต่อไป แต่ถ้าคุณได้รับการเพิกเฉย สิ่งที่คุณควรคิดเป็นอันดับแรกก็คือ คุณทำอะไรผิดพลาดไปหรือเปล่า ขั้นต่อมาคือ ปรับปรุงพฤติกรรมและวิธีการสร้างสัมพันธภาพ โดยการเรียนรู้และเข้าใจผู้อื่น แต่การที่คุณมีแนวคิดและทัศนคติที่แตกต่างจากผู้อื่นอาจทำให้คุณรู้สึกไม่ดี รู้สึกว่านี่มันไม่ใช่ตัวคุณเลย แต่ความแตกต่างเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ทดสอบความสามารถของคุณในการพัฒนาขอบเขตสัมพันธภาพได้อย่างเต็มรูปแบบ

องค์ประกอบที่ดีในการสร้างสัมพันธภาพมีดังนี้
1. การติดต่อพูดคุย
ในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นนั้นขั้นแรกคุณต้องรู้จักเข้าไปทักทายและพูดคุยกับคนที่เราต้องการจะสร้างสัมพันธภาพ อาจมีคนบางคนที่คุณรู้สึกถูกชะตากับเขา คุณชอบเขามากและคุณพบเห็นเขาอยู่บ่อยๆ และคุณก็อยากรู้จักเขา แต่ถ้าคุณไม่เคยที่จะเข้าไปพูดคุยหรือทักทายเขา เชื่อได้เลยว่า สัมพันธภาพระหว่างคุณกับเขา จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน เพื่อนที่ถูกใจของคนส่วนใหญ่มักจะมาจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนที่มีกิจกรรมร่วมกัน เพื่อนที่ทำงานร่วมกัน เพื่อนที่เล่นกีฬาร่วมกัน แล้ววันหนึ่งคุณจะพบว่า หนึ่งคนในนั้นที่คุณมีโอกาสสร้างมิตรภาพที่ดีแก่เขา
2. มีประสบการณ์ร่วมกัน
คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มักจะมีเรื่องที่จะคุยกันได้ง่ายดาย มีความสุขในขณะที่พูดถึงสิ่งที่ตนชอบ หรือมีประสบการณ์ เช่นพูดคุยการแต่งนิยาย พูดคุยถึงเรื่องการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ การเล่นฟุตบอล ฯลฯ จะทำให้ทราบถึงความสนใจในเรื่องต่างๆ ของแต่ละฝ่ายได้เป็นอย่างดี และง่ายที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพราะทั้งสองฝ่ายมีบทสนทนาที่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้คนทั้งคู่รู้จักกันมากยิ่งขึ้น
ประสบการณ์ในการทำงานเป็นเหมือนดั่งสะพานที่ทำให้คนสองคนเดินทางข้ามมาเพื่อร่วมมือกัน การได้ช่วยเหลือกันระหว่างเรียน ได้ทำงานเคียงข้างกัน ได้ทำโครงการร่วมกัน การเป็นกำลังใจให้กันและกันมักเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างเพื่อน การพูดถึงเรื่องเก่าๆ จะทำให้มิตรภาพแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น การร่วมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันก็ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนทัศนคติในการใช้ชีวิตซึ่งกันและกัน
3. ความเชื่อที่คล้ายกัน
กับคนที่คุณชอบและคุณก็สามารถอยู่กับเขาหรื่อสนทนากับเขาอย่างมีความสุข คุณต้องการแบ่งปันทัศนคติและความเชื่อของคุณให้เขารับรู้ แม้ว่าการพูดคุยนั้นจะมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันบ้างก็ตาม แต่ความใกล้ชิดระหว่างมิตรภาพจะทำให้คุณกับเขาได้แลกเปลี่ยนมุมมองแนวคิดที่นำมากล่าวอ้าง ซึ่งจะทำให้ความคิดเห็นต่างๆ ของคุณทั้งสองคล้ายกันและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน มีความเชื่อว่าคนที่มีแนวคิดในการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกันมักจะเป็นมิตรที่ดีต่อกันแต่คนส่วนใหญ่ก็จะรู้สึกสบายอกสบายใจ ที่ได้อยู่ร่วมกับคนที่ให้การสนับสนุนแนวคิดของตนเอง
พัฒนาสัมพันธภาพ
1. ใส่ใจและเอาใจใส่
