การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม หรือ โดยชอบธรรมคืออะไร

Fair Use หรือ ความชอบธรรมทางกฎหมายในการเอาผลงานลิขสิทธิ์มาใช้ในระดับที่จำกัด โดยไม่ไปขัดกับผลประโยชน์ที่เจ้าของผลงานพึงได้รับจากงานของเขา เช่นครูถ่ายเอกสารบทความชิ้นหนึ่งเพื่อแจกให้นักเรียนได้อ่าน หรือห้องสมุดให้สมาชิกยืมหนังสือเพื่อการค้นคว้าหรือศึกษาการใช้ข้อมูลเพื่อการศึกษาถือว่าเป็น fair use ได้ทั้งสิ้น

ปัจจัย 4 อย่างที่เป็นตัวกำหนด fair use:

  • จุดมุ่งหมายและลักษณะของการใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ เช่น เพื่อการเรียน เพื่อวิจารณ์ เพื่อการทำวิจัย
  • ลักษณะของผลงานลิขสิทธิ์ เช่น หนังสือในห้องสมุดที่สมาชิกยืมไปอ่านได้
  • ความยาวของงานที่เอาไปใช้ อาจเป็นหนังสือทั้งเล่ม หรือสองสามย่อหน้าที่คัดลอกไปสอน
  • ผลกระทบที่อาจมีต่อตลาด รายได้ของผู้ผลิตผลงาน และมูลค่าของผลงาน เช่นถ้าห้องสมุดให้ยืมหนังเรื่องหนึ่ง แล้วผู้ยืมเอาไปฉายให้คนหลายๆคนดู อาจทำให้รายได้ของผู้ผลิตผลงานลดลงได้ ถ้าเป็นแบบนั้นก็ไม่เข้าข่าย fair use แล้วค่ะ การเอาผลงานไปเผยแพร่ในวงกว้างมากๆ เกินขอบเขต fair use แล้ว

จะเห็นได้ว่าเรื่องของ Fair Use เป็นคนละเรื่องเรื่องกับ Copyright หรือลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดทำ คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมขึ้น เพื่อเป็นคู่มือที่เป็นพื้นฐานในการพิจารณานำงานมีลิขสิทธิ์มาใช้ ดังนั้นในการใช้งานลิขสิทธิ์ซึ่งจะมีขอบเขตแตกต่างกันไปในแต่ละงาน ผู้ใช้จะต้องเลือกใช้งานเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และคำนึงถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาในการใช้งานลิขสิทธิ์อย่างเคร่งครัด

ซึ่ง ห้องสมุด ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ และผู้รวบรวมเผยแพร่ลิขสิทธิ์ ต้องตระหนักในเรื่องนี้ให้มาก

สืบเนื่องต่อมา คือการส่งเสริมการใช้งานลิขสิทธิ์อย่างมีจริยธรรม (Plagiarism) ซึ่งงานนี้เป็นภารกิจหนึ่งของงานด้านส่งเสริมการรู้สารสนเทศ...

การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ ประกอบด้วย การใช้โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้า หรือการนำภาพส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ หรือปกหนังสือไปใช้งานในความละเอียดต่ำหรือมีขนาดเล็ก โดยไม่ทำให้ก่อให้เกิดความเสียหายของสินค้า หรือทำให้สินค้านั้นขาดรายได้

ในหลายๆ ประเทศ การใช้งานที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองบางวิธีไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา สิทธิ์ในลิขสิทธิ์จำกัดอยู่ในหลัก "การใช้ที่เป็นธรรม" โดยการใช้งานเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์บางวิธีซึ่งไม่จำกัดเพียงการวิจารณ์ สารคดี การรายงานข่าว การสอน ทุนการศึกษา หรือการวิจัย ถือว่าเป็นการใช้ที่เป็นธรรม ผู้พิพากษาของสหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้กำหนดว่าการกล่าวอ้างการใช้ที่เป็นธรรมหนึ่งๆ ถูกต้องไหมตามปัจจัยต่างๆ 4 ประการ ซึ่งเราได้ระบุไว้ด้านล่างสำหรับวัตถุประสงค์ด้านการศึกษา ในประเทศอื่นๆ บางประเทศมีแนวคิดที่คล้ายกันซึ่งเรียกว่า "การทำข้อตกลงที่เป็นธรรม" ซึ่งอาจมีการบังคับใช้ต่างกันไป

