Nxp manufacturing thailand ltd ทําอะไร

NXP Manufacturing (Thailand) LTD.,

รายละเอียดของบริษัท
บริษัท ผลิตแผงวงจรอิเล็คทรอนิกส์ ด้านคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ

ที่อยู่
303 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่

เขตพื้นที่
(เขตดอนเมือง ) กรุงเทพมหานคร 10210

โทรศัพท์
027975000

Fax
027975000

สวัสดิการ
ข้าวฟรี ค่า OT สิทธิ์การลาพักร้อน โบนัส เบี้ยขยัน

รับสมัครงาน NXP Manufacturing (Thailand) LTD.,

ไม่พบตำแหน่งงานว่าง หรือ ปิดรับสมัครแล้ว


รับสมัครงาน > NXP Manufacturing (Thailand) LTD.,

Copyright 2008-2022, All Rights Reserved.

Submitted on Fri, 2013-03-22 17:13

สมาชิกสหภาพแรงงานหลายร้อยคนถูกไล่ออกจากสายพานการผลิตที่โรงงาน NXP หลักสี่ กรุงเทพฯ  เที่ยงคืนวันที่ 27 กุมภาพันธ์  โดยบริษัทให้คนงานลงชื่อเพื่อยอมรับระบบการทำงานแบบใหม่ หากคนงานไม่ยอมรับให้ออกไปจากโรงงาน

Nxp manufacturing thailand ltd ทําอะไร

Nxp manufacturing thailand ltd ทําอะไร

Nxp manufacturing thailand ltd ทําอะไร

Nxp manufacturing thailand ltd ทําอะไร

22 มี.ค. 56 - เว็บไซต์ industri all รายงานว่านับแต่เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา สหภาพแรงงานและบริษัทได้มีการเจรจาข้อตกลงสภาพการทำงานโดยบริษัทได้พยายามผลักดันให้สหภาพแรงงานยอมรับระบบการทำงานแบบใหม่ที่พนักงานการผลิตต้องทำงานต่อเนื่อง 4 วันและหยุด 2 วัน; วันสุดสัปดาห์ไม่มีค่าล่วงเวลา; บริษัทสามารถให้พนักงานทำงานล่วงเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า; ลดวันลาพักผ่อนประจำปี จาก 12 วันเป็น 8 วัน; ยกเลิกโครงสร้างการปรับค่าจ้างและการปรับเลื่อนตำแหน่งพนักงานรายวันออกจากข้อตกลงที่ทำกับสหภาพแรงงาน โดยให้เป็นอำนาจของผู้บริหารแต่ฝ่ายเดียวในการตัดสินใจ

ประธานสหภาพแรงงาน NXP วัลลภ ชูจิตร์ กล่าวว่าบริษัทได้แทรกแซงกระบวนการเจรจาต่อรองร่วม โดยการข่มขู่และบังคับคนงานให้ยอมรับระบบการทำงานแบบใหม่  ‘บริษัทขู่ว่าหากคนงานไม่ยอมรับ จะตกงาน เพราะบริษัทจะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น  

"คนงาน NXP ได้รับการแจ้งว่า หากไม่ยอมรับระบบการทำงานแบบใหม่ พวกเขาจะตกงานเพราะบริษัทจะย้ายการผลิตไปยังประเทศอื่น  พวกเรารู้สึกแย่มากๆ ที่ได้ยินว่าบริษัทไล่คนงานออกจากโรงงานกลางดึกโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของพนักงานโดยเฉพาะพนักงานหญิงซึ่งบางคนตั้งครรภ์"

NXP ขู่ว่าจะย้ายการผลิตไปยังโรงงานที่จีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์

คนงานหญิง NXP กล่าวว่า 

"โรงงานนี้ก่อตั้งมา 38 ปี  คนงานส่วนใหญ่ทำงานที่นี้มากกว่า 10 ปี  คนงานส่วนใหญ่มีครอบครัว  ระบบการทำงานแบบใหม่ที่บริษัทเสนอ ทำให้พวกเราไม่มีวันหยุดสุดสัปดาห์และไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว"

วันที่ 1 มีนาคม คนงานร่วมการนัดยุดงานกับสหภาพแรงงานและชุมนุมที่ริมถนนนอกรั้วบริษัทเพื่อประท้วงในเรื่องปัญหาการบังคับทำงานล่วงเวลา ปัญหาการลดลงของค่าจ้าง และปัญหานโยบายการเลือกปฏิบัติของบริษัทต่อพนักงานรายวัน

วันที่ 13 มีนาคม ภายใต้ธงของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นำโดยชาลี ลอยสูง สมาชิกสหภาพแรงงาน  NXP เดินขบวนหน้าสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ที่กรุงเทพฯ