การใส่ใจในคนอื่นคือ มีความต้องการที่จะรู้ว่าตอนนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับเขาบ้าง สนใจในความคิดและความรู้สึกอื่นๆ ของเขา รับรู้ความล้มเหลวและความสำเร็จในชีวิตเขา แน่นอนคนทุกคนย่อมชอบคนที่ให้ความสนใจในเรื่องราวของเขาอย่างจริงใจแต่ในทางตรงกันข้ามทุกคนจะไม่อยากคบกับคนที่สนใจแต่เรื่องของตัวเอง เช่นเขาจะพูดถึงแต่เรื่องของตัวเอง พูดถึงกิจกรรมใน แต่ละวันของเขา ประสบการณ์ของเขา การพูดคุยแบบนี้ที่ทุกคนอยากจะหลีกเลี่ยงถอยหนี ความใส่ใจมีความหมายเดียวกับ " เมื่อใดที่คุณรู้สึกเหงา ผมจะคอยเป็นเงาที่อยู่เคียงข้างคุณ " คนส่วนใหญ่มักจะลังเลที่จะต้องไปรับรู้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับคนอื่น เพราะพวกเขาเหล่านั้นกลัวว่าจะต้องไปมีส่วนร่วมในการรับภาระอันหนักหน่วง แต่ถ้าเพื่อนสนิทของคุณมักเอาแต่ใจและมีปัญหากับเพื่อนคนอื่น คุณก็หวังลึกๆ ว่าเพื่อนของคุณจะปรึกษาคุณแม้ว่าปัญหานี้จะไม่สามารถแก้ไขได้ก็ตาม แต่นั่นก็เป็นการช่วยให้กำลังใจ แต่บางครั้งความเป็นเพื่อนก็ต้องรู้จักที่จะกล้าปฏิเสธ เมื่อมีคนที่ปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรม คุณควรจะบอกให้เขารู้ไปเลยว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับเหตุการที่เกิดขึ้น อย่างน้อยการเผชิญหน้ากับปัญหาย่อมดีกว่าการหลีกเลี่ยงโดยปล่อยให้เพื่อนของคุณทำความผิดแล้วผ่านเลย
2. นับถือตนเอง นับถือผู้อื่น
มนุษย์ต้องรู้จักนับถือตนเอง แต่ก่อนที่คุณจะรู้จักและนับถือตนเอง คุณก็ต้องรู้จักและนับถือผู้อื่นก่อน คุณนั้นจะเรียนรู้การนับถือตัวเองได้จากการที่มีใครวักคนบอกคุณว่า " ผมแอบมองและชื่นชมความสามารถของคุณอยู่ และขอให้คุณเป็นอย่างนี้ตลอดไป " เพียงคำพูดประโยคเดียวก็อาจทำให้คุณมองเห็นสิ่งที่มีค่าที่สุดในตัวคุณ และคุณจะรู้ได้อีกว่าพวกเขาต้องการอะไรจากคุณและเพื่อนก็เป็นตัวกระตุ้นให้คุณได้พัฒนาความสามารถของคุณเพื่อให้เพื่อนๆและคนรอบข้างยอมรับในตัวคุณ
3. ต้องไว้ใจกัน
การที่จะอยู่ร่วมสังคมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขนั้น คุณจำเป็นต้องให้เขาไว้วางใจในตัวคุณด้วย เช่นเรื่องการรักษาสัญญา การตรงต่อเวลา การรักษาคำพูด เช่นเดียวกับที่ใครสักคนสัญญาอะไรกับคุณไว้แต่เขากลับไม่ทำตามที่สัญญา คุณจะคิดกับเขาอย่างไรซึ่งแน่นอนคุณจะต้องเกิดความลังเลในตัวเขา และไม่แน่ใจว่าหากเขาสัญญาอะไรกับคุณอีกคุณจะเชื่อเขาได้หรือเปล่า ความไว้วางใจในหลายๆ เรื่อง เช่น คุณหวังว่าเพื่อนของคุณจะคืนเงินที่ยืมคุณไป เพื่อนจะมาตามเวลาที่คุณนัดไว้ เพื่อนจะรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับคุณ เพื่อนต้องคอยเป็นกำลังใจให้คุณในยามที่คุณทุกข์ท้อใจ แต่ใครก็ตามที่ไม่ได้รับความไว้วางใจก็ยากนักที่ใครต่อใครจะคบหาเป็นเพื่อนสนิทหรือเพื่อนที่รู้ใจ
4. มีความยืดหยุ่น
สัมพันธภาพที่ดีระหว่างคนสองคนนั้นควรมีช่องว่าสำหรับความบกพร่อง ความผิดพลาด และความแตกต่างไว้ด้วย ความยืดหยุ่นเป็นการยอมรับและการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น คนที่มีความยืดหยุ่นก้จะเป็นคนที่มีความสุขแม้จะอยู่กับคนที่มีความคิดเห็นต่างกันหรือมีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน โดยไม่มีความกดดันหรือต้องทำตัวเลียนแบบเพื่อนเพื่อที่จะให้เข้ากันได้
คนที่ไม่มีความมั่นคงในตัวเอง เขาไม่สามารถยอมรับเพื่อนหรือคนอื่นที่แตกต่างจากเขาได้ การพัฒนาความสามารถในการยอมรับและปรับตัวเข้ากับเพื่อนที่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต่างจากคุณด้วยความเหมาะสม นั่นเป็นความท้าทายสำหรับคุณที่จะ เพิ่มเติมความเชื่อมั่นในเอกลักษณ์ และความเป็นตัวคุณเองมากขึ้น

   