อย่าลืมว่าคุณมีหน้าที่ทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องและรับทราบว่ากฎหมายดังกล่าวป้องกันการใช้งานที่คุณคิดไหม หากมีแผนที่จะใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งคุณไม่ได้เป็นเจ้าของ เราขอแนะนำให้คุณขอคำปรึกษาด้านกฎหมายก่อน Google ไม่สามารถมอบคำแนะนำด้านกฎหมายหรือดำเนินการตัดสินทางกฎหมายใดๆ

ปัจจัย 4 ประการของการใช้ที่เป็นธรรมมีดังนี้

1. วัตถุประสงค์และลักษณะการใช้งาน ซึ่งรวมถึงการคำนึงว่าเป็นการใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาแบบไม่แสวงหากำไร

โดยปกติแล้วศาลจะมุ่งเน้นพิจารณาว่าการใช้มีการ “เปลี่ยนแปลง” ไหม กล่าวคือเมื่อใช้งานแล้วมีการเพิ่มการแสดงออกหรือความหมายให้กับงานเดิม หรือเป็นการคัดลอกงานเดิมเท่านั้น

2. ลักษณะของงานที่มีลิขสิทธิ์

การใช้เนื้อหาจากงานที่เป็นข้อเท็จจริงเป็นหลักมีแนวโน้มว่าเป็นการใช้ที่เป็นธรรมกว่าการใช้งานที่แต่งขึ้นทั้งหมด

3. ปริมาณและสัดส่วนที่ถูกนำไปใช้เมื่อเทียบกับงานที่มีลิขสิทธิ์ทั้งหมด และ

การหยิบยืมเนื้อหาเพียงเล็กน้อยจากงานเดิมมีแนวโน้มที่จะจัดเป็นการใช้ที่เป็นธรรมมากกว่าการหยิบยืมเป็นปริมาณมาก อย่างไรก็ตาม การนำงานเดิมมาใช้แม้เพียงส่วนเล็กๆ อาจไม่ถือว่าเป็นการใช้ที่เป็นธรรมหากส่วนที่นำมาใช้เป็น “หัวใจหลัก” ของงาน

4. ผลกระทบของการใช้นั้นๆ ต่อตลาดในอนาคตหรือมูลค่าของงานที่มีลิขสิทธิ์

การใช้ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการสร้างรายได้ของเจ้าของลิขสิทธิ์จากงานเดิมของตนเองโดยมาแย่งความต้องการในงานดังกล่าวไป มีแนวโน้มว่าจะไม่ใช่การใช้ที่เป็นธรรม

เกณฑ์ 4 ประการ ในการพิจารณาว่าการกระทำใดๆ แก่งานอันมีลิขสิทธิ์จะเป็นการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair Use) ในการเรียนการสอนหรือไม่

เกณฑ์ในการพิจารณาว่าการกระทำใดๆ แก่งานอันมีลิขสิทธิ์จะเป็นการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair Use) ในการเรียนการสอนหรือไม่ ต้องคำนึง 4 ประการประกอบกัน

การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม หรือ โดยชอบธรรมคืออะไร
  1. วัตถุประสงค์และความเหมาะสมหรือลักษณะในการใช้งานลิขสิทธิ์ คือ ไม่มีลักษณะการกระทำเพื่อการค้า หากำไร หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงไม่มีเจตนาทุจริต เช่น การนำงานลิขสิทธิ์มาใช้โดยไม่อ้างอิงถึงที่มา หรือใช้ในลักษณะที่ทำให้ผู้เข้าใจว่าเป็นงานของตนเอง
  2. ลักษณะของงานลิขสิทธิ์ คือ งานที่มีระดับของการสร้างสรรค์งานหรือใช้จินตนาการมาก เช่น นวนิยาย หากมีการนำงานไปใช้ โอกาสที่จะถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นธรรมจะมากกว่างานลิขสิทธิ์ที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริงจำนวนมาก
  3. ปริมาณการใช้งานและสัดส่วนของงาน คือ การนำงานลิขสิทธิ์ของคนอื่นมาใช้ในปริมาณมาก ก็ถือว่าเป็นการใช้ที่ไม่เป็นธรรม แต่กรณีที่นำงานลิขสิทธิ์ของคนอื่นมาใช้ แม้ปริมาณน้อยก็อาจเป็นการละเมิดได้ หากส่วนนั้นเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญหรือหัวใจของงานชิ้นนั้น ปริมาณการใช้งานสามารถศึกษาได้ใน คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ http://www.ipthailand.go.th/images/781/manual_copyright.pdf หน้า 14-16 แบ่งเป็น ภาพยนตร์และโสตทัศนวัสดุ งานแพร่เสียงแพร่ภาพ ดนตรีกรรม รูปภาพและภาพถ่าย และวรรณกรรม/สิ่งพิมพ์
  4. ผลกระทบต่อการตลาดหรือมูลค่าของงานลิขสิทธิ์ คือ การใช้ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการสร้างรายได้ของเจ้าของลิขสิทธิ์จากงานเดิมของตนเองโดยมาแย่งความต้องการในงานดังกล่าวไป มีแนวโน้มว่าจะไม่ใช่การใช้ที่เป็นธรรม