NXP ในประเทศไทยจ้างงาน 3200 คนพนักงานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง  ค่าจ้างเฉลี่ยต่อวัน 345 บาท NXP เป็นบริษัทชั้นนำของโลกในด้านการออกแบบและผลิตแผงวงจรอีเล็คทรอนิค (IC-Integrated Circuits) บริษัท NXP เป็นซัพพรายเออร์ของ Apple, Samsung, Nokia, Dell, GM, BMW, Ford, Mercedes, Audi, ตลอดจนสายการบินต่างๆ

สหภาพแรงงาน NXP จะเข้าร่วมขบวนการแรงงานสากลโดยร่วมกับสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อีเล็คทรอนิค ยานยนต์และโลหะ

  • Printer-friendly version

ข่าวรอบวัน

สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

Nxp manufacturing thailand ltd ทําอะไร

Nxp manufacturing thailand ltd ทําอะไร
Nxp manufacturing thailand ltd ทําอะไร

แม้ว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการแรงงานและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน จะชี้ขาดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2556 แล้วว่า สภาพการจ้างงานแบบทำงาน 4 วัน หยุด 2 วัน วัน โดยมีเวลาทำงานปกติวันละ 7 ชั่วโมง ของบริษัท เอ็นเอ็กพี เซมิคอนดักเตอร์ (ประเทศไทย) ไม่ขัดกับพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

อย่างไรก็ตามนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย หัวหน้าฝ่ายกฎหมาย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้วิเคราะห์ในกรณีการชี้ขาดนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า “คำชี้ขาดถือว่าเป็นข้อยุติแล้ว แต่ผมมีข้อสังเกตว่านี้เป็นการตีความอย่างกว้างตามกฎหมาย ทั้งเรื่องวันหยุด และเวลาทำงาน แต่กลับไม่ได้ให้ความเห็นในเรื่องเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลา ซึ่งก็คือ การบังคับให้ลูกจ้างต้องทำโอที ตามที่ฝ่ายสหภาพแรงงานได้เสนอข้อมูลให้ ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญมาก ดังนั้นสหภาพแรงงานจำเป็นต้องสื่อสารประเด็นนี้ต่อสาธารณชนให้เข้าใจต่อไป เพราะนี้ไม่ใช่เรื่องระหว่างบริษัทกับสหภาพแรงงานเท่านั้น แต่เป็นภาพสะท้อนความอยุติธรรมในการจ้างงานในประเทศไทย ที่นโยบายและกลไกรัฐมีช่องว่างที่ทำให้เกิดการจ้างงานในลักษณะที่เอารัดเอาเปรียบลูกจ้างได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งจะกลายเป็นบรรทัดฐานในการจ้างงานของสถานประกอบการที่อื่นๆต่อไปในอนาคต
เพราะตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 ได้กำหนดชัดเจนว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป ดังนั้นเมื่อบริษัทบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา โดยลูกจ้างไม่ได้ให้ความยินยอมโดยสมัครใจ และลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้น ไม่ใช่งานที่ต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉินที่กฎหมายให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรค 2 บริษัทจึงไม่มีสิทธิบังคับให้ลูกจ้างที่ไม่สมัครใจต้องทำงานล่วงเวลานั้น ถ้าย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.2554 จะเห็นว่า บริษัทได้กำไรในปีนั้นถึง 8 พันล้านบาท แสดงว่านายจ้างไม่ได้มีความเดือดร้อน หรืออยู่ในภาวะฉุกเฉินที่ต้องบังคับให้ลูกจ้างทำโอทีเพื่อไม่ให้งานเสียหายแต่อย่างไร”

ทั้งนี้นางสาวบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า “รูปแบบการทำงาน 4 วัน หยุด 2 วันนี้ เป็นภาพสะท้อนความไม่เป็นธรรมในการจ้างงานของลูกจ้างแบบประจำอย่างยิ่ง ที่ผ่านมาเรามักเข้าใจมีเฉพาะลูกจ้างเหมาช่วง เหมาค่าแรงเท่านั้น ที่ชีวิตอยู่บนเส้นด้ายความเสี่ยงจากการจ้างงานในระบบอุตสาหกรรม แต่ทุกวันนี้ชีวิตแรงงานในระบบที่มีการจ้างงานแบบประจำ (แต่เป็นพนักงานแบบรายวัน) กำลังถูกละเมิดสิทธิมากขึ้น เพราะกลไกรัฐมีช่องว่างให้นายจ้างสามารถปฏิบัติได้โดยไม่มีความผิด