5. รู้จักร่วมรู้จักแบ่ง
สัมพันธภาพที่ดีที่สุดคือการได้มีส่วนร่วมและแบ่งปันในเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ ความคิดความรู้สึก คุณต้องรู้จักที่จะรับฟังเพื่อนของคุณเล่าถึงสิ่งที่เขาหวังและสิ่งที่ไม่สมหวังความทุกข์ใจของเขา คนส่วนใหญ่มักจะลังเลที่จะมีส่วนแบ่งปัน เพราะกลัวว่าจะถูกปฏิเสธกลับมา แตทว่าความสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างเพื่อนจากทั้งสองฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตของกันและกัน เป็นเรื่องยากนักที่จะเกิดการแบ่งปันทางด้านความคิด หรือความรู้สึกดีๆ ระหว่างเพื่อน เช่นความรักความชอบอาจไม่แสดงออกมาตรงๆ แต่จะเป็นการแสดงออกมาโดยทางอ้อม อย่างเช่น การพูดจาหยอกล้อ การล้อเลียน การแสดงความเป็นห่วงเป็นใยมากเป็นพิเศษ สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดทั้งปวงจะเป็นสื่อกลางของคำๆ นึง นั่นก็คือคำว่า " เราชอบเธอนะ "
6. เห็นอกเห็นใจ
ความเห็นอกเห็นใจ คือความสามารถที่คุณใส่ความรู้สึกของตัวคุณลงไปในความรู้สึกของบุคคลอื่น การจะเข้าใจความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมของผู้อื่นได้นั้นต้องมาจากความใกล้ชิด คุณสามารถที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจกับทุกคนได้ แม้ว่าการแสดงความเห็นใจกับคนที่คุณชอบจะเป็นการง่ายกว่า แต่ก็มีความจำเป็นอย่างมากที่คุณจะแสดงความเห็นใจกับคนที่แตกต่างจากคุณด้วย อย่างเช่นคุณเป็นคนที่กระฉับกระเฉง ว่องไว มั่นใจในตัวเอง คุณคงจะลำบากใจไม่ใช่น้อยที่จะต้องแสดงความเห็นอกเห็นใจกับคนที่ เชื่องช้า เขินอาย และไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
คนส่วนมากมักชอบคนที่มีอะไรคล้ายๆ กัน แต่คนเราก็ต้องมีแนวคิด พฤติกรรม และอารมณ์ที่แตกต่างกัน และคุณก็ควรที่จะต้องรู้ด้วยว่าคุณควรจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเพื่อนหรือคนอื่นอย่างไร
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

 

เหมรัตน์

 

http://iam.hunsa.com/jingreeddum/article/1826

การสร้างสัมพันธภาพมีความหมายและสำคัญอย่างไร

การสร้างสัมพันธภาพ หมายถึง การมี ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป ซึ่ง ลักษณะประจ าตัวของบุคคลจะมีผลกระทบต่อ ความคิด และการกระทาของอีกฝ่ายทันทีได้แก่ 1. การรับรู้ผลกระทบที่ส่งมา 2. การแสดงออกที่ผ่านกระบวนการคิด และรูปแบบที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด 3. ความต้องการมีสัมพันธภาพระหว่างกัน จากหลายสาเหตุเริ่มจากฝ่ายใดฝ่าย ...

ความสำคัญของการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นมีอะไรบ้าง

การที่คุณมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้คุณได้สนใจในสิ่งใหม่ๆ ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ที่อยู่ตั้งแต่ระยะใกล้ตัวจนถึงไกลตัว หากคุณได้รับมิตรภาพตอบแทนก็จะทำให้คุณนั้นเกิดความมั่นใจในการสานมิตรภาพต่อไป แต่ถ้าคุณได้รับการเพิกเฉย สิ่งที่คุณควรคิดเป็นอันดับแรกก็คือ คุณทำอะไรผิดพลาดไปหรือเปล่า ขั้นต่อมาคือ ...

ความมีสัมพันธภาพ หมายถึงข้อใด

สัมพันธภาพ (Relationship) สัมพันธภาพ (Relationship) หมายถึง กระบวนการนำสัมพันธภาพที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำความรู้จักกัน ติดต่อสัมพันธ์สร้างความคุ้นเคยสนิทสนมกัน บุคคลที่สัมพันธ์ภาพกันจะได้รับผลกระทบจากกันและกัน

สัมพันธภาพมีความสําคัญต่อการดําเนินชีวิตของนักเรียนหรือไม่อย่างไร

การมีสัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อน และบุคคลอื่นในสังคม จะทำให้เกิดมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน สร้างความอบอุ่นในครอบครัว สร้างความยอมรับ ความรักใคร่สมัครสมานสามัคคี และความร่วมมือในกลุ่มเพื่อนและบุคคลรอบข้าง ดังนั้นการสร้างเสริมสัมพันธภาพจึงเป็นสิ่งที่นักเรียนควรเรียนรู้และนำไปปฏิบัติเพื่อจะได้เกิดความสำเร็จและ ...