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ไว้ดังนี้

มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

  1. วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
  2. ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
  3. ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
  4. เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
  5. ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
  6. ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
  7. ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
  8. นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

มาตรา 33 การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง

มาตรา 34 การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้

  1. การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
  2. การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา

มาตรา 35 การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้

  1. วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
  2. ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
  3. ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
  4. เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
  5. ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
  6. ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงาน ผลการพิจารณา ดังกล่าว
  7. นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
  8. ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
  9. จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน

มาตรา 36 การนำงานนาฏกรรม หรือดนตรีกรรมออกแสดงเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามความเหมาะสม โดยมิได้จัดทำขึ้น หรือดำเนินการเพื่อหากำไรเนื่องจากการจัดให้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้น และมิได้จัดเก็บค่าเข้าชมไม่ว่าโดยทางตรง หรือ โดยทางอ้อม และ นักแสดงไม่ได้รับค่าตอบแทนในการแสดงนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากเป็นการดำเนินการโดยสมาคม มูลนิธิ หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศึกษา การศาสนา หรือการสังคมสงเคราะห์ และได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง

มาตรา 37 การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้างการแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการกระทำใด ๆ ทำนองเดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ นอกจาก งานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น

มาตรา 38 การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ หรือ การแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น

มาตรา 39 การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใด ๆ อันมีศิลปกรรมใดรวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น

มาตรา 40 ในกรณีที่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมใดมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของอยู่ด้วย การที่ผู้สร้างสรรค์ คนเดียวกันได้ทำศิลปกรรมนั้นอีกในภายหลังในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำบางส่วนกับศิลปกรรมเดิม หรือใช้แบบพิมพ์ ภาพร่าง แผนผัง แบบจำลอง หรือข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่ใช้ในการทำศิลปกรรมเดิม ถ้าปรากฏว่าผู้สร้างสรรค์ มิได้ทำซ้ำหรือลอกแบบ ในส่วน อันเป็นสาระสำคัญ ของศิลปกรรมเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น

มาตรา 41 อาคารใดเป็นงานสถาปัตยกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ การบูรณะอาคารนั้นในรูปแบบเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

มาตรา 42 ในกรณีที่อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ใดสิ้นสุดลงแล้ว มิให้ถือว่าการนำภาพยนตร์นั้น เผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุสิ่งบันทึกเสียง หรืองานที่ใช้จัดทำภาพยนตร์นั้น

มาตรา 43 การทำซ้ำ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการโดยเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือตามคำสั่ง ของเจ้าพนักงานดังกล่าวซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้และที่อยู่ในความครอบครองของทางราชการ มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง

การใช้สิทธิของผู้อื่นโดยชอบธรรม คืออะไร

การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ เป็นหลักการที่อนุญาตให้ใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใช้ในการวิจารณ์ เสิร์ชเอนจิน การล้อเลียน การรายงานข่าว งานวิจัย การเรียนการสอน การเก็บงานเอกสาร เป็นต้น

การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม คืออะไร

(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร (๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท (๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนาผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

ลิขสิทธิ์ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง

1) ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ 2) ต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร

ลักษณะในการใช้งานลิขสิทธิ์ คืออะไร

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่ ...