แน่นอนบริษัทอาจพูดว่า ตนเองย่อมมีสิทธิในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงานไปเป็นรูปแบบใหม่ๆใดก็ได้ แต่ในเชิงมนุษยธรรมก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทไม่ได้มองลูกจ้างในฐานะ “คนที่มีศักดิ์ศรี” เพราะ
ในระบบการจ้างงานแบบใหม่ คือ ทำงาน 4 วัน หยุด 2 วัน คือ ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ล่วงเวลาอีก 4 ชั่วโมง รวมเป็นวันละ 12 ชั่วโมง แบ่งเป็นวันละ 2 ช่วง (กะ) คือ เวลา 07.00-19.00 น. กับ เวลากลางคืน 19.00-07.00 น. ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่าการจ้างงานแบบใหม่ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงาน NXP ที่เป็น “ผู้หญิง” วัยกลางคน มีครอบครัวที่ต้องดูแลรับผิดชอบ และทำงานแบบรับค่าจ้างรายวัน
ไม่ว่าจะเป็น
(1) ค่าจ้างลดน้อยลง ย่อมทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ไม่มีเงินเก็บสำรองในยามจำเป็น รวมถึงเงินชดเชยที่จะได้ในอนาคตจากการที่อาจถูกเลิกจ้าง และประกันการว่างงานก็มีจำนวนน้อยลงไปด้วย เนื่องจากสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายประกันสังคมคิดจากฐานรายได้ที่ได้รับ
เดิมลูกจ้างทำงาน 6 วัน หยุด 1 วัน คือ หยุดทุกวันอาทิตย์ แต่ระบบใหม่ คือ ทำงาน 4 วัน หยุด 2 วัน ดังนั้นวันหยุดจะหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ไม่แน่นอน
ซึ่งถ้าลองคำนวณรายได้ดูแล้ว พบว่าระบบการทำงานใหม่ พนักงานที่ได้รับค่าแรงเป็นรายวัน (ไม่ใช่เงินเดือน) จะมีรายได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น หากคิดตามค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ในมาตรา 61 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ระบุให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาแก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่ง (1.5 เท่า) ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามชั่วโมงที่ทำ
เท่ากับว่า คน 1 คน ทำงานวันละ 300 บาท เป็นเวลา 8 ชั่วโมง แล้วทำ OT อีกวันละ 4 ชั่วโมง คำนวณโดยนำค่าแรงปกติ 300 บาท หารด้วย 8 ชั่วโมง จะได้ค่าแรงชั่วโมงละ 37.50 บาท จากนั้นคูณด้วยอัตราค่าจ้างล่วงเวลา 1.5 เท่าตามที่กฎหมายกำหนด จะได้ค่าล่วงเวลาชั่วโมงละ 56.25 บาทคูณด้วย 4 ชั่วโมง ที่เป็นเวลาทำ OT ต่อ 1 วัน เท่ากับได้ค่าล่วงเวลาวันละ 225 บาท รวมกับค่าแรงในเวลาปกติ จะได้เท่ากับ 525 บาทต่อวัน
โดยค่าแรงดังกล่าว หากเป็นการทำงานในระบบเก่า คือ 6 หยุด 1 จะได้ค่าแรงเฉลี่ยสัปดาห์ละ 3,150 บาท แต่หากเป็นระบบใหม่ คือ 4 หยุด 2 จะได้เพียงสัปดาห์ละ 2,100 บาทเท่านั้น แม้ว่าจะทำ OT ทุกวันก็ตาม
นอกจากนี้การทำงาน 4 หยุด 2 นั้น เมื่อคำนวณวันทำงานแล้ว พนักงาน 1 คน จะมีรายได้เฉลี่ยเพียง 20 วันทำงาน คือ 10,050 บาทเท่านั้น ส่วนระบบเก่าคือ 6 หยุด 1 จะมีรายได้เฉลี่ย 24 วันทำงาน คือ 12,600 บาท หากทำ OT 4 ชั่วโมงต่อวันเท่ากัน
(2) ระยะเวลาในการทำงานยาวนานขึ้น เพราะเมื่อค่าจ้างลดลง ถ้าอยากได้รายได้เท่าเดิมเหมือนกับสมัยที่ทำงาน 6 วัน หยุด 1 วัน ก็ต้องทำงานล่วงเวลาอีกวันละ 4 ชั่วโมง รวมเป็น 12 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งยากที่จะหลีกเลี่ยงได้เพราะมีเรื่องรายได้เข้ามาเป็นตัวแปรในการตัดสินใจ เนื่องจากปัจจุบันนี้ ค่าครองชีพได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซ ค่าแรงที่เราได้รับจากการจ้างงานในระบบใหม่โดยที่ไม่ทำโอทีจึงไม่เพียงพออย่างแน่นอน และยิ่งทำให้ความเป็นอยู่ลำบากมากขึ้น
(3) สุขภาพความปลอดภัยในการทำงานที่ลดลง เพราะเมื่อต้องทำงานยาวนานมากขึ้น สิ่งที่อาจเป็นปัญหาตามมา ก็คือเรื่องความปลอดภัยและการเจ็บป่วยจากการทำงาน ทำงานมากขึ้นเพื่อแลกกับค่าจ้างที่เคยได้รับเท่าเดิม (ไม่ใช่ทำงานมากขึ้น เพื่อได้รับค่าจ้างมากขึ้น) ทำให้มีเวลาพักผ่อนน้อยลง โอกาสเสี่ยงต่ออุบัติเหตุก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะต้องทำงานแข่งกับเวลา อีกทั้งเมื่อนายจ้างมองผลกำไรเป็นตัวตั้ง ระบบการป้องกันความปลอดภัยถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ดังนั้นโรงงานจึงให้ความสำคัญและใส่ใจกับเรื่องความปลอดภัยน้อยลง และส่งผลต่อสวัสดิภาพคนงานตามมา
(4) หนี้สินนอกระบบที่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ จึงทำให้ต้องดิ้นรนหารายได้เพิ่มเพื่อให้เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละ วัน เนื่องด้วยภาระที่ต้องรับผิดชอบมากมาย เช่น ค่าใช้จ่ายในครอบครัว เลี้ยงดูบุตรซึ่งยังเรียนอยู่ และบิดามารดา รวมทั้งยังมีภาระต่างๆอีกมาก ซึ่งหากว่าค่าจ้างยังคงทำเดิม เราก็ยังคงมีรายได้จากการทำงานในการใช้จ่ายภาระนี้ได้
(5) การเข้าร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมโดยเฉพาะกิจกรรมตามประเพณีจะหายไป เนื่องจากการที่มีวันหยุดไม่ตรงกัน จึงส่งผลต่อการจัดกิจกรรมต่างๆในโรงงาน รวมทั้งกิจกรรมในครอบครัวด้วย เพราะจากระบบเดิมที่มีการหยุดในวันอาทิตย์ที่ชัดเจน จึงทำให้มีเวลาให้กับครอบครัวในวันอาทิตย์ แต่ระบบใหม่หมุนเวียนไปในแต่ละสัปดาห์ จึงทำให้เวลาในครอบครัวลดลงอย่างแน่นอน อีกทั้งในวันหยุดนักขัตฤกษ์ก็จะไม่ได้หยุดงานตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว

Nxp manufacturing thailand ltd ทําอะไร
Nxp manufacturing thailand ltd ทําอะไร

ความเดิม
บริษัท เอ็น เอ็กซ์ พี แมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด (NXP) จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2517 มีทุนจดทะเบียน 4,939,000,000 บาท เป็นบริษัทที่ทำกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในหลายภาคส่วน เช่น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ หรือชิพที่ใช้ในบัตรประชาชน (Smart Card) และอื่นๆ อีกหลายรายการ ปัจจุบันมีพนักงานราว 3,200 คน สัดส่วนพนักงานเป็นหญิงร้อยละ 80 ชายร้อยละ 20 อายุงานเฉลี่ย 10-15 ปี

ด้วยความที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีมาตรฐานสากล จึงมีสหภาพแรงงาน โดยสหภาพฯ ของลูกจ้าง บ.NXP ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2521 ทะเบียนเลขที่ กธ.128 ปัจจุบันมีคณะกรรมการบริหาร 16 คน มีนายวัลลภ ชูจิตร์ เป็นประธาน และมีสมาชิกทั้งสิ้น 2,520 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนงานแบบรายวันกว่า 2,000 คน ที่เหลือเป็นรายเดือน

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2555 ทางบริษัทได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพฯ 4 ข้อ โดยมีสาระสำคัญคือ 1.เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน 2.ลดสวัสดิการวันหยุดพักผ่อนประจำปี และตัดเบี้ยเลี้ยงค่ากะ 3.ต้องการคงสภาพการจ้างในลักษณะรายวัน เป็นเวลา 3 ปี และ 4.เปลี่ยนรูปแบบวันและเวลาทำงานใหม่

บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
30 มิถุนายน 2556

NXP ข่าวแรงงาน ครส.คระกรรมการแรงงานสัมพันธ์

ทำงาน 4.2 คืออะไร

4.2 ลาทำหมัน ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อการทำหมัน ตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด ออกใบรับรอง โดยไม่กำหนดว่ากี่ครั้ง โดยจ่ายค่าจ้างเสมือนลูกจ้างมาทำงานตามปกติ

NXP บริษัทอะไร

บริษัท เอ็น เอ็กซ์ พี แมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด (NXP) จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2517 มีทุนจดทะเบียน 4,939,000,000 บาท เป็นบริษัทที่ทำกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในหลายภาคส่วน เช่น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ หรือชิพที่ใช้ในบัตรประชาชน (Smart Card) และอื่นๆ อีกหลายรายการ ปัจจุบันมีพนักงานราว 3,200 คน